Technology

กรณีที่มีข้อมูลการรั่วไหล ผู้ใช้อย่างเราควรทำอย่างไร

By Arnon Puitrakul - 02 พฤศจิกายน 2020

กรณีที่มีข้อมูลการรั่วไหล ผู้ใช้อย่างเราควรทำอย่างไร

จากประเด็นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่มีเรื่องของการรั่วไหลของข้อมูลในเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บ หนึ่งในนั้นก็เป็นเว็บที่คนไทยใช้กันอย่าง Eatigo และ Wongnai เกิดขึ้น ทำให้หลาย ๆ คนถามเรามาว่า แล้วมันเกี่ยวกับเราอย่างไร และ เราควรทำอย่างไรเมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านี้

มันเกิดอะไรขึ้น

เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า มีการค้นพบฐานข้อมูลของ Lazada อยู่ในตลาดใต้ดิน ปรากฏว่านอกจาก Lazada เองก็ยังมี Wongnai และ Eatigo หลุดออกมาเช่นกัน

โดยข้อมูลที่หลุดออกไปน้ันเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ เช่น อีเมล์, ชื่อ, ชื่อ Account ของ Social Media อย่าง Facebook และ Twitter, หมายเลขโทรศัพท์ และ รหัสผ่าน (ที่เข้ารหัสแล้ว)

หลายคนอาจจะตกใจมากว่า ทำไมมันถึงหลุดได้ อันนี้ก็พูดยาก แต่เรามั่นใจว่า แต่ละบริษัทเขาก็มีการดูแลรักษาข้อมูลของลูกค้าได้เต็มความสามารถแล้ว แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนอยากที่จะล้วงข้อมูลบริษัทที่ใหญ่อยู่แล้ว แค่ครั้งนี้เขาอาจจะทำสำเร็จไปเท่านั้นเอง แต่ไม่ต้องกลัวพอโดน เขาก็ต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นแน่นอนแหละ

เอ๊ะ แต่รหัสผ่านหลุดออกไปด้วยแย่แล้วละสิ !!!

ใช่ละฮ่ะ ว่าในแต่ละที่นั้นก็มีรหัสผ่านหลุดออกไปด้วยจริง (อ้างอิงจาก Wongnai Security Incident และ Blognone) แต่รหัสผ่านเหล่านี้ได้ถูกเข้ารหัสไว้แล้ว ทำให้คนที่ได้รหัสผ่านไปไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า รหัสผ่านของเราจริง ๆ คืออะไร

ทำให้หลาย ๆ คนถามว่า ถ้าไม่รู้รหัสผ่านของเราจริง ๆ แล้ว แล้วไงอะ จริง ๆ แล้ว สิ่งที่หลาย ๆ เว็บทำ เพื่อการเก็บรหัสผ่านเราเรียกว่า Hashing ซึ่งต่างจาก การเข้ารหัส (Encryption) ตรงที่ Hashing เราไม่สามารถย้อนคืนค่าเดิมกลับมาได้ แต่การเข้ารหัส เราสามารถใช้ กุญแจ หรือ รหัสผ่าน​ (Password) เพื่อเรียกคืนค่าเดิมก่อนการเข้ารหัสออกมาได้

ทำไม Hashing ถึงเอาค่าเดิมกลับมาไม่ได้ ในขณะที่ Encryption เอากลับมาได้ละ คำตอบอยู่ที่ คณิตศาสตร์ เลย เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้ง 2 อย่างมันเป็น Function ตัวนึง แต่สิ่งที่ต่างคือ ความสัมพันธ์ ซึ่งถ้าเราเรียนมา มันก็จะมี One-One, Many-One, One-Many และ Many-Many

สิ่งที่ Encryption ใช้คือแบบ One-One แปลว่า เราเอาข้อมูลเราใส่เข้าไป และ กุญแจ เข้าไป เราก็จะได้ข้อมูลที่เข้ารหัสออกมา และเมื่อเราเอาข้อมูลตรงนั้น พร้อมกุญแจมาใส่ เราก็จะได้ข้อมูลที่เหมือนเดิมแน่นอน

แต่กลับกัน Hashing Function มีความสัมพันธ์แบบ Many-One หมายความว่า ถ้าเราเอาข้อมูลใส่เข้าไป เราจะได้ค่า Hash กลับมา แต่ถ้าเราจะเอาค่า Hash ย้อนกลับไปเป็นข้อมูลเริ่มต้น เราจะหาได้ยากมาก เพราะ 1 ค่า Hash มาจากหลายข้อมูลที่ใส่เข้าไป ทำให้มันมีเหตุการณ์นึงที่อาจจะเกิดขึ้นคือ Hash Collision หรือ การที่เราใส่ข้อมูลต่างกัน แล้วได้ค่า Hash เหมือนกัน ซึ่งเราก็แก้ปัญหาด้วยการขยายความยาวเข้าไปทำให้เรื่องพวกนี้เกิดได้ยากมาก ๆ จนแทบจะคิดได้เลยว่ามันไม่น่าเกิดได้เลย

พอการเก็บรหัส มันใช้ Hashing นั่นแปลว่า เจ้าของเว็บเอง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า รหัสผ่าน ของแต่ละคนคืออะไร แล้วทีนี้ ถ้าเวลามีคน Login เข้าสู่ระบบ มันจะรู้ได้ยังไงว่า รหัสผ่านที่ใส่มามันตรงกับรหัสผ่านที่ตั้งไว้ ง่าย ๆ ก็คือ เอารหัสผ่านที่กรอกเข้ามา Hash ด้วยวิธีการเดียวกับที่เรา Hash รหัสผ่านตัวจริง แล้วเอามาเทียบกัน ถ้ารหัสผ่านทั้ง 2 เหมือนกัน ก็คือ รหัสผ่านถูกต้องนั่นเอง

อีกความเป็นไปได้ที่เจ้าของระบบ พอจะเดาได้ว่ารหัสผ่านคืออะไรคือ ถ้ารหัสผ่านของเราดันไปเหมือนกับคนอื่นนั่นแหละ เมื่อเข้าไปดูในระบบ ถึงจะเป็น Hash ก็เถอะ มันจะออกมาเหมือนกันเลย แล้วถ้าเจอเยอะ ๆ นี่น่ากลัวนะ ทำให้รู้เลยว่า ถ้าเราเดาสุ่มรหัสอันนี้อันเดียว เราสามารถเข้าได้เกือบทุก Account ในระบบได้เลยนะ น่ากลัวจริง ๆ

เราควรจะทำอย่างไร เมื่อได้ข่าวแบบนี้

สิ่งที่เราที่เป็น User ต้องทำคือ การเปลี่ยนรหัสผ่าน ทันทีและถือว่า รหัสผ่านชุดนี้เป็นรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัยไปเลย ถ้าเราใช้รหัสผ่านเดียวกันกับทุก Account (ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ) ก็ควรจะไล่เปลี่ยนให้หมด เพราะเราไม่รู้หรอกว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อ

เหนือสิ่งอื่นใด การที่เราเป็นผู้ใช้งานของระบบนั้น ๆ เราก็ควรที่จะมีการติดตามข่าวหน่อยว่า ระบบที่เราใช้งานมันมีเรื่องของความปลอดภัยเกิดขึ้นอะไรอย่างไรบ้าง เพื่อที่เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เราจะได้ตั้งรับได้ทัน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และ ความเป็นส่วนตัวของเราด้วย

คำแนะนำเพิ่มเติม

เราอยากจะเน้นย้ำมาก ในเรื่องของการตั้งรหัสผ่านของเรา โดยที่อยากให้ตั้งรหัสผ่านที่แข็งแรง กล่าวคือ เป็นรหัสผ่านที่สามารถเดาสุ่มได้ยากนั่นเอง สำหรับการเริ่มต้นคือ เราแนะนำให้ตั้งรหัสผ่านที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร ที่ประกอบด้วย ทั้ง ตัวหนังสือพิมพ์เล็กและใหญ่, ตัวเลข และ อักขระพิเศษ

กับอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เราไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกับทุก ๆ บริการที่เราใช้งานเลย อย่างเหตุการณ์ในครั้งนี้ ถ้าเกิดว่าเราใช้รหัสผ่านเดียวกันทั้งหมดเลย ก็แปลว่าคนที่เอารหัสผ่านเราไปได้ ก็สามารถไปลองเข้าในบริการอื่น ๆ ที่เราใช้งานอยู่ได้หมดเลยนะ มันต้องไม่โอเคแน่นอน ดังนั้น ตั้งรหัสผ่านให้มันไม่เหมือนกันสักบริการเลยจะดีมาก

เมื่อ LastPass ไม่ฟรีอีกแล้ว หนีไป Bitwarden ก็ได้
หลังจาก Lastpass ก็เปลี่ยนแผนไม่ให้เราฟรีแล้วเราก็หนีไปหา Password Manager ตัวใหม่กัน ปลายทางของเราในวันนี้ก็คือ Bitwarden จะสู้ LastPass ได้มั้ย มีอะไรดีกว่ายังไง เรามาดูกัน

แต่เราเข้าใจแหละว่า มันอาจจะจำยากมาก ๆ ถ้าเรามี Account สัก 100 เจ้าแล้วรหัสผ่านเราแข็งแรงหมด จำตายแน่นอน ทำให้เราแนะนำให้ใช้บริการจำพวก Password Manager พวกนี้ช่วยให้เราสร้างรหัสผ่านที่แข็งแรงได้ ในขณะที่เราไม่ต้องมานั่งจำรหัสผ่านทุกอันที่เรามี

Password Manager บางตัวมันเก่งกว่านั้นอีก คือ เราสามารถตั้งเวลาให้มันเปลี่ยนรหัสผ่านเองได้ด้วย เช่น อาจจะให้มันเปลี่ยนทุก 2 เดือน มันก็จะจัดการให้เราเองเลย ไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนเองทั้งหมด ทำให้เรามีความปลอดภัยจากการขโมยตัวตน และ ข้อมูลได้ดีขึ้นมากแล้วละ

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...