Technology

HTTP Status Code ที่หลาย ๆ คนไม่เข้าใจ

By Arnon Puitrakul - 22 ธันวาคม 2015

HTTP Status Code ที่หลาย ๆ คนไม่เข้าใจ

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เข้าเว็บในปัจจุบันน่าจะเคยเห็น Error ในหน้าเว็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 4xx หรือ 5xx เราจะเรียกมันว่า HTTP Error Code ซึ่งแต่ล่ะตัวก็มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจะมาดูกันว่า แต่ล่ะ Code ที่เรามักจะพบเจอบ่อยในชีวิตประจำวันของเรามีอันไหนบ้าง

ทำไมต้องมี HTTP Error Code?

มันทำให้เรารู้ถึงปัญหาในการโหลดหน้าเว็บต่าง ๆ และสามารถวินิฉัยปัญหาได้ เมื่อมันเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบที่เป็นมาตราฐานเหมือนกันทั่วโลกเลยล่ะ

4xx Error

HTTP 400 Error
มาเริ่มกันที่ Error ยอดฮิตอย่าง 4xx Error (xx คือเลขตามหลัง) กันเลย เราจะเรียก Error แบบนี้ว่า Client Error ซึ่งน่าจะเกิดจากการเรียกหน้าเว็บผิด หรือใช้ไวยากรณ์ในการเรียกผิด หรือเหตุผลอื่น ๆ โดยน่าจะเกิดจากทางฝั่ง Client หรือฝั่งเราเอง

  • Error 401 (Unauthorised) - เกิดจากเราไปเรียกหน้าที่ไม่สามารถโหลดได้จนกว่าเราจะใช้ Username และ Password ซะก่อน หรือถ้าเรากรอกไปแล้ว มันอาจจะเกิดปัญหาว่า เรากรอกผิด หรือ Username/Password ที่เราใช้นั้น ไม่สามารถเข้าถึงหน้าเว็บนี้ได้นั่นเอง
  • Error 403 (Forbidden) - คล้าย ๆ กับ Error 401 แต่ 403 จะเกิดจาก Permission ใน Web Server ที่ทำให้เราไม่สามารถโหลดหน้านั้นขึ้นมาได้นั่นเอง
  • **Error 404 (Not Found) - **Error ตัวนี้ก็น่าจะเป็น Error ยอดฮิตเลย มันเกิดจาก Server มันหาหน้าที่เราเรียกไปไม่เจอมันเลยส่ง Error กลับมาเป็น 404 Error

5xx Error

HTTP 500 Error

มาที่ Error ถัดมาที่ฮิตไม่แพ้กันนั่นคือ 5xx Error หรือ Server Error ปัญหา 5xx Error จะเกิดตรงข้ามกับ 4xx Error ที่เกิดปัญหาจากทางฝั่ง Client เพราะว่า 5xx เกิดจากทางฝั่ง Server เอง

  • Error 500 (Internal Server Error) - เกิดจากมีข้อผิดพลาดบางอย่างใน Server แต่ตัวระบบไม่สามารถรู้ได้ว่าเกิดจากอะไร หรือก็คือ General Case เลย ดังนั้น เราสามารถพบเจอ Error 500 นี้ได้บ่อย ๆ
  • Error 502 (Bad Gateway) - เกิดจากการที่ Server ได้รับ Error จากจากอีก Server หนึ่งเลยทำให้เกิด Error 502 ขึ้นมา กล่าวคือมีปัญหาในการรับส่งข้อมูลกันระหว่าง Server นั่นเอง
  • Error 503 (Server Unavailable) - อันนี้ก็เป็นอีก Error นึงที่ใครหลาย ๆ คนน่าจะได้พบเจอบ่อยอยู่เหมือนกัน เพราะว่า มันอาจจะเกิดจาก Server ที่ทำงานหนักเกินไป เลยทำให้เราไม่สามารถเข้าได้ชั่วคราว หรืออาจจะเกิดจาก Server ที่เราเรียก อาจจะอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุงอยู่เลยทำให้เกิด Error นี้ขึ้นมา
    เท่าที่ผมยกมาเขียนในบทความนี้เป็นเพียง Error Code ที่เราสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเรา จริง ๆ แล้วนอกจาก Error 3xx และ 4xx ที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วก็ยังมี Error 2xx และ 3xx อีกแต่เป็นเพราะเราไม่ค่อยหน้าจะได้เห็น Error แบบนั้นตรง ๆ บ่อยมากเลยไม่ได้หยิบยกมาเขียนในวันนี้ ถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่เว็บของ W3Schools ได้เลย ในนั้นจะมีรายละเอียดของแต่ล่ะ Error อย่างละเอียด

Read Next...

รวม Homebrew Package ที่รักส์

รวม Homebrew Package ที่รักส์

Homebrew เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราชอบมาก ๆ มันทำให้เราสามารถติดตั้งโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่วันนี้ เราจะมาแนะนำ 5 Homebrew Package ที่เรารักส์และใช้งานบ่อยมาก ๆ กันว่าจะมีตัวไหนกันบ้าง...

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...