By Arnon Puitrakul - 18 ตุลาคม 2021
หลายวันก่อนหน้านี้ มีเพื่อนมาถามเราว่า เราควรจะติดอินเตอร์เน็ตกับเจ้าไหนดี มันอยากจะเปลี่ยน ซึ่งแน่นอนว่าเราก็แนะนำคำตอบไป ทำให้วันนี้เราจะมาดูกันว่า จริง ๆ แล้วที่เราเข้าใจว่าเน็ตบ้านชั้นเร็วกว่าย่อมดีกว่า เหมือนกับที่ชอบ Ads ลงกันว่า นี่นะ เราใช้ไปเลย 1 Gbps กับ 500 Mbps มันเป็นแค่คำลวงทางการตลาด หรือจริง ๆ แล้วมันมีผลจริง ๆ กันแน่
เราขอเริ่มจากคำสามคำนี้ก่อนที่บางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า เอ๊ะ มันต่างกันยังไง ไม่ใช่ว่าความเร็วเยอะ ๆ แล้ว มันจะดีอย่างเดียวเหรอ จริง ๆ แล้วคือไม่นะจ๊ะ เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กัน
เวลาเราเชื่อมต่อกับใครก็ตาม ให้เรานึกภาพเหมือนกับเราจะส่งน้ำจาก จุด A ไป B อาจจะจากบ้านเราไป เว็บส้มดำ ก็ได้ ในการส่งน้ำ เราจะต้องใช้ท่อแน่ ๆ ถ้าไม่มี เราก็ไม่น่าจะส่งได้ ดังนั้น ท่อ จึงเปรียบเสมือนเส้นทางที่เราใช้เชื่อมต่อไปที่ปลายทาง
ในตัวท่อเอง มันก็ต้องมีขนาดของท่อ ถ้าเป็นการส่งน้ำ เราก็จะใช้ท่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไหร่ก็ว่ากันไป เช่น ถ้าเราใช้ท่อที่ใหญ่มาก ๆ นั่นแปลว่า ปริมาณน้ำที่เราจะส่งได้ต่อหน่วยเวลาก็จะได้เยอะขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน กลับกัน ถ้าเราใช้ท่อเล็ก ๆ ไม่กี่มิลิเมตร ก็ย่อมส่งน้ำได้น้อย ในโลกของ Computer Network สิ่งนี้ถูกแทนด้วยคำว่า Bandwidth ที่เราจะใช้หน่วยเป็น Bit per Second เหมือนกับที่เราเห็นอยู่ในแผ่นพับ หรือตามเว็บของ ISP ต่าง ๆ ที่บอกว่า เน็ต 500/500 Mbps (Megabit per second) หรือก็คือว่าใน 1 วินาที เราจะสามารถส่งได้ 500 ล้าน Bit ต่อวินาที (ในโลกของ Computer Network เวลาเราพูดถึง Bandwidth เราจะใช้ Bit กัน แต่ถ้าเราพูดถึงเรื่อง Data Transfer เราจะใช้ Byte ซึ่ง 1 Byte = 8 Bits เด้อ) ดังนั้นสิ่งที่ ISP โฆษณา และให้เราเลือก Promotion มันก็คือการให้เราเลือกขนาดของท่อน้ำนั่นเอง
ทำให้นำไปสู่คำถามที่ว่า แล้วจริง ๆ แล้ว การที่เรามีท่อใหญ่ ๆ มาก ๆ มันทำให้อินเตอร์เน็ตเร็วขึ้นหรือไม่ อื้ม.... ทั้งใช่ และ ไม่ การที่เราจะประเมินได้ มันต้องขึ้นกับอีกเรื่องคือ Throughput กลับไปที่การเปรียบเทียบอีกครั้ง ถ้าเราบอกว่าท่อน้ำเราใหญ่มาก เราส่งน้ำได้เยอะจริงแหละ แต่ท่อน้ำใหญ่ ไม่ได้บอกนิว่า น้ำที่เราส่งจะเยอะ ดังนั้น ถ้าจริง ๆ น้ำเราไม่ได้เยะ การใช้ท่อส่งขนาดใหญ่ก็ดูจะเป็นอะไรที่สิ้นเปลืองมาก ๆ เลยใช่มั้ย ใน Computer Network ก็เช่นเดียวกัน ปริมาณน้ำ เราก็จะเทียบได้กับ จำนวนข้อมูลที่เรารับส่งเข้าออก หรือก็คือ การใช้งานของเรานั่นเอง เช่น เราบอกว่า เราดู Netflix 4K Dolby Vision เลย มันก็จะมี Throughput อยู่ราว ๆ 20-25 Mbps เท่านั้น การที่เราใช้ท่อขนาด 500 Mbps รับส่งถามว่าได้มั้ย ก็ได้นะ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าถามเรื่องความเปลือง ก็บอกเลยว่า จ๊ะ ใช่ จ๊ะ !!! ดังนั้นสิ่งแรกที่เราได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ การเพิ่ม Bandwidth ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า Internet เร็วขึ้น ถ้าเราใช้ท่อไม่เต็ม
แล้วถ้าเราบอกว่า โอเค เราใช้ท่อเต็มละ พวกอุปกรณ์มันจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร มันจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Queue พูดเป็นภาษาคนก็คือ ต่อคิวจ้าา มาก่อนไปก่อน หรือจะใช้สิ่งที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) หรือก็คือ การอนุญาติให้มีอภิสิทธิ์ Packet เกิดขึ้น มาหลังแต่ได้ไปก่อนอี๊ก พอมันเข้าคิวกัน สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ คือ กว่าที่มันจะออกไปได้ มันก็ต้องรอให้ถึงคิว นึกถึงเวลาเราขับรถกลับบ้าน ถ้าเรากลับตอน Rush Hour เราก็ต้องมาเจอกับรถติด เมื่อเทียบกับเรากลับบ้านดึก ๆ เลยรถไม่มี ถึงระยะทางเท่ากัน แต่เวลาที่ใช่ไม่เท่ากัน คำว่า เวลา นี่แหละคือ Keyword ที่นำไปสู่คำอีกคำคือคำว่า Latency มันคือเวลาที่ต้องใช้ในการส่งข้อมูลไปที่ปลายทาง และต้นทางได้รับการตอบกลับจากปลายทาง
ทำให้จริง ๆ แล้ว Latency ไม่ใช่แค่เวลาในการเดินทางขาเดียว แต่เป็นการเดินทาง 2 ด้าน รวมไปถึงเป็นเวลาที่เครื่องปลายทางใช้ในการ ประมวลผลว่าข้อมูลที่จะส่งกลับเป็นอะไร หนึ่งในโปรแกรมที่เรานิยมใช้ในการวัด Latency คือ Ping ใช่แล้วฮ่ะ จริง ๆ คำว่า Ping ไม่ใช่ค่าวัด แต่เป็นชื่อโปรแกรม เหมือนกับที่คนไทยเรียกผงซักฟอกว่าแฟบนั่นแหละ
Technical Part ของ Ping นิดหน่อย ถ้าไม่สนใจข้ามเลย จริง ๆ แล้วสิ่งที่ Ping ทำมันคือการส่ง Packet หรือข้อมูลพิเศษประเภทนึง ที่เรียกว่า ICMP (Internet Control Message Protocol) เป็นข้อความที่เป็นมาตรฐาน ในนั้นจะมี Message อยู่หลายประเภทมาก แต่สิ่งที่ Ping ใช้คือ Echo Request เมื่อปลายทางได้รับ มันจะเข้าใจว่า อ่อออ แกแค่มาถามว่าชั้นตายรึยัง แต่ชั้นยังอยู่นิ ก็ตอบกลับไปว่า ชั้นโอเคแหละแกร หรือก็คือ Echo Response เราอาจจะเคยได้ยินที่เขาบอกว่า รุม ๆ Ping ให้ Server มันล่มไปเลย จริง ๆ ถามว่าทำได้มั้ย ทำได้นะ แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเวลาเรารัน Ping เฉย ๆ มันส่งข้อมูลแค่ 64 Bytes ใช้เป็นพันเครื่อง Server ส่วนใหญ่ก็ไม่สะท้านหรอก อ่อนด้อย แต่มันมีการโจมตีตัวนึง เรียกว่า Ping of Death ในเมื่อ 64 Byte เล็กไปทำอะไรไม่ได้ งั้นได้ ๆๆๆๆๆ เราเพิ่มแมร่งเลย กดไปสัก 65 MB หรือมากกว่านั้นสิ มากกว่าเดิมหลายเท่าตัวมาก ๆ ทำให้เราใช้จำนวนเครื่องที่น้อยลงในการยิงให้แตกได้ วิธีนี้ใช้กันเยอะมาก ๆ เพราะเป็นหนึ่งวิธีในการทำ DDoS (Distributed Denial of Service) ซึ่งเราป้องกันได้ที่ Firewall เลยว่า อาจจะสั่งให้ Block ICMP Packet ออกไปเลย แค่น้ันก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว
Latency เป็นเรื่องที่พูดยากมาก ๆ เพราะมันขึ้นกับหลายปัจจัยมาก ๆ เช่น การเชื่อมต่อที่เราใช้ ว่าเชื่อมผ่านสาย หรือไร้สาย ก็มีผล หรือจะเป็น Server ปลายทางที่เราต่อไป ว่าอยู่ไกลจากเรามากแค่ไหน ยิ่งไกลก็ยิ่งใช้เวลาเยอะ เหมือนกับ เราเดินไปซื้อหมี่ที่หน้าปากซอย กับเดินไปเชียงใหม่ การเดินไปซื้อหน้าปากซอยย่อมใช้เวลาน้อยกว่าอยู่แล้ว จากกิโลเมตรนิด ๆ กลายเป็นหลายร้อยฮ่า ๆ หรือแม้กระทั่งว่าระบบปลายทางใช้เวลาในการประมวลผลนานเท่าไหร่อีก แล้วถ้าปลายทางท่อจะเต็มต้องผ่าน Queue อีก มันก็จะยิ่งช้าเข้าไปอีก
ผลของการเปลี่ยน Location ทำให้ Latency เปลี่ยนเยอะมาก จากตัวอย่างด้านบน เว็บของเราตั้งอยู่ในประเทศไทย ถ้าเราลองมองหาดูเราจะเห็นว่า ค่า Latency ที่ส่งจาก Singapore นั้นถือว่าน้อยที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับคนอื่นที่เหลือ หรือถ้าเราสังเกตเข้าไปอีก เราจะเห็นเลยว่า ยิ่งประเทศไหนอยู่ไกลจากเรา ค่า Latency มันก็จะห่างออกไปเรื่อย ๆ เช่นกัน
ถ้าเราเข้าเว็บสำหรับทดสอบความเร็ว Internet เราจะเห็นว่ามันมี Test Bandwidth ทั้งขา Download และ Upload แต่อีค่าที่หลาย ๆ คนไม่ได้ดูกันเยอะคือ Latency จากตัวอย่างนี้ เราใช้ Nperf ในการทดสอบออกมา มันเฉลี่ยอยู่ที่ 48ms
แต่พอเราเข้ามาเล่น ROV เราลองเช็ค Latency ปรากฏว่ามันเหลืออยู่ที่ 33ms เท่านั้น ดังนั้น การทดสอบ Latency ผ่าน Speed Test ไม่ได้ทำให้เราตัดสินได้ 100% เลยว่า ถ้าเราเทสได้เท่านี้แล้วเราจะใช้จริงได้เท่านี้จริง ๆ ขึ้นกับว่า Server ปลายทางจะเป็นอะไรที่ไหนและเชื่อมต่ออย่างไร แต่มันจะพอบอกได้ว่า มันน่าจะมีอะไรผิดปกติเบื้องต้นได้ เช่น เราเทสแล้วเจอว่า Latency เราโดดไป 500ms อะไรแบบนั้นมันเยอะกว่าปกติมาก ๆ แล้ว แนะนำให้เช็คเลยว่า ระบบ Network ในบ้านเราเองนี่แหละที่น่าจะมีปัญหา เพราะโอกาสที่ Server พวกนี้จะมีปัญหาถือว่ายากมาก ๆ พวกนี้เขามีคน Monitor กันตลอดเวลา Drop ไปนิดหน่อยก็วิ่งเช็คกันแล้ว ในบ้านของเราอาจจะมีปัญหากับสาย, อุปกรณ์ หรือ การใช้งานของเราก็ได้
จากที่เราเล่ามาทำให้ การจะบอกว่า Internet เร็ว มันไม่ได้วัดกันที่ Bandwidth เท่านั้น เพราะมันมี Matrics อื่น ๆ ที่เข้ามาวัดคุณภาพของเครือข่ายว่ามันดีหรือไม่ดีขนาดไหน
ถ้าเราสังเกตกันดี ๆ ราคาต่อ Bandwidth มันต่ำลงเรื่อย ๆ จากเดิม 599 บาท เราอาจจะซื้อได้แค่ 256 kbps (ถ้าใครเกิดทันอะนะ) แต่ตอนนี้เงินในจำนวนเท่า ๆ กัน เราน่าจะกด Package ที่ Bandwidth 500 Mbps - 1 Gbps กันแล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไม ISP ถึงขาย Bandwidth ที่สูงมากขึ้น แต่ราคาถูกลงเรื่อย ๆ ได้
ส่วนนึงเกิดจากเรื่องของเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อที่ราคาถูกลงเรื่อย ๆ ตามเวลา เช่น Hardware อย่าง Router และ Switch รวมไปถึงพวก Optical Transceiver ต่าง ๆ ที่ราคาถูกลง และ รองรับ Bandwidth ได้สูงขึ้น ทำให้เมื่อหารราคาต่อ Bandwidth ที่จะขายทำให้เขาขายได้ในราคาที่ถูกลงนั่นเอง
อีกเหตุผล อันนี้เราคิดเองนะ ถ้าเรามองกลับไปที่การใช้งานทั่ว ๆ ไปในบ้านทั่ว ๆ ไปเลย การติด Internet สัก 500 Mbps ขึ้นไปเลย สมมุติว่า ดู Netflix เอาเต็ม ๆ เลย 25 Mbps พร้อม ๆ กันสัก 4 เครื่องเลย แน่น ๆ เลย บ้านใหญ่น่าดู กับมีคนเล่น ROV สัก 2 คน อะ เผลอ ๆ เราว่า Throughput ไม่น่าเกิน 120 - 150 Mbps เท่านั้น ทำให้จริง ๆ แล้ว ISP หรือผู้ให้บริการ ไม่จำเป็นต้องทำระบบเครือข่ายให้มันรองรับความเร็วทั้งหมดจริง ๆ ก็ได้ เพราะยังไงผู้ใช้สมัครไปเยอะ ๆ ก็ยากมาก ๆ ที่จะใช้ถึง ส่วนถ้าใช้ถึงจริง ๆ ก็มีอยู่ไม่กี่หลังเท่านั้นแหละที่จะใช้ Peak พร้อม ๆ กันยากมาก ๆ ดังนั้น ในความเป็นจริง Hardware และระบบอาจจะรองรับแค่ 50% ของผลรวม Maximum Bandwidth ของบ้านแถว ๆ นั้นเท่านั้น หรือกลับกัน ก็ทำให้เขาสามารถเพิ่ม Bandwitdth ให้เราโดยที่ไม่เพิ่มเงินได้ เพราะเราก็ใช้เท่าเดิม แต่สิ่งที่เขาได้คือ Customer Royalty ว่าโหยยย เพิ่ม Speed โดยไม่เสียเงินเลยเหรอเนี่ยดีจังเลย....
แล้วถ้าเกิดแถวนั้นคนดันใช้ Bandwidth เกินจริง ๆ สิ่งที่ผู้ใช้อย่างเราน่าจะเจอกันก็คือ อยู่ ๆ Latency มันขึ้น ๆ ลง ๆ โดยเฉพาะช่วง Peak Hour สัก 5 โมงถึง 4 ทุ่ม ที่คนถึงบ้านแล้วก็จะใช้กันเยอะแน่น ๆ สุดในรอบวัน ปกติเราเจอ เราก็จะโทรไปแจ้ง แล้ว Technian ก็จะ Remote มาเช็คที่ Switch ก็รู้แล้วว่ามันเกิน เขาก็แค่มาเปลี่ยน Hardware เท่านั้นเอง
เป็นคำถามที่เราได้รับมาเยอะมากว่า เราจะติดอินเตอร์เน็ตกับเจ้าไหนดี ถ้าเราดูในประเทศไทยเอง ตัวใหญ่ ๆ ที่เล่นในตลาดอินเตอร์เน็ตบ้าน ก็น่าจะเป็น AIS, 3BB, True และ ToT แต่ละเจ้าก็จะมี Promotion ของตัวเองกัน แต่ถามว่า จะเลือกอันไหนดี เรามองว่ามันต้องแยกออกเป็น 2 เรื่องคือ บริการหลังการขาย และ คุณภาพของเครือข่าย ในส่วนของบริการหลังการขาย เราขอไม่พูดถึงละกัน เพราะประสบการณ์ที่แต่ละคนได้มันไม่เหมือนกันซะทีเดียว
แต่เรื่องคุณภาพของเครือข่าย เราดูได้จากหลายส่วนมาก ๆ เช่น ระบบมีการล่ม บ่อยแค่ไหน อย่างช่วงที่ผ่านมา ค่ายเขียวที่เราใช้งานอยู่ก็แตกไปหลายรอบท๊อปฟอร์มจัด ๆ เลยเหมือนกัน หรือแม้กระทั่งเรื่องของ Latency เอง ที่เราเห็นเยอะมาก ๆ เลย มีคนถามประมาณว่า ค่ายนี้ Latency เท่าไหร่ เราจะบอกว่า เราไม่สามารถถามคำถามนี้กับคนอื่นได้ซะทีเดียว เพราะแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่นของเครือข่ายก็ไม่เท่ากัน ปลายทางเราก็ไม่เหมือนกัน อุปกรณ์มันก็ไม่เหมือนกัน ทำให้ Latency มันไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่เลย ดังนั้นเราว่าถ้าอยากรู้จริง ๆ นะ เอาชัวร์ ๆ เลยคือ ถาม ข้าง บ้าน รู้เลย อันนั้นรับรองพื้นที่เดียวกันแน่ ๆ เผลอ ๆ Fibre Optics ก็เส้นข้าง ๆ กันแหละ
นอกจากนั้น บาง ISP ก็จะมีข้อได้เปรียบในการเชื่อมต่อไปบางที่ด้วย โดยเฉพาะการเชื่อมต่อออกไปต่างประเทศ เช่นบอกว่า ISP A มีการเชื่อมต่อไปที่ Stream ฝั่ง SEA โดยตรงเลย ก็ทำให้คนที่ใช้ ISP A สามารถเข้าถึง Stream อาจจะด้วย Latency ที่ต่ำกว่าเจ้าอื่น ๆ ที่อาจจะต้องวิ่งผ่าน ISP A อีกที หรืออาจจะต้องอ้อมหนักกว่านั้นเลย สาเหตุที่เราไม่สามารถบอกว่า Latency มันจะน้อยกว่าเพราะมันขึ้นกับความหนาแน่นด้วย ถ้าเส้นมันเล็กกว่าที่ใช้ ความหนาแน่นสูง Latency ก็สูงขึ้น เพราะต้องเข้าคิว อาจจะสูงกว่าเมื่อเราอ้อมหน่อย แต่ไม่ต้องติดไฟแดง แต่สิ่งที่ตอบได้ชัวร์ ๆ คือจำนวน Hop น้อยลงแน่นอน ซึ่งข้อมูลตรงนี้ เราสามารถดูได้จาก Thailand Internet Map ที่ NECTEC ทำไว้
สรุปแล้ว Bandwidth ที่เราเห็นจากใน Ads ของ ISP ไม่ได้เป็นการบอกว่า ยิ่งเลขเยอะ Internet เราจะยิ่งเร็ว แต่มันเป็นการบอกว่า เราสามารถเชื่อมต่อได้เร็วที่สุดเท่าไหร่มากกว่า แต่ในความเป็นจริง การใช้งานในบ้านทั่ว ๆ ไป เราไม่ได้มี Throughput เยอะขนาดที่จะล้น Bandwidth ที่ขายกันในไทยตอนนี้เลย นั่นคือการจ่ายเงินเยอะขึ้นก็ไม่ได้ทำให้เราเชื่อมต่อ Internet ได้เร็วขึ้นเสมอไป (ถ้าเราใช้เกิน นั่นแหละ จ่ายเพิ่มก็ดีกว่า) ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือก Package Internet เราจะต้องมาคำนวณก่อนว่า ในบ้านหรือที่อยู่ของเรา น่าจะมี Peak Throughput ที่เท่าไหร่ แล้วอาจจะบวกไปอีก 20% เผื่อ Handshake ไปหน่อยก็ได้ แต่ในไทยเรา เราอยากให้ดูในเรื่องของ การใช้งานจริง โดยเฉพาะเรื่อง ล่มเอย หรือเรื่องของ Latency พวกนี้ดีกว่า เพราะต้องยอมรับว่าการเข้าถึง Internet ในไทยเราไม่ได้แพงเหมือนบางประเทศเลย แต่ละค่ายก็แข่งกันออกโปรกันนัว ทำให้ราคามันถูกลงเรื่อย ๆ เลย แต่ปัญหาก็คือ เรื่อง การล่ม ๆ กับ Latency และบริการหลังการขายเลย
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...