Technology

[Life Hack] รู้จักกับ TRIM บน SSD กันเถอะ

By Arnon Puitrakul - 09 สิงหาคม 2015

[Life Hack] รู้จักกับ TRIM บน SSD กันเถอะ

ตอนนี้ถ้าใครหลายๆ คนที่ซื้อคอมใหม่ หรือกำลังจะซื้อคอมใหม่น่าจะเคยได้ยินคำว่า SSD กันมาบ้างแล้ว เมื่อก่อน เราอาจจะมองว่า SSD มันราคาแพงมากคนทั่วๆ ไปมักจะเอื้อมไม่ค่อยถึงกัน แต่ตอนนี้เวลาผ่านไป SSD ราคาถูกลงอย่างเหลือเชื่อ (ก็เวอร์ไป) จนทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้แล้ว

SSD คืออะไร ?

มันก็เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่ง อารมณ์เหมือน Harddisk จานหมุนๆ ที่เรากำลังใช้กันตอนนี้เลยล่ะ แต่เจ้านี่จะไม่ได้ใช้จานแม่เหล็กหมุนๆ แล้ว แต่จะใช้ Flash Memory แทน ถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึง Flash Drive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เหมือนกันเลย แต่แค่จุข้อมูลได้เยอะกว่า ขนาดใหญ่กว่า เร็วกว่าเท่านั้นเอง

ข้อดีและข้อเสียของ SSD

เนื่องจากที่มันใช้ Flash Memory ทำให้มันไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว ทำให้มันทนทานและเงียบกว่า Harddisk จานหมุนที่เราใช้อยู่เยอะมาก (เอาจริงๆ Flash Drive ที่ผมลืมไว้ในกระเป๋ากางเกง เอาไปซัก เอาไปตาก ไปเจอลองเอามาเสียบ ก็ยังใช้ได้ข้อมูลอยู่ครบ จนถึงตอนนี้มันก็ยังใช้ได้อยู่เลย) ข้อดีอีกข้อคือเร็วมากๆ Harddisk จานหมุนปกติถ้าเป็นรอบ 7200 rpm อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่สัก 100 กว่าๆ MB/sec แต่ถ้าเป็น SSD เอามาต่ออาจพุ่งไปถึง 500 MB/sec ก็ 5 เท่ากันเลยทีเดียว แต่ข้อเสียของมันก็อย่างที่บอกไปตอนแรกว่า มันโคตรแพง ถ้าเราลองไปเดินซื้อ SSD สัก 120 GB ราคามันจะเริ่มที่ 2000 กว่าบาทเลย แต่ถ้าเราเอาเงิน 2000 เหมือนกันไปซื้อ Harddisk จานหมุนธรรมดานี่เราอาจได้ความจุสัก 1-2 TB กันเลยทีเดียว (1 TB = 1024 GB)

แต่มันก็มีอายุของมันเหมือนกันนะ

SSD ก็เป็น Flash Memory ชนิดนึงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะมีอายุการใช้งานของมันเหมือนกัน มันจะนับอายุตามจำนวนครั้งที่เราอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไป แต่มันก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น เพราะอายุของ Memory Cell นึงจะตกสัก 10,000 ครั้งได้ และใน SSD 1 ลูกก็มีหลาย Cell รวมกัน ทำให้รวมๆ กันก็หลายล้านครั้งอยู่

เร็วจริงๆ แต่ปัญหาก็เกิด

ถ้าใครเคยดูหนังสอบสวน ทั้งๆ ที่ผู้ร้ายลบข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ทำไม่ฝั่งตำรวจสามารถดึงข้อมูลที่ลบไปแล้วออกมาได้ หรือว่า พวกตำรวจจะมีเวทย์มนต์ จริงๆ แล้วไม่ได้ใช้เวทย์มนต์อะไรเลย เพราะว่า การที่เรากด Delete ข้อมูลไป ข้อมูลนั้นมันไม่ได้หายไปไหนเลย แต่มันแค่ถูกซ่อนไว้ไม่ให้เราเห็นนั่นเอง เมื่อก่อนเราใช้ Harddisk จานหมุนธรรมดาก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเราลบข้อมูลไป ข้อมูลก็อยู่ใน Harddisk อย่างงั้นแหละ เดี๋ยวพอข้อมูลใหม่จะมาลงตรงที่มีข้อมูลที่ลบไปแล้ว มันก็แค่เขียนทับลงไปได้เลย แต่ SSD ทำแบบนั้นไม่ได้ ทำให้เวลาถ้าเราใช้ๆ ไปนานๆ ทำให้ประสิทธิภาพของมันช้าลงเรื่อยๆ เลยเกิดผู้ช่วยที่สำคัญอีกคนคือ TRIM ขึ้นมานั่นเอง

TRIM นักเก็บขยะ

จากที่บอกไปว่า SSD มันไม่สามารถเขียนข้อมูลทับลงไปในส่วนที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้ ทำให้ประสิทธิภาพมันช้าลงเรื่อยๆ TRIM เลยเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ หลักการทำงานของมันง่ายมากๆ ขนาดคนธรรมดาเข้าใจได้แน่นอน หลักการทำงานของมันก็คือ เวลาที่เราสั่งลบข้อมูล OS ที่เราใช้มันจะส่งคำสั่งกลับไปที่ SSD ของเราให้ล้างข้อมูลตรงที่เราลบออกไปจริงๆ ไม่ได้แค่ซ่อนมันเอาไว้ ทำให้ไม่มีข้อมูลที่ค้างอยู่ ทำให้ SSD เหมือนมันสะอาดสดใหม่เสมอ นอกจากที่มันจะช่วยให้ SSD ของเราสะอาดมากขึ้นแล้ว มันยังมีอีกประโยชน์ก็คือ ป้องกันการเขียน Cell เดิมซ้ำๆ อย่างที่บอกไปตอนแรกว่า Flash Memory มันนับอายุตามจำนวนครั้งที่เราอ่านเขียน แล้วถ้าเราเขียน Cell นั้นซ้ำๆ ก็ทำให้ Cell นั้นเสียไวขึ้น SSD เราก็จะพังไวขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นการเปิดใช้ TRIM ก็เป็นการยืดอายุ SSD ของเราอีกทางหนึ่งเช่นกัน
แต่อย่าลืมว่า การที่เราเปิดใช้งาน TRIM เวลาเราลบข้อมูล ข้อมูลจะถูกลบออกจากตัว Hardware จริงๆ ทำให้กู้คืนไม่ได้นะครับ
แต่เราก็ไม่ต้องไปวอแวมานั่งเช็คอะไรมากมาย เพราะว่า คอมส่วนใหญ่ที่ติดตั้ง SSD มาเลยจะ เปิดการใช้งาน TRIM มาเป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานอยู่แล้ว สบายใจได้เลย แต่ส่วนใครที่ซื้อเอามาติดตั้งในภายหลังก็อาจจะต้องเข้าไปหาโปรแกรมมาเช็คและเปิดการใช้งาน อันนี้จะยุ่งยากสักหน่อย แต่ก็เปิดไว้ก็ดี

สรุป

ถ้าเราใช้ SSD อยู่แล้วการเปิดใช้งาน TRIM ก็เป็นอีกวิธีนึงในการยืดอายุการใช้งานของ SSD อันราคาโคตรแพงของเรา แต่ถ้าคอมใครที่ซื้อมาแล้วมันติดต้ัง SSD มาให้แล้วพวกนี้ก็ไม่ต้องคิดเยอะ เพราะส่วนใหญ่มากๆ เขาจะเปิดการใช้งาน TRIM ให้อยู่แล้ว และให้ระวังว่า ถ้าเราเปิดการใช้งาน TRIM ไปแล้ว วันนึงเราเผลอไปลบข้อมูลนี่กู้ไม่ได้เลยนะ งานเข้ากันเลยทีเดียว

Read Next...

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

เรื่องของเรื่องคือ เราซื้อจอ Dell Ultrasharp 32 นิ้วมาใหม่ และมักนำมาใช้ทำงานพวก Colour Grading และ แต่งรูป ด้วย เรื่องสีเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไปนั่งคุยกับเพื่อนก็คือ เพื่อนมาทำเลยให้ค่าาา วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า ทำไม เราจำเป็นต้องทำ Display Calibration และ หลักการเบื้องหลังคืออะไร...

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

มาถึง Content ที่คนถามเข้ามาเยอะมากว่า ในปี 2024 ในไทยเรามี Music Streaming เข้ามาเปิดหลายเจ้ามาก ๆ ตั้งแต่ Spotify, Apple Music, Youtube Music และ Tidal เราควรจะเลือกเจ้าไหนดี วันนี้เราจะมาวัดจาก Indication 5 อย่างด้วยกัน แล้วลองมาสรุปคะแนนดูว่า เราน่าจะเหมาะกับเรื่องแบบไหนกันดีกว่า...

External HDD เสียอย่าพึ่งทิ้ง มาเปลี่ยน HDD กันเถอะ

External HDD เสียอย่าพึ่งทิ้ง มาเปลี่ยน HDD กันเถอะ

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า Desktop External HDD คู่ใจของเราอย่าง My Book มันมีอาการแปลก ๆ มาสักพัก ไฟล์บางไฟล์อ่านไม่ได้ และบางครั้งก็ช้า จนพบว่า อ๋อ น้องลาโลกแล้ว แต่เราจะบอกว่า คนที่เจออาการแบบนี้ อย่าพึ่งทิ้งนะ เพราะเราสามารถซื้อ HDD มาเปลี่ยนแล้วใช้งานต่อได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

ใช้ HDD ขนาดใหญ่ หรือ HDD ขนาดเล็กจำนวนมากใน NAS ดี?

ใช้ HDD ขนาดใหญ่ หรือ HDD ขนาดเล็กจำนวนมากใน NAS ดี?

จากเมื่อเดือนก่อน ๆ เราเล่าเรื่องที่เราเปลี่ยน HDD ไปในความจุที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เราคิดย้อนตอนที่เรา Design NAS ที่จะใช้ในบ้านครั้งแรกว่า เราควรจะใช้ HDD ขนาดเท่าไหร่ดี จะใช้ HDD ขนาดความจุเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือเอาความจุสูง ๆ ไม่กี่ลูกดีกว่า วันนี้เราเอาประสบการณ์มาเล่ากัน...