By Arnon Puitrakul - 17 กรกฎาคม 2023
สำหรับคนที่อาจจะเป็นห่วงว่า แบตในรถ EV ของเรามันจะอายุได้สั้น กลัวว่าค่าเปลี่ยนแบตมันจะแพงหูฉี่ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำกันว่า ถ้าเราอยากจะดูแลรักษาแบตของเราให้อยู่ได้นานที่สุด เราควรจะดูแลรักษายังไง
เราเคยเล่าเรื่อง SoH ไปก่อนหน้านี้ วิธีการทดลองของเรา มันเป็นการวัดปลายเหตุของการที่แบตเราเสื่อมไปหนึ่งจุด นั่นคือ ความสามารถในการเก็บประจุที่ลดลง อันนี้ผลมันจะเห็นชัดมาก ๆ เพราะพลังงานที่แบตเก็บได้ลดลง ส่งผลต่อระยะทางที่ลดลง อันนี้ชัด ๆ
แต่อีกส่วนที่เป็นการเสื่อมของแบตคือ ค่าความต้านทานภายในแบต สูงขึ้น ทำให้เมื่อเรามีการโหลดไฟ หรืออัดกระแสเข้าไป ก็จะทำให้ไฟที่จ่ายออก หรือเข้า มันทำได้ต่ำลง ส่งผลตั้งแต่กำลังที่อาจจะไม่ได้สูงสุดเมื่อเทียบค่าจากโรงงาน นั่นอาจจะทำให้รถมันเร่งได้ไม่เร็วเท่าเดิม หรือใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้รถวิ่งได้ระยะน้อยลงได้
เรื่องสำคัญที่เราอยากจะให้ทุกคนทำใจไว้ก่อนคือ มันมีปัจจัยที่เราหลีกเลี่ยงได้ และ หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับ Battery เองก็มีเช่นกัน คือ เวลา และ Cycle การชาร์จ
เวลา หรืออายุของ Battery ก็มีส่วนในการเสื่อมสภาพของมันได้เหมือนกัน โดยที่เมื่อเวลาผ่านไป พวก Lithium ที่อยู่ใน Electrolyte มันจะก่อตัวเป็นผลึกอยู่ที่ฝั่ง Anode ที่ประกอบขึ้นจากสารพวก Graphite ทำให้ Lithium ที่สูญเสีย Electron และวิ่งที่รับ Electron ที่ Cathode ไม่สามารถไปเกาะรอได้อย่างเต็มที่ อาการนี้เราเรียกว่า Solid Electrolyte Interphase (SEI) Growth นั่นทำให้เราสูญเสียความจุในการเก็บพลังงานไปแน่นอน
อีกปัจจัยที่ห้ามไม่ได้คือ Cycle ในการชาร์จ เราเอา Battery มาใช้งานเนอะ ดังนั้น การใช้งาน Cycle ไปเรื่อย ๆ เลยเป็นเรื่องที่เราห้ามไม่ได้ เมื่อเราใช้งาน และ ชาร์จไปกลับ Electron ก็จะวิ่งไปกลับ ๆ Anode และ Cathode ทำให้เมื่อใช้งานไป โครงสร้างของขั้วทั้งสองอาจจะมีการเสื่อมสภาพได้ นั่นอาจทำให้เกิดการเพิ่มของความต้านทานทางไฟฟ้าภายใน Battery ได้ มันก็เป็นความเสื่อมแบบหนึ่งเช่นกัน นอกจากนั้น ก็ยังทำให้เกิด SEI Growth ได้อีกเหมือนกัน
เราอาจจะเคยได้ยินกันมาว่า การชาร์จเร็วบ่อย ๆ มันทำให้แบตเราเสื่อมได้เร็วขึ้น ก็อาจจะเป็นเรื่องจริง เพราะ การชาร์จไว ๆ นั่นหมายถึงการที่เราเคลื่อน Electron กลับขั้วมันเร็ว ๆ Electron ที่พุ่งเข้ามาแรง ๆ ชนกับ SEI แรง ๆ บ่อย ๆ ก็ทำให้ชั้นในปริมาณที่ควรมีมันบางลงได้อีก นอกจากนั้น ยังทำให้ Graphite ที่อยู่ฝั่ง Anode อาจจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปได้อีก ส่งผลทำให้ ความต้านทานภายในแบต มันสูงขึ้น ก็ทำให้แบตเราเสื่อมเร็วขึ้นนั่นเอง
ดังนั้น เลยมีคนบอกเยอะมากว่า การชาร์จไว ๆ เลยทำให้แบตเสื่อมนั่นเอง โดยเฉพาะการชาร์จ DC ที่เราอัดกระแสเข้าไปมี 100A ++ ลงไปในแบตได้เลย เทียบกับ ถ้าเราชาร์จบ้านด้วย Mode 3 Charger แบบไฟ 1-Phase ทั่ว ๆ ไป ไฟเข้าแบตจริง น่าจะไม่เกิน 20A เท่านั้นเอง
ทำให้ คำแนะนำจากเรื่องนี้คือ ถ้าเป็นไปได้ ให้เราชาร์จด้วย Mode 3 หรือพวก Wall Charge ตามบ้าน ส่วนพวก DC Fast Charger Mode 4 เราเอาไว้ชาร์จเวลาที่เราเดินทางเท่านั้น ก็จะยืดอายุการใช้งานไปได้
ถ้าเราไปอ่านเรื่องการดูแลแบตกันมา เราจะเจอว่า อุณหภูมิเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ Battery ก็เหมือนกับคนเรานี่ละ มันไม่ชอบ ที่ร้อน ๆ และ ที่ ๆ เย็นมาก ๆ
บ้านเราอาจจะยังไม่เคยเจอ แต่เมื่อ Battery อยู่ในที่เย็นมาก ๆ เย็นเกินไป เราก็จะเจอกับอาการ Lithium Plating ส่งผลทำให้ความจุลดลง และ ความต้านทานสูงขึ้นอีกเช่นกัน แต่ Effect นี้ ถ้าเกิดจากความเย็นจริง ๆ ถ้า Battery ใช้งานไป อุณหภูมิของมันจะเริ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความต้านทานที่ยื้อเอาไว้ เมื่อถึงประมาณนึง อาการมันก็จะดีขึ้นเอง
กลับกัน ถ้ามันร้อนเกินไปบ่อย ๆ ส่งผลเสียให้กับแบตเหมือนกัน หลัก ๆ คือ การทำลาย ล้วน ๆ เลย ตั้งแต่ Electrolyte และ SEI ทำให้เราอาจจะเสียความจุไปได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดพวก Dendrite Formation ส่งผลให้ความต้านทานของมันเพิ่มสูงขึ้นไปอีกได้เหมือนกัน
เพราะอุณหภูมินี่แหละ ก็เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้ เราควรเลี่ยงการชาร์จ DC เพราะพอ เราอัดกระแสเข้าไปสูง ๆ ก็ทำให้อุณหภูมิมันสูงมาก ๆ โอเคแหละ ส่วนใหญ่แล้ว รถมันพยายามจะใช้ Active Cooling เพื่อลดอุณหภูมิให้ได้มากที่สุด แต่สุดท้ายแล้วยังไงเราก็อัดกระแสมันเร็วยังไง ๆ แบตก็จะร้อนกว่าปกติอยู่ดี
ดังนั้น เราจะต้องพยายามทำให้อุณภูมิแบต มันเย็นที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะส่วนนึงคือการเลี่ยง DC และนอกจากนั้น การจอดรถตากแดด ก็ทำให้แบตร้อนได้เหมือนกัน ถ้าเป็นไปได้ ย้ำกว่า ถ้านะ ก็แนะนำให้จอดรถในที่ร่มก็จะดี แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แหม่ ถ้าจะซื้อรถแล้วจอดแล้วต้องระแวงมันก็ไม่โอเคแหละ สุดท้าย อันนี้เราแนะนำเองคือ เวลาชาร์จที่บ้าน แนะนำให้ชาร์จกลางคืนจะดีกว่า เพราะกลางวันอากาศมันร้อน แล้วพอเราเอากระแสวิ่งผ่านมันก็จะร้อนเข้าไปอีก แต่ถ้าเราชาร์จกลางคืน อากาศมันก็จะเย็นกว่าเยอะพอสมควรเลย น่าจะเหมาะกับการชาร์จมากกว่า
และ เรื่องสุดท้าย คือ SoC หลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้คิดมาก แต่ ถ้าเราไปดูตาม Manual ของรถ หรือ การตั้งค่าชาร์จบนรถ เขาจะแนะนำให้เราชาร์จไม่เกิน 90% เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน และ ควรจะเอามาชาร์จเมื่อแบตต่ำกว่า 20%
อย่างที่บอกแบตมันก็เหมือนคน นอกจากไม่ชอบที่ร้อนมาก ๆ เย็นมาก ๆ แล้ว มันยังชอบอยู่ในสภาพที่สบายตัวมันที่สุด ซึ่งสภาพนี้ก็คือช่วง 50% ทำให้ หลาย ๆ คนเลยบอกว่า ถ้าเราไม่ได้ใช้แบตนาน ๆ หรือ รถไม่ได้ขับนาน ๆ เป็นเดือน ๆ เขาจะแนะนำให้ทิ้งแบตให้เหลือประมาณ 50% นั่นเอง
ถ้าแบต ลดลงต่ำกว่า หรือสูงกว่า 50% มาก ๆ มันก็จะทำให้แบตอยู่ในสถานะที่เครียด หรืออ่อนแรงได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถามว่า การที่เราใช้แบตจนเหลือน้อย ๆ หรือชาร์จเอาเต็ม ๆ เลยมันส่งผลกระทบอะไรมั้ย ก็ต้องตอบว่า ทั้งไม่ และ ใช่ มันจะใช่ เมื่อเราอยู่ในสถานะที่แบตมันไม่สบายนาน ๆ เช่น เราชาร์จไว้ 100% แล้วทิ้งไว้เป็นวัน ๆ แต่ถ้าเราชาร์จ 100% ทิ้งไว้แปบเดียว เช่น อาจจะ 1 ชั่วโมง แล้วออกไปขับเลย มันก็ไม่มีปัญหาอะไร
กลับกัน ถ้าเราใช้แบตมาเหลือน้อย ๆ ขับกลับถึงบ้านเราเหลือ 5% อะไรแบบนั้น ก็อาจจะทิ้งแบตให้เย็นสักชั่วโมงนึง แล้วก็เสียบชาร์จทันที เพื่อให้แบตได้ชาร์จกลับไปใกล้กับ 50% ที่สุดนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว ถ้าเราอยากจะยืดอายุการใช้งานของแบตเราให้อยู่ได้ยิ่งขึ้น ก็ควรเลี่ยงความร้อน ชาร์จแบตเมื่อมันต่ำมาก ๆ และ เลี่ยงการชาร์จด้วย DC Charger ไปใช้ชาร์จตามบ้านทั่ว ๆ ไปจะดีกว่ามาก ๆ แต่เราไม่ได้บอกว่าให้ทำตามนี้แบบ เคร่งครัดนะ เราซื้อรถมาใช้ ถ้ามันต้องใช้ก็ใช้ไปเถอะนะ อย่าซีเรียสมาก เอาเรื่องพวกนี้เป็น Guideline แล้วใช้รถอย่างมีความสุข ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าเราดีกว่าเนอะ
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...