By Arnon Puitrakul - 11 ธันวาคม 2020
หลาย ๆ คนที่ติดตามเว็บเรามาอย่างยาวนาน ใช่ฮ่ะ เว็บนี้ก็คือ เกิดมานานหลายปีมากแล้ว เขียน Content ดี ๆ ? ออกมาให้อ่านกันอย่างต่อเนื่อง แต่การรันเว็บไซต์สักเว็บมันก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายหลายเรื่อง ตั้งแต่ Server, Domain Name และ ค่าจุกจิกมากมาย ทำให้เราต้องคิดว่า มันต้องโตมากกว่าการที่เป็น Personal Blog ละ เลยตัดสินใจที่จะหาเงินมาสมทบทุนค่า Server ละ จนมาตอนนี้ยังไม่มีใครจ่ายเลย ฮ่า ๆ ถ้าใครอยากจ่ายก็ทักมาได้ ตอนนี้เราเลยโอเค ยอมกลืนน้ำลายตัวเองด้วยการติด Ads ไปก่อนละกันเนอะ ก็เลยติด Google AdSense ลงไปในหน้าเว็บที่ทุกคนกำลังอ่านอยู่ตอนนี้ ที่บางคนก็เจอ Ads แปลก ๆ อยู่บนหน้า ตั้งแต่วันที่เอา Ads แปะ จนวันนี้ผ่านมาเกือบปีแล้ว เงินก้อนแรกก็ได้มาแล้ว วันนี้เราจะมารีวิวกันว่า ตั้งแต่ต้นเลยมันทำอะไรยังไงบ้าง จนได้เงินออกมา
Google AdSense เป็น Program นึงจาก Google ที่ทำให้เจ้าของเว็บไซต์สร้างรายได้จากการติด Ads จาก Google ลงไปในหน้าเว็บของเรา ซึ่งเนื้อหาของ Ads ที่จะอยู่ จะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับเว็บของเรา ถ้าลองเลื่อน ๆ ดูอาจจะเห็นว่า รูปแบบของมันก็จะมีหลายรูปแบบต่าง ๆ กันไป ตั้งแต่ รูปภาพ ตัวอักษรต่าง ๆ ที่เรายังสามารถจัด และ เลือกขนาด เพื่อให้กลมกลืนกับเว็บของเราได้ดีขึ้นนั่นเอง
โดยที่รายได้ของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนง่าย ๆ คือ Pay-Per-Click (PPC) และ Pay-Per-Impression (CPM)
Pay-Per-Click (PPC) ง่าย ๆ เลยคือ เราจะได้เงินต่อเมื่อคนที่เข้าเว็บไซต์กดคลิก Ads ที่อยู่บนเว็บของเรา แต่ ๆ ละ Ads การคลิก 1 ครั้งก็จะได้ราคาที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับเจ้าของ Ads จริง ๆ เขาจ่ายเงินให้ Google มากแค่ไหน ถ้าจ่ายมาก ส่วนแบ่งเราก็ได้เยอะ ตรงข้าม ถ้าน้อย เราก็ได้น้อย
Pay-Per-Impression (CPM) จะง่ายขึ้นมากว่านั้นหน่อยคือ Google จะคิดรายได้ให้เรา ต่อเมื่อมี Ads ที่เรารับเข้ามา แสดงในหน้าเว็บของเราครบ 1,000 ครั้ง ไม่สนว่าคนที่เข้าจะคลิกกี่ครั้งอย่างน้อยสักครั้งก็นับแล้ว
ช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา เรามักจะเจอประโยคสไตล์ Getsunova จากข่าวทุก ๆ วัน ขอเอามาใช้บ้างละกัน การที่เราติด Ads ในหน้าเว็บของเรามันก็เป็นเรื่องที่ดีกับเรา เพราะมันเป็นอีกช่องทางของการทำรายได้จากเว็บของเรา แต่ การที่เราแปะ Ads ลงไป มันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อ่านเรามากนัก
ลองนึกภาพดูนะ ถ้าเราเข้าไปในเว็บที่ทั้งเว็บมันเป็น Ads วางอยู่เต็มไปหมด แถมมี Ads เด้ง Popup ขึ้นมาอีก เราก็คงไม่โอเคกับเรื่องนี้เท่าไหร่ จน เออ ช่างมันกดปิดไปก็ได้ ใช่แล้ว นั่นแหละทำให้ไม่น่าจะมีใครอยากอ่าน Content จากเว็บของเราแน่ ๆ ละ
ทำให้ การติด Ads มันต้องติดให้เหมือนไม่ติด น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ การเลือกตำแหน่งที่ติด แต่ยังทำให้คนคลิกได้เยอะที่สุด นั่นแหละ เป็นเรื่องที่ยากมากว่า เราจะติดตรงไหนดี ง่าย ๆ คือ ติดให้เห็น แต่ไม่น่ารำคาญนั่นแหละ ซึ่งใน Google Adsense ก็มี
AdBlock เป็น Plugin ที่ทำให้เราสามารถ Block พวก Ads ออกไปได้ ทั้งในพวก Youtube หรือ Ads ในหน้าเว็บต่าง ๆ ใช่แล้วละ มันเป็น Plugin ที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกโอเคขึ้น เพราะมันไม่มี Ads อยู่ในหน้าเว็บ หรือ เราต้องดู Ads อะไรพวกนั้น
แต่กลับกัน ฝั่งผู้ผลิต Content เอง ก็อดตายเหมือนกัน เพราะถ้าเจอ AdBlock เข้าก็รายได้จากการลง Ads ก็คือหายไปเลย ทำให้ไม่สามารถผลิต Content ที่มีคุณภาพออกมาได้ จริง ๆ เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ การที่เว็บไม่ได้สร้างรายได้ให้เรามากนัก ทำให้เราไม่สามารถทำมันเป็นงานประจำได้ สุดท้าย Content ที่ออกมา มันก็อาจจะไม่ต่อเนื่องมาก หรือ เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็นมากนัก ซึ่งจาก Content Creator เจ้าอื่น ๆ ก็ใช้วิธีการขอ Sponsor แหละ แต่เราก็นะ ยังไม่มีไง เลยต้องทำให้เราต้องกด Ads กันต่อไป
ในฝั่งของ Content Creator เองเราก็เข้าใจแหละว่า เราต้องการเงิน (ใช่ เราต้องการ) แต่การที่เราเลือกใส่ Ads ลงไปเยอะเกิน มันก็ทำให้ผู้ติดตามไม่โอเคเหมือนกัน ดังน้ัน มันก็คนละครึ่งทางอะ ลด Ads จัดให้พอดี ไม่รกเกินไป
สำหรับเรื่องนี้ก็อยากจะบอกว่า การที่ดู Ads หรือเห็น Ads ก็ถือว่าเป็นการช่วยให้ Content Creator มีรายได้ และสามารถผลิต Content ออกมาให้ทุกคนอ่าน และ ติดตามต่อไปได้ ดังนั้นอย่าใช้ AdBlock กันเลยนะ กราบ.....
เนื่องจากเว็บของเราก็ไม่ได้เป็นเว็บใหญ่อะไรมาก มีคนเข้าไม่ได้เยอะขนาดนั้น ประกอบกับ Google Adsense จะจ่ายเงินให้เราเมื่อยอดรายได้ของเราถึง 150 USD ทำให้เราต้องค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จน 1 ปีผ่านไป ยอดมันก็มาถึงสักที วันนึงเราได้อีเมล์จาก Google ว่าให้ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตอนแรกก็คิดว่า เอ๋ Phishing Mail ป่าว แต่ดู ๆ อ้าว เห้ย ของจริงเฉย
ก่อนที่เขาจะจ่ายเงินอะไรออกมาให้เราได้ เราจำเป็นที่จะต้อง Verify Account และตัวเราก่อน อันนี้เราจะไม่เล่าละกันว่าเราทำอะไรไป เราจำไม่ได้แล้ว ทำไว้นานแล้ว คุ้น ๆ ว่าทำในเว็บ กรอกข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงพวกที่อยู่ต่าง ๆ และ เขาจะส่งรหัสยืนยันมาในที่อยู่ที่เราให้ไป เพื่อยืนยันว่า ที่อยู่ที่เรากรอกมันมีจริงนะอะไรแบบนั้น และ กรอกข้อมูลการจ่ายเงินไป โดยที่เราเลือกเป็นการจ่ายผ่านบริการส่งเงินอย่าง Western Union ไป
เมื่อเราได้อีเมล์แจ้งการจ่ายเงินให้เราแล้ว เราสามารถ Login เข้าไปที่หน้าของ Google Adsense และมันจะมี Transaction จ่ายเงินให้เราขึ้นมา เราก็ปริ้นเอกสารนั้นไปดำเนินการที่ Western Union ได้เลย
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...
เมื่อหลายวันก่อน เราเลื่อนเฟสไปเจอความเห็นนึงที่อ่านแล้วถึงกับต้องขยี้ตาอ่านซ้ำบอกว่า ให้เราลองถาม ChatGPT ดูแล้วเราจะไม่กลับไปหา Google อีกเลย มันเป็นแบบนั้นได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาอธิบายในแง่หลักการทำงานของมัน และความเป็นไปได้กันว่า มันเป็นไปได้จริงหรือไม่อย่างไร...
ในปัจจุบันเราพึ่งพาการเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับบางคนมากจนไม่สามารถเก็บได้ในเครื่องของเราอีกแล้ว ทำให้อาจจะต้องมองหาระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ เข้ามาใช้งาน หนึ่งในนั้นคือการใช้ NAS หลายคนมีคำถามว่า แล้วเราควรจะเลือกซื้อ NAS สำเร็จรูป หรือ DIY ดี...