Technology

แว่บไปงาน Google I/O Extended Bangkok 2016 มา

By Arnon Puitrakul - 27 มิถุนายน 2016

แว่บไปงาน Google I/O Extended Bangkok 2016 มา

เมื่อวาน (นับจากวันที่เขียน) 1 ปีก็เวียนมาบรรจบอีกครั้งกับงาน Google I/O Extended Bangkok 2016 ปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ GDG Thailand จัดขึ้น และปีนี้เล่นใหญ่มาก เพราะเล่นไปจัดกันใน สยามพาวาลัย Siam Paragon กันเลยทีเดียว เล่นใหญ่จริง ๆ

Google IO Extended Bangkok 2016

เริ่มจากตอนเช้า ผมว่า ผมน่าจะเป็น **คนแรก **ที่มาเลยจริง ๆ มาตั้งแต่ 6 โมงครึ่ง (มาเร็วขนาดนี้ เพื่อ ???) ก็เลยต้องนั่งรอ พอจนถึงสัก 8 โมงครึ่งคนก็ทยอยกันมา และงานในปีนี้ ใครที่มาลงทะเบียน 800 คนแรก จะได้ Cardboard ไป คนเลยต้องมาต่อแถว กันยังกะเล่นเกม งู กัน คือ โอ้โหมาทำอะไรกันเยอะแยะ กว่าจะได้ลงทะเบียนกันก็ 9.30 ได้

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_2

หลังจากที่ได้ลงทะเบียนกันแล้ว ก็เป็น Welcome Speech GDG จากทาง Thailand และ Keynote จากคุณ Thye Yeow Bok จาก Google APAC ส่วนใหญ่ก็เป็นการ Recap เรื่องใหญ่ ๆ จากงาน Google I/O 2016 ที่ผ่านมา ว่ามีอะไรใหม่ ๆ บ้าง ไม่ว่าจะเป็น Android N Preview ตัวใหม่ , Android Studio ที่เด็ด และแซ่บ กว่าเดิม (มี Session เรื่องนี้โดยเฉพาะด้วย แต่ไม่ได้เข้าฟัง) และ พระเอกของปีนี้เลยนั่นคือ **Firebase **และจากนั้นเป็น Keynote จากทาง Sponsor ใหญ่อย่าง KBank

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_3

สำหรับ Session ที่ผมเข้าไปฟัง ทั้งหมด จะไม่ได้อยู่ในห้องใหญ่เลย อยู่ห้องข้างล่างที่ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดถึง PWA (Progressive Web App) และ Workshop ซะเป็นส่วนใหญ่
เริ่มที่ Session แรกกันเลยกับ **"Deep Drive into Progressive Web Apps" **จากพี่ Warat สุดหล่อ (เหรอ?) คร่าว ๆ Session นี้จะเป็นการ Intro เพื่อให้เรารู้จักกับ Progressive Web Apps (จะขอเขียนว่า PWA นะครับ มันยาวไป) ที่เป็น ปรัชญา การออกแบบเว็บละกัน หาใช่ Framework อะไรไม่ เพราะ เราสามารถ Implement มันได้ในหลาย ๆ แบบ ทั้ง Implement เองด้วย HTML จาก W3C หรือจะใช้ Framework ช่วยอย่าง Framework ที่ขึ้นต้นด้วยตัว R (React) หรือจะเป็น Angular ก็ได้เช่นกัน[][3]

Google I/O Extended Bangkok 2016

ซึ่งการที่จะเป็น PWA ได้ก็จะมีคุณสมบัติอยู่ 10 อย่างตามรูปด้านล่างเลย หลังจากจบ Session นี้ก็ปาไปเที่ยงครึ่งแล้ว จึงออกไปกินข้าวด้วยความรีบร้อนไปสุดขีด ไปทางไหนคนก็เยอะไปหมด

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_8

สุดท้ายก็ขึ้นมาตอน บ่ายโมงครึ่ง ซึ่ง Session ตอนบ่ายก็เริ่มไปแล้ว (มาสายนี่เอง) ซึ่งการเดินเข้าไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ จริง ๆ ต้องฝาฝูงคนที่เข้าไปฟังจนที่นั่งมีไม่พอ (Session ข้างล่างเป็นโรง Blue Ribbon ที่เป็นโรงเล็ก) สุดท้ายก็ได้นั่งมันข้างหน้าสุดเลย กับ Session **"Having Some Fun with Angular 2 and Firebase" **จากคุณ Thye Yeow Bok ซึ่งแน่นอนว่า ผมมาตอนจะจบแล้วเลย ฟังแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเลย เสียใจ :( รอคนอื่นมาเขียนละกันนะ

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_9

ถัดไปเป็น Session "Polymer & Progressive Web App" จากพี่ Supachai และ หัตถ์โค๊ตเทพเจ้าพี่ Tanitphon ก็เป็นการ Intro (สำหรับคนที่ไม่รู้) Web Polymer และ ทดลอง Workshop ให้ดูว่า เราจะสร้าง PWA ด้วย Polymer แบบง่าย ๆ ได้อย่างไร

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_10

ถัดไปเป็น Session "Service Worker" และ "Firebase Build a Realtime Chat App" จากพี่ Warat คนเดิม หายไปคือ เสียง ยาว ๆ กันไป 2 Session ต่อเนื่องกันไป
สำหรับ Session ของ Service Worker เป็นการ Intro ในเรื่องของ Service Worker การทำงาน, Lifecycle, ความสามารถ และสุดท้ายเป็นการ Workshop สำหรับ Code ที่ใช้ในการ Workshop เดี๋ยวผมจะแปะให้นะครับ
ถัดไปคือ Session Firebase Build a Realtime Chat App เป็นการ เล่นกับพระเอกในงานอย่าง Firebase โดยการที่เราเขียนเว็บอย่างง่ายมาก ๆ และใช้ Realtime Database ของ Firebase มาทำเป็น Web App สำหรับ Chat อย่างง่าย และมีการใช้ Service Worker มา Cache หน้าเว็บอีกด้วย

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_12

สำหรับ Session ถัดไป (เริ่มเหนื่อย พิมพ์มันส์มาก !!) เป็น Session **"Build a PWA with Firebase, PloymerFire and Polymer Components Codelab" **จากพี่ Supachai คนเดิมเพิ่มเติมคือ สติ๊กเกอร์ Firebase และพี่ Tanitphon ที่มาทดลองสร้าง PWA โดยใช้ Polymer และใช้ PolymerFire ให้ดูกัน หลังจากที่ดู Session นี้ไป เริ่มอยากกลับมาเล่น Polymer อีกครั้งเลย มันง่ายมาก ๆ ง่ายและเร็วกว่าตอนที่เขียนเมื่อก่อนซะอีก พัฒนาไปเร็วมาก ๆ (เล่นตั้งแต่มันยังเป็น Beta ตอนนี้มัน ออกเวอร์ชั่นเต็มมาแล้ว มาไกลมาก ๆๆ)

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_13

Session ถัดไป เริ่มเปลี่ยนเรื่องกันแล้ว มาในเรื่องของ UX กันบ้าง กับคุณ Karun ที่มาด้วย Slide สีดำ และน้ำเสียงที่เนิบ ชอบมาก ๆ กับ Session นี้ เริ่มเกริ่นมาด้วย ปัญหาสุดคลาสสิคของ UX Design อย่างการสร้างสะพาน ทำให้เรารู้ว่า ทำไม UX ถึงสำคัญ และ จริง ๆ UX คืออะไรกันแน่ และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ UI อย่างที่หลาย ๆ คนคิดนะครับ ! กฏ 80:20 ทำให้เราโฟกัสไปที่ สิ่งที่สำคัญจริง ๆ ของ Product เราได้ดีมาก ๆ

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_14

และ Session สุดท้ายเป็น Session "Introduction to GCP & Machine Learning" จากคุณ Paiboon ก็จะเป็นการพูดถึง GCP (Google Cloud Platform) แบบผิว ๆ แนะนำ Tool สำหรับการทำ Machine Learning และ API ต่าง ๆ ที่เปิดให้ใช้ บน GCP และสุดท้ายคือ Closing Remark ที่ผมขึ้นไปไม่ทัน

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_15

และทั้งหมดนี่ก็คือครึ่งเดียวของงาน Google I/O Extended Bangkok 2016 ที่ผมได้ไปฟังมา ส่วนอีกครึ่งจะเป็น Session ที่จัดข้างบน ที่ผมไม่ได้ชึ้นไปฟัง เพราะแยกร่างไม่ได้

สรุป สิ่งที่ได้จากงาน Google I/O Extended Bangkok 2016

GoogleIO_Extended_Bangkok_2016_16

งานในปีนี้จัดออกมาได้ค่อนข้างประทับใจมาก ตั้งแต่สถานที่แล้ว เล่นปิดโรงหนังถึง 2 โรงเพื่อจัดงาน และงานนี้เสมือนงานรวมญาติมาก ๆ ที่ได้เจอเพื่อน ๆ และพี่ ๆ ในวงการ รวมถึง พี่ ๆ น้อง ๆ ที่คณะด้วย และที่ประทับใจสุด คือมีคนเดินมาถามว่า ผมเป็นคนเขียน Blog นี้ใช่มั้ย อ้าว โห ดีใจมาก ๆ ขอบคุณที่อ่าน Blog ผมมาจนถึงตอนนี้จริง ๆ และที่สำคัญได้ความรู้ใหม่ อัพเดทเทรนใหม่ ๆ กลับมาเยอะมาก ๆ เช่นกัน (ไว้เดี๋ยวจะเขียนเป็นบทความแยกให้เลย เป็นผู้รับแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ให้ด้วยนะ ฝันว่าอยากมาพูดในงานแบบนี้มั่ง) และยังได้ Cardboard ด้วย 5555 ขอบคุณ GDG Thailand และ KBank ผู้เป็น Sponsor ของงานนี้ หวังว่าปีหน้าจะมีงานดี ๆ แบบนี้ออกมาอีกครับ ปีหน้าเจอกันใหม่กับงาน Google I/O Extended Bangkok 2017
Slide และ Code ต่าง ๆ ที่ใช้ : https://github.com/google-io-extended-bangkok

Read Next...

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ปัจจุบันหูฟังที่มีระบบ Noise Cancelling มีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนอาจจะมองแค่ว่า มันทำให้เราสามารถฟังเสียงโดยมีเสียงรบกวนที่น้อยลง เพิ่มอรรถรสในการฟังได้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่านั้นมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีข้อดีอะไรอีกบ้าง...

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

การสำรองข้อมูลเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันข้อมูลของเราเอง วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับการสำรองข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ อย่าง Time Machine กัน...

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

หลายวันก่อน นอน ๆ อยู่ก็นึกถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยก่อนขึ้นมา หนึ่งในสิ่งที่คนบอกว่าเป็นวิธีการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นคือการทำ Disk Defragment มันทำให้เครื่องเร็วขึ้นอย่างที่เขาว่าจริงมั้ย แล้วทำไมปัจจุบันมันมีเทคโนโลยีอะไรเข้ามาช่วย ทำให้เราถึงไม่ต้องทำแล้ว...

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เชื่อหรือไม่ว่า Intel กำลังจะทิ้งสุดยอด Technology อย่าง Hyperthreading ใน CPU Generation ใหม่อย่าง Arrow Lake ทำให้เกิดคำถามว่า การที่ Intel ทำแบบนี้เป็นเรื่องดีหรือไม่ และเราที่เป็นผู้ใช้จะได้หรือเสียจาก CPU ใหม่ของ Intel ตัวนี้...