Technology

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

By Arnon Puitrakul - 28 สิงหาคม 2023

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

ก่อนหน้านี้เราถ่ายภาพเรายอมรับเลยว่า เราเป็นคนที่ไม่ได้สนใจพวกการใช้ Filter เท่าไหร่ เพราะมันแอบงอกง่าย งอกทีละนิด ๆ ทีละ 3-5 พันบาท และมันชอบเรียกเพื่อนมา แต่ชิบหายการเงินแล้วทุกคน วันนี้เราโดนมันมาแล้ว เลยมาเตรียมความพร้อมกันดีกว่า ว่า พวก ND และ CPL Filter ที่เรานิยมใช้กัน มันมีหลักการ การทำงานอย่างไร เผื่อใครจะเข้าวงการ จะได้โดนป้ายยาแบบจุก ๆ กันไปเลย

การถ่ายภาพ คือ การเก็บแสง

การถ่ายภาพ ในมุมของฟิสิกส์ มันเป็นเรื่องของการ เก็บค่าของแสงในเวลานั้น ๆ โดยที่แสง มันตกกระทบ แล้วมันก็จะเข้าไปที่สื่อตัวรับ ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็อาจจะเป็นพวก ฟิล์ม แต่ในปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่ยุคที่เป็นกล้อง Digital เราก็เปลี่ยนจากฟิล์มสู่ Sensor กล้อง ไม่ว่าจะเป็นขนาด APS-C หรือ Full Frame

การที่ภาพมันจะสว่าง หรือ มืด มันก็ขึ้นกับ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ก่อน นั่นคือ ปริมาณแสงที่บริเวณที่เราถ่ายมี และ ตัวระบบกล้องและ Sensor รับแสงจากภายนอกเอง ปัจจัยแรก เราไม่เล่าละกัน เป็นอีกบทความไป แต่ในเมื่อ เราจะถ่ายภาพตรงนี้ ๆ จุดนี้ เราจะตั้งค่ากล้องยังไงละ ให้มันถ่ายในที่ ๆ เราต้องการได้

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

โดยเราจะตั้งค่าทั้งหมด 3 ค่าด้วยกัน นั่นคือ Shutter Speed, Aperture และ ISO ทั้งหมดนี้ ก็เป็นกระบวนการในการควบคุมแสงที่เราเก็บมา เพื่อให้เราได้แสงในปริมาณที่เราต้องการ เราก็จะต้องควบคุม 3 ค่านี้ ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับแสงภายนอกนั่นเอง

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

เช่น ถ้าเราต้องการ ให้ภาพมันมี DoF แคบ ๆ หน่อย หรือก็คือ เราอยากได้หน้าชัดหลังเบลอเยอะ ๆ เราก็อาจจะ เปิด Aperture ให้มันกว้าง ๆ หน่อย และลด ISO ลงไปหน่อย นั่นก็ทำให้เราอาจจะได้ภาพที่เราต้องการ

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

หรือ ๆ ถ้าเราอยากได้ภาพที่เป็นเส้นแสง แบบที่เราเห็นกันเยอะ ๆ พวกนี้ หลักการก็คือ การเก็บแสงในระยะเวลาที่มันนานหน่อยกับวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ หรือก็คือ การเปิด Speed Shutter นานกว่าปกติ เช่น 1 วินาที หรือมากกว่านั้น เมื่อเราทำแบบนั้น แปลว่า เราจะเก็บแสงเข้ามาได้เยอะขึ้น เพื่อให้ภาพมันสว่างหมดพอดี เราก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ Aperture แคบลง และ ISO  ก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน

แต่สภาพแสงภายนอก มันไม่น่ารักกับทุกคน

การปรับค่าทั้ง 3 มันก็ดูจะเป็นการถ่ายภาพปกติ ได้ออกมา ก็น่าจะเป็นแบบที่เราต้องการซะเยอะ โดยเฉพาะกล้องรุ่นใหม่ ๆ ความสามารถมันสูงขึ้น ทำให้การลากค่าทั้ง 3 มันทำได้ไกลขึ้น เยอะขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Mechanic Shutter บางตัว เช่น Sony A7IV สามารถลากไปได้ 1/8,000 sec ทำให้เราสามารถเล่นกับ Aperture ที่กว้างขึ้นในสภาวะแสงเยอะได้

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

เรายกตัวอย่างรูปตัวเองเลย ถ่ายกลางแดดเลย และเราอยากได้ภาพที่มี DoF แคบ หน้าชัดหลังเบลอ เป็น Portrait โดยเราใช้เลนส์ที่มี Aperture กว้าง 1.4 ด้วยกัน และเราฟิคที่ 1.4 กว้างสุด ๆ ไปเลย ทำให้เราจะต้องดัน Shutter Speed ขึ้น และ ลด ISO ลง ก็เลื่อนลงไปเรื่อย ๆ จน Shutter Speed ไปที่ 1/1,800 sec และ ISO ต่ำสุดที่ 100 แล้ว แต่ภาพที่เราได้ ก็ยังสว่างเกินไปอยู่ดี

หรือกระทั่งสาย Landscape บางคนก็จะปัญหาว่า อยากถ่ายพวกน้ำตก ที่มันฟุ้ง ๆ สวย ๆ ตอนกลางวัน เราก็ต้องเปิด Shutter Speed ช้า ๆ เข้าไว้ เพื่อให้เราเก็บตอนที่น้ำมันกำลังวิ่ง รวม ๆ กัน มันก็จะฟุ้ง ๆ อย่างที่เราเห็นนั่นเอง

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

จากตัวอย่างอันนี้ เราทำได้โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่ม เป็นเพราะตัวกล้องอย่าง Olympus เขามี Feature อย่าง Live Composite ที่มันฉลาดกว่านั้น มันเลือกเก็บเฉพาะแสงที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเราเปิด Speed Shutter นาน ๆ ได้ แต่.... มันก็ไม่ใช่ทุกกล้องที่จะมี Feature พวกนี้เข้ามาให้ ทำให้เราจะต้องหา อะไรบางอย่าง เพื่อให้ได้ภาพแบบที่เราต้องการ

Neutral Density (ND) Filter

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เราจำเป็นต้องหาอะไรบางอย่างมาเพื่อ ลดแสง ที่เข้าสู่กล้องของเรา ถ้าเราลดแสงภายนอกได้ เราก็สามารถปรับค่าภายในกล้องได้อีก จริง ๆ มันน่าจะไม่ต่างจากตาของเราเลย ถ้าเราเจอแสงเยอะ ๆ สิ่งที่เราจะทำ ก็น่าจะเป็นการใส่แว่นกันแดด

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

สิ่งที่เราทำกับกล้องก็เลยเหมือนกันเป๊ะ ๆ นั่นคือ เราพยายามใส่แว่นกันแดดให้กล้องของเรานั่นเอง โดยหลักการเดียวกันเป๊ะ ๆ เลยคือ การที่เรา เอาเลนส์ใส ๆ ที่ย้อมดำ ประมาณนึง เข้ามาแปะไว้ที่หน้าเลนส์ของเรา ก่อนที่แสงจะเข้าไปที่กล้องทำให้ เราสามารถที่จะลดปริมาณแสงที่เข้าไปในกล้องได้นั่นเอง

แต่ถามว่า แล้วเราจะลดเท่าไหร่ละ เขาก็จะมีความเข้มบอกอยู่ว่า มันมีความเข้มเท่าไหร่ เช่น 1.5 Stops ที่อ่อนหน่อย ไปถึงพวก 11 Stops ที่เข้มมาก ๆ เหมาะกับสภาพแสง

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

การใช้งาน ง่ายมาก ๆ คือ เราสามารถหมุนตัว Filter เข้ากับเลนส์ของเราได้เลย หน้าเลนส์เราจะมีเกลียวอยู่ เพื่อให้เราสามารถหมุน และถ้าเราจะถอด เราก็แค่หมุนออกเท่านั้น

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

โดยที่ถ้าเราไปซื้อ Filter ทั้งหลาย เราก็จะต้องดูที่ขนาดหน้าเลนส์ของเราด้วยว่าเป็นเท่าไหร่ ดูไม่ยากเลย เขาจะเขียนไว้ที่หน้าเลนส์ของเราแล้ว

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

หรือถ้าอยากดูง่าย ๆ ให้เราดูที่ Lens Caps ของเรา มันจะมีเขียนบอกขนาดอยู่ ก็ใช้ขนาดนั้นไปซื้อ Filter มาใส่ได้

ปัญหาจะเริ่มเกิดละ เมื่อเราจะต้องไปถ่ายงานในสภาพแสงที่เราไม่อาจรู้เลยว่า วันนั้นมันจะสว่างมาก หรือ สว่างน้อย เราจะต้องใช้ Filter ที่ความเข้มเท่าไหร่ ทำให้เวลาเราจะพก ND Filter เราจะต้องซื้อเป็นแผงเลย อยากได้กี่ Stop ก็ว่ากันไป เราจะมีทางอื่นมั้ยที่ทำให้เราไม่ต้องพกหลายอัน

Variable ND Filter (VND)

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

เพื่อแก้ปัญหาว่า เราไม่อยากพก ND Filter หลาย ๆ อัน งั้นเราจะทำยังไงได้บ้าง เพื่อให้เราสามารถใช้ ND Filter อันเดียว แต่ปรับได้หลาย ๆ ความเข้ม ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Variable ND Filter (VND) ขึ้นมา

แต่ ๆ เราไม่สามารถใช้หลักการเดิมคือ การย้อมพวกเลนส์ให้ได้ความเข้มที่ต้องการแล้ว เพราะว่า มันทำให้เราไม่สามารถปรับค่าได้นั่นเอง เราจะต้องหาวิธีการอื่นมาเพื่อให้มันเกิดขึ้นได้ แน่นอนว่า ฟิสิกส์ พาให้เราไปรู้จักกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Polalisation

การที่เราใช้พวก Polarisation Filter เข้ามา มันก็จะทำการให้แสงบางมุมผ่านเข้าไปตามมุมของ Filter ที่เรากำหนดไว้ เหมือนกับเราเอาเราฉากเป็นซี่ ๆ เล็ก ๆ ถี่ ๆ มากั้นเอาไว้ ทำแบบนี้ เราก็จะลดแสงที่ผ่านเข้าไปใน Filter ได้แล้ว

แล้วถ้าเกิดเราเอา Polarisation Filter 2 อันมาวางต่อกัน เป๊ะ ๆ เลย เราก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมาเท่าไหร่ แต่ถ้าเราลองหมุนมัน ให้มันผิดด้านกับอันแรก สิ่งที่เราจะได้ก็คือ ปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไป จะน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อมันหมุนในมุมที่ผิดกันไปเรื่อย ๆ จนถึง 90 องศา นั่นคือหลักการของ VND นั่นเอง

ดังนั้น ถ้าเราลองดูที่พวก VND เราจะเห็นว่า มันจะมีความหนาต่างกัน เพราะมันจะต้องเอา Filter หรือแผ่นเลนส์ 2 อันมาวางต่อกันนั่นเอง แต่มันก็ทำให้เราสามารถที่จะปรับความเข้มของ ND ได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพกเป็นแผง ๆ ราคาแพง ๆ อีกต่อไปแล้ว

Circular Polarised (CPL) Filter

CPL Filter หรือ เต็ม ๆ Circular Polarised Filter จริง ๆ หลักการของมันคล้ายกับ VND Filter คือพวก VND เราใช้พวก Polaisation Filter เหมือนกัน แต่จาก 2 อันให้มันหมุนผิดทิศกัน แต่ใน CPL เราใช้อันเดียวนี่แหละ หมุน ๆ เอาตรง ๆ ได้เลย

หลักการง่ายมาก เหมือนเดิมคือ เราใช้ Polarisation Filter ที่มันมีตะแกรงเป็นซี่ ๆ ถี่ ๆ เหมือนเดิม เราบอกว่า ทำแบบนี้ มันก็ลดแสงที่เข้าไปใน Filter ของเราได้บางส่วนแล้ว คือแสงที่คลื่นมันทำมุมที่ผ่านช่องไม่ได้ มันก็จะโดน Block ออกไป แต่พอเราเพิ่มความสามารถในการหมุนได้เข้าไป ทำให้เราสามารถควบคุม มุมที่เราจะให้แสงไหนผ่านได้ ผ่านไม่ได้เข้าไป

ทำให้เราเอาพวก CPL Filter มาเพื่อจัดการกับพวกแสงสะท้อนบนพื้นผิวต่าง ๆ ได้เช่น พื้นน้ำ ท้องฟ้า อะไรพวกนั้น โดยมันจะทำให้พวกแสงสะท้อนมันลดลง เพื่อให้เราเห็นรายละเอียดในพื้นที่ที่มากขึ้น เผยให้เห็นสีที่แท้จริงได้มากขึ้น

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

เราขอยกตัวอย่างเป็นรูปที่เราถ่ายออกมา ด้านนึง เราไม่ได้ Filter อะไรเลย เทียบกับ อีกภาพเราใช้ CPL + VND Filter เราหมุนฝั่ง VND ไปที่ต่ำสุด 1.5 Stops และโหมด P ให้ค่าแสงอยู่ที่ 0 EV แปลว่า มันน่าจะได้แสงที่ใกล้เคียงกัน เราจะเห็นว่า ภาพที่เราผ่าน CPL พวกเงาบนน้ำที่สะท้อนมันหายไปเยอะมาก ๆ พร้อมกับ สีของดินที่อยู่ในน้ำ มันก็แตกต่างกันมาก ๆ เรียกว่า สีภาพ Mood & Tone เปลี่ยนไปเยอะมากเลยนะ อาจจะเพราะสีดิน มันเป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ ของภาพด้วย พอมันเปลี่ยน มันเลยเปลี่ยนไปเยอะมาก

วิธีการใช้งานง่ายมาก ๆ คือ เราหมุน CPL Filter เข้าไปที่หน้าเลนส์ของเรา เวลาเราจะถ่าย ให้เราส่องแล้วค่อย ๆ ลองหมุน CPL ไปจนกว่าเราจะเจอมุมที่มันตัดแสงที่เราต้องการ แล้วก็กดถ่ายได้เลย ง่าย ๆ

สรุป

ND และ CPL Filter ทำงานอย่างไร ทำไมเราต้องมีกับการถ่ายภาพ

นี่คือ Filter ที่เราใช้งานกันบ่อยอย่าง ND และ CPL Filter เป็น Filter ที่เรียกว่า น่าจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการเข้าวงการ Filter เลยก็ว่าได้ พวกตัวที่ราคาแพง ๆ หน่อย มันจะมีการเคลือบเพื่อลดแสงสะท้อน หรือพวกสารป้องกันคราบน้ำมันจากมือของเราลดรอยนิ้วมือเวลาเราเผลอไปโดนได้ดีกว่า อะไรพวกนั้น ส่วนตัวเราคิดว่า ถ้าอยากลองเข้าวงการเริ่มต้น ลองมองหาเป็น VND + CPL Filter เพื่อความคล่องตัว ใช้ง่าย ให้เราคุ้นชิน แล้วลองไปเล่นตัวที่ราคาสูงขึ้นก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน

Read Next...

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...