Technology

EV101 : ในปี 2022 BEV มันใช้ได้จริงหรือยัง ?

By Arnon Puitrakul - 30 มีนาคม 2022

EV101 : ในปี 2022 BEV มันใช้ได้จริงหรือยัง ?

คำถามที่เราได้จากเพื่อน ๆ และ หลาย ๆ คนที่ทักเข้ามาถามเยอะมาก ๆ ว่า จริง ๆ แล้วการซื้อรถไฟฟ้าในปี 2022 มันใช้งานจริงได้หรือยัง แล้วมันใช้งานลำบากหรือไม่ และ ณ วันนี้มันเหมาะกับใคร เราจะมาตอบคำถามนี้ไปพร้อม ๆ กัน

รถ BEV มันใช้งานจริงได้หรือยัง​ ?

ในช่วงปีที่ผ่านมา ฝั่งของไทยเอง หลาย ๆ เจ้าก็เริ่มเอา BEV เข้ามาขายกันเยอะแล้วละ ต้องยอมรับเลยว่า ไทยเราตอบรับกับ BEV ได้เร็วมาก ๆ เผลอ ๆ เร็วกว่าฝั่งยุโรปเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วอีก (จริง ๆ ฝั่งที่เขาเจริญแล้วน่ะ เขาใช้กันจนมันเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปแล้ว ไทยเราไม่เจริญ รอหน่อย) ดูจากการตลาดเมื่อ 2 ปีก่อน แล้วเทียบกับตอนนี้ จำนวนรุ่นที่เปิดมาในงาน Motor Show ที่ผ่านมาเยอะขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยละ นอกจากนั้น คนไทยเองก็ยังมีความสนใจในรถ BEV เยอะมาก ๆ เลยทีเดียว ยิ่งทำให้ผู้ผลิตก็อยากจะเอาเข้ามาเลยทีเดียว

ในแง่ของการใช้งาน ณ รุ่นที่ขายอยู่ในไทย ณ วันที่เขียนเลย ระยะทางที่ไปได้ไกลสุด ก็น่าจะอยู่ที่ราว ๆ 750 km ต่อการชาร์จสักที อะโอเค อันนั้นมัน EQS ซึ่ง 6 ล้านกว่าบาทแน่นอน และยังไม่ขายจริงเน้นการจับกลุ่มตลาดรถ Premium โดยเฉพาะ อาจจะดูจับต้องได้ยากสำหรับคนทั่ว ๆ ไป อะงั้นเราลด Range ราคาลงไปหน่อยเป็นช่วง แสน ถึงล้านกว่า ๆ ก็น่าจะไปตกอยู่ในกลุ่มของ ORA Good Cat, MG EP และ MG ZS EV ที่ขายแล้ว ณ วันนี้ แก๊งค์นั้นก็จะวิ่งได้อยู่ 400 - 500 km ต่อการชาร์จ

นอกจากนั้น ฝั่งของสถานีชาร์จไฟเร็ว ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเลยละ ก่อนหน้านี้เมื่อสัก 2 ปีก่อน คือเราบอกเลยว่า การใช้รถ BEV ในไทยคือ น่าจะลำบากพอสมควรเมื่อเราต้องเดินทางไกล เพราะสถานีชาร์จมันมีน้อยมาก ๆ แต่ ณ วันนี้ เราบอกเลยว่า หลาย ๆ เจ้าอย่าง PEA, EGAT, PTTOR และเอกชนเจ้าอื่น ๆ ลงมาเล่นกันเยอะมาก ๆ เราเดินทางไปในเส้นทางหลัก ๆ เช่น ถนนมิตรภาพ และ ถนนเพชรเกษม ถ้าเราลองเปิดดูก็จะเห็นเลยว่า มันมีเป็นรายทางเลย คือ เราสามารถจิ้มได้เรื่อย ๆ โดยที่ Range 400 - 500 km คือวิ่งกันได้ชิว ๆ เลย ยังไม่นับว่า ถ้ามันได้รับการตอบรับขนาดนี้

ดังนั้น จากทั้งฝั่งของ รถที่เอาเข้ามาขาย และ สถานีชาร์จไฟ (Charging Network) ในประเทศไทย เรามองว่า ก็ค่อนข้างพร้อมมาก ๆ แล้วสำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไป แบบรถบ้าน เราขับไปทำงาน ขับไปเที่ยวได้เลย ดูจากใน Vlog ของ Youtuber หลาย ๆ เจ้า ก็จะเห็นเลยว่า มันก็ไปได้นะ แต่.... มันก็จะมีความแตกต่างกับรถน้ำมันนิดหน่อย

อะไรเป็นอุปสรรค์ของการใช้ BEV ในไทย ?

โอเค เราบอกว่า จาก ความสนใจ ผู้ขาย และ Charging Network ที่มันค่อนข้างพร้อมมาก ๆ ในประเทศไทยแล้ว ถามว่า แล้วถ้าเราเอามาใช้ ณ วันนี้ เราจะต้องเจอกับอะไรที่มันแตกต่างกับการใช้งานรถน้ำมันปกติเลย

เรื่องแรกที่เรามองว่าสำคัญมาก ๆ คือ ต้องบอกเลยว่า ณ วันนี้ ต้องยอมรับว่า Charging Network ที่เราว่ามันค่อนข้างพร้อม แต่ถามว่า มันมีสถานีเยอะเท่ากับปั้มน้ำมันเลยมั้ย ก็คือ มันไม่เท่าอยู่แล้ว ถึงจะมีเป็นตามทางเลยก็ตาม เพราะหลาย ๆ คนคาดหวังว่า ก็เดินทางไกลแล้วเห็นปั้มแล้วเข้าได้เลย มันอุ่นใจกว่า อันนี้แหละ คือสิ่งที่คนใช้ BEV ในประเทศไทยช่วงปี 2022 ต้องยอมรับให้ได้ ซึ่งเรื่องนี้ถามว่า มันทำให้การเดินทางเป็นไปไม่ได้เลยมั้ย คำตอบคือ ไม่นะ ก็เดินทางได้ แต่ ๆๆๆ เราจะต้องแก้ปัญหาด้วยการทำสิ่งที่ทุกคนควรจะทำตอนเดินทางคือ การวางแผน ! และ เมื่อเราใช้ BEV ช่วงนี้ เราอาจจะต้องวางแผนเยอะหน่อยว่า เราจะจิ้มที่ไหนบ้าง จิ้มสักเท่าไหร่ดี และในสถานการณ์ว่า หัวชาร์จเกิดไม่ว่าง หรือเสียขึ้นมา เราจะไปที่ไหนเป็นที่สำรอง

ยังไม่นับว่า เมื่อ BEV ได้รับความนิยมเร็วเกินไป เราก็มีข้อกังวลขึ้นมาว่า จำนวนหัวชาร์จสาธารณะมันจะขึ้นเร็วมากเพียงพอกับความต้องการหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่า การชาร์จไฟ มันไม่เหมือนเติมน้ำมันแค่ 5 นาทีแล้วไปต่อ มันใช้เวลาเยอะสุดก็ 1 ชั่วโมงเลย ทำให้ Turnaround Time (TAT) มันสูงกว่ามาก ๆ ดังนั้น 1 ปั้มมีหัว CCS2 Combo เพียง 1 หัวอาจจะไม่พอเสียแล้วก็ได้

การแวะจอดพัก จากเดิมที่เราใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีในการเข้าปั้มเพื่อเติมน้ำมันแล้วเราก็เดินทางต่อได้เลย อาจจะเพิ่มเวลาอีกสัก 10 นาทีในการเดินไปเข้าห้องน้ำ ยืดเส้นยืดสายหน่อย แต่ถ้าเป็นรถไฟฟ้า เติมนานสุดเลยจริง ๆ เช่นเหลือสัก 5% แล้วชาร์จให้ไปถึง 80% ก็อาจจะใช้เวลาสัก 1 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นหน่อยเลยก็ได้ ทำให้เรื่องนี้ เราอาจจะต้องเผื่อเวลาในการเดินทางขึ้นไปสักหน่อย เพราะต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีในการชาร์จ Battery ณ วันนี้เรายังไม่สามารถที่จะทำให้เราชาร์จเต็มใน 5 นาทีแบบรถน้ำมันได้ ก็อาจจะต้องไปยืดเส้นยืดสาย แวะกินข้าว หรือจะนอนดู Netflix แอบงีบไปพราง ๆ ก็ได้

เรื่องถัดไปที่หลาย ๆ คนกังวลคือ ถ้าแบตหมดแล้วรถจะดับเลยหรือไม่ ถ้าเอาทางเทคนิค มันจะไม่ดับเลย เพราะใน Battery ที่เราใช้งานจริง ๆ แล้วเมื่อถึง 0% ไฟในแบตยังไม่หมดจริง ๆ หรอก เพราะทางผู้ผลิตเขาป้องกันเรื่องนี้มาแล้วอาจจะให้มีไฟเหลือในนั้นสักหน่อย เพื่อไม่ให้ Battery ได้รับความเสียหาย ดังนั้นมันจะไม่หยุดวิ่งหรอก แต่มันอาจจะขึ้น Warning มาให้เราเอารถจอดข้างทางอะไรแบบนั้น ถ้ามันแบบ หมด แบบ หมดเลยจริง ๆ หรือคิดอีกมุมนะว่า ถ้าเราขับรถน้ำมันจริง ๆ อะ ถ้าน้ำมันหมด มันก็จอดข้างทางเหมือนกันนะ และสถานการณ์แบบนี้ส่วนใหญ่แล้วก็กลับไปที่เดิมคือ เรื่องของ การวางแผน

การ Maintenance

อีกเรื่องที่หลาย ๆ คนเป็นห่วงมาก ๆ คือ การ Maintenance หรือการบำรุงรักษา เบื้องต้นเราต้องบอกก่อนว่า การบำรุงรักษา รถ BEV เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ เพราะเอาเข้าจริงแล้วมันไม่มีชิ้นส่วนอะไรให้เราเปลี่ยน หรือของเหลวให้เราเปลี่ยนเยอะเท่ารถ ICE ทั่ว ๆ ไปเลย อย่างน้อย ถ่ายน้ำมันเครื่องที่เราต้องไปถ่ายกันทุก 10,000 km ก็หายไปแน่ ๆ ของเหลวที่เหลืออย่างเดียวก็น่าจะเป็นน้ำมันเบรก และน้ำมันเกียร์ ที่เราก็ไม่ได้ถ่ายบ่อย ๆ หรอก อาจจะทุก 60,000 km ได้เลยมั้งนะ ซึ่งที่เหลือจากเดิม ที่เราต้องถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง เราก็เหลือแค่เปลี่ยนไส้กรองแอร์ กับการเช็คระบบไฟ และ ระบบการทำงานของรถทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ทำให้การ Maintenance โดยรวม ราคาถูกกว่ารถที่เป็น ICE ค่อนข้างมากเลยทีเดียว

อีกความกังวลคือ เรื่องความเสื่อมของ Battery ส่วนตัวเรามองว่า อะส่วนนึงคือใช้งานไปมันก็ต้องเสื่อมอยู่แล้วละ เหมือนกับแบตโทรศัพท์ของเราแต่ Battery พวกนี้มันจะไม่ได้ใช้ ๆ ไป 2-3 ปีแล้วเสื่อมแน่ ๆ คืออายุของมันยาวกว่านั้นมาก อาจจะมีถึง 10 ปีเลยก็ได้ ถึงตอนนั้นอาจจะเสื่อมไม่เยอะ แต่ขึ้นกับการใช้งานของเราด้วยนะ ถามว่าแล้วถ้าถึงตอนนั้นจริง ๆ แล้วถ้าเราต้องเปลี่ยนแบต เราจะต้องเสียหลายแสน ยกทั้งก้อนเลยมั้ย คำตอบคือ ไม่

เพราะส่วนใหญ่รถ BEV ที่มี Battery ขนาดใหญ่ ๆ เขาจะไม่ได้ทำมาเป็นก้อนเดียวทั้งคัน แต่จะซอยย่อยเป็น Module เล็ก ๆ ทำให้เวลาเราเปลี่ยนจริง ๆ เราจะไม่ได้เปลี่ยนทุก Module หรอก ทำให้ราคาในการเปลี่ยน ไม่ได้แพงอะไรมากขนาดที่หลาย ๆ คนคิด

ณ วันนี้มันเหมาะกับใคร ?

จากสิ่งมีหลาย ๆ ฝั่ง ณ วันนี้ ถามว่า มันเหมาะกับใคร คนกลุ่มแรกเลยที่เราคิดถึง และเราก็เป็นหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มคนที่ขับรถวันนึงไม่เกินระยะของรถ เช่น เราบอกว่า รถเราวิ่งได้สัก 500 km ถ้าวันนึง เราไปกลับแล้วไม่เกิน 500 km เรามองว่า โอเคเลยนะ เพราะ เราสามารถขับไปกลับ แล้วกลับมาจิ้มปั้มแถวบ้าน (ถ้ามี) หรือ เรากลับมาจิ้มที่บ้านได้ เรามองว่าเรื่องนี้คือลดต้นทุนการเดินทางไปเยอะมาก ๆ หรือถ้านาน ๆ ทีเราไปเที่ยวไกล ๆ เลย มันก็โอเคนะ

ทำให้ซอยไปเป็นอีกกลุ่มคือ คนในเมืองทั้งหลาย โดยเฉพาะตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น กทม, พัทยา, ขอนแก่น และ เชียงใหม่ พวกนี้คือ ที่ชาร์จเพียบ และ รถก็ค่อนข้างติด ทำให้การใช้ EV ประหยัดค่อนข้างมาก และ การชาร์จก็ไม่ต้องกลัวเลย ห่างกันไม่เกิน 10-15 km แน่นอนอย่างมากแล้วนะ

ส่วนคนที่ต้องเดินทางไกล ไกลว่าระยะที่รถทำได้บ่อย ๆ แบบทุกวันเลย เรามองว่า การใช้ EV ณ วันนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ ถ้าเราต้องเสียเวลาวันละ 1 ชั่วโมงในการจอดชาร์จมันก็แย่แล้วนะ เช่นเราบอกว่า เราต้องเดินทางจาก กทม ไป เชียงใหม่ไปกลับทุกวันหรือเดือนละ 10 ครั้ง ++ เรามองว่ามันเสียเวลาในการใช้ชีวิตมากเกินไป แต่ถ้าอนาคตเรามีรถที่วิ่งได้ไกลถึงที่ ๆ เราไปบ่อย ๆ ไปโดยที่เราไม่ต้องจิ้มทุก ๆ วันหรือ 80% ของชีวิตได้นั่นแหละตอนนั้นที่เรามองว่ามันตอบโจทย์มาก ๆ

และสุดท้ายที่เราว่า จริง ๆ มันก็เหมาะนะ แต่เรายังไม่เห็นฝั่งไทยเอาเข้ามาเล่นคือ กลุ่มของการขนของ พวกรถ Pick-up ทั้งหลาย เพราะกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า การขับเคลื่อน มันไม่ใช่ปัญหาเลย และ ถ้ามันมาได้จริง ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ทั้งเรื่องน้ำมันที่จะกลายเป็นไฟฟ้า และ ค่า Maintenance มันก็จะถูกลงแบบเยอะมาก ๆ ส่งผลไปในเรื่องของต้นทุนของผู้ประกอบการ และ ก็สะท้อนไปที่ฝั่งของผู้บริโภคตามลงมาเรื่อย ๆ แต่ ๆๆๆ ณ วันที่เขียน ในไทยเอง เราก็ยังไม่เห็นเอาเข้ามา หรือในโลกเอง ตอนนี้เราก็ยังเห็นไม่เยอะนะ อาจจะต้องรอหน่อย

สรุป

วันนี้ EV เรามองว่า คนทั่ว ๆ ไป สามารถใช้งาน BEV ได้แบบไม่มีปัญหาเลย อาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อยกับการวางแผนการเดินทางที่อาจจะต้องมากกว่าการใช้รถน้ำมันสักหน่อย แต่ก็แลกมากับความประหยัดค่าเชื้อเพลิง และ ค่าบำรุงรักษา ค่อนข้างมาก ถ้ารับได้กับอุปสรรค์ที่เราเล่าไป เรามองว่า โอเคเลยนะ แต่ถ้าเราบอกว่า เราเดินทางไกลทุก ๆ วันเลย ไกลว่าระยะที่รถทำได้อะนะ เราว่าใช้รถน้ำมันไปก่อนดีกว่า รอเวลาให้เทคโนโลยีของการชาร์จมันเร็วขึ้น และ Battery ไปได้ไกลขึ้นด้วย อาจจะไปเล่นพวก PHEV ก็ได้

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...