By Arnon Puitrakul - 08 เมษายน 2022
ช่วงนี้มีหลาย ๆ คนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราอยากจะได้เว็บสักเว็บเราต้องทำอะไรยังไงบ้าง เอาจริง ๆ ตอนได้คำถามนี้แต่ละครั้ง เราก็ จุด ๆ ไปแว่บนึงทุกครั้ง ฮ่า ๆ เพราะจริง ๆ แล้วการจะสร้างเว็บขึ้นมาสักตัว มันต้องอาศัยหลาย ๆ อย่างเหมือนกัน วันนี้เราเอามาสรุปให้อ่านกัน น่าจะทำให้พอเห็นภาพได้ว่า เราต้องใช้อะไรบ้าง
ก่อนเราจะไปคุยกับคนที่เขาจะมาทำเว็บให้เรา เราจะต้องกำหนดก่อนว่า เราอยากได้เว็บมาทำอะไร เช่น เราต้องการนำมาเป็นเว็บแสดงข้อมูลสินค้า เพื่อสร้าง Awareness ให้กับ Brand ตัวเอง หรือ เอามาเป็นเว็บสำหรับแสดงข้อมูลบริษัทเป็นต้น
คำแนะนำของเราคือ พยายามทำให้จุดประสงค์ของเว็บค่อนข้างชัดเจน เพื่อช่วยให้คนที่มาทำเว็บให้เราสามารถออกแบบเว็บได้ตรงกับความต้องการมากขึ้นจะช่วยได้มาก ลดอาการหัวร้อนของทั้งเรา และคนที่มาทำเว็บให้เราได้เป็นอย่างดีเลยเชียว
หรือจริง ๆ แล้วถ้าเราไม่รู้ว่าเราจะทำออกมาแบบไหน หรืออธิบายยังไงให้เข้าใจได้ แนะนำให้ลองไปหา Reference จากเว็บอื่น ๆ มาก็ได้ อาจจะเป็นเว็บของคู่แข่งเรา ก็น่าจะทำให้เราได้เว็บไซต์ที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการอยู่พอตัว (ไม่งั้นจะเป็นคู่แข่งกันยังไง) แต่อาจจะมองหาเอาจุดเด่นของ Brand เรา หรือสิ่งที่เราต้องการทำใส่ลงไป เพื่อให้เว็บไซต์ของเราสามารถจดจำได้ง่าย
หลังจากที่เรากำหนดได้แล้วว่าเว็บเราจะเป็นอะไรบ้าง เราก็เอา Requirement ตรงนี้แหละ มาออกแบบเป็นโครงสร้างของเว็บและเนื้อหาได้เลย โดยอาจจะเริ่มจากโครงสร้างของเว็บก่อนว่า ในเว็บเราจะมีหน้าอะไรบ้าง จากหน้านี้จะไปหน้าไหนอะไรยังไงบ้าง โดยเราจะเรียกสิ่งนี้ว่า Sitemap จริง ๆ แล้ว Goal ของการออกแบบนี้คือ ทำให้เราเข้าใจว่า เว็บมันควรจะมีอะไรบ้าง และ ในการที่จะเข้าถึงในแต่ละส่วนของข้อมูล มันจะต้องกดไปกี่หน้า นึกภาพว่าถ้าเป็นเราเอง เข้าเว็บนึงแล้วปรากฏว่า คลิกไปหลายหน้ามา แล้วยังหาข้อมูลไม่เจอ เราก็คงไม่ชอบสักเท่าไหร่ แนะนำให้ลองไปหาอ่านเรื่องของการวาง User Persona สำหรับ Website ของเรา และลองใช้ข้อมูลที่ได้มาออกแบบให้เข้ากับทุก ๆ Persona ดูน่าจะช่วยได้เยอะ
หลังจากเราได้ Sitemap แล้ว เราค่อย ๆ มาลงในรายละเอียดของแต่ละหน้าว่า ในแต่ละหน้า มันจะมีอะไรอยู่ในนั้นบาง ถ้าจะให้เขียน Content ในแต่ละหน้าเลย ก็อาจจะยากไป แนะนำให้ลองเป็นการเขียน Keyword ในแต่ละหน้าออกมาก่อนว่า เราอยากให้ในแต่ละหน้ามีอะไรใหญ่ ๆ บ้าง เช่นเราบอกว่า เราเป็นเว็บบริษัทที่ขายตู้เย็น ในหน้าของ Product เราอาจจะต้องมีหน้าย่อย ๆ เป็น ตู้เย็นในแต่ละรุ่น โดยที่ในหน้าของตู้เย็นแต่ละรุ่น อาจจะเป็นการบอกคุณสมบัติพิเศษของตู้เย็นก็ได้ เช่น 3-ประตู มีระบบแช่ผักที่ดีอะไรแบบนั้นก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี วิธีนี้ นอกจากจะช่วยให้เราคิด Content เพื่อใส่ลงไปในหน้าได้ง่ายขึ้นแล้ว มันยังทำให้ เราสามารถกำหนด Focus Keyword และออกแบบ Content ให้สอดคล้องกันได้อย่างง่าย นั่นทำให้เรื่องของ SEO (Search Engine Optimisation) ดีขึ้นเยอะ ไว้เดี๋ยวตอนหน้าเราค่อยมาคุยกันเรื่องนี้
และสุดท้าย เราก็ค่อยมาออกแบบ Content ทีละหน้าได้แล้วว่า เราอยากจะมีการนำเสนอข้อมูลที่เราต้องการออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งวิธีการนำเสนอ เราอาจจะลองหา Reference จากเว็บอื่น ๆ ดูได้ เราลองยกตัวอย่าง เว็บที่เรามองว่า นี่แหละนักขาย ป้ายกันชิบหายของจริงคือ Apple ถ้าเราลองเข้าไปในหน้าเว็บที่เป็น Product ของเขา เช่น Macbook Air เมื่อเราเลื่อนลงไปเรื่อย ๆ เราจะเห็นเลยว่า เขาเอา Feature ของ Macbook Air มาวางลงไป และเล่าออกมาเป็นเรื่องราว ไล่ตั้งแต่อะไรที่มันว้าวมาก ๆ อย่างตอนนั้นก็ต้องเป็น M1 จนยาวไปล่างสุดก็เป็นเรื่องพวก WiFi 6 ที่มันไม่ได้ว้าวมาก เพราะว่า เวลาคนเราเลื่อนหน้าเว็บ เราก็จะเลื่อนจากบนลงล่าง ทำให้เราต้องเอาสิ่งที่มันน่าสนใจที่สุดไว้ด้านบนเพื่อดึงความสนใจนั่นเอง อันนี้เป็นเรื่องปกติของการ Design เลย
อันนี้แหละที่เวลาเราโดนถามแล้วจะ อึ้ง ๆ ไม่ใช่อะไรนะ ลำพังตัวเองยังคิดไม่ออกเลยจ้าาาา แต่เราพอจะบอกได้ว่าอันไหนที่ไม่น่าเอามาตั้งแน่ ๆ คือ พวกอันที่สะกดยาก ๆ และไม่ได้มีความสะกิตใจคนอ่านมาก ลองนึกภาพขำ ๆ ดูว่า สมมุติว่า เราตั้งชื่อเว็บว่า lsjflskjflejf.com คิดว่า เราจะพิมพ์เข้าเองมั้ยละ ฮ่า ๆ ใช่ม่ะ ดังนั้นชื่อเว็บ เรามองว่ามันน่าจะเป็นหนึ่งใน Presentation ที่สำคัญมาก ๆ ของเว็บ พยายามตั้งให้มันสัมพันธ์กับสิ่งที่เราจำ หรือ ถ้าเป็น Business ก็อาจจะตั้งเป็นชื่อของ Product หรือชื่อบริษัทเราเลยก็ได้ เพื่อความง่าย
ซึ่งในการที่เราจะใช้ชื่อเว็บเพื่อให้คนอื่นเข้าผ่านชื่อที่เราต้องการ เราจะต้องไปจดทะเบียน Domain Name ก่อน โดยที่การจดตรงนี้ จะมีค่าใช้จ่ายต่อปีอยู่ แล้วแต่ว่าเราจดกับผู้รับจดบริษัทไหน และเราจดยังไง
เอาง่าย ๆ เลย เราลองสังเกตเว็บที่เราเข้า ๆ กัน มันจะเป็นชื่อเว็บแล้วตามด้วยอะไรสักอย่างแล้วเป็น .com หรือ .in.th อันนี้ขึ้นกับความต้องการของเราเลยว่า เราจะจดเป็นลักษณะใด และแต่ละแบบมันก็จะมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นบริษัททั่ว ๆ ไป เราแนะนำให้จดเป็น .com ไป ก็จะง่ายที่สุดละ และสามารถจดกับผู้รับจดที่ไหนก็ได้หมดเลย ต่างจากพวก .in.th ที่มันจะต้องใช้ผู้รับจดที่เป็นบริษัทไทยอะไรแบบนั้น ลองไปศึกษาเพิ่มดูได้
ดังนั้นของอย่างแรกที่เราจะต้องเสียเงินกับการทำเว็บแล้วคือ Domain Name หรือชื่อของเว็บเรานั่นเอง เสียค่าบริการเป็นปี ๆ ไป
เกือบสุดท้าย เราจะต้องตัดสินใจด้วยว่า หลังจากที่เราได้เว็บมาแล้ว เราจะเอาเว็บของเราไปวางไว้ที่ไหนดี (Web Hosting) ซึ่งตัวเลือกมีเยอะมาก ๆ เริ่มตั้งแต่ถูก ๆ ไม่กี่ร้อย ยันกี่หมื่นเลยก็มีเหมือนกัน โดยที่แต่ละวิธีก็จะแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถ และ ความจุนั่นเอง
โดยที่ถ้าเป็นเว็บเล็ก ๆ อาจจะเป็น Blog หรือเว็บบริษัทที่เน้นการแสดงข้อมูลเป็นหลัก อาจจะมีคนเข้าพร้อม ๆ กันมากสุด 500 กว่าคน เรามองว่า การไปสมัครบริการพวก Shared Hosting ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะทำให้เราสามารถเช่าพื้นที่การเก็บเว็บของเราได้ในราคาที่ถูกมาก ๆ หรือถ้าเว็บเราขยายขึ้นไปอีกหน่อย เราก็สามารถที่จะขอขยาย Package ที่เรามีขึ้นไปได้อีก เช่นใน Hostify เอง (ขายของให้เพื่อนหน่อย ฮ่า ๆ เห้ยของเขาดีจริง ๆ) ถ้าเราเข้าไปดูเขาก็มี Package ให้เราเลือกตามความต้องการที่เราต้องการได้เลย ถ้าเลือกไม่ถูกว่าเราเหมาะกับ Package หรือบริหารไหน ก็ลองติดต่อสอบถามได้ เราจะได้มั่นใจว่า เราจะได้จ่ายเงินแล้วได้สิ่งที่คุ้มค่าที่สุดกลับมานั่นเอง
หรือถ้าเว็บของเรามีข้อจำกัดบางอย่างที่ Shared Hosting อาจจะใช้ไม่ได้ หรือ อาจจะมีจำนวนคนเข้าที่เยอะขึ้น อาจจะพิจารณาไปเช่าพวก VPS (Virtual Private Server) หรืออาจจะเช่าเป็น Dedicated Machine ไปเลยก็ได้เช่นกัน อันนี้แล้วแต่งบประมาณ และความต้องการของเราได้เลย
อีกตัวเลือกนึงคือการเช่า Resource จากพวก Cloud Platform ต่าง ๆ อย่าง Google Cloud Platform (GCP) ได้ แต่อันนี้เราแนะนำว่ามันจะเหมาะกับกลุ่มเว็บที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ มากจริง ๆ คนดูหลายหมื่น เฉียดแสนพร้อม ๆ กัน หรือมีลูกค้าที่เขาได้จากหลายประเทศ เช่น กลุ่มลูกค้าของเราอยู่ในทั้งไทย และ USA เราก็ต้องการ Server ในทั้ง 2 ที่ ซึ่งพวก Cloud Computing Platform เจ้าใหญ่ ๆ เขามักจะมี Data Centre กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เว็บของเราจะสามารถทำงานกับลูกค้าจากหลาย ๆ ประเทศได้อย่างรวดเร็วทันใจแน่นอน
มาถึงคำถามที่น่าสนใจแล้วว่า ถ้าเราอยากจะได้เว็บสักเว็บ เราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เราขอแยกออกมาเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ที่เราต้องจ่ายแน่ ๆ ก่อน นั่นคือ Web Hosting และ Domain Name
ตัว Web Hosting ก็ขึ้นกับว่า เราเลือกเจ้าไหนอะไรยังไงเลย เริ่มต้นที่เราเห็นแล้วใช้งานได้จริง ๆ เลยก็ปีละ 500 กว่าบาทนี่แหละ ก็ตกเดือนละ 41 บาทเอง หรือถ้าอยากได้เป็น Cloud เลย ที่ ๆ ถูกที่สุดที่เรานึกออกตอนนี้คือ Digital Ocean ต่ำสุดเดือนละ 5 USD ก็ประมาณ 167 บาทกว่า ๆ อาจจะแพงหน่อย แต่ก็ดีที่มันเป็น IaaS นั่นหมายความว่าเราจะลงอะไรลงไปในเครื่องนั้นก็ได้หมดเลย เหมือนกับเราเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่องมาใช้งานเลย
ในส่วนของ Domain Name แต่ละแบบก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน แต่ละเจ้าก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันอีก บางที่เราก็จะเจอกับ Promotion ปีแรกเท่านั้นเท่านี้ แล้วปีต่อไปแมร่งขายเราแพงชิบหายเลยก็มี ดังนั้นลองดูดี ๆ ถ้าเป็น .com ก็อาจจะโดนปีละ 380-400 บาทได้ หรือถ้าเป็น .in.th ที่เราเสียอยู่ของ P&T Hosting ก็จะโดนที่ 342 บาท (ณ วันที่เขียน)
ทำให้สุทธิ ถ้าเราใช้งาน Shared Hosting ในไทย และ เราจด .in.th ขั้นต่ำ ๆ เลย เราก็จะต้องเสียเงินอยู่ปีละ 500 + 342 หรือ 842 บาทต่อปีเป็นขั้นต่ำแล้ว เว้นแต่เราจะไปหาพวก Web Hosting ฟรี ๆ มาใช้งานนั่นก็อีกเรื่องแต่พวกนั้นมันก็ไม่ค่อยการันตีพวก SLA เท่าไหร่ ไม่เหมาะกับการเอามาใช้งานในงานจริง ๆ
ปล. ราคานี้เรายังไม่นับเรื่องของการเขียนเว็บอีกนะ ถ้าใครที่เขียนเองได้ก็ตัดเรื่องนี้ทิ้งไปเลย แต่ถ้าใครเขียนไม่ได้ก็จะมีค่าจ้างอีกเนอะ ก็ลองไปหากันดู แล้วแต่ประสบการณ์ และ คุณภาพงานของแต่ละคนเลยอันนี้ตอบยาก
การสร้างเว็บสักเว็บ ต้องยอมรับว่า มันง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก ๆ มีระบบสำเร็จรูปให้เราใช้มากมายเต็มไปหมด หรือ Programmer รอเขียนให้เราได้เพียบ แต่เพราะมันมีตัวเลือกเยอะนี่แหละที่ทำให้เราคิดว่า มันเลยกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนที่เราเล่ามา ถ้า 3 เรื่องแรก เราสรุปคร่าว ได้แล้ว ลองไปหาคนมาทำได้เลย เราคิดว่า ถ้าเล่า 3 เรื่องแรกให้เขาฟัง เขาน่าจะเข้าใจบ้างแหละ ว่าเราต้องการอะไร แล้วพอเว็บเสร็จค่อยมาคุยเรื่องที่ว่าเราจะเอาเว็บไปวางไหนดี ถ้าเรามีในใจแล้วก็ลองคุยกับเขาได้ สิ่งสำคัญคือ อย่า Blank ไปคุย เพราะสุดท้ายทั้งเราและเขาที่เป็นคนทำเว็บให้เรา ก็จะเสียเวลา และ หัวร้อนกันฟรี ๆ โดยที่ไม่ได้อะไรเลย พยายามเก็บข้อมูลความต้องการ (Requirement) ที่เราพอจะหาได้ไปคุยด้วย ก็จะทำให้เราและคนที่ทำเว็บให้เราสามารถร่วมงานกันได้อย่างสงบสุข เราก็ได้เว็บตามที่เราต้องการอีกด้วย
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...