By Arnon Puitrakul - 27 มีนาคม 2023
ตั้งแต่เรารีวิว Synology NAS ไป ก็มีคนถามเข้ามาให้เราแนะนำหลายคนแล้วละ แต่เรื่องนึงที่พอคนถามเข้ามา แล้วทำให้เราฉุกคิดได้ว่า เออ มันมีราคาอีกส่วนที่เรามักจะละเลยไปในหลาย ๆ ครั้งคือ ค่าไฟ ถ้าดูจากการกำลังไฟในสเปก ก็อาจจะเห็นว่า มันกินไฟนิดเดียวเองนะ มันจะสักเท่าไหร่กันเชียว งั้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า เดือน ๆ นึงมันจะกินเท่าไหร่ คิดเป็นเงินเท่าไหร่ และ เราจะเลือก NAS อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟสูงสุด
ถ้าเราอยากจะประเมินคร่าว ๆ เกี่ยวกับการกำลังไฟที่เครื่องควรจะใช้ เราเข้าไปดูในเว็บของ Synology ได้ ในหน้าของแต่ละรุ่น เรายกตัวอย่างของเรา อย่าง Synology DS1621+ ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ในระดับบ้านใหญ่ ๆ หรือ Small Business กันแล้ว ในหน้าเว็บ เขาจะแยกเคสออกมา เป็น ช่วงเวลาที่ไม่มีการเข้าถึงข้อมูลเลย HDD ในเครื่องหยุดหมุน และ เมื่อ HDD มันหมุนเต็มที่ หรือก็คือ ตอนที่เรากำลังมีการเข้าถึงข้อมูลอยู่ ถ้าเราดูก็คือ มันเป็นครึ่งต่อครึ่งเลยนะ
งั้นเราสมมุติว่า NAS ของเรามีการเข้าใช้ตลอดเวลาเลย กินสัก 50.22W ตลอดเวลาเลย ชั่วโมงนึงเราก็จะกินอยู่ประมาณ 0.05 หน่วย ทำให้ใน 1 เดือน เราก็จะใช้อยู่ประมาณ 36 หน่วยไฟด้วยกัน ถ้าเราตีว่า เราใช้ไฟด้วยละ 5.5 บาท เราก็จะเสียค่าไฟประมาณ 198 บาทเท่านั้น อื้ออ ดูดีมากเลยนะ ถ้าเราบอกว่า เราสามารถเก็บข้อมูลกับตัวเราได้ เราไม่ต้องไปยึดกับการจ่ายค่า Cloud ไปเรื่อย ๆ
งั้นเราเอาความเป็นจริงมาดูกันดีกว่า ของจริงเรากินอยู่ประมาณ 51-60 หน่วยต่อเดือนเลย ซึ่งเยอะกว่าที่ Synology เคลมไว้เยอะมาก ๆ เลยนะ น่าจะมีห่างกันเกือบ ๆ 2 เท่าไปเลย ถ้าเราคิดเอาเป็นเดือนนึงละกันต่ำสุด ๆ 51.2 หน่วยไฟ เราก็จะเสียค่าไฟอยู่ 281.6 บาท สำหรับเดือนนึงเต็ม ๆ ก็ยังพอได้อยู่นะ ยิ่งถ้าเราไปดูสเกลของ NAS เราที่เรียกว่า SME แล้ว ค่าไฟเท่านี้ถือว่า เรื่องเล็กมาก ๆ
อย่างที่เราเคยรีวิวกันมาก่อนหน้านี้ว่า เราได้รับการสนับสนุนจากทาง Synology Thailand ส่ง Expansion Unit DX517 เข้ามาให้ และเราใส่ HDD เข้าไปเพิ่มในนั้นอีก 2 ลูกด้วยกัน ทำให้การใช้ไฟเราจะอยู่ที่ประมาณ 68-70 หน่วย ด้วยกัน เราเอาที่ 68.1 หน่วยที่เป็นเลขจริงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มา ทำให้เราจะโดนค่าไฟอยู่ที่ 374.55 บาทด้วยกัน แต่เราได้พื้นที่การจัดเก็บเพิ่มอีกเยอะเลย ด้วยความที่ Expansion Unit เขาไม่ได้มีคอมพิวเตอร์ทั้งตัวอยู่ภายในเป็นแค่กล่องที่เราใส่ HDD แล้วเชื่อมต่อกับตัว Main เท่านั้น เลยทำให้มันไม่ได้กินไฟมากเท่าไหร่ ผลรวมต่อเดือนมันเลยไม่ได้เยอะมาก
แต่ถ้าเป็นระดับบ้านจริง ๆ เราว่า ก็น่าจะเล่นกันสุด ๆ ก็พวกแบบ 923+ ถ้าดูจากสเปกในหน้าเว็บ ก็คือ การกินไฟหายไปเกือบครึ่งเลย ถ้าเราเอาหน่วยที่เราโดนจริงไปทาบ แล้วหันครึ่งประมาณ ๆ เอา มันก็จะประมาณ 30 หน่วยอะ ก็ประมาณ 165 บาทเท่านั้น ทำให้ถ้าเราแชร์กันทั้งบ้านเลย เราว่ายังไง ๆ ก็ถูกกว่าการจ่าย Cloud ระดับครอบครัวแน่นอน ถ้าเรามีเงินก้อนที่จะลงไปตรงนี้อะนะ
มาถึงจุดที่หลายคนอยากรู้แล้ว (เหรอ...) ว่าเราจะเลือก NAS อย่างไรให้มันประหยัดไฟสุด ๆ ต้องเข้าใจก่อนนะว่า จริง ๆ NAS มันก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนึงเท่านั้นแหละ ดังนั้น ถ้าเราเลือก CPU ที่พลังในการประมวลผลน้อย ๆ หน่อย แต่เพียงพอกับการใช้งานของเราที่สุด ก็จะเป็นการลดการใช้ไฟได้มหาศาลมาก ๆ เช่น ฝั่งของ Synology รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ CPU เป็น AMD Ryzen ก็กินไฟค่อนข้างน้อยอยู่แล้วแหละ แต่ถ้าเราอยากได้ให้มันต่ำลงไปอีก มันก็จะมีกลุ่มที่เป็น CPU จาก Realtek เอง ซึ่งพวกนี้ Performance เราว่าน่าจะทำได้อย่างมากก็คือ เก็บไฟล์เฉย ๆ เลย ถ้าใครใช้แค่เท่านั้นมันก็เพียงพอแล้ว
อีกปัจจัยที่ทำให้ NAS กินไฟก็คือ ตัว HDD ที่เราใช้ด้วย ยิ่งถ้าเราใช้ HDD จำนวนเยอะเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งกินไฟสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้ถ้าเราอยากจะประหยัดไฟจริง ๆ เราอาจจะต้องยอมลงทุนซื้อ HDD ที่ลูกใหญ่ขึ้น เช่น 6-8TB ก็น่าจะเยอะมาก ๆ สำหรับบ้าน และ SME แล้วนะ อาจจะกดมาเริ่มต้นสัก 2 ลูกทำ RAID1 แล้ววันนึง เราก็อาจจะขยับขยายไปเพิ่มรอบแรกอาจจะมาอีก 2 ลูก ก็จะเก็บได้ 24 TB แบบชิว ๆ แล้วละ
นอกจากนั้น ในตัว HDD เอง มันก็จะมีหลายเกรดอยู่ หนึ่งในนั้นคือ ความเร็วรอบของ HDD ยิ่งเยอะ มันก็ยิ่งเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ก็แลกมากับการกินไฟที่สูงขึ้นหน่อยนึงด้วย ถ้าเราดูที่ลูกนึง มันก็ไม่เยอะหรอก แต่ NAS เราใส่กันมากกว่า 1 ทำให้มันก็จะคูณ ๆ ไปเรื่อย ๆ และ เอาเข้าจริง ๆ ถ้าเราใส่หลาย ๆ ลูกทำ RAID ด้วยกัน เราว่า สัก 3 ลูก ก็ใช้ตัวที่รอบต่ำ ๆ สัก 5,200 รอบ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว สุดท้ายจะไปตันที่ความเร็วของ Ethernet แทน ลดการใช้พลังงาน ลดความร้อน และ อายุที่ยืนกว่าด้วย
NAS เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราเอง เราอาจจะเอามันมาวางไว้ในบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลของบ้านเรา หรือ ไว้ในองค์กรบริษัท เพื่อเก็บข้อมูลระดับบริษัท แต่พอมันเป็นเครื่องที่เราจะต้องเปิดตลอดเวลา มันมาพร้อมกับค่าไฟที่ เราเอาข้อมูลจริง ๆ มาทำให้เห็นแล้วว่า มันไม่ได้กินเยอะขนาดนั้น อย่างน้อยที่สุด ก็ยังน้อยกว่าค่า Cloud ที่เราจะต้องจ่ายไปเยอะมาก ๆ ยิ่งถ้าเราเลือกรุ่นให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เลือกสเปกของเครื่องที่เหมาะสม และ ใส่ HDD ที่ขนาดพอดีเผื่อ ๆ อนาคตไปนิดหน่อย ก็จะทำให้เราประหยัดไฟได้มากขึ้นไปอีกเยอะเลย ทำให้ NAS ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับใครต้องเก็บข้อมูลจำนวนเยอะ ๆ
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...