Technology

Easy Pass ใช้เทคโนโลยีอะไร เกี่ยวอะไรกับสติ๊กเกอร์พระอาทิตย์ฟร๊ะ

By Arnon Puitrakul - 29 พฤษภาคม 2023

Easy Pass ใช้เทคโนโลยีอะไร เกี่ยวอะไรกับสติ๊กเกอร์พระอาทิตย์ฟร๊ะ

เมื่อวานบ่าย เรานั่งไถ่เฟสบุ๊คเล่น จนมาเจอ Post ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย Post ผ่านช่องทาง Facebook อ่านแล้วถึงกับกลั้นขำออกมาอย่างแรง และพูดว่าอะไรฟร๊ะเนี่ย ไหน ๆ เขาก็พูดถึง Easy Pass แล้ว วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันดีกว่าว่า Easy Pass ที่เราใช้ขึ้นทางด่วนกันแบบง่าย ๆ เขาใช้อะไรเป็นเบื้องหลังที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้

Appling Flow

ก่อนอื่น เรามาเริ่มกับสิ่งที่เราเห็น และ เรา Interact กับมันก่อนดีกว่า ปกติ ถ้าเราจะใช้งาน Easy Pass เราจะต้องไปทำการลงทะเบียนกับ กทพ. ซะก่อน มันก็จะทำให้เราได้อุปกรณ์ชิ้นนึงมา โดยที่ทาง กทพ. จะแนะนำให้เราเอามันไปติดที่กระจกหน้ารถ และทำการเติมเงินให้เพียงพออะไรก็ว่ากันไป

เวลาเราจะใช้งานจริง ๆ สิ่งที่เราต้องทำคือ เราแค่เอารถวิ่งเข้าไปที่ช่องอัตโนมัติ เข้าไปช้า ๆ หน่อย เราจะได้ยินเสียงติ๊ด แล้วไม้กั้นจะเปิด กับหน้าจอจะแสดงเงินที่เรายังเหลืออยู่ แล้วเราก็ขับรถออกไปแค่นั้น นี่คือสิ่งที่เราเห็น มันดูเป็น MAGIC มากเลยใช่มะ แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้ Magic ขนาดนั้น

RFID เทคโนโลยีเบื้องหลัง

ถ้าเรายังจำได้ ถ้ารถของเราไม่มีตัวอุปกรณ์ที่เราได้ทำการลงทะเบียนมา เราก็จะเข้าช่องอัตโนมัติไม่ได้ใช่ป่ะ หรือง่าย ๆ เลย ถ้าเราเอาอุปกรณ์ของรถคันอื่นมา มาใส่บนรถเรา เราก็จะสามารถใช้งาน Easy Pass ของอีกคนได้ ดังนั้น ตัวอุปกรณ์จึงเป็นเหมือนกับ เครื่องยืนยันตัวตนของเราในระบบ Easy Pass

แล้วอุปกรณ์ตัวนี้ เหมือนเราไม่ได้ต้องดูแลเปลี่ยนแบตอะไรมันเลย ดังนั้น ตัวมันไม่น่าจะมีแหล่งจ่ายไฟแน่ ๆ อ้าว.... แล้วมันทำงานได้ยังไงละ กับอีกอย่างที่เรารู้คือ มันจะไม่ทำงานเลย เมื่อมันไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตรงที่เราจะเอารถผ่าน

สิ่งที่เขาใช้ มันเรียกว่า RFID (Radio Frequency Identification) ตามชื่อของมันเลย มันทำหน้าที่ในการยืนยันตัวตนด้วยการใช้คลื่นวิทยุ อ่านมาแล้วมันเหมือนกับที่เราพูดถึง Easy Pass เลยใช่มะ กับอีกที่ ๆ เรามักจะเจอการใช้งาน RFID คือพวกสินค้าในห้างที่ถ้าเราไม่ได้จ่ายเงิน แล้วเอาของเดินออก เครื่องมันจะร้องเตือนเสียงดัง ๆ หรือเวลาเราเข้าผ่านประตู เราติดอุปกรณ์ไว้ที่รถ หรือ ใช้บัตรอะไรก็ตาม

ถามว่า ในเมื่อมันไม่มีแหล่งจ่ายไฟ แล้วมันคุยกันผ่านสัญญาณวิทยุได้ยังไงกันละ อันที่ชัดเจนมาก ๆ คือ พวกที่ติดอยู่ตามขวดแชมพู หรือของที่ขายอยู่ในห้าง มันมักจะมีสติ๊กเกอร์อะไรสักอย่างแผ่นใหญ่ ๆ ติดอยู่ด้านหลังขวด ถ้าเราแกะออกมา เราจะเห็นว่า มันเป็นเหมือนทองแดงขดกันเป็นเส้น ๆ อันนี้แหละ เราเรียกมันว่า เสาอากาศ (Antenna) แต่เสาอากาศนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่แค่การรับส่งข้อมูลเฉย ๆ นะ

เพราะถ้ามันมาทำงานอยู่ใกล้ ๆ เครื่องอ่าน มันจะทำงานได้ใช่ป่ะ สิ่งที่เครื่องอ่านมันทำ มันจะมีการปล่อยคลื่นวิทยุออกมา เมื่อคลื่นตรงนี้มันไปเหนี่ยวนำกับขดลวดมันก็จะเกิดกระแสไฟฟ้า ทำให้ตัวอุปกรณ์ RFID มันทำงานได้ขึ้นมา นี่แหละ คือเหตุที่ทำไม RFID บางตัวถึงไม่ต้องใส่ถ่าน หรือทำอะไรเลย มันก็ทำงานได้เมื่อมันอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องอ่าน กลุ่มที่เราไม่ต้องใส่ถ่านเราจะเรียกว่าเป็นพวก Passive

พวก Passive RFID ด้วยความที่เขาใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าเข้ามา ดีที่มันไม่ต้องใส่ถ่าน นั่นก็ทำให้พลังมันก็น้อยด้วยเช่นกัน ทำให้เราจะต้องอยู่ใกล้กับเครื่องอ่านมาก ๆ เรียกว่า แนบชิดเลยทีเดียวละ ถ้าคิดง่าย ๆ ก็คือพวกบัตรเข้าคอนโดที่เราต้องเอาบัตรแตะกับเครื่องอ่าน

กลับกัน ถ้าเราต้องการ Function ที่เพิ่มขึ้น และระยะการอ่านที่ไกลขึ้น เช่น Easy Pass ที่เราไม่ได้เอาเครื่องไปแตะกับเครื่องอ่าน แต่เราแค่ขับผ่านมันก็อ่านได้ ระยะการอ่านมันไกลมากขึ้นได้ เพราะภายในตัว RFID เราใส่ถ่านลงไปด้วยนั่นเอง พวกกลุ่มนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Active RFID

ข่าวบิดเบือน ตลับทางด่วน Easy Pass หากแกะใส่ถ่านเองหรือทำชำรุด ต้องเสียค่าอุปกรณ์ใหม่ 800 บาท | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม | Anti-Fake News Center Thailand

ใช่แล้วฮะ ภายในของ Easy Pass ถ้าเราแกะออกมา เราจะเจอกับถ่านกระดุมทั้งหมด 2 ก้อน แต่ ๆๆ มันไม่ได้หมดเร็วขนาดนั้นนะ และถ้ามันหมด เราก็ไม่ต้องหาแกะเปลี่ยนเองเนอะ เราไปที่ศูนย์บริการของ กทพ. เพื่อขอเปลี่ยนได้นะ ไม่ต้องหาทำเปลี่ยนเองเนอะ ฮ่า ๆ

RFID Tags - EPC-RFID
RFID Class-1 Generation-2 (“Gen-2”) tags are used for item level identification in retail environments. “Class-1” refers to the functionality of the tag while “Gen-2” refers to the physcial and logical standards of tag and the encompassing system. These standards are … Continue reading →

โดยที่มันจะมีประเภทของมันอยู่ตั้งแต่ Class 0 -5 แบ่งตามความสามารถในการอ่าน และ เขียนซ้ำลงไปใหม่ได้ โดยอันที่อ่อนสุด ๆ ก็จะเป็นพวกที่ไม่สามารถเขียน Tag ได้เลย พวกนี้เขาจะเขียนมาจากโรงงานแล้ว จนไปถึงพวกที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถรัน Logic ต่าง ๆ หรือประทั่งเขียน ข้อมูลบางอย่างเข้าไปได้เลย ซึ่งราคามันก็จะแตกต่างกันไปตามความสามารถที่มันทำได้ ยิ่งทำได้เยอะ มันก็จะยิ่งแพงขึ้น

เรายกตัวอย่างอันที่เราเห็นกันเยอะ ๆ ละกัน คือกลุ่มของพวก Class 1 หรือเราเรียกกันว่า WORM (Write-Once-Read-Many) หรือก็คือ เขียนครั้งเดียว แต่อ่านได้หลาย ๆ ครั้ง คือ เราจะเขียนข้อมูลลงไปครั้งหนึ่ง แล้วเราก็เก็บเอาไว้ แล้วเราก็รออ่านอย่างเดียว

ยกตัวอย่างการใช้พวก Class 1 ที่เราเจอกันเยอะมาก ๆ คือประตูคอนโดที่เขาจะให้บัตรสำหรับเราแตะเข้าคอนโด บัตรส่วนใหญ่ก็อาจจะเอาไปสกรีนเป็นลายต่าง ๆ แล้วแต่เนอะ แต่ข้อมูลมันจะยังไม่มีอะไร จนกว่า คนที่ดูแลอาคาร เขาจะสร้างผู้ใช้ในระบบ และทำการสร้าง ID แล้วเอา ID นั่นแหละ เขียนเข้าไปในบัตร หลังจากนั้น เมื่อเจ้าของบัตรเอาบัตรไปแตะมันก็จะใช้งานได้ ถามว่าแล้วการที่เราทำให้มันเขียนได้ครั้งเดียวมันดียังไง

การที่เราเขียนได้ครั้งเดียว มันช่วยเรื่องของความปลอดภัยได้เป็นอย่างดีคือจะไม่มีใครมา Reprogram หรือทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรของเราได้ เป็นเรื่องของความปลอดภัย และ ราคาด้วย ถ้าเราไปหาเลยนะ ใบละ 40 บาทเองมั้ง หรือบางที่ถูก ๆ หน่อยใช้ Class 0 เลย เท่าที่เห็นใบละ 9 บาทเองก็มีเหมือนกัน ยิ่งพวกที่เอาไปติดกับด้านหลังของผลิตภัณฑ์เขาตัดเรื่องพวกพลาสติกบัตรอะไรออกทำเป็นสติ๊กเกอร์มันก็จะถูกกว่านี้อีกเยอะเลย

แค่เครื่องอ่าน และ ตัว RFID มันยังทำอะไรไม่ได้

อ่านมาถึงจุดนี้เริ่มคิดแล้วใช่มั้ยว่า เหยยย ตัวอุปกรณ์ Easy Pass มันแพงกว่า 40 บาท ดังนั้นมันน่าจะเป็นพวก Class สูง ๆ แน่ ๆ ทำให้เราสามารถที่จะ Reprogrammed ได้ ดังนั้น หรือว่า เขาจะเก็บจำนวนเงินไว้ในนั้น แปลว่า เราสามารถที่จะเขียนเลขเงินกลับลงไปได้เหรอ

แหม่ ถ้าทำแบบนั้นได้ กทพ. ชิบหายไปแล้วละ เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งที่เขาใช้มันไม่ได้มีแค่นั้น เพราะ ในตัวของอุปกรณ์ที่ติดกับรถเรา มันไม่ได้มีอะไรมากนอกจากการที่มันบอกว่า มันคือใช้ ID อะไรเท่านั้นเอง

ดังนั้นมันจะต้องมีอะไรบางอย่างเพื่อเก็บยอดเงิน และทำการหักเงิน พร้อมกับ เก็บว่า เราผ่านด่านไหนคิดเป็นเงินเท่าไหร่บ้าง ดังนั้นจริง ๆ แล้ว คือ เมื่อเราเอารถเข้าไป เครื่องอ่าน มันจะกลับไปคุยกับ Server ที่มีฐานข้อมูลอยู่ว่า เราเป็นใครบัตรนี้มีจริงมั้ย มีเงินเท่าไหร่ มาจากด่านอะไร มันก็จะทำการหักยอดเงินออก และส่งยอดเงินที่เหลือกลับมาบนหน้าจอที่เราเห็นนั่นเอง

ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วถ้าเราเราเอาอุปกรณ์ของ Easy Pass มากกว่า 1 ตัวไว้บนรถละ มันจะเอาอันไหน คำตอบก็คือ อันไหนมันเหนี่ยวนำจ่ายไฟแล้วคุยกับตัวอ่านได้ก่อนคนนั้นชนะ แต่ความสนุกมันอยู่ที่ว่า เราจะต้องยิงตอนเราเข้า ตอนนั้นมันจะยังไม่ตัดเงินแต่ทำการ Register เอาไว้ และ เมื่อเราลงนั่นแหละ มันจะตัดเงินเรา ถ้าตอนขาขึ้นกับขาลงมันคนละอันนั่นแหละ ปัญหาละ เราเคยเจอกับตัว เพราะลืมว่า ในรถมี Easy Pass 2 อัน อันเก่ากับอันใหม่ในรถนี่แหละ

สรุป

ระบบ Easy Pass ที่เราใช้งานกันเหมือน MAGIC จริง ๆ แล้วโฉมหน้าของมันก็คือ การใช้ RFID เพื่อบอกว่า เราเป็นใครกับเครื่อง และ เครื่องก็จะคุยกับระบบหลังบ้านเพื่อทำการตัดเงิน รวมไปถึงเชื่อมต่อกับพวกระบบธนาคารต่าง ๆ ทำให้เราสามารถเติมเงินผ่าน App ของธนาคารได้นั่นเองงงงง และถ้าเราใช้สติ๊กเกอร์อะไรนั่นแบบที่ กทพ. เข้าใจได้ นั่นก็นะ ฮ่า ๆ ตลกละ

Read Next...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...

Tor Network ทำงานอย่างไร ทำไมถึงตามยากนัก

Tor Network ทำงานอย่างไร ทำไมถึงตามยากนัก

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนนานมาก ๆ แล้ว ตำรวจไทยได้จับกุมเจ้าของเว็บ AlphaBay ขายของผิดกฏหมายรายใหญ่ ซึ่งเว็บนั้นมันอยู่ใน Dark Web ที่จำเป็นต้องเข้าถึงผ่าน Tor Network วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำงานอย่างไร และทำไมการตามตัวในนั้นถึงเป็นเรื่องยากกัน...