By Arnon Puitrakul - 16 เมษายน 2015
หลังจากที่ผมได้ผ่านสรภูมิการย้ายเว็บลง Digital Ocean เมื่อไม่กี่วันก่อน ตอนที่หาวิธี ผมหาอันที่เป็นภาษาไทยไม่ได้เลย เศร้ามาก!! วันนี้ผมเลยจะมาบอกเล่า เป็นภาษาไทยกันล่ะกัน
อันนี้ก็ไม่มีอะไร ยังง่ายๆอยู่ แค่ Backup Database ออกมาไว้ก่อน อาจจะผ่าน Phpmyadmin ก็ได้ ง่ายดี และ Backup ไฟล์ของเว็บเราออกมาด้วย
หลังจากที่เรา Backup ตัวเว็บเข้ามาในเครื่องของเราแล้ว เราจะต้องมาสร้าง Droplet ใน Digital Ocean
ในการสร้าง มันจะมี Settings ให้เราเลือก เยอะแยะ ตอนนี้ผมแนะนำให้ลงเป็น OS Ubuntu x64 Version ล่าสุดไปและ เลือก Image เป็น LAMP เพื่อที่เราจะไม่ต้องมานั่ง Install mysql,apache อะไรให้วุ่นวาย ส่วนช่ือของ Droplet ให้ตั้งเป็นชื่อเว็บ เช่น arnondora.in.th (ไม่ต้องใส่ www. นะ)
ยังๆ ยังไม่จบ ถัดมาหลังจากที่สร้าง Droplet เรียบร้อยแล้ว Digital Ocean จะส่ง ตัว IP Address และรหัสเข้า root ของเครื่องที่สร้างมาให้ ให้เราจดไว้ ไม่ก็เปิดหน้าเมล์ทิ้งไว้ก่อน จากนั้นเราก็จะเข้าไป Setting เครื่องของเรากัน
ให้เปิด Terminal ขึ้นมา (For Mac or Linux) ถ้าเป็น Windows แนะนำให้ใช้ Putty ก็ได้ ให้พิมพ์
ssh root@**yourIPAddress**
จากนั้นมันจะถามรหัสต่อให้พิมพ์รหัสที่ เราได้จากเมล์เลย
ถ้าเราเข้าครั้งแรก มันจะถามเราว่า เราจะ Trust คอมเครื่องนี้มั้ย ให้ตอบ yes และ enter
ก็เป็นอันเสร็จสเต็ปนี้และ (เริ่มเหนื่อยและ)
ปัญหาที่ผมเจอตอนที่ย้ายคือ เอิ่ม.. มันใช้ FTP เหมือนเดิมไม่ได้ เซงมาก! เลยต้องมาติดตั้ง vftpd เพื่อให้เราใช้ FTP ได้เหมือน Host ตัวเก่า วิธีคือ
apt-get install vsftpd
หลังจากที่มันโหลดและติดตั้งอะไรเรียบร้อย เราจะมาติดตั้งตัว Phpmyadmin กัน แต่เดี่ยวก่อน ก่อนหน้านั้นเราจะต้องเอารหัสผ่านเข้า DB ของ mysql กันก่อน โดย Digital Ocean จะ Generate ไว้ให้เราแล้วเป็นไฟล์ มันจะอยู่ที่ /root/.my.cnf ถ้าใครจะ Linux เป็นก็ใช้ TextEditor วิ่งเข้าไปเลย ถ้าใครใช้ไม่เป็น ในที่นี้ผมจะใช้ vim
vim /root/.my.cnf
จากนั้น บนจอเราจะมีรหัสชุดนึง ให้จดไว้ก่อน แล้วออกโดยพิมพ์ :q และ Enter จากนั้นเราจะติดตั้ง phpmyadmin โดย
apt-get install phpmyadmin
จากนั้นตัว Command Line มันจะโหลดไฟล์ของ phpmyadmin เข้ามาให้เรา และมันจะถามว่า
จะใช้ dbconfig-common เพื่อ Install มั้ย ให้ตอบ yes จากนั้นมันจะถาม Password ของ MySQL ก็ให้กรอกที่เราจดมาตอน vim น่ะ ถัดมาอีก (ยังไม่จบอีกเนอะ lol) มันจะให้เราเลือกรหัสของ root ที่จะเข้า phpmyadmin ให้เรากรอกตามใจชอบเลย เอาที่สบายใจเลย กรอกแล้วกด Enter และกรอกอีกครั้งเพื่อยืนยัน เป็นอันเรียบร้อย!!
แต่เดียวก่อน ยังไม่จบ เราจะต้องเปิดการใช้งานของ Plugin ตัวนึงก่อนนั่นคือ php5-mcrypt โดยการพิมพ์
sudo php5enmod mcrypt
สุดท้ายของสเต็ปนี้และ คือ Restart Apache
sudo service apache2 restart
เอา Web Content ก่อนให้เราเข้าผ่าน FTP โดย Host จะเป็น IP Address ของเครื่องเรา Username เป็น root และ Password เป็น Password ที่ใช้เข้า SSH ตอนต้นเลย จากนั้นก็ไปแปะ (อัพน่ะ) ไว้ที่ /var/www ไปเลย
ส่วน DB ให้เราเข้าไปที่ http://yourIPAddress/phpmyadmin Username ก็เป็น root และ Password ก็เป็น Password ที่เราตั้งตอนติดตั้ง Phpmyadmin แล้วก็ Restore DB ลงไปเหมือนปกติเลย
ตรงนี้แหละครับ ยากสุด พลาดทีนี้เว็บ Down เป็นชม. เลยนะ 5555 ก่อนอื่นเปิดหน้า Admin ของ Digital Ocean แล้วกดที่ DNS ด้านบนกันก่อน เราจะได้หน้าประมาณด้านล่างนี้ขึ้นมา แล้วตรง Add Domain ด้านขวาสุดมันจะให้เลือก Droplet ให้เราเลือก Droplet ที่เราสร้างไว้เลย มันจะมี IP Address ช่องที่ 2 โผล่มาเอง ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมัน และชื่อแรก ใน Doc ของ Digital Ocean บอกว่าให้ใส่ชื่อเว็บเรา โดยไม่ต้องใส่ www. แต่ผมลองแล้วมันไม่ได้อะ ผมเลยทำแบบนี้ 2 ครั้งแต่ อันนึงใส่ www. กับอีกอันไม่ได้ใส่
หลังจากสร้างแล้ว กด View ที่สัก Domain นึง อันไหนก็ได้ เราจะเข้ามาที่หน้าที่มันแสดง Name Server อยู่ มี 3 อันให้เอามันไปใส่ใน DNS Settings ของ Domain เราได้เลย
หลังจากนั้น รอไปไม่เกิน 24 ชม รอ Update ตอนนั้นผมรอไป 3 ชมกว่าๆ แต่เว็บจะไม่ Down เพราะว่า ถ้าเราทำถูกต้อง ระหว่างรอปรับ DNS Domain Name เรามันจะถูก Route ไปที่ Host เดิม และหลังจากที่ Update แล้ว มันก็จะ Route ไปหน้าใหม่ User ไม่รู้แน่นอน
วิธีเช็คว่าเราย้ายไปรึยังให้ใช้ Whois ในการเช็ค (ผมจะเช็คผ่าน SSH ของ Droplet เลยนะ) วิธีคือ Install Whois ก่อน
apt-get install whois
จากนั้นเราจะเช็คโดยพิมพ์
whois yourDomainName
เช่นของผมเป็น arnondora.in.th ก็พิมพ์เป็น
whois arnondora.in.th
มันก็จะบอกรายระเอียดของ Domain เรา ให้เราไปดูที่ Name Server ว่าถ้ามันชี้ไปที่ Digital Ocean แล้วก็ OK และ
เป็นอันเสร็จครับ เย้ๆๆ ตอนนั้นผมทำแบบนั่งอ่าน Doc จาก Digital Ocean ก็ทำเอามึนเหมือนกัน ถ้าอ่านของผมแล้วยัง งง แนะนำให้ไปหาใน Google เอา แต่ระวังเวลา Search นะครับ หา Version ของ OS ให้ตรงนะครับ เช่นผม Install เป็น Ubuntu 14.xx แต่ผมดันไปอ่านของ 12.xx บางอย่างมันจะไม่เหมือนกันและมันจะพินาศนะครับ ระวังหน่อย!
Homebrew เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราชอบมาก ๆ มันทำให้เราสามารถติดตั้งโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่วันนี้ เราจะมาแนะนำ 5 Homebrew Package ที่เรารักส์และใช้งานบ่อยมาก ๆ กันว่าจะมีตัวไหนกันบ้าง...
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...