By Arnon Puitrakul - 19 เมษายน 2023
ช่วงนี้อ่านข่าวไป เจอแต่เรื่องค่าไฟแพง เอาจริง ๆ เราว่าก็ไม่น่าแปลกเท่าไหร่แหละ ทำให้ เราน่าจะต้องมาหาวิธีสำหรับการลดค่าไฟของเรากัน เรื่องนึงที่หลาย ๆ คนละเลย คือ การเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานทิ้งเอาไว้ หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า ถ้าอุปกรณ์ปิดอยู่ มันก็ไม่น่าจะกินไฟรึเปล่า เสียบทิ้งไว้มันก็สะดวกดี แต่จริง ๆ แล้วมันไม่เป็นแบบนั้นเสมอไป วันนี้เราจะเอาข้อมูลของบ้านเรามาให้ดูกันว่า มันเสียหายหลายร้อยต่อเดือนเลยแหละ
ปล. บ้านรกไปหน่อยนะ กราบขออภัยด้วย รูปจริง ถถถถถ
ในการทดลองนี้ เราจะใช้ข้อมูลจากบ้านเราเลย โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ เครื่องในบ้านเรามีการเสียบ Smart Plug ที่วัดไฟได้ไว้อยู่แล้ว ทำให้เราสามารถเก็บการใช้ไฟของแต่ละวินาทีได้หมดเลย แต่วันนี้เราจะมาดูกันในหลักเดือนละกันว่า เดือน ๆ นึง ถ้าเราไม่ได้เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเลย เราจะเสียเงินเท่าไหร่กับค่าไฟสำหรับ ความสะดวกสบายในการเสียบไฟทิ้งไว้กัน
สำหรับเคสแรก เป็นเคสที่บ้านหลาย ๆ หลังน่าจะมีเหมือนกันคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องคอมที่เราใช้งาน เราจะเสียบเข้ากับ UPS แล้วเสียบเข้ากับ Smart Plug แล้วค่อยเสียบปลั๊กอีกที
ด้วยความเป็นเครื่องสำหรับเล่นเกม งานก็ยุ่งทำให้บางเดือน เราไม่ได้ใช้งานเลย เราก็ Shutdown คอมปกติ แต่เปิด UPS กับเสียบปลั๊กอะไรทิ้งไว้ กะว่า จะมาเล่น เราก็กดเปิดเครื่องก็เล่นได้เลย ง่าย ๆ แบบนั้นเลยชะ พอมาดูเดือนที่เราไม่ได้เล่นเลย มันจะกินอยู่ 6.7 kWh ไปเลย เดาว่าน่าจะเป็นไฟที่มันจะจ่ายเข้า UPS ตลอดเวลา อะเราเก็บตัวเลขนี้ไว้ก่อนนะ
ไปที่อุปกรณ์อีกตัวนึง ที่อยู่ในห้องเดียวกันเลยคือ ตัวชุดทีวีกับเครื่องเล่นเกมทั้งหลาย PS5, Nintendo Switch อันนี้ก็คือ เราเสียบไว้ปกติเลยนะ เล่นเสร็จเราก็สั่ง Shutdown กับทีวี ไม่ใช้เราก็ปิด แต่มันก็เหมือนกัน คือ ไม่มีเวลาเล่น ฮ่า ๆ เลยมีหลายเดือนเลยที่ไม่ได้ใช้ มันก็กินไป 13.64 kWh
อะเอาให้หมดเลยละกัน พวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวบ้านเรา ก็จะมีไมโครเวฟ, หม้อหุงข้าว และ หม้อทอดไร้น้ำมันที่แม่เคยเห่อทำกับข้าวอยู่แปบนึง ซื้อมา และตอนนี้ก็เป็นม่ายซะละ โดยเฉพาะอีสองอย่างหลัง มีเดือนนึงที่ไม่ได้ถูกใช้เลย มันก็จะกินอยู่ประมาณ 1.37 kWh ต่อเดือน
ทำให้สุทธิไฟที่เราปล่อยทิ้งไปเปล่า ๆ โดยการไม่ดึกปลั๊กออกเลย จะอยู่ที่ 21.71 kWh ต่อเดือน ถ้าเทียบกับของในบ้านเรา ก็เยอะกว่า เครื่องอบผ้ากับซักผ้าเราทั้งเดือนอีก เยอะอยู่นะ ไม่น้อยเลยจริง ๆ
เรามาคำนวณกันดีกว่า เราขอยกเป็นเดือน มีนาคม 2023 ละกัน บ้านเราใช้ไฟอยู่ที่ 1,425.98 kWh หรือคิดเป็นเงิน 7,971.39 บาท ก่อนหัก Solar นะ ถามว่า แล้วถ้าเราถอดปลั๊กของพวกนี้อย่างเดียวเลยออก เราจะเสียเงินน้อยลงเท่าไหร่
ถ้าเราถอดปลั๊กพวกนี้ออก เราก็จะลดการใช้ไฟไปได้ 21.71 kWh ต่อเดือน ทำให้เราจะเหลือไฟที่ใช้อยู่ที่ 1,404.07 kWh หรือคิดเป็นเงิน 7,845.33 บาทด้วยกัน หรือ ก็คือ เราจะเสียค่าไฟน้อยลงเดือนละ 126.06 บาท
ดูเหมือนไม่เยอะนะ แต่นี่คือเรานับเฉพาะอุปกรณ์ที่ทั้งเดือนเราไม่ได้ใช้เท่านั้น มันจะมีพวกอุปกรณ์ที่เราไม่ได้ใช้งาน ณ เวลานั้นที่เรายังไม่ได้ถอดปลั๊กอีกนะ
เราไปดูอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เราใช้งานบ้าง แต่ก็จะมีเวลาที่ไม่ได้ใช้เยอะ ๆ ละกัน อย่างแรกคือ TV ของเราเป็น Sony A7G กับ Soundbar JBL Bar 9.1 ถ้าเราไม่ได้เปิดทีวีอะไรเลยนะ มันจะใช้อยู่ประมาณ 40W ได้ สมมุติว่า เราดูทีวีวันละ 4 ชั่วโมง ก็เยอะแล้วนะ แปลว่าอีก 20 ชั่วโมงเราจะไม่ได้ใช้เลย 1 ชั่วโมงเราใช้ 0.04 kWh ดั้งนั้น 20 ชั่วโมง ที่เหลือก็จะเป็น 0.8 kWh ทำให้ใน 1 เดือน เราจะกดไป 24 kWh เหยยย เยอะอยู่นะ เยอะกว่า ไอ้ที่เราถอด ๆ ปลั๊กหลาย ๆ อันอีกนะ พีคกว่านั้นคือ บ้านเราเดือน ๆ นึง จะใช้ไฟกับ TV Set นี้ประมาณ 40 kWh ต่อเดือน แปลว่า ไฟที่ไหลทิ้งไป คือเยอะกว่าไฟที่ดูทีวีจริง ๆ ซะอีกนะ
ไปที่อุปกรณ์ที่ทำให้กายเราเย็น และ กระเป๋าแห้งทุกเดือนอย่างแอร์ดีกว่า ถ้าเปิด เราว่าอะโอเค ไว้เรามาคุยว่าเปิดยังไงให้มันกินไฟน้อยสุด แต่ถ้าเราปิดไว้ละ ทุกคนจะคิดว่า มันไม่กินไฟใช่ปะ แต่จริง ๆ แล้วมันกินนะ บ้านเรา มีแอร์ 4 ตัว แต่ละตัวมันจะมี Standby Power ไม่เท่ากัน มีตัวนึง ห้องเล็กมาก ๆ ปิดไว้กินที่ 40W เท่าอี TV Set เลยนะ แปลว่า แค่ห้องนั้นห้องเดียวเราโดนเดือนละ 24 kWh แล้วนะ ยังไม่นับห้องที่เหลืออีก รวม ๆ กัน 77.9W หรือเดือนละเกือบ ๆ 40 kWh ได้เลย (ที่มันเท่า ๆ กับทีวีเลย เพราะแอร์เราเปิดนานกว่านั้นเยอะ ตอนที่แอร์เปิดเราไม่สนนะ เพราะเราเย็น ได้ประโยชน์จากไฟที่เสียไป)
สุดท้าย ถ้าเอามารวมกันทั้งหมด รวม 2 อย่างก่อนหน้าแล้วด้วยนะ เราจะเสียไฟทิ้งไปเดือนละ 101.71 kWh หรือ ประหยัดไปเดือนละ 578.81 บาท ถือว่าไม่น้อยเลยนะ มันคิดเป็น 7.26% ของค่าไฟเดิม เรากินข้าวได้เป็นวัน ๆ เลยนะ นี่เรายังไม่นับพวกเครื่องฟอกอากาศที่บ้านเราจะเปิดทิ้งไว้แบบ 24/7 อีกนะ นั่นน่าจะหลายร้อย Watts อยู่
ถามว่า อ้าว ก็เราใช้เสร็จ เราก็ปิดแล้วนิ ทำไมเครื่องใช้ไฟฟ้ามันยังกินไฟอยู่ละ มันไม่ควรจะมีโหลด แต่จริง ๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียว ถึงเราจะปิดการทำงานแล้ว มันก็ยังมีบางส่วนที่จะต้อง Standby หรือเตรียมพร้อมไว้ ให้เราสามารถสั่งเปิดได้ เช่น แอร์
แอร์ เวลาเราปิด พวกพัดลม กับชุดทำความเย็น มันปิดแหละ แต่สิ่งที่มันยังมีไฟเลี้ยงอยู่คือ ชุด Main Switch ที่ทำให้เราสามารถ กดที่ Remote เพื่อเปิด มันจะต้องเอาไฟเลี้ยงนอนรอให้เราเอา Remote มาจี้เปิดมันแหละ เลยทำให้มันกินไฟอยู่ดี
หรือเป็นพวก TV และ Soundbar พวกนี้ก็คล้าย ๆ กัน แต่หนักกว่า เพราะ เดี๋ยวนี้ TV เป็น Smart TV และ Soundbar เองก็มีพวกความสามารถในการ Cast Media เข้าไปได้ ทำให้ถึงจะปิดอยู่ ระบบคอมพิวเตอร์ภายในมันก็ยังต้องทำงาน เผื่อเราจะ Cast Media เข้าไปในทีวี อุปกรณ์มันก็จะมองเห็นผ่านระบบเครือข่ายได้ ไม่ต้องเดินไปเปิดเอง หรือสุดท้าย เอา Remote จี้ ก็ไม่ต่างจากแอร์เลย
ดังนั้นวิธีเดียวที่จะมั่นใจว่ามันไม่โหลดไฟแน่ ๆ คือการ ถอดปลั๊กมันออกไปเลย อันนั้นแหละ เป็นการตัดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากแหล่งไฟฟ้าแบบชัวร์ ๆ ไม่กินแน่นอน พวก Smart TV ก็ใช่แหละ ถ้าเราดึงปลั๊กออก เปิดมาใหม่ มันจะต้อง Boot เครื่องใหม่เสียเวลา แต่ถ้าเราจริงจังจริง ๆ เราก็ถอดแหละ แล้วพอจะดู เราก็เสียบปลั๊ก ระหว่างมัน Boot เราก็ไปเตรียมนั่นนี่เข้าห้องนำ้เดินกลับมาเครื่องมันก็พร้อมละ
ที่การไฟฟ้าเคยออก Campaign ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้แล้ว อื้มม เราว่าเป็นสิ่งที่ควรเอามาทำจริง ๆ นะ มันช่วยลดค่าไฟแบบ เราพอจะสังเกตได้เลย ไหน ๆ เราก็ห้ามไม่ให้เราเปิดแอร์ในช่วงเวลาแบบนี้ได้แล้ว การดึงปลั๊กออกเมื่อเราไม่ได้ใช้ หรือสับ Breaker ลงถ้าเราไม่อยู่หลาย ๆ วัน ก็เป็นวิธีการที่พอจะช่วยเราลดค่าไฟได้บ้างก็ยังดีเนอะ อย่างน้อยบ้านเรา 500 บาท เราเปิดแอร์ได้ตั้งหลายชั่วโมง มันก็คุ้มอยู่
นอกจากความประหยัดที่เราจะได้แล้ว อีกส่วนคือ ความปลอดภัย บางที เราไม่ได้เห็นทุกปลั๊กในบ้าน ถ้าเราเสียบไว้ มันก็เพิ่มโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ด้วยนะ เช่นบ้านเราพึ่งโดนมากับตัวเลยคือ ปลั๊กที่เราเสียบ NAS อยู่ เราไปเจอตอนที่มันไหม้ไปแล้ว คือเราไม่รู้เลยนะว่า มันไหม้ตั้งแต่เมื่อไหร่ด้วยซ้ำ ถ้ามันรุนแรงกว่านั้น เกิดไฟไหม้จะน่ากลัวมาก การถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้ ก็เป็นการป้องกันที่เรียกว่าดีมาก ๆ ไม่สัมผัสไฟ โอกาสที่จะ Arc มันก็น่าจะไม่มีแล้วละ เว้นแต่มีไฟเก็บไว้ในเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...