By Arnon Puitrakul - 10 พฤศจิกายน 2023
เมื่อคืนนั่งดู Press ที่ Sony เปิดตัว Sony A9III กล้องในตระกูล A9 ที่ออกมาเพื่อการถ่ายภาพด้วยความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะ เช่นการถ่ายภาพกีฬา หรือ Wildlife ทั้งหลาย การเปิดตัวนี้จะเป็นการเปิดตัวกล้องใหม่ตามปกติ แต่พอมันเป็นรุ่นระดับ A9 แล้วมันต้องไม่ธรรมดาแน่นอน Feature ที่เรียกว่า กระตุกจิตกระชากใจช่างภาพสายกีฬา เราว่าน่าจะเป็น Global Shutter ที่ใส่เข้ามาใน Sony A9III
การทำงานของ Digital Image Sensor เบื้องต้นคือ การที่แสง ตกกระทบเข้ากับ Sensor ตัวกล้องจะอ่านค่าจาก Sensor แล้วแปลงออกมาให้เราเห็นเป็นภาพ เหมือนกับการถ่ายภาพฟิล์มเป๊ะ ๆ เลย แค่เปลี่ยนจากฟิล์มที่เป็นตัวรับภาพ ก็เปลี่ยนมาเป็น Digital Image Sensor แค่นั้น
เมื่อเรากด Shutter สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแรกคือ กล้องจะต้องพยายาม Focus และวัดแสง ผ่าน AF/AE อันนี้เราข้ามไป จากนั้น มันจะทำการอ่านข้อมูลจาก Sensor เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า Sensor Readout ซึ่งขึ้นกับความเร็วในการทำงานที่ออกแบบมา ถ้าเราเอาไปถ่ายภาพปกติ ก็ดูจะใช้งานได้ดีเลย
แต่เมื่อเราเริ่มเอาไปใช้งานในบางสถานการณ์เช่นการถ่ายภาพนักกีฬาที่กำลังเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ตัวอย่างที่ชอบเอามาโชว์กันคือ เวลานักกอล์ฟจะควงสวิง ถ่ายออกมา เห้ย ทำไมไม้กอล์ฟมันโค้งขนาดนั้นวะ เหล็กหนาขนาดนั้นจะโค้งเพียงเพราะแรงเหวี่ยงจริง ๆ เหรอ ซึ่งเอาจริงมันไม่ได้โค้ง แต่ทำไมกล้องเห็นว่ามันโค้งละ
นั่นเป็นเพราะ เวลาเราอ่านข้อมูลจาก Sensor เราจำเป็นต้องค่อย ๆ อ่านไล่จากซ้ายไปขวา และ บนลงล่างมาเรื่อย ๆ ทีละ Pixel ไล่ ๆ ส่งไป เมื่อครบถึงค่อยให้กล้องส่งข้อมูลไปตาม Pipeline ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ในจังหวะที่กำลังจะหวด ตำแหน่งของไม้ ของตอนที่กล้องอ่านข้อมูลแถวแรก กับแถวที่ 2 ไม้อยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันมาก ๆ ทำให้เราเลยได้ภาพที่ไม้กอล์ฟมันเบี้ยวออกมา เราเรียกปัญหานี้ว่า Rolling Shutter
ซึ่งกล้องรุ่นใหม่ ๆ พยายามออกมาเพื่อแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้สิ่งที่เรียกว่า Stacked CMOS เป็น Digital Image Sensor อีกประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาให้มีความเร็วในการทำ Sensor Readout ได้เร็วกว่า CMOS Sensor ปกติ หรือการแก้ไขทาง Software บางอย่าง ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอยู่ดี
Global Shutter บอกว่า เราจะไม่ทำ Sensor Readout โดยการไล่อ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่างแล้ว แต่เขาเล่นอ่านทุก Pixel พร้อม ๆ กันทั้งหมด แล้วเอาไปยัดใส่ลงไปใน DRAM ก่อนที่จะเอามาทำงานผ่าน Pipeline และเขียนลง Media อีกครั้ง ทำให้อาการ Rolling Shutter หายไปได้แบบ 100% ของจริง ไม่ต้องพึ่งดวง หรือความเร็วอย่างการทำ Stacked CMOS ละ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก ๆ สำหรับวงการเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพเลยนะ
แต่ ๆ เอาเข้าจริง เราจะบอกว่า การทำ Global Shutter ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไรเลย ถ้าเราไปดูที่ Sony เคลมจริง ๆ เขาบอกว่า A9III เป็นกล้อง Sensor ขนาด Full Frame ที่ใช้ Global Shutter ตัวแรกของโลกต่างหาก
Technical Challenge จริง ๆ มันเลยไปอยู่ที่ขนาดของ Sensor เพราะถ้า Sensor เล็กจำนวนความละเอียดต่ำ ข้อมูลที่เราต้องการเข้ามาพร้อม ๆ กันย่อมน้อยกว่า Sensor ขนาดใหญ่ ความละเอียดสูง นั่นเอง โหลดที่มันจะไปหนักจริง ๆ น่าจะเป็นส่วนของ DRAM ที่ต้องรับข้อมูลทั้งหมดจาก Sensor พร้อม ๆ กัน เมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เราค่อย ๆ อัดเข้ามา
ที่เปิดตัว Sony A9III ด้วย Sensor ความละเอียด 24.6 MP เราคิดว่าเป็นขนาดที่โอเคเลยนะ (พอ ๆ กับ A7III) ในการที่จะได้ภาพความละเอียดสูง แต่ยังมีขนาดไฟล์ที่ไม่ใหญ่เกินไปในการที่จะรัวได้เร็ว ๆ ระดับ 120 FPS ขนาดนั้น (นึกภาพว่า 63MP กดรัว ก็คือตอนก๊อปเข้าคอมคือ ปวดหัวนะ) เท่าที่ Sony บอกว่า ถ้าเรากดกันที่ 120 FPS ข้อมูลจะไหลกันระดับ 6 GB/s เลยทีเดียว เมื่อเราถ่ายเป็น RAW 14-bit นอกจากความเร็วที่ต้องใช้แล้ว
ขนาดของ DRAM ก็ยังสำคัญ เพราะรูปภาพหลังจาก Process เสร็จมันจะถูกเขียนเข้าไปใน Card เช่น เราใส่เป็น CFExpress Type A เขียนได้ 700 MB/s ซึ่งช้ากว่าข้อมูลที่ไหลจาก Sensor ทำให้ อาจจะต้องใส่ขนาดของ DRAM และ Cache เยอะกว่าปกติ เพื่อให้ถ่ายรัวได้นานขึ้นนั่นเอง
ส่วนตัวเรา Feature อย่างการทำ Global Shutter ในการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปมันไม่ได้ทำให้อะไรมันเปลี่ยนเท่าไหร่ โดยเฉพาะถ้าเราถ่ายรูปมาแล้วยังไม่เคยเจอ Rolling Shutter บ่อย ๆ แต่สำหรับงานถ่ายภาพบางสถานการณ์ เช่น การถ่ายภาพกีฬา ที่ต้องการ Shot สำคัญ หยุดเวลาจริง ๆ หรือกระทั่งงานถ่ายภาพข่าว เราว่ามันช่วยได้เยอะมาก ๆ เลยละ
สำหรับงานพวกนี้ การที่ Sony A9III ออกมาพร้อมกับ Global Shutter แบบนี้ เราคิดว่า มันเป็นมาตรฐานใหม่ของกล้องสำหรับงานสายกีฬาได้เลยนะ ทำให้มันเป็นกล้องที่น่าจับตามองมาก ๆ และเราก็อยากจะรู้เหมือนกันว่า ใน Flagship โคตรพ่อโคตรแม่กล้องทุกสถาบันของ Sony อย่าง Sony A1II จะเอา Global Shutter มาใส่ด้วยมั้ย ต้องรอดูกันต่อไป
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...
เมื่อหลายวันก่อน เราเลื่อนเฟสไปเจอความเห็นนึงที่อ่านแล้วถึงกับต้องขยี้ตาอ่านซ้ำบอกว่า ให้เราลองถาม ChatGPT ดูแล้วเราจะไม่กลับไปหา Google อีกเลย มันเป็นแบบนั้นได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาอธิบายในแง่หลักการทำงานของมัน และความเป็นไปได้กันว่า มันเป็นไปได้จริงหรือไม่อย่างไร...
ในปัจจุบันเราพึ่งพาการเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับบางคนมากจนไม่สามารถเก็บได้ในเครื่องของเราอีกแล้ว ทำให้อาจจะต้องมองหาระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ เข้ามาใช้งาน หนึ่งในนั้นคือการใช้ NAS หลายคนมีคำถามว่า แล้วเราควรจะเลือกซื้อ NAS สำเร็จรูป หรือ DIY ดี...