By Arnon Puitrakul - 06 เมษายน 2022
ตอนก่อนหน้าเราคุยกันเรื่องของ Battery ไปแล้ว วันนี้เรามาดูอะไรที่มัน Practical มากขึ้นหน่อยอย่างการใช้งาน Battery โดยเฉพาะการ Charge ว่า ชาร์จแบบไหนดี หรือไม่ดีอะไรยังไง เราควรจะต้องทำตัวอย่างไรนั่นนี่เพื่อให้ เราเดินทางได้เร็วที่สุด และ อยู่กับเราได้นาน ๆ
ในการชาร์จรถ EV จริง ๆ เราจะแบ่งมันออกเป็น 4 รูปแบบ หรือ 4 Mode ด้วยกัน ตามลักษณะของการชาร์จ
Mode 1 อันแรกจะเป็นอันที่ Plain ที่สุดคือ เราเอาสายไฟเสียบเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ เช่น เต้าปลั๊ก แล้วเสียบเข้ากับ รถ โดยตรงเลย ไม่มีพวก Safety อะไรเลย เรื่องการควบคุมทั้งหมดเลยจะเป็นหน้าที่ของ BMS (Battery Management System) ที่แน่นอนว่า มันก็ไม่ได้น่าไว้ใจอะไรขนาดนั้น อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นเลยเป็น Mode ที่เราไม่ได้ใช้กันแล้ว และ ไม่ควรหาทำใช้
Mode 2 เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องของความปลอดภัย โดยการเพิ่มกล่องสำหรับควบคุมการชาร์จ และพวกอุปกรณ์สำหรับป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากไฟฟ้าเข้าไปในสายเลย ถือว่าเป็น Mode ที่เพิ่มความปลอดภัยเข้ามา โดยทั่ว ๆ ไป ถ้าเราไปหาซื้อตามท้องตลาด เราก็จะเจออยู่ประมาณ 16A หรือ ประมาณ 3 kW ได้ ทำให้เราสามารถพกพาไปใช้ข้างนอกได้ สายชาร์จใน Mode 2 นี้ มักจะมาพร้อมกับรถ EV หลาย ๆ รุ่น ที่เราเรียกมันว่า สายชาร์จฉุกเฉิน (Emergency Charger)
Mode 3 จะดีกว่าหน่อยคือ มันจะเอากล่องที่ควบคุม และ ความปลอดภัยต่าง ๆ ออกมาเป็นเครื่องเลย ทำให้มันสามารถที่จะรองรับไฟได้ในขนาดที่สูงขึ้นได้อย่าง 7.3 kW จนไปถึง 22 kW สำหรับไฟ 3-Phase พวกนี้เราจะเรียกว่า Wall-Charger นั่นเอง บางรุ่นที่มากับรถเองส่วนใหญ่ก็จะเป็นที่ชาร์จปกติเลย ไม่ได้มี Feature อะไร แต่สำหรับที่ชาร์จแบบ Wall-Charge บางตัวก็จะมาเป็น Smart Charger ที่รองรับการควบคุมการชาร์จผ่าน App อะไรก็ว่ากันไป
Mode 4 ถือว่าเป็น Mode ที่มีกำลังชาร์จสูงที่สุดในทุก Mode แล้ว เพราะมันจะแปลงจาก AC ไปเป็น DC ที่ตู้เลย แล้วส่งเข้า Battery โดยตรงเลย ทำให้เราสามารถชาร์จได้เร็วมาก ๆ บางตู้อาจจะชาร์จได้ถึง 350 kW ไปเลย โดยที่ตู้พวกนี้ มักจะอยู่ในพวกปั้มซะเยอะที่เราจะต้องการความเร็วในการชาร์จสูง ๆ เราเลยมักจะเรียก Mode นี้ว่า Fast Charge
ใน Mode 1 - 3 ที่ผ่านมา จะเป็น Mode ที่เราเสียบไฟ AC เข้าไปในรถตรง ๆ และใช้สิ่งที่เรียกว่า On-Board Charger ในการแปลงไฟจาก AC ที่รับเข้ามาเป็น DC สำหรับเก็บเข้า Battery อีกที ที่จะแตกต่างกับ Mode 4 ที่การแปลงไฟจาก AC เป็น DC ที่นอกรถ แล้วส่งเข้า Battery โดยตรงเลย
โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นคนที่เป็นเจ้าของรถ EV เลย ไม่ได้เช่ามาใช้ชั่วคราว จะใช้กันอยู่ที่ Mode 3 สำหรับการใช้งานที่บ้าน และ Mode 4 สำหรับการใช้งานตอนเราเดินทางไกลเป็นหลักเลย อาจจะมี Mode 2 ในกลุ่มคนอาจจะเช่ามาขับ ไม่ได้มี Wall-Charge ในบ้าน หรืออาจะเป็นกลุ่มที่บ้านไม่สามารถติดตั้งที่ชาร์จแบบ Wall-Box ได้นั่นเอง
หลัก ๆ แล้ว ในไทย เราก็จะมีการใช้หัวชาร์จอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกันคือ Type 2 และ CCS Combo 2 ส่วนประเภทอื่น ๆ เช่น Type 1 ที่เราจะเจอได้จากรถฝั่ง US ซะเยอะ และ CHAdeMo ที่มากับรถฝั่งญี่ปุ่นเลย
เอารูปแบบแรกกันก่อนที่เราได้เจอกันแน่นอน คือแบบ Type 2 พวกนี้เราจะเจอได้กับรถ EV ไม่ว่าจะเป็นพวก PHEV และ BEV แทบทุกคันในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ มันเป็นหัวสำหรับการเสียบชาร์จแบบ AC หรือกระแสสลับ ถ้ากลับไปที่เรื่อง Mode มันก็คือ Mode 1-3 นั่นเอง ที่จะใช้หัว Type 2 โดยที่มันจะมีความสามารถในการจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 22 kW บนระบบ 3-Phase หรือ 7.2 kW บนระบบไฟ 1-Phase ไปเลย พวกนี้เราจะเจอได้ตามพวก Wall Charge ที่บ้านเรา, Emergency Charger ที่แถมมากับรถ และ ตามตู้ชาร์จบางที่ด้วย
และอีกรูปแบบคือ CCS (Combined Charging System) Combo 2 หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าหัวชาร์จเร็วนั่นเอง พวกนี้บอกก่อนว่าเราจะไม่เจอในบ้านเราแน่นอนในเวลาที่เขียนอะนะ ถ้าเราลองดูดี ๆ เราจะเห็นว่า มันประกอบด้วยหัวทั้งหมด 2 อัน มันเลยเรียก Combo หัวบน มันจะเป็นหัว Type 2 ที่เราคุยกันก่อนหน้านี้ และ ด้านล่างมันจะเป็นหัวที่ประกอบด้วย 2 Pin ด้วยกัน หัวพวกนี้ มันจะเป็นหัวที่จ่ายไฟแบบ DC เข้าไปที่ BMS แล้วเข้า Battery ตรง ๆ เลย ไม่ต้องผ่านพวก On-Board Charger ใด ๆ ทั้งสิ้นเลย ดังนั้น เราก็จะเจอได้กับ Mode 4 นั่นเอง ที่เราสามารถไปเสียบได้ตามปั้ม พวกนี้ก็จะชาร์จได้ด้วยกำลังที่สูงมาก ๆ ระดับ 300 kW น่าจะไม่เกินเอื้อมแล้ว แต่ ณ เวลาที่เขียน ในไทยตอนนี้เราเจอเยอะ ๆ เลยก็ 120 kW ของ ปตท หรือ 150 kW ของบางเจ้า แต่มากกว่านั้น ยังไม่เคยไปใช้บริการเหมือนกัน
มาถึงข้อที่เราควรจะระวังกันหน่อย โดยเฉพาะการชาร์จใน Mode 2 ที่เราสามารถเสียบเข้ากับเต้าเสียบได้เลย อันนี้ เราไม่ค่อยแนะนำให้ใช้งานบ่อย ๆ หรือในระยะเวลาที่นาน เพราะการ Charge ใน Mode นี้ถึงจะจ่ายไฟได้ช้า เมื่อเทียบกับ Mode 3 และ 4 แต่ ถือว่าเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับ การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป ทำให้ส่วนใหญ่แล้ว คนที่เขาเดินสายไฟที่ปลั๊กมาให้เรา อาจจะไม่ได้คิดเผื่อ อาจจะใช้งานได้ แต่ทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในสาย และ เต้าเสียบ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ในการใช้งาน Mode 2 เราแนะนำให้เสียบอยู่ในที่ ๆ เรามองเห็นได้หน่อย เผื่อมันเกิดอะไรขึ้น เราจะได้เข้าไปจัดการได้ก่อนที่มันจะเป็นเรื่องใหญ่นั่นเอง
ปล. Mode 1 ในไทยและหลาย ๆ ประเทศ ไม่อนุญาติให้ใช้แล้วนะ ดังนั้นก็อย่าหาทำเนอะ สายชาร์จ Mode 2 เยอะแยะ เผลอ ๆ แถมมากับรถแล้ว
อีกเรื่องที่เราอยากจะให้ระวังมาก ๆ คือ การใช้งานที่ชาร์จพวกนี้ ควรที่จะแยกวงจรออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้านเราเลย หรือก็คือให้มีการแยก Breaker ออกจากส่วนอื่น ๆ ของบ้านไปเลยจะดีกว่ามาก ๆ ไม่ว่า เราจะชาร์จใน Mode ไหนก็ตาม (Mode 2 ทั่ว ๆ ไปอาจจะยากหน่อยเนอะ เพราะ เรามักจะชาร์จในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเท่าไหร่ซะเยอะ)
และสุดท้ายคือ เวลาเราเดินสายไฟเพื่อใช้สำหรับการชาร์จรถในทุก ๆ Mode โดยเฉพาะใน Mode 2 ควรใช้สายที่เบอร์ใหญ่กว่าปกติไว้หน่อย เพื่อป้องกันการเกิดความร้อนสะสม จากการส่งกระแสปริมาณสูง และ เวลานาน ทำให้ปลอดภัยขึ้นเยอะมาก ๆ ของเราเองบน Wall-Charge เราเดินเบอร์ 35 ไปเลย คือ Overkill มาก ๆ แต่เหลือจากเดินเมนก็เอาเถอะ ฮ่า ๆ
ถ้าสงสัยเรื่องของการเดินระบบไฟ เราเคยเขียนรีวิวเรื่องของการขอมิเตอร์ และ การเดินระบบไฟต่าง ๆ สำหรับการชาร์จรถ EV ภายในบ้านของเราไว้แล้ว กลับไปอ่านกันได้
คำถามที่หลาย ๆ คนมักจะถามคือ เราจะชาร์จแบตได้เร็วแค่ไหน เราจะสามารถเดินทางต่อได้เร็วขนาดไหน อันนี้เราต้องมาดูอยู่ 3 เรื่องก็คือ พลังของเครื่องจ่าย, พลังที่รถสามารถรับได้ และ ขนาดความจุของ Battery
เอาที่เรื่องของ พลัง หรือ Power กันก่อน อันนี้ง่าย ๆ เลยนะ ให้นับที่ ต่ำสุดของ เครื่องจ่าย และ ที่รถรับได้ เช่นเราบอกว่า เครื่องจ่ายป้อนได้สูงสุดที่ 250 kW แต่ถ้ารถเราได้แค่ 60 kW เราก็จะได้แค่ 60 kW สุดเท่านั้นนะ นอกจากน้ัน เวลาเราดูสเปก เราจะต้องดูแยกด้วยว่า ถ้าเป็นการชาร์จด้วย AC ตัว On-Board Charger ของรถรับได้เท่าไหร่ หรือถ้าเราชาร์จ Mode 4 ตัวรถเรารับ DC ได้ที่เท่าไหร่อีก จากตรงนี้ พอจะทำให้เราได้ พลังที่รถน่าจะรับได้คร่าว ๆ แล้วว่าเท่าไหร่
นอกจากนั้น อีกปัจจัยคือ ความจุของ Battery ด้วย ถ้าลูกใหญ่ ก็จะใช้เวลานานกว่าลูกเล็กที่พลังเท่ากันนั่นเอง คิดง่าย ๆ เลยนะ สมมุติว่า Battery ของเรามีขนาด 60 kWh เราบอกว่า เราชาร์จได้ที่ 7 kW นั่นแปลว่า 1 ชั่วโมง เราก็จะได้ 7 kWh ถามว่า 60 kWh เท่าไหร่เอา 7 หารเลย ก็จะประมาณ 8.57 ชั่วโมงได้ เพื่อจะจิ้มจาก 0 -> 100 %
แต่ ๆ เอาเข้าจริงแล้ว มันจะนานกว่านั้น ส่วนนึงเป็นเรื่องของ พลังงานที่หายไปในการชาร์จ ซึ่งอาจจะหายไปกับ ความร้อน และอื่น ๆ ได้อีกเยอะมาก ๆ นอกจากนั้นแล้ว เวลาชาร์จจริง ๆ เครื่องมันจะไม่ปล่อยพลังที่ชาร์จได้เต็ม ๆ ให้เราตลอด อันนี้ขึ้นกับ Battery เลยว่ามันมีลักษณะการชาร์จ (Charging Curve) อย่างไร แต่สั้น ๆ ก็คือ ยิ่งเปอร์เซ็นต์สูง มันก็ยิ่งปล่อยช้าลงเรื่อย ๆ
คิดภาพว่า การชาร์จแบตเหมือนกับเราเติมน้ำให้เต็มขวดเลย แรก ๆ เราก็เทแรง ๆ ได้ น้ำไหลเร็ว ๆ เลย เพราะเรารู้ว่า ยังไง ๆ ก็ไม่ล้นแน่ ๆ แต่พอเราเติมไปจนเต็ม ๆ ถ้าเราเติมเร็วเท่าเดิม มันมีโอกาสที่จะล้นได้ ดังนั้น เราก็ต้องค่อย ๆ เท เพื่อให้มันไม่ล้นนั่นเอง ส่วนใหญ่ มันก็จะเริ่มช้ามาก ๆ ที่ประมาณ 80% ทำให้เวลาเราเดินทางจริง ๆ บนการชาร์จแบบ Mode 4 เราก็จะจิ้มอยู่ไม่เกิน 80% หรือ แค่เอาให้ถึงสถานีต่อไป แล้วเดินทางต่อเลย ไม่เอาให้เต็มนะ เพราะมันช้ามาก ๆ ด้วยการเติมแบบนี้ ก็จะทำให้เราเติมแบตในช่วงที่มันชาร์จเร็วได้เยอะที่สุด นั่นแปลว่า มันก็จะลดเวลาในการชาร์จทำให้เวลาในการเดินทางน้อยลงนั่นเอง
สำหรับคนที่พี่งเข้ามาใช้งาน EV อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วเวลาเราใช้งานจริง ๆ เนี่ย เมื่อไหร่ เราควรจะชาร์จนะ เราจิ้มมันทุกคืนเหมือนโทรศัพท์เลยได้มั้ย แล้วเราชาร์จไว หรือ Fast Charge บ่อย ๆ เนี่ยมันทำได้มั้ย
เอาเรื่องของเมื่อไหร่เราควรชาร์จก่อน ต้องยอมรับว่า คนไทยหลาย ๆ คนยังมีภาพจำอยู่ว่า การชาร์จแบตเนี่ย เราควรจะใช้ให้มันหมดก่อน หรือใกล้หมดแล้วเราค่อยชาร์จ นั่นเป็นเรื่องจริงนะ แต่เป็นกับ Battery ประเภทอื่น ๆ แต่ในพวก Battery ที่เป็น Lithium เอง เราจะชาร์จเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ขอให้ Maintain อยู่ที่ช่วง 20 - 80% กำลังดีเลย ดังนั้น เราใช้ ๆ ไปเหลือ 50% แล้วเราก็ชาร์จเป็น 80% ได้มั้ย ก็ได้เหมือนกัน ไม่ผิดนะ
ทำให้วิธีการชาร์จมันค่อนข้างยืดหยุ่นมาก ๆ คือ เราสามารถออกจากบ้านตอน 80% ไปทำงาน กลับมาจิ้มใหม่ให้ถึง 80% ทำได้มั้ย ก็ได้ หรือ เราจะโอเค ใช้ไปเรื่อย ๆ เลย เอาให้เหลือสัก 20-25% แล้วค่อยชาร์จถามว่าได้มั้ย ก็ได้เหมือนกัน ดังนั้น มันขึ้นกับการใช้ชีวิตของเรามากกว่า ว่า เราจัดการชีวิตของเราอย่างไร พยายามเลือกให้มันเข้ากับการใช้ชีวิตของเราให้มากที่สุด อย่าให้เรื่องพวกนี้มันทำให้เราปวดหัวกับการใช้ชีวิตเลย เราซื้อรถมาใช้นะแก
อย่างบ้านเราเอง บ้านเราใช้งาน ORA Good Cat ทั้งหมด 2 คันเลย แต่หน้าบ้าน เรามีพื้นที่ที่เอารถเข้ามาเสียบชาร์จได้แค่คันเดียวเท่านั้น ดังนั้น การที่เรากลับบ้านมา แล้วเสียบชาร์จกันทั้ง 2 คนเลย เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน ดังนั้น พฤติกรรมของบ้านเราก็เลยเป็นการที่ชาร์จตอนจะหมด ถึงจะเอารถเข้าไปเสียบในบ้าน หรือเราเองที่ช่วงนี้ ปตท มันก็กำลังชาร์จฟรีอยู่ ทำให้ส่วนใหญ่ 99.999% เราก็จะจิ้มที่ ปตท ซะหมด ก็เป็นตัวอย่างแบบหนึ่งของคนที่อาจจะอาศัยอยู่ในคอนโดที่ไม่สามารถติดตั้งที่ชาร์จได้นั่นเอง ก็ไปอาศัยตู้สาธารณะเอา (ถ้า หมดฟรี เราก็จิ้มบ้านนะ)
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยพูดถึงกันสักเท่าไหร่กับ ระยะทางของรถจริง ๆ นะ ปกติ เวลาเราคุยกันว่า รถคันนี้จะวิ่งได้เท่าไหร่ เช่น ORA Good Cat 500 Ultra ก็คือวิ่งได้ 500 km ตามมาตรฐาน NEDC ที่บางคนบอกว่า มันคือ Not even damn close!!! ฮ่า ๆ เออ เอาจริง สมควร ! ไว้จะมาเล่าละกัน ว่าทำไม
ถ้าเราเอาเลข 500 km มาใช้เลย มันคือการวิ่งตั้งแต่ 100% ถึง 0% ถามว่าเอาเข้าจริง ๆ เลยนะ ใครมันจะบ้าจี้ทำ เอาจริง ๆ เถอะนะ ปกติแล้วเวลาเราใช้งานจริง ๆ อะอย่างเราสัก 20% เราก็ใส่สั่นหาที่ชาร์จแล้ว และ อย่างที่บอกเพื่อเป็นการถนอมแบต และทำให้เราชาร์จได้เร็วที่สุด เราก็จะชาร์จอยู่ไม่เกิน 80% เท่านั้น ทำให้จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เราชาร์จเข้าไปจริง ๆ มันก็คือแค่ 60% เท่านั้นเอง ดังนั้นระยะทางที่เราจะวิ่งจริง ๆ ถ้าบอกว่า NEDC มันถูกเป๊ะ ๆ เลยนะก็คือประมาณ 300 km เท่านั้นเอง ถามว่ามันมีผลยังไงละ
มันมีผลตอนเราเดินทางไกลนี่แหละ อย่างที่บอกว่า การชาร์จมากกว่า 90% เป็นเรื่องที่ใช้เวลานานมาก ๆ ดังนั้นทำให้ระยะการเดินทางจริง ๆ ต่อชาร์จก็จะอยู่ที่ประมาณ 300 km เท่านั้นแทนที่จะเป็น 500 km ดังนั้นเวลาเราวางแผนการเดินทางจริง ๆ แล้ว ให้เราคำนึงเรื่องตรงนี้ไว้หน่อย อย่าหลงเอาแบบ 400-500 km มาใส่เด็ดขาด ไม่งั้นอาจจะเกมได้ ถ้าเจออากาศร้อน ๆ กับสัมภาระเยอะ ๆ
พอเราบอกว่า มันมี Mode 4 หรือ Fast Charge อยู่นะ งั้นเราบอกว่า ถ้าเราไม่ได้ชาร์จบ่อย ๆ เช่นอาทิตย์ครั้ง หรือจะหมดแล้วไปจิ้มทีนึง การใช้ Fast Charge ก็จะทำให้เราใช้เวลาในปั้มน้อยลงมาก ๆ มันจะดีต่อ Battery มั้ย คำตอบสั้น ๆ เลยนะว่า ไม่ดี ในระยะยาว ๆ เลยละ
อย่างที่บอกในตอนก่อนว่า Battery เนี่ยมันไม่ชอบ ความร้อน ที่ร้อนมากไป การชาร์จเร็ว มันเป็นการอัดกระแสเข้าไปเป็นจำนวนมาก ๆ ในเวลาอันสั้น ทำให้เกิดความร้อนค่อนข้างมาก นั่นก็ไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่สำหรับ Battery ในระยะยาว
แต่ถามว่า ถ้าเราจำเป็นต้องเดินทางไกลจริง ๆ การใช้ Mode 4 หรือ Fast Charge ก็ทำให้เราถึงที่หมายได้เร็วขึ้นหลายเท่าตัวมาก ๆ ดังนั้น ก็ใช้ไปเถอะถ้าเราต้องใช้จริง ๆ แต่ถ้าเราบอกว่า เออ เราไม่จำเป็นก็ได้ เรารอได้ เช่น เรามี Wall-Box ที่บ้านอะไรแบบนั้น ถามว่า การใช้ Wall-Box บน Mode 3 กับ Mode 4 อันไหนดีต่อ Battery มากกว่า คำตอบก็คือ Mode 3 แหละ ดังนั้น ก็แนะนำว่า ถ้าตอนไหนที่ Mode 4 ไม่ได้ให้อะไรกับเรามาก เช่นแพงกว่า และ เราต้องไปหาที่อีก เราว่าไปจิ้ม Mode 3 ที่บ้าน ดีต่อใจของ Battery เยอะกว่าเยอะ
การชาร์จ Battery บนรถ EV เอาจริง ๆ ด้วยความที่เทคโนโลยีอย่างแบต Lithium มันทำให้การใช้งานค่อนข้างยืดหยุ่นมาก ๆ แล้วขอแค่เราคงไว้ที่ 20 - 80 % พอแล้ว เราจะชาร์จเมื่อไหร่ก็ได้แล้ว ไม่มีพวก Memory Effect เหมือนกับเทคโนโลยีเก่า ๆ แล้ว กับถ้าเราไม่ได้ใช้ยาว ๆ เช่น เราบอกว่า เราอาจจะต้องจอดทิ้งไว้สักอาทิตย์ หรือเดือนเลย แนะนำว่าให้ Drain ให้เหลือสัก 50% กำลังดีเลยละ และ การชาร์จถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกล การใช้ Fast Charge ก็เป็นเรื่องที่โอเคเลย ทำให้เราเดินทางได้เร็วมาก ๆ แต่ถ้าเราใช้ในชีวิตประจำวัน แล้ว Fast Charge ไม่ได้ฟรี แล้วเราจิ้มบ้านถูกกว่า เราแนะนำให้จิ้ม Mode 3 ดีกว่า แต่สิ่งสำคัญเลยนะคือ อย่าไปซีเรียสกับเรื่องพวกนี้เยอะ เอาที่เราสะดวกดีกว่า เราซื้อรถมาใช้ ไม่ได้เอามาเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์เนอะ
เคยสงสัยกันมั้ยว่า Filter ที่เราใช้เบลอภาพ ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม หรืออะไรก็ตาม แท้จริงแล้ว มันทำงานอย่างไร วันนี้เราจะพาไปดูคณิตศาสตร์และเทคนิคเบื้องหลังกันว่า กว่าที่รูปภาพจะถูกเบลอได้ มันเกิดจากอะไร...
หลังจากดูงาน Google I/O 2024 ที่ผ่านมา เรามาสะดุดเรื่องของการใส่ Watermark ลงไปใน Content ที่ Generate จาก AI วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า วิธีการทำ Watermark ใน Content ทำอย่างไร...
ก่อนหน้านี้เราทำ Content เล่าความแตกต่างระหว่าง CPU, GPU และ NPU ทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอาเข้าจริง เราจำเป็นต้องมี NPU อยู่ในตลาดจริง ๆ รึเปล่า หรือมันอาจจะเป็นแค่ Hardware ตัวนึงที่เข้ามาแล้วก็จากไปเท่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
บทความนี้ เราเขียนสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้เรียนด้านนี้แต่อยากรู้ละกัน สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงคำที่ถ้าเราทำงานกับพวก Developer เขาคุยกันบ่อย ๆ ใช้งานกันเยอะ ๆ อย่าง Database กันว่า มันคืออะไร ทำไมเราต้องใช้ และ เราจะมีตัวเลือกอะไรในการใช้งานบ้าง...