By Arnon Puitrakul - 19 สิงหาคม 2022
ตั้งแต่ที่บ้านเราติด Solar Cell มาก็เป็นเวลา 2 ปีนิด ๆ ละ ก็พอที่จะได้บทเรียน และ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานจาก Solar Cell ค่อนข้างพอสมควรละ คำถามที่น่าสนใจที่เราได้มาจากเพื่อน ๆ และหลาย ๆ คนที่เข้ามาถามคือ โอเค ถ้าเราบอกว่าเราจะติดแล้ว เราจะติดที่ขนาดเท่าไหร่ และ มันควรจะมีจุดคุ้มทุนที่กี่ปี เราจะคำนวณยังไง วันนี้เราลองมาดูกัน
ก่อนอื่นเลย เราอยากจะให้ทำความเข้าใจกับหน่วยในการวัด กำลัง (Power) และ พลังงาน (Energy) กันก่อน เริ่มจากกำลังกันก่อน เราจะใช้หน่วยที่เรียกว่า Watt (W) เช่นแอร์ของเราใช้กำลังอยู่ที่ 1,500W หรือถ้าเราใส่ Prefix ลงไปด้วย ก็จะเป็น 1.5 kW นั่นเอง
เวลาเราไปดูในพวกใบปลิวของ Solar Cell เขาจะใช้หน่วยเป็น kWp ตัว p ที่อยู่ข้างหลังมาจากคำว่า Peak เช่นในใบปลิวบอกว่า 5 kWp หมายความว่า กำลังสูงสุดที่ระบบจะให้เราได้ควรจะอยู่ที่ 5 kW นั่นเอง
ต่อไปคือ เมื่อเราใช้กำลังไฟฟ้าไปในระยะเวลาหนึ่ง เราจะคิดพลังงานออกมาได้ เราจะใช้หน่วยที่เรียกว่า kWh (kilo-Watts-Hour) คิดง่าย ๆ คือ ถ้าเราใช้ 1kW หรือ 1,000W เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เราจะใช้พลังงานอยู่ที่ 1 kWh ซึ่งมันก็จะเป็นหน่วยเดียวกับเวลาการไฟฟ้าคิดค่าไฟนั่นเอง ก็คือ 1 หน่วยไฟ
หลังจากที่เราเห็นกำลังในใบปลิวแล้วว่า มันได้สูงสุดที่เท่าไหร่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า มันควรจะได้พลังงานสักวันละเท่าไหร่ เราจะได้ไปคำนวณถูก ต้องเข้าใจก่อนว่า โดยปกติแล้ว Solar Cell ทำงานเมื่อมีแสงจริง คิดง่าย ๆ ก็ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็นได้ แต่ในความเป็นจริงแสงในช่วงเวลาเช้ามาก ๆ หรือเย็นมาก ๆ มันก็ไม่ได้เข้มมาก ไม่สามารถทำให้แผงดึงพลังงานมารวมกันจนได้ในระดับ Peak ของระบบได้
ทำให้ ถ้าเราจะคำนวณง่าย ๆ จริง ๆ เราจะใช้จำนวนชั่วโมงที่ราว ๆ 4 ชั่วโมงต่อวัน อันนี้เราไม่เล่าเหตุผลละกัน ไม่งั้นต้องเอา Graph มาเล่าแล้วจะเรื่องใหญ่ละ เช่น เราบอกว่า เราติดที่กำลัง 5 kWp เราก็เอามาคูณ 4 เราก็ควรที่จะได้อย่างน้อยสักวันละ 20 หน่วยไฟละ ที่อย่างน้อย เพราะจริง ๆ เวลาที่เหลือที่มีพระอาทิตย์มันก็ได้ไฟเหมือนกัน แต่มันอาจจะได้น้อย ไม่ถึง 5 kW อย่างที่เคลมไว้นั่นเอง เราก็คิดในแบบ Optimal หน่อย ไม่ได้แย่มาก
หมายเหตุ ในการใช้งานจริง ขึ้นกับมุมที่เราติดด้วย ถ้ามุมแย่ แล้วมีอะไรมาบัง ก็อาจจะทำให้ได้พลังงานไม่ถึงที่คำนวณคร่าว ๆ
ดังนั้น ถ้าเราบอกว่า เราจะได้ไฟสัก 20 หน่วยต่อวัน ทำให้ถ้าเราคิดในรอบ 1 เดือน เราก็เอา 30 วันคูณด้วย 20 หน่วย เราก็จะได้ทั้งหมด 600 kWh ดูเยอะจังเนอะ น่าจะลดไปได้เยอะ (ความเป็นจริงอาจจะไม่ถึง หรือสูงกว่าขึ้นกับความเข้มของแดด และวันที่เมฆบังช่วงกลางวัน)
แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้สวยหรูอะไรขนาดนั้น เพราะว่า มันขึ้นกับว่า เราจะใช้ไฟช่วงกลางวันไปมากแค่ไหน อุปกรณ์ Solar Cell เขาจะมีการติดตั้งพวก Zero Net Export อยู่ หรือบ้าน ๆ เราเรียกกันย้อนนี่แหละ สมมุติว่า Solar ณ เวลานั้นมันผลิตได้จริง 5 kW ตามที่เคลมไว้เลย แต่ถ้าเราใช้อยู่แค่ 2 kW ตัว Inverter มันก็จะปล่อยไฟออกมาที่ 2kW เท่านั้นนะ ทำให้เราบอกว่า จริง ๆ แล้ว มันขึ้นกับว่า เราใช้ไฟตอนกลางวันเยอะขนาดไหน สำหรับระบบ On-Grid หรือในเคสของระบบ Hybrid ช่วงกลางวันไฟที่เหลือมันก็จะไปลง Battery เลยเพื่อให้เราเอามาใช้งานตอนที่ไฟดับ หรือกลางคืนได้ต่อ จน Battery เต็มมันก็จะตัดเหลือเท่า Load แหละ
วิธีการคำนวณคร่าว ๆ ไม่ยาก เราเริ่มจากการมาสมมุติฐานค่ากันก่อน เริ่มจากค่าไฟ หน่วยละ เราให้อยู่ที่ 4.5 บาทละกัน สำหรับบ้านที่อาจจะใช้งานเยอะ ๆ หน่อย (จะขึ้นค่า Ft อีกแล้วนิ ฮา ๆ) กับเราให้กลางวันเราใช้ไฟครึ่ง ๆ เลย สมมุติว่ามีคนอยู่บ้านละกัน ทั้งเดือนบิลการไฟฟ้ามา เราจะเอาเดือนที่ยอดใช้สูงที่สุดออกมาเลย เช่นเราบอกว่า อยู่ที่ 660 หน่วย นั่นแปลว่า เราจะใช้ตกวันละ 18 หน่วย อะโอเคละ
เราบอกว่า เราใช้ไฟอยู่ที่ครึ่ง ๆ เลย นั่นแปลว่า เราจะใช้ไฟในช่วงกลางวันที่มีแดดอยู่ที่ 660 หารด้วย 2 ก็จะเป็น 330 หน่วยได้ และเราบอกว่า เราติดระบบ 5 kWp ตามที่เราคำนวณกันก่อนหน้า เราก็จะได้ 600 หน่วยต่อเดือน แต่ อย่างที่บอกว่า ถ้าเราไม่ได้ใช้มันก็ไม่ได้ผลิต ทำให้ เราจะต้องเอาตัวเลขที่น้อยกว่า นั่นคือ 330 kWh มาเป็นตัวเลขที่เราประหยัดได้จริง ๆ
วิธีคำนวณว่ามันประหยัดไปได้เดือนละเท่าไหร่ ทำได้ง่ายมาก ๆ ในเว็บของการไฟฟ้า อย่างเราอยู่กับของ PEA เขาจะมี โปรแกรมประมาณการค่าไฟ เข้าไปใช้งานในเว็บเขาได้เลย เราบอกว่า เราเลือกเป็นเดือน Aug 2022 ที่มีค่า Ft อยู่ที่ 24.777 สตางค์นะ เราก็จะเอา 660 หน่วยก่อนติดไปคำนวณก่อน 3,096.63 บาท รวม VAT แล้ว และอีกตัวเลข เราก็เอา หน่วยที่น่าจะเกิดจริงก็คือ เอา 660 หน่วยที่เป็นก่อนติดไปลบกับหน่วยที่เราจะประหยัดได้คือ 330 หน่วย ก็จะเป็น 330 หน่วย 1,462.84 บาท รวม VAT
เมื่อเราได้ค่าไฟของทั้ง 2 กรณีแล้ว อยากรู้ว่าประหยัดเดือนละเท่าไหร่ก็เอามาลบกัน ก็จะประหยัดไปเดือนละ 1,633.79 บาท
พอเราได้ยอดที่เราจะประหยัดต่อเดือนไปแล้ว เราก็น่าจะอยากรู้ต่อแล้วว่า เราจะคืนทุนในกี่ปีกัน ไม่ยาก เราก็คำนวณคร่าว ก่อนว่า เราน่าจะประหยัดได้ปีละกี่บาท เราก็เอาต่อเดือนมาคูณ 12 เป็นปีไป 19,605.48 กับเราสมมุติว่า ราคาค่าติดตั้ง Solar Cell ขนาด 5 kWp ใช้พวกแผง Tier 1 และ Inverter Huawei เลย ก็น่าจะอยู่ที่ 210,000 บาท ดังนั้น จุดคุ้มทุนมันจริง ๆ ก็คือ การเอาราคาค่าติดตั้ง หารด้วยการประหยัดต่อปี ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10.71 ปีเลย ยังไม่นับเรื่องการเสื่อมของระบบเลยนะ เราตีขำ ๆ สัก 12 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานมาก ๆ
ซึ่งช่วงเวลา 10 ปี อุปกรณ์บางอย่างเช่น Inverter อย่างของ Huawei เองเขาประกันที่ 10 ปีเท่านั้น แต่ระบบเราคืนทุนที่ 12 ปี นั่นแปลว่า อีก 2 ปีเราจะต้องรับความเสี่ยงว่า ถ้าเกิดมันเสียในช่วงก่อนเราคืนทุน เราต้องจ่ายเงินซื้อ Inverter ใหม่นั่นแปลว่า ต้นทุนของเรามันก็จะแพงขึ้นไปอีก ทำให้การใช้ไฟประมาณนี้ เรามองว่าไม่น่าคุ้มสำหรับการติดตั้งขนาด 5kWp เท่าไหร่
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วเราขอคำนวณเคสที่ Ideal มาก ๆ ของ 5kWp กันดีกว่า ว่า เราใช้ไฟที่ได้จาก Solar หมดเลย เล่นงี้เลย นั่นแปลว่า เราใช้ไฟทั้งหมด 600 kWh หมดเลยในช่วงกลางวันทุกวัน โหดจัด ๆ เดือนนึงเราจะเหลือค่าไฟเดือนละ 265.34 บาท หรือประหยัดไป 33,975.48 บาท ถ้าค่าติดตั้งอยู่ที่ 210,000 เท่าเดิม ก็จะคืนทุนที่ 6.1 ปีเท่านั้น เป็น Ideal ละกัน
โอเค พอเรารู้แล้วว่า เราจะคำนวณจุดคุ้มทุนในแต่ละขนาดได้อย่างไร เราแนะนำให้ลองคำนวณออกมาเป็นหลาย ๆ เคสเลยว่า ถ้าเราติดที่กำลังเท่านี้ เราจะคืนทุนในปีกี่ เราแนะนำที่ต่ำกว่า 10 ปีในระบบ On-Grid เป็นช่วงเวลาที่กำลังดีเลย ดังนั้นเราอาจจะลองคำนวณจากหลาย ๆ ขนาดแล้วเอาเข้ามาดูว่า มันน่าจะคุ้มที่เท่าไหร่ ราคา และ การคืนทุนอยู่ในจุดที่เรารับได้หรือไม่ เพราะบางคนมองว่า โอเค เราเน้นลงทุนระยะสั้น แล้วเราใช้ไฟถึง เราก็อาจจะเล่นระบบขนาดเล็กอะไรก็ว่ากันไป หรือถ้าเรามองว่า ประหยัดยาว ๆ ก็อาจจะเล่นระบบที่คืนทุนช้าหน่อย แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเป็นต้น
แต่ ๆ เรื่องนึงที่เราเรียนรู้จากการติด Solar Cell มา 2 ปีคือ ตอนที่เราคำนวณ ให้เผื่อ ๆ ประมาณเพิ่มไว้หน่อย โดยเฉพาะบ้านที่คิดว่าจะซื้อรถไฟฟ้าเร็ว ๆ นี้ก่อนที่จะติด หรือหลังติด Solar Cell เพราะตอนนั้น เราก็ไม่ได้ประมาณเผื่อเลย โชคดีที่เพื่อนบอกว่า ให้คิดเผื่อ ๆ ไว้หน่อย เลยรอดไป ค่าไฟเลยลด กับรถไฟฟ้าเอง ก็กินมหาศาลเลยละ เช่นบ้านเราใช้ ORA Good Cat 2 คัน ก็ชาร์จกันเดือนละ 300 หน่วยได้ ดังนั้นอาจจะเผื่อไว้สัก 20-30 % เผื่ออนาคตไว้หน่อย ระบบมันไม่ได้อยู่กับเราแค่ 10 ปี แต่มันมากกว่านั้นเยอะระดับ 20-30 ปี จนกว่าจะพังไปข้างนึง
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...