Technology

ปฏิบัติการขยาย WiFi ในบ้าน กับ IoT ในราคาไม่แพง

By Arnon Puitrakul - 19 ตุลาคม 2022

ปฏิบัติการขยาย WiFi ในบ้าน กับ IoT ในราคาไม่แพง

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ที่บ้านมีอุปกรณ์ IoT เยอะมาก ๆ และเราใช้งานผ่าน WiFi เยอะมาก ๆ ใครจะเคยคิดว่า บ้านหลังนึงจะมี WiFi Device เกิน 120 Devices ไปเลย แต่ปัญหามันเริ่มเกิดเมื่อ WiFi Coverage มันไม่เพียงพอ ทำให้ในบางจุดของบ้านมีจุดอับสัญญาณ เลยทำให้อุปกรณ์เช่น Switch ต่าง ๆ อาจจะทำงานได้ช้า เลยทำให้ต้องหาวิธีแก้ไข

นัง UniFi นังทัวร์ดีย์ !

รีวิวความ UniFi Access Point แบบใช้งานในบ้านกัน
หลายวันก่อนเราได้ Post ไปใน Facebook ส่วนตัวว่า เราอยากได้ 1 SSID ที่ใช้งานได้ครอบคลุมทั้ง 2 ชั้นในบ้าน หาไปหามา มาจบที่ UniFi บอกเลยโคตรดีย์ !!! วันนี้เราจะมาติดตั้ง และ รีวิวกัน

ในปัจจุบันพวก WiFi Solution ในบ้านทั่ว ๆ ไป ก็จะเล่นเป็นพวก Mesh System ซะเยอะ สำหรับบ้านเราเอง เราไม่ได้เล่นอะไรแบบนั้นซะทีเดียว เราใช้งานอันที่พีคกว่านั้นสำหรับบ้านเล็ก ๆ หน่อยคือ Access Point ของ UniFi เราเคยรีวิวไว้แล้ว

สำหรับคนที่ใช้ UniFi ก็จะบอกว่า ถ้า Coverage ไม่เพียงพอ เราก็แค่เพิ่ม Access Point ก็น่าจะจบแล้วนิ ทำไมต้องทำเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าเราไปดูราคาของ UniFi Access Point อะถูกสุด UAP-AC-IW ราคามันโดดไป 4,500 บาทแล้ว สำหรับการใช้งานเราใช้งานเอง มันก็ไม่แพงเลยนะบน WiFi 5 แต่จุดที่ Coverage มันไม่ถึงคือหน้าบ้านที่เราต่อพวก IoT Device หลาย ๆ ตัว ทำให้ราคา 4,500 บาท เรามองว่ามันแอบแพงไปหน่อย เลยทำให้มันแอบไม่น่าเล่นเท่าไหร่

ประกอบกับช่วงที่เราเขียนนี้ ถ้าเราไปดูตามร้านที่ขายพวก UniFi ในไทย ก็คือ หมด หมด หมด ทุกอย่าง หาของยากมาก ๆ ราคาก็แพง ของยังหายาก เลยทำให้รอบนี้ UniFi ไม่เหมาะละ

Repeater comes to rescue

สำหรับคนที่พอจะเรียน Computer Network มาบ้าง น่าจะเคยได้ยินอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ WiFi ที่มีอยู่แล้ว ปล่อยออกมาเป็น WiFi SSID ใหม่ เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมกว่าเดิม

เป็นอุปกรณ์ที่เมื่อก่อนมันได้รับความนิยมมาก ๆ เพราะทำให้ WiFi Coverage ในบ้านของเรามันครอบคลุมกว่าเดิม แต่ปัญหาของอุปกรณ์พวกนี้คือ มันทำให้มีหลาย SSID เวลาเราเดินไปมา เราก็จะต้องต่อเป็นอีกชื่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งตอนนี้เราก็มีพวก Mesh Solution ออกมา ที่มีพวกการทำ Roaming ทำให้เมื่อเราเดินไปมา มันก็จะเลือกต่อกับ Access Point ตัวที่ใกล้ที่สุดกับเรา

นอกจากนั้น ถ้าเราจำได้ Bandwidth ของ Repeater ที่ได้มันก็จะไม่ได้เยอะมาก ขึ้นกับการวาง Repeater ของเราเลยว่าห่างจาก Access Point ตัวที่เราต่อแค่ไหน และรองรับมาตรฐานอะไร

แต่ ๆ ถามว่า เราแคร์มั้ย เรามองว่า ไม่ เพราะ อุปกรณ์ IoT เรา มันอยู่ที่เดิมอยู่แล้ว ไม่ได้ไปไหน และ เราต่อครั้งเดียว ทำให้ การมีหลาย ๆ SSID ไม่ได้เดือดร้อนอะไร, การ Roaming ก็ไม่ได้จำเป็นอะไร และ Bandwidth เราไม่ได้ต้องการแรงเลย เพราะเราใช้แค่สำหรับส่งค่าเปิด ปิด และค่าต่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้น เราอาจจะใช้อยู่แค่ไม่เกิน 1 Mbps เท่านั้น ทำให้ในกรณีนี้ Repeater มันตอบโจทย์มาก ๆ มากกว่า UniFi Access Point อีกตัวราคา 4 พันบาท

ถ้าเราไปดูราคาของ Repeater ในท้องตลาดตอนนี้ เราเอามาต่อ IoT ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาพวกที่ต่อ 5 GHz ได้ เอาง่าย ๆ เลย เราเจอ Mercusys MW300RE ราคาอยู่ที่ 257 บาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับ 4,000 บาทแล้วก็คือ ห่างกันไกลเลย จากที่เรียน Computer Network เบื้องต้นมา เออ แมร่งน่าจะรอดแน่ ๆ งั้นเราสั่งมาเลยจ้าาา 257 บาท แมร่งตอบโจทย์แน่นอน

ชิบหาย ! เชี้ยไรเนี่ย !

พอได้ของมา แน่นอนว่า เราก็รีบทำการ Setup อย่างรวดเร็ว Repeater พวกนี้ ราคาไม่แพง มันไม่ได้มี Feature อะไรมากมายหรอก การ Setup พวกนี้ไม่ยากเลย เราแค่ตั้ง Administration Password กับ Credential สำหรับเข้า WiFi ตัวเดิม เพื่อให้ Repeater ไปเกาะ และสุดท้าย ก็ใส่ชื่อ SSID กับ Password ที่ต้องการให้ Repeater ต่อออกมา ก็เป็นเสร็จ พร้อมเลย

แน่นอนว่า เทคโนโลยีมักเล่นตลกกับคนที่ต้องการตลบหลังมันเสมอ เพราะเมื่อเราตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว เราทดลองเอาโทรศัพท์ต่อเข้าไปที่ Repeater ปรากฏว่า ต่อได้ เหมือนจะใช้งานได้ละ แต่... มันออก Internet ไม่ได้เลย จนไปนั่งหาก็คือ เราไม่ได้แจก IP Address มา เหมือนมีปัญหาอะไรบางอย่างกับ DHCP คิดว่า ปัญหาอยู่ที่ UniFi แน่นอน เพราะมันน่าจะมีระบบป้องกันอะไรพวกนั้น กันคนเล่นตลกในองค์กรแน่ ๆ

Another Access Point @#$#$%@#$%

เวลาผ่านไปหลายเดือน เราแทบจะยอมแพ้แล้ว วันนึงอาบน้ำอยู่ ก็นึกได้ว่า ในเมื่อเรา Repeat จาก UniFi ไม่ได้ ทำไมเราไม่เอา Access Point เจ้าอื่นง่าย ๆ ตัวโง่ ๆ มาเสียบ แล้วเราก็ให้ Repeater ไป Repeat อีกทีนึงละ เออ ฉลาดหวะ ทำไมคิดไม่ได้ก่อนหน้านี้วะ

เราเลยไปมองหาพวก Repeater ตัวที่ดีขึ้นหน่อย พวกนี้มันมักจะมาพร้อมกับ Ethernet Port จะความเร็วเท่าไหร่ก็ช่างมันเถอะ และรองรับการทำหน้าที่เป็น Access Point Mode ได้ เพราะถ้าเราไปเสียเงินซื้อ WiFi Router มาพวกนี้จะมีราคาสูงกว่า เพราะมันมักจะมากับ CPU ที่สเปกสูงไปหน่อย เพื่อรองรับการทำงานพวก Router Function ทั้งหลาย แต่เราไม่ใช้ เราก็ไปหาตัวที่มันไม่ต้องสูงขนาดนั้นก็ได้ ทำให้ Repeater ที่มี Access Point Mode นี่แหละ ตอบโจทย์ที่สุดในแง่ของราคา และ การใช้งาน

เราเน้นเอาหาซื้อง่ายละ เลยไปดูพวก TP-Link มันมีเว้ยเห้ยเป็นรุ่น TL-WA855RE ที่รองรับที่ 2.4 GHz สูงสุด 300 Mbps ซึ่งพอไปหาราคามา มันอยู่ประมาณ 450 บาท เราว่าโอเคเลยนะ แต่วันนี้ไหน ๆ เราต้องไปห้างแล้วเราเลยเดินดูตามร้าน เลยไปได้รุ่นที่สูงกว่าหน่อยคือ TP-Link RE205 ที่มี Ethernet Port เหมือนกัน แต่รองรับทั้งย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz ในราคา 990 บาท ไม่เป็นไร บวกมาอีกไม่กี่ร้อย ยังอยู่ในงบ

วิธีดูราคาไม่แพงเลย ถูกกว่าการกด UniFi Access Point เยอะมาก ๆ ถามว่า แล้วมันมีข้อเสีย หรือข้อสังเกตมั้ย ก็ต้องบอกว่า มีแน่นอน คือเมื่อเราไม่ได้ต่อผ่าน UniFi แล้วทำให้อุปกรณ์พวกนี้มันไม่ได้แสดงใน UniFi Controller ซึ่งถามว่า เราแคร์มั้ยสำหรับเรื่องนี้ เรามองว่าเฉย ๆ นะ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เราไม่ได้ต้องการ Monitor อะไรตลอดเวลาอยู่แล้ว เลยไม่ได้ติดอะไรสำหรับเรื่องนี้เท่าไหร่

Setting Up

สิ่งที่เราทำก็คือ เราก็แค่เสียบ Access Point ที่ซื้อมา พร้อมกับสายเข้ากับ Network บ้านไป ค่าเริ่มต้น มันจะเป็น Repeater อยู่ ทำให้เราก็แค่เข้าไปตั้งค่าให้มันเป็น Access Point Mode และตั้งค่า SSID กับ Password ก็พร้อมใช้งานง่าย ๆ แล้ว จากที่เราลอง nPerf ดูคร่าว ๆ มันก็วิ่งอยู่ประมาณ 95 Mbps แถว ๆ นั้น ซึ่งเรามองว่า สำหรับ Application ของเรามันเกินพอละ กับ Latency อยู่ในระดับที่ไม่แย่เลย

อย่างที่เราบอกว่า Access Point ที่เราซื้อมา มันรองรับ 5GHz ด้วย แต่เราไม่ได้ใช้งาน เราก็ปิดการกระจายย่าน 5GHz ไปเพื่อป้องกันความสับสน

และ Repeater จริง ๆ อีกตัว เราก็เอาไปเสียบนอกบ้าน แล้วเราก็ทำการตั้งค่าให้มัน Repeat จาก SSID ของ Access Point ที่เราตั้งค่าไปก่อนหน้า พร้อมกับสร้าง SSID ใหม่ขึ้นมาก็เป็นอันเสร็จ ตอนที่เราเลือกวางทั้ง Access Point และ Repeater เราพยายามวางให้ทั้งสองชิ้นมันอยู่ใกล้กันที่สุด เพื่อให้การส่งสัญญาณหากัน มันทำได้โดยมีความหน่วงน้อยที่สุดนั่นเอง

จากนั้น เราก็ไปทำการเปลี่ยน SSID ที่อุปกรณ์ IoT เราเชื่อมต่อเป็น SSID ของ Repeater แทน จากการทดสอบ เปิดปิด อุปกรณ์ เราพบว่า ความหน่วงมันน้อยลงอย่างเป็นนัยสำคัญเลย นั่นแปลว่า ความพยายามนี้สำเร็จแล้ว เย้ ~

และสุดท้าย Cleaning Up หน่อย เราคงไม่อยากให้เวลาใคร Scan SSID มาแล้วเจอ SSID ของบ้านเราเต็มไปหมด เราก็แค่เข้าไปปิดการ Boardcast SSID ของเราได้ พวกนี้มันจะมี Option ให้เราทำอยู่ แต่เราจะแนะนำให้ทำตอนที่เราไป Setup IoT ของเราเสร็จแล้ว เราจะได้ Setup ง่าย ๆ ไม่ต้องมานั่งกรอก SSID เอง ให้มันหาเจอไปก่อนเลย พอเราทำเสร็จ เราค่อยไปซ่อนมันก็เป็นอันเรียบร้อย สวยงาม ~

สรุป

เรื่องนี้สอนให้เรารู้เลยนะว่า แมร่งบางทีเรารู้เยอะทำให้เราคิดไม่รอบจริง ๆ นะ ตอนนั้นเราก็มัวแต่ไปนั่งหาของ UniFi ที่ใช้เงินเยอะ แล้วก็ของก็หายากมาก จ่าย 4,500 กว่าบาทเพื่อต่อ IoT ไม่กี่ตัวหน้าบ้านเราว่ามันตลกไปหน่อย จนไปหา Repeater มาได้ ต่อไม่ได้ ก็ยังกลับไปหา UniFi ต่ออีกนะ จนสุดท้าย อยู่ ๆ ก็คิดออกว่าเออ Access Point ตัวไม่กี่บาทก็พอมะ สุดท้ายคือ จบจริง ตอนนี้ใช้งานได้แบบ เสถียรมาก ๆ โดยประหยัดเงินไป 3,000 กว่าบาทเลย

Read Next...

การเบลอรูปภาพ มันทำได้อย่างไร ทำไมภาพถึงเบลอได้

การเบลอรูปภาพ มันทำได้อย่างไร ทำไมภาพถึงเบลอได้

เคยสงสัยกันมั้ยว่า Filter ที่เราใช้เบลอภาพ ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม หรืออะไรก็ตาม แท้จริงแล้ว มันทำงานอย่างไร วันนี้เราจะพาไปดูคณิตศาสตร์และเทคนิคเบื้องหลังกันว่า กว่าที่รูปภาพจะถูกเบลอได้ มันเกิดจากอะไร...

AI Watermark กับความรับผิดชอบต่อการใช้ AI

AI Watermark กับความรับผิดชอบต่อการใช้ AI

หลังจากดูงาน Google I/O 2024 ที่ผ่านมา เรามาสะดุดเรื่องของการใส่ Watermark ลงไปใน Content ที่ Generate จาก AI วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า วิธีการทำ Watermark ใน Content ทำอย่างไร...

เราจำเป็นต้องใช้ NPU จริง ๆ เหรอ

เราจำเป็นต้องใช้ NPU จริง ๆ เหรอ

ก่อนหน้านี้เราทำ Content เล่าความแตกต่างระหว่าง CPU, GPU และ NPU ทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอาเข้าจริง เราจำเป็นต้องมี NPU อยู่ในตลาดจริง ๆ รึเปล่า หรือมันอาจจะเป็นแค่ Hardware ตัวนึงที่เข้ามาแล้วก็จากไปเท่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

Database 101 : Spreadsheet ไม่ใช่ Database โว้ยยยย

Database 101 : Spreadsheet ไม่ใช่ Database โว้ยยยย

บทความนี้ เราเขียนสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้เรียนด้านนี้แต่อยากรู้ละกัน สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงคำที่ถ้าเราทำงานกับพวก Developer เขาคุยกันบ่อย ๆ ใช้งานกันเยอะ ๆ อย่าง Database กันว่า มันคืออะไร ทำไมเราต้องใช้ และ เราจะมีตัวเลือกอะไรในการใช้งานบ้าง...