By Arnon Puitrakul - 27 ธันวาคม 2024
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน
วิธีนี้ไม่ต้องยุ่งยากอะไรมาก เพียงแค่เรามี External HDD เอาไว้อีกสักลูก พอถึงบ้าน เราก็แค่เอามันเสียบเข้ากับเครื่อง แล้ว Copy File ทั้งหมดที่ต้องการสำรองลงไป แล้วรอก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิธีการนี้เหมาะสำหรับคนที่มีข้อมูลอยู่ไม่เยอะมาก ใช้เวลาในการ Copy ไม่นานมาก ข้อดีที่สำคัญคือ เม็ดเงินในการลงทุนต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ และยังไม่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำได้แล้ว
สิ่งที่เราต้องมีคือ External HDD อาจจะเป็นแบบพกพา หรือแบบตั้งโต๊ะก็ไม่ว่ากัน ส่วนตัวเราแนะนำเป็นแบบตั้งโต๊ะที่ต้องเสียบไฟเลี้ยงแยกจะดีกว่า เช่น WD My Book และ WD My Book Duo แต่ให้เราเลือกขนาดที่เพียงพอกับข้อมูลที่เรามี และเผื่อขึ้นไปอีกนิดหน่อย เช่น ข้อมูลเรามีขนาด 1 TB อาจจะเผื่อขึ้นไปอีกขั้นเป็น 2 TB หรือถ้างบเยอะมาก ๆ จะโดดไป 4 TB ก็ไม่ว่ากัน
แต่ข้อเสียคือ ถ้าข้อมูลเรามีขนาดใหญ่มากขึ้น เกิดขนาดของ External HDD เราจะต้องมีการแยก External HDD ว่าไฟล์ไหนจะอยู่ลูกไหน กลับกัน เมื่อเราต้องการกู้คืน ก็ต้องมานั่งดูอีกว่าอันไหนอยู่ลูกไหน และอีกข้อเสียคือ เราจะมีข้อมูลเพียงแค่ 2 Copy เท่านั้นคือ บนเครื่องของเรา และ บน External HDD แปลว่า ถ้าเกิดข้อมูลบนเครื่องเราเสียหาย และ External HDD สิ้นแล้วก็คือ จอบอ เลย
ถ้าใครที่ไม่อยากก๊อปมือ เพราะเราอาจจะลืม หรือพลาด เราก็เอา Backup Software เข้ามาใช้งานมันซะเลยสิ เรามีโปรแกรมสำหรับ Backup เต็มท้องตลาดไปหมดทั้งแบบเสียเงิน และฟรี แต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียอยู่ แต่สำหรับเราเองบน macOS เราใช้ Get Backup Pro เพราะมันมากับ Setapp ที่มันมี Feature พื้นฐานสำหรับการสำรองข้อมูลตั้งแต่การเลือกไฟล์ ปลายทางสามารถไปได้หลายที่ และมีระบบการสำรองอัตโนมัติตามเวลาที่เราตั้งไว้ได้
หรือสำหรับคนที่ใช้ macOS มันก็จะมี Time Machine ที่มันสามารถสำรองข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราทั้งเครื่องได้เลย ทั้งหมดนี้ทำแบบอัตโนมัติเป็นเบื้องหลังทั้งหมด บางทีมันสำรองข้อมูลอยู่ เรายังไม่รู้เลย สิ่งที่เราต้องทำคือ เราแค่เชื่อมต่อ Disk ที่ใช้สำรองเข้าไป แล้วมันจะจัดการเองได้เลย นอกจากนั้นมันยังทำเป็น Incremental นั่นทำให้เราสามารถเลื่อนหา Version ต่าง ๆ ของไฟล์เราได้เรื่อย ๆ อีกด้วย ที่สำคัญ มันฟรี !
หากไม่อยากเสียเงินมีอีกตัวเลือกที่ฝั่ง Server ใช้กันมานาน คือ rsync แต่โปรแกรมนี้มีอยู่ในแค่ใน macOS และ Linux เท่านั้น และยังเป็น Command Line อีกด้วย ทำให้อาจจะไม่เหมาะกับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ไม่กลัว CLI ก็จัดไปได้เลย เราสามารถเขียน Shellscript ทิ้งไว้ แล้วสั่ง Crontab ให้มันรัน Script นั้นเป็นเวลา เพื่อให้ Backup ได้ หรือกระทั่งการทำ Incremental Backup ก็สามารถทำผ่าน rsync ได้เช่นกัน ทำให้ลดพื้นที่ ๆ จำเป็นต้องใช้ได้สบาย ๆ ทำให้ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ครบเครื่องมาก ๆ แต่แลกมากับความยุ่งยากในการ Setup ช่วงแรก แล้วพอจบตรงนี้ไป ก็ไม่ต้องทำอะไรละ ง่าย ๆ
วิธีนี้หลาย ๆ คนน่าจะใช้กันอยู่เป็น Solution หลัก นั่นคือ การใช้งาน Cloud สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Drive, Dropbox, Box.com และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะวิธีนี้ ข้อมูลของเราจะถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัยภายใน Data Centre ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยและผู้เชี่ยวชาญแบบ 24/7 บอกเลยว่า มั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้มากกว่า การเก็บในบ้านของเราซะอีกมั้งนั่น และยังทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้จากที่ไหนก็ได้ที่ต่ออินเตอร์เน็ต รวมไปถึง Software สำหรับการ Sync ข้อมูลระหว่างเครื่องของเรากับ Cloud ด้วย เรียกว่าครบเครื่องไปหมดเลย
แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายในระยะยาวมันค่อนข้างบานปลายตามขนาดข้อมูลที่เก็บ เช่นค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล 4 TB จะแพงกว่า 6 TB แน่นอน และเราจะต้องจ่ายเป็นรายเดือนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซ้ำร้ายกว่านั้นข้อมูลของเรามันโตขึ้นทุกวัน ที่เราจะต้องเพิ่มความจุมันขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อรองรับอีก นั่นทำให้มันไม่เหมาะกับการเก็บข้อมูลจำนวนมากเท่าไหร่ ไม่งั้นจนก่อนพอดีแหละ
ถ้าเราอยากได้ความอัตโนมัติเหมือน Cloud แต่ไม่อยากจ่ายค่า Cloud เรื่อย ๆ งั้นเราสร้าง Cloud ส่วนตัวไว้ในบ้านของเราไปเลยด้วยการใช้ NAS โดยส่วนใหญ่ที่เราใช้งานกันตามบ้าน ก็จะเป็น NAS จาก Synology และ QNAP ต่าง ๆ ก็ไปเลือกรุ่นที่เราต้องการใช้งานได้เลย ว่าเราต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากน้อยขนาดไหน โดยส่วนใหญ่มันจะมีโปรแกรมสำหรับการสำรองข้อมูลมาด้วย เช่นฝั่ง Synology ก็จะมีพวก Hyper Backup เพื่อให้เราสามารถสำรองข้อมูลได้ง่าย ๆ ยันระดับเครื่องกันเลยทีเดียว แค่เราติดตั้ง Client เข้าไป มันก็จะเชื่อมต่อและสำรองข้อมูลภายในเครื่องเราให้เองทั้งหมด ที่สำคัญ เราไม่ต้องกลัวข้อมูลรั่วไหลเลย เพราะข้อมูลอยู่ที่บ้านของเราทั้งหมด แถมไม่ต้องจ่ายรายเดือน แค่จ่ายค่าไฟพอ
ตวามสนุกกว่านั้น สำหรับบางยี่ห้ออย่าง Synology เราสามารถคุยกับเพื่อนที่ใช้ Synology เหมือนกันในการให้เป็น Off-Site Backup ของกันและกันได้ด้วย หากบ้านของใครคนใดคนหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา เราก็ยังมั่นใจได้ว่า เราจะยังมีข้อมูลสำรองอยู่ที่บ้านเพื่อนเราได้อยู่ ที่สำคัญคือ มันฟรี และเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้าน Network เยอะ ก็สามารถทำได้ เพราะเขามี Wizard ช่วยเราในแต่ละขั้นตอนอยู่แล้ว
แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการซื้อ Hardware และ Storage มันค่อนข้างสูงมาก ๆ หลักหลายหมื่นบาทได้เลย และเรายังต้องดูแลเครื่องด้วยตัวเอง เช่นการจ่ายไฟ และอินเตอร์เน็ต เพราะถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งดับ ก็เท่ากับว่าจบเลย ต้องรอมันกลับมาเท่านั้น
วันนี้เราเอาวิธีการสำรองข้อมูลแบบง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้เองที่บ้าน เอาตั้งแต่ทำมือง่ายสุด ๆ จนไปถึงการตั้ง NAS ในบ้านกันเลย ที่เอามาเล่าในวันนี้เพราะเรามองว่า การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ เราอาจจะยังไม่เห็นประโยชน์ของมันวันนี้หรอก แต่เชื่อสิว่า วันนึงเกิดอะไรขึ้นมา เราจะเห็นประโยชน์ของมันในวันที่สายไปเสียแล้ว อารมณ์เหมือนซื้อประกันเลยแหละ เบื้องต้น เราอาจจะยังไม่จำเป็นต้องไปขนาด 3-2-1 Backup ก็ได้ อย่างน้อยที่สุด ข้อมูลสำคัญ ๆ ให้มันมีมากกว่า 1 Copy ก็ดีแล้ว แต่ถ้าเราคิดว่าข้อมูลนั้นสำคัญมาก ๆ จริง ๆ หรือเรามีข้อมูลสำคัญเป็นจำนวนมาก ก็ค่อยไปหาทางอื่น ๆ ในการสำรองก็ได้เหมือนกัน
Homebrew เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราชอบมาก ๆ มันทำให้เราสามารถติดตั้งโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่วันนี้ เราจะมาแนะนำ 5 Homebrew Package ที่เรารักส์และใช้งานบ่อยมาก ๆ กันว่าจะมีตัวไหนกันบ้าง...
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...