Technology

เปิด Server ในบ้านเสียค่าไฟเท่าไหร่

By Arnon Puitrakul - 26 กันยายน 2022

เปิด Server ในบ้านเสียค่าไฟเท่าไหร่

หลังจากที่เราเปิด Server ในบ้านมาหลายตัวมาก ๆ เราสงสัยมาก ๆ ว่า ถ้าเราเอา Server เข้ามาเปิดแบบ 24/7 จะเสียค่าไฟเท่าไหร่ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ค่าไฟแพง เรามาดูกันดีกว่าว่า ถ้าเราเอา Server มาวางเราจะเสียเงินค่าไฟเท่าไหร่

ค่าไฟคิดอย่างไร ?

สำหรับคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ค่าไฟคิดอย่างไร เรามาเริ่มจากตรงนี้ก่อนละกัน เราต้องแยกกันนะ ระหว่าง กำลัง (Power) และ พลังงาน (Energy) โดยที่การวัดค่าไฟ เราจะใช้หน่วยที่เป็นพลังงานในการวัด เป็นหน่วย kWh

และ การวัดกำลังเราจะวัดเป็น Watts หรือ W เฉย ๆ เป็นตัวย่อ ซึ่งการแปลงจากกำลังเป็นพลังงานง่าย ๆ 1 kWh คือ เมื่อเราใช้กำลัง 1 kW เป็นเวลา 1 ชั่วโมงแค่นั้นเลย ดังนั้นสมมุติว่า ถ้าเราใช้ไฟ 100W เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เราจะใช้พลังงานไป 0.1 kWh และเราคิดต่อ 1 วันมี 24 ชั่วโมง และ 1 เดือนมี 30 วัน ดังนั้น 1 เดือนเราจะใช้พลังงานไปทั้งหมด 0.1 x 24 x 30 = 72 kWh

จากนั้น เราจะเอาพลังงานไปคิดค่าไฟ ถ้าเอาง่าย ๆ เลยเราแนะนำให้ใช้ ระบบประมาณการค่าไฟฟ้า ของ PEA ได้เลย ง่าย ๆ เลย เริ่มจากเลือกประเภทก่อน โดยบ้านทั่ว ๆ ไป เราก็จะอยู่ในประเภทที่ 1 คือผู้ใช้ตามบ้าน ส่วน 1 จุดอะไร ขึ้นกับการใช้ไฟของเราว่าเกิน 150 หน่วยหรือไม่ ให้เราดูที่บิลก็ได้ จากนั้นเราแค่เอาพลังงานที่เราคำนวณได้มาเมื่อสักครู่คือ 72 kWh ไปใส่ในช่อง แล้วกดคำนวณได้เลย

โปรแกรมมันจะคำนวณให้เราหมดเลย ทั้งการบวกค่าไฟฐาน, ค่าบริการ, ค่า Ft และ VAT ต่าง ๆ ให้เราทั้งหมด ดังตัวอย่างด้านบน เราจะโดนค่าไฟอยู่เดือนละ 363.13 บาท (สำหรับเดือนกันยายน 2565)

ค่าไฟ Server บ้านเราเอง

อย่างที่หลาย ๆ คนน่าจะทราบกันแล้วว่า เว็บที่ทุกคนกำลังอ่านอยู่ตอนนี้ Hosting อยู่ในบ้านเราเอง ซึ่ง Hardware ที่เราใช้จะเป็น Synology DS1621+ บวกกับ Synology DX512 ที่เป็น Expansion Bay ใช้กับ HDD ขนาด 4 TB ทั้งหมด 8 ลูกด้วยกัน แล้วต่อผ่าน UPS อีกที

Hardware ขนาดนี้ เรามองว่า ถ้าสำหรับบ้านทั่ว ๆ ไป Hardware ที่ใช้อาจจะไม่ขนาดนี้ ทำให้เรามองว่า ถ้าจะเทียบ น่าจะเอามาเทียบในสเกลของ SME มากกว่า โดยทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้จะกินกำลังอยู่ตั้งแต่ 79.27 - 119.19 W ด้วยกัน เดือน ๆ นึงจะใช้พลังงานอยู่ที่ 66.91 kWh อย่าลืมนะว่าอันนี้เป็น NAS ที่ใช้ CPU ที่ค่อนข้างมีพลังเยอะหน่อย ถ้าเราไปใช้ตัวที่ต่ำกว่านี้เช่นพวก Intel Celelon ในรุ่นพวก DS420+ หรือต่ำลงไปอีก การใช้พลังงานจะน้อยกว่านี้มาก ๆ ประกอบกับเราใส่ Expansion Bay เข้าไปอีกมันยิ่งใช้พลังงานหนักเข้าไปอีก

ถ้าเราเอาตัวเลขพลังงานคือ 66.91 kWh ไปใส่ในโปรแกรมประมาณค่าไฟของ PEA (ขอใส่เป็น 67 kWh นะเพราะเขาใส่เป็นทศนิยมไม่ได้) เราจะโดนอยู่ที่ 340.75 บาทเท่านั้นเอง และ 1 ปี เราก็คูณ 12 เข้าไปจะอยู่ที่ 4,089 บาทไปเลยจุก ๆ เรียกว่า ก็ไม่น้อยนะ สำหรับค่าไฟบ้านน้ะ แต่ถ้าเรามองเป็น SME เลย เพราะ Hardware เราว่าเราไปสเกลนั้น ก็ถือว่าไม่เยอะมากเท่าไหร่

การเลือก Server/NAS ที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ

โดยทั่ว ๆ ไป เวลาเราเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานสักเครื่องนึง เราจะคิดแค่ว่า เครื่องนี้มันทำงานได้เร็วมากพอที่เราต้องการหรือไม่ เราอาจจะเอาเครื่องที่เร็วกว่าที่เราต้องการไปหน่อย เผื่ออนาคตไปเลย แต่การเลือก Server/NAS มันต่างออกไป เพราะอุปกรณ์พวกนี้ เราจะเปิดอยู่แบบ 24/7 ไม่ปิดเลย ทำให้มันกินไฟตลอด

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย การเลือก Server เลยเพิ่มเรื่องของ ความประหยัดไฟฟ้า หรือก็คือ ประสิทธิภาพต่อกำลังไฟเข้ามาคิดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเลยก็ว่าได้ เครื่อง Server พวกนี้จะต้องทำงานได้ เสถียร เร็วมากพอ และ ใช้พลังงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง

บางครั้ง การเลือก Server ที่พอดีกับการใช้งานของเรา และใช้ไฟน้อยที่สุด เลยเป็นการเลือกอะไรที่ฉลาดกว่าการเลือกเครื่องที่อาจจะแรงมาก ๆ แล้วกินไฟเยอะก็ได้ โดยเฉพาะบ้าน ที่เราอาจจะไม่ได้หากำไรจากมัน อาจจะเอามารัน Smart Home หรืออะไรก็ตาม เราเลยควรเลือกตัวที่พอดีกับเรามากกว่าเอาแรง ๆ ไปเลย

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...