By Arnon Puitrakul - 01 กันยายน 2023
เวลาเราไปซื้อพวก SD Card ในท้องตลาดของเรามันมีหลายราคา หลายสเปกให้เราเลือกซื้อเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยยันหลายพันกันไปเลย ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วเราจะเลือกแบบไหน อันไหน ราคาไหนละ ที่จะเหมาะกับการใช้งานของเรา
ปล. เราจะขอยกตัวอย่างเป็น Sandisk เป็นหลักละกัน เพราะเป็นตัวที่ได้รับความนิยมสูง และหาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป
ถ้าเราไปดูที่หน้าการ์ดของ SD Card ทั้งหลาย มันจะมีสัญลักษณ์หลายอันมาก ๆ ซึ่งพวกนี้ มันเป็นพวกมาตรฐานต่าง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ ๆ จะปริ้นแปะก็ได้นะ แต่มันเป็นมาตรฐานที่ออกโดย SD Association โดยที่สมาคมนี้ตั้งโดย 3 บริษัทผู้ผลิต SD Card รายใหญ่มาก ๆ อย่าง Sandisk, Panasonic และ Toshiba
เขาทำหน้าที่ในการออกพวกมาตรฐานของ SD Card ที่เราใช้งานกัน ทำให้ถ้าเราซื้อ SD Card จากร้านที่ได้รับการรับรอง ของแท้ เราก็มั่นใจได้เลยว่า พวกสัญลักษณ์มาตรฐานทั้งหลาย มันจะใช้งานได้จริง ๆ งั้นเราไปดูกันดีกว่าว่า บนการ์ดที่เขียนมันประกอบอะไรบ้าง
บนการ์ดส่วนใหญ่ในวันนี้ เขามักจะเขียนพวกเลขความเร็วที่มันทำได้ เช่น Sandisk Extreme Pro 128 GB ของเราเอง เขาก็จะมีเลขเขียนอยู่ 170 MB/s ตัวเลขนี้มันเป็นตัวเลขที่บอก ความเร็วสูงสุดในการอ่านเท่านั้นนะ ย้ำว่าในหน่วย MB/s นะ และแน่นอนว่า คำว่า ความเร็วสูงสุด ไม่ใช่ความเร็วที่เราจะทำได้จริง ต้องเข้าใจตรงกันก่อนนะ
เราเอาการ์ดเราเสียบเข้ากับ Card Reader บน Macbook Pro M1 Max แล้วใช้โปรแกรม Blackmagic Disk Speed Test แล้วเลือก Target ไปที่ SD Card ของเรา แล้วทำการทดสอบ ปรากฏว่า ความเร็วในการอ่านที่ได้อยู่ที่ 90.0 MB/s เท่านั้น เลย 50% ของความเร็วที่เคลมมานิดเดียวเอง เลยบอกว่า ตัวเลขที่เขาเคลมไว้หน้าการ์ดมันเป็นความเร็วสูงสุดเท่านั้น
การ์ดบางตัว เขาจะมีความเร็วในการเขียนเอาไว้ด้วยเช่น การ์ดมันเขียนได้เร็วเท่าไหร่ เช่น Sony E Series 64GB ตัวปกติ จะเห็นว่ามีตัวเลขที่บ่งบอกความเร็วไว้ 2 ตัว คือ ความเร็วในการอ่านสูงสุด 270 MB/s และความเร็วการเขียน 70 MB/s เท่านั้นเอง
เมื่อเราเอามาทดสอบด้วย Config เดียวกันกับการทดลองก่อนหน้า เราจะเห็นว่า ความเร็วของ SD Card จาก Sony E Series มันทำความเร็วในการเขียนได้ 79.3 MB/s และอ่านที่ 244.3 MB/s ซึ่งก็ถือว่าไม่แย่ เมื่อเทียบกับสเปกความเร็วสูงสุดที่เคลมอยู่บนการ์ด
ทำให้เราสามารถถอดบทเรียนได้ว่า อย่าง Sandisk Extreme Pro ที่เราเห็นตัวเลขเขียนไว้ 170 MB/s ที่เป็นความเร็วในการอ่าน เทียบกับของ Sony เขียนไว้ 270 MB/s มันไม่ได้บ่งบอกถึงความเร็วในการเขียนนะว่ามันเท่าไหร่ หรือใครน้อยกว่า มากกว่าใคร ถ้าเราอยากรู้และเขาไม่ได้เขียนไว้ที่หน้าการ์ด ให้เราไปลองหาสเปกที่เว็บของผู้ผลิตเอา
จากการทดสอบของเรา จะเห็นได้ว่า ความเร็วที่ผู้ผลิตเคลม กับความเร็วจริงมันต่างกันเยอะมาก ๆ ทำให้เราอาจจะมีปัญหาเวลาเอามาใช้งานจริง มันจะมีปัญหาว่า มันเขียนไม่ทัน ทั้ง ๆ ที่ ความเร็วในการเขียนสูงสุดที่ผู้ผลิตเคลมไว้มันมากกว่าที่เราต้องใช้
เรายกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ถ้าเราเอามาถ่ายวีดีโอที่ Bitrate 300 Mbps เราแปลงกลับเราก็จะได้ 37.5 MB/s (แปลงไม่ยากเอา 8 หารเนอะ เพราะ 8 Bits = 1 Byte) ทำให้การ์ดที่เราจะใช้อัดใน Bitrate นี้จะต้องเขียนได้ 37.5 MB/s ด้วยกัน แล้วถ้าเกิดเราไปซื้อการ์ด อะเราดูความเร็วสูงสุดที่มันทำได้เช่น 90 MB/s แต่มันทำได้จริงอาจจะอยู่ที่ 30 MB/s ต่อเนื่อง เราก็จะอัดวีดีโอบน Bitrate เท่าที่เรายกตัวอย่างมาไม่ได้ หรืออาจจะกระตุก ๆ ได้
ทำให้มันเกิดมาตรฐานใหม่ขึ้นมา นั่นคือ Speed Class หาไม่ยาก มันคือกลม ๆ แล้ว มีตัวเลขข้างใน โดยจะมี 2,4,6 และ 10 ตัวเลขพวกนี้มันจะแทน ความเร็วเขียนขั้นต่ำที่มันทำได้ เช่น Class 10 ก็คือ ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่มันทำได้คือ 10 MB/s ส่วนใหญ่ SD Card สมัยนี้ น่าจะอยู่ที่ Class 10 กันหมดแล้วละ น้อยมากที่จะไม่ถึง
พอเวลาผ่านไปความต้องการในการใช้งานเราเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องการมากกว่า 10 MB/s ในการเขียนไปไกลมาก ๆ เช่น เราต้องการอัดพวกวีดีโอระดับ Full HD หรือมากกว่านั้นอีก ทำให้มาตรฐานเดิม มันไม่ได้แล้ว เลยทำให้มันเกิดมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อระบุคือ UHS หรือ Ultra High-Speed
หาไม่ยาก มันจะเป็นรูปตัว U แล้วมีตัวเลขข้างใน โดยที่ มันจะมีเลข 1 หรือ 3 เช่น Sandisk Extreme Pro ของเรา เป็น U ข้างในเป็นเลข 3 แปลว่า ความเร็วในการเขียนอย่างน้อยมี 30 MB/s แน่นอน หรือกลับกัน ถ้าเราเจอเลข 1 ก็คือ ความเร็วเขียนขั้นต่ำ 10 MB/s
หนักเข้าไปอีก พอกล้องอะไรมันดีขึ้นเรื่อย ๆ พวกการถ่ายวีดีโอที่ละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ Bitrate สูงขึ้นเรื่อย ๆ Storage Media ซึ่งก็คือ Card ก็จะต้องมีความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน และคนที่จำเป็นต้องใช้ความเร็วของการ์ดหนัก ๆ ก็น่าจะหนีไม่พ้นคนที่ถ่ายพวก Video ทั้งหลาย (ถ้าถ่ายภาพนิ่ง อย่างน้อยภาพส่วนนึงมันก็เก็บลง Buffer กล้องชั่วคราวรอถ่ายเข้าการ์ดได้) ทำให้มันเกิดอีกมาตรฐานนึงขึ้นมาคือ Video Speed Class
ตัวสัญลักษณ์ มันจะเป็นรูปตัว V แล้วตามด้วยตัวเลข โดยที่มันจะมีตั้งแต่ 6,10,30,60 และ 90 เลขพวกนี้ มันจะแทนความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่มันทำได้ เช่น Sandisk Extreme Pro ของเราบอกว่า V30 ก็คือ ความเร็วในการเขียนมันทำได้ขั้นต่ำ ๆ เลยอยู่ที่ 30 MB/s ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการอัดวีดีโอระดับ 4K ด้วยซ้ำ และ ถ้าเราบอกว่า ความเร็วเขียนต่ำ ๆ มัน 30 MB/s ถ้าเรากลับไปที่มาตรฐาน UHS มันก็จะเป็น U30 นั่นเองเหมือนกัน
นอกจากที่เราจะเอา SD Card มาใช้กับพวกกล้องที่เน้นการอ่านและเขียนไฟล์ใหญ่ ๆ แล้วอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เราเอามาใช้กันเยอะมาก ๆ คือ พวกโทรศัพท์ สำหรับเก็บไฟล์ หรือ เกม ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้ เราเน้นการอ่านและเขียนแบบ Random เพราะเรามีการเขียนไฟล์ขนาดเล็ก ๆ แต่หลายไฟล์เยอะมาก ๆ
ในการวัดประสิทธิภาพของการอ่านเขียนประเภทนี้ เราไม่สามารถใช้ ความเร็วในการอ่านเขียนสูงสุดที่ทำได้ในการวัดละ แต่เราจะต้องใช้การวัดว่า ในหน่วยเวลา การ์ดมันสามารถจัดการ อ่านและเขียนได้กี่รอบ ทำให้หน่วยเราจะใช้กันคือ IOPS หรือ Input/Output Operations Per Second
ซึ่งมาตรฐานก่อนหน้านี้ที่เรา Cover กันมาทั้งหมด มันไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เลย ทำให้แน่นอน อีกแล้ว เราต้องมีมาตรฐานใหม่มาเพื่อรองรับด้วยด้วยคือ A Class หรือ Application Class โดยที่สัญลักษณ์ เขาจะเป็น ตัว A แล้วตามด้วยเลข 1 หรือ 2 ไม่ต้องไปจำว่าเลขไหนมันกำหนดเท่าไหร่ แต่ จำง่าย ๆ ว่า ยิ่งเลขเยอะยิ่งเร็ว และ แพงมากขึ้นแค่นั้นเลย
โดยที่พวกมาตรฐานนี้ มันจะไม่ได้อยู่กับ SD Card ขนาดปกติ แต่มันมักจะไปอยู่กับพวก Micro SD Card มากกว่า เพราะ เราใช้การ์ดพวกนี้ กับอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างเช่น โทรศัพท์ หรือกระทั่งเครื่องเล่นเกมอย่าง Nintendo Switch ก็ใช้ Micro SD Card เช่นเดียวกัน
พอการ์ดมันทำความเร็วได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ การเชื่อมต่อแบบเดิม ๆ มันก็ไม่สามารถจะรองรับได้แล้ว ทำให้มันต้องงอกการเชื่อมต่อในมาตรฐานใหม่ออกมา ภาพที่เราเคยเห็นกันจาก SD Card ก็น่าจะเป็น แถบทอง ๆ แถวนึงอยู่ด้านหลัง พอเราเสียบเข้าไปที่เครื่องอ่าน มันก็จะมีแผ่นไปที่แตะ ที่แถบพอดีเป๊ะ ๆ ทำให้มันสามารถอ่านข้อมูลบนการ์ดออกมาได้ โดยมาตรฐานที่เราใช้กันในตัวแรกคือ UHS-I หรือ UHS-1 นั่นเอง ดูไม่ยาก คือ มีแถบทอง ๆ ด้านหลังแค่แถวเดียว ตัวนี้เขาจะให้ความเร็วสูงสุดไม่สนใจว่าจะอ่านหรือเขียนอยู่ที่ 104 MB/s เท่านั้น
ทำให้ถ้าเราไปเห็นการ์ดที่เขียนความเร็วสัก 300 MB/s แต่หันไปด้านหลังเจอแถบเชื่อมต่อแค่แถวเดียวก็ รู้ไว้ได้เลยว่า ฮั่นแน่ ของปลอมปะครับเนี่ย !!!!
แต่พอมาในยุคใหม่ ๆ อย่างการ์ดที่ใช้มาตรฐานแบบ UHS-II และ UHS-III อันนี้แหละ มันหน้าตาเหมือนกันเลยคือ แถบเชื่อมต่อมันจะมี 2 แถว ส่วนเราจะแยกมันออกจากกันจากการมองได้มั้ย ก็ต้องบอกเลยว่า ไม่ได้ เพราะ UHS-II และ UHS-I มันใช้ Pin การเชื่อมต่อเหมือนกันเป๊ะ ๆ เลย
เลยทำให้ถ้าเราจะดูว่า การ์ดเรามันเป็น UHS ตัวไหน I,II หรือ III เขาจะมีสัญลักษณ์เขียนไว้ที่หน้าการ์ดด้วย คือ I, II และ III เรายกตัวอย่างเช่น การ์ด Sandisk Extreme Pro 128 GB ของเรามี ตัว I อยู่ แปลว่า เป็น UHS-I ถ้าเราหันหลังดูแถบการเชื่อมต่อก็จะเห็นว่า มันเป็นแถวเดียว อันนี้ชัวร์ละว่าเป็น UHS-I แน่นอน
ถามว่า แล้ว UHS-II และ UHS-II มันเร็วเท่าไหร่ เร็วกว่า Generation ก่อนหน้าสักเท่าไหร่ก็ต้องบอกเลยว่า เยอะมากอยู่ เพราะมันเร็วได้สูงสุด 312 MB/s และ 624 MB/s สำหรับ UHS-II และ UHS-III ตามลำดับ ถ้าเอาข้างในเลยจริง ๆ มันเกิดจากการเบิ้ลพวก Clock Speed ในการคุยกันเข้าไป เลยทำให้ Data Rate ที่เราทำได้สูงขึ้นแค่นั้นเลย (แต่ ณ วันที่เขียน พวก UHS-III Card ยังไม่ออกมาเลย เพราะมาตรฐานมันต้องออกมาก่อนแล้วผู้ผลิตการ์ดค่อยตาม ๆ ออกกันมา)
ถ้าเกิดเราบอกว่า กล้องของเรารองรับ UHS-I เท่านั้น แล้วเราจะใช้ UHS-II ไปทำไม เป็นคำถามที่น่าสนใจ ถามว่ามันใช้ได้มั้ยก็ใช้ได้ อย่างที่เราบอกไปว่า มัน Backward Compatibility แน่นอน แต่ประโยชน์ของการใช้งานลักษณะนี้คือ เวลาเราเอาการ์ดเสียบคอมจะย้ายพวก Footage เข้าคอมเราเพื่อไปตัดต่อ และ Card Reader เรารองรับ UHS-II
เอาจริง ๆ เลยนะ มาตรฐานการ์ดมันเยอะแยะยั่วเยี้ยมาก ๆ เลยแหละ แต่ถ้าถามเรา เอาง่าย ๆ เลยนะ ถ้าเราจะเอามาถ่ายรูป หรือ วีดีโอ ให้เราดูที่มาตรฐาน Video Class เลยก็ได้ ถ้าเราถ่ายวีดีโอสัก 4K เราว่า V30 เราก็ว่ากำลังดีแล้วแหละ หรือ ถ้าเราอยากได้เร็วกว่านี้หน่อยก็ไป V60 ก็ยังอยู่ในเรทราคาที่น่าสนใจพอสมควร แต่ถ้าเราใช้เป็น Micro SD Card สำหรับพวกเครื่องเล่นเกม หรือโทรศัพท์ เราก็แนะนำให้ไปดู Application Class เอา สั้น ๆ เลยไปเอาพวก A2 ไปเลย จบ ๆ จบทีเดียวแล้วไม่หงุดหงิดทีหลังแน่นอน และสุดท้ายการ์ดพวกนี้มันมีปลอมเยอะ ทริกง่าย ๆ ในการจับผิดคือ แต่ละมาตรฐานส่วนใหญ่มันจะพูดถึงพวกความเร็วสุงสุดที่มันทำได้ใช่มะ เช่นเขาเคลมว่า เขาเขียนได้ 60 MB/s ดังนั้น อย่างน้อย ๆ Class 10, U3, V60 มีแน่ ๆ ถ้ามันมีอะไรแปลก ๆ โผล่มา ก็นั่นแหละ อะจ๊ะเอ๋ ตัวเอง และ แนะนำว่า ให้เราซื้อกับร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจะดีที่สุดเด้ออออ
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...
ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนนานมาก ๆ แล้ว ตำรวจไทยได้จับกุมเจ้าของเว็บ AlphaBay ขายของผิดกฏหมายรายใหญ่ ซึ่งเว็บนั้นมันอยู่ใน Dark Web ที่จำเป็นต้องเข้าถึงผ่าน Tor Network วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำงานอย่างไร และทำไมการตามตัวในนั้นถึงเป็นเรื่องยากกัน...