By Arnon Puitrakul - 31 มกราคม 2015
เป็นเรื่องเป็นราวกันมาทั้งแต่ท้ายปีที่แล้ว (2557) กับ พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ที่รัฐดันสุดตัวเพื่อให้ พ.ร.บ. นี่ออกเป็นกฏหมาย ซึ่งหลายๆคนก็ให้ความเห็นถึงเนื้อหาของ พ.ร.บ. ตัวนี้กันที่ว่า มันออกมากว้างโคตรๆ เนื้อหาออกแนวป้อนอำนาจให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลของเราได้ล้นฟ้า จะแอบอ่านว่าเราคุยอะไรกะกิ๊ก หรือจะเป็นคุยไลน์ส่งหวานกัน อะไรแบบนี้ โดยที่ไม่ต้องขอหมายอะไร เพียงแค่หาเหตุก็เข้าไปดูได้ทุกซอกมุมของคุณกันเลยทีเดียว (อู๊~~~) โดยที่รัฐบาลได้ให้เหตุผลว่า ไว้จัดการพวกหมิ่น~~ คริคริ (คริคริ รัฐบาลไม่ได้กล่าวไว้ เพราะผมกล่าวเองคริคริ~~)
เอาจริงๆไปอินมาจากโพสนึงในเฟสบุ๊คที่คุณ Sarinee Achavanuntakul ได้เขียนและแชร์ไว้ (มันถูกส่งต่อกันแบบเยอะอะ) ที่ ถามมา-ตอบไป สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมประชาชนทุกคนควรค้านชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง นกหวีด สลิ่ม ไม่มีสี ฯลฯ
ที่แย่ไปกว่านั้น ถ้ากำลังจะมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุก พวกเขาคงไม่กล้ามาลงทุนแน่นอนเพราะ ข้อมูลอาจจะรั่วไหล ออกไปก็ได้ (เผ่นป่าราบ)
เอาจริงๆผมว่า ต้องกลัวนะ เพราะกว่าเราไม่รู้ว่า "ผู้มีอำนาจ" จะเอาข้อมูลของเราไปใช้ในทางไหน โลกเรามันประกอบทั้ง คนดี และคนไม่ดี เพราะฉะนั้นเราควรจะระวังหน่อย อีกเรื่องคือ เรื่องของ ความเป็นส่วนตัว ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (เอิ่มแต่เรายังไม่พัฒนาเลยนี่หว่า) เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆถึงมากที่โคตรจะสุดๆเลย เพราะนั่นคือการเคารพสิทธิ์ของประชาชนของคุณเอง แม้เราจะไม่ได้มาทำผิดอะไร เราก็ไม่ชอบให้ใครมายุ่งกับข้อมูลของเราใช้มั้ยครับ ไม่ถ้าลองคิดแบบนี้นะครับ ถ้ามีวันนึง รัฐออกกฏหมายนี้ผ่าน มาเลยจร้าดูดข้อมูลบัญชี การเงินอะไรของเราไปหมด ถ้าเอาไปทำในเรื่องกฏหมายก็แล้วไป แต่ถ้าเอาไปทำอย่างอื่นซึ่งเป็นการใช้อำนาจในทางที่ผิด มันจะเป็นยังไงล่ะครับ? ซึ่งในร่างนี้ก็แน่นอนครับ ไม่มีการอธิบายว่า จะลงโทษอย่างไร ลอยตัวบินหายเข้ากลีบเมฆแล้วบินออกเหนือเมฆกันเลยทีเดียว (ฟริ้วว ไปน้าา!~~~~)
ตอนนี้เจ้า พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เจ้าปัญหานี้ได้ผ่านมติของคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ให้ สนช. เป็นผู้อนุมัติต่อไป ซึ่งตอนนี้หลายๆหน่วยงานเช่น ธนาคาร หลายๆแห่งก็แสดงความเป็นกังวลกับ พ.ร.บ. ชุดนี้เหมือนกัน
แม้ว่าท่านผู้นำจะคืนความสุขให้เราทุกวันตอนเย็น เราก็ยังควรช่วยกันเรียกร้อง กดดัน ปกป้อง สิทธิ์ของเราให้มากที่สุด ซึ่งตอนนี้มีการเปิดแคมเปญเพื่อเรียกร้องเพื่อคัดค้านร่างกฏหมายของ พ.ร.บ. ชุดนี้ออกมาผ่านเว็บ Change.org ที่ลิงค์นี้เลยครับ https://www.change.org/p/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ-หยุดชุดกฎหมาย-ความมั่นคงดิจิทัล
หลังจากดูงาน Google I/O 2024 ที่ผ่านมา เรามาสะดุดเรื่องของการใส่ Watermark ลงไปใน Content ที่ Generate จาก AI วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า วิธีการทำ Watermark ใน Content ทำอย่างไร...
ก่อนหน้านี้เราทำ Content เล่าความแตกต่างระหว่าง CPU, GPU และ NPU ทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอาเข้าจริง เราจำเป็นต้องมี NPU อยู่ในตลาดจริง ๆ รึเปล่า หรือมันอาจจะเป็นแค่ Hardware ตัวนึงที่เข้ามาแล้วก็จากไปเท่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
บทความนี้ เราเขียนสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้เรียนด้านนี้แต่อยากรู้ละกัน สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงคำที่ถ้าเราทำงานกับพวก Developer เขาคุยกันบ่อย ๆ ใช้งานกันเยอะ ๆ อย่าง Database กันว่า มันคืออะไร ทำไมเราต้องใช้ และ เราจะมีตัวเลือกอะไรในการใช้งานบ้าง...
หากใครที่อายุใกล้ ๆ 30 ต้องเคยผ่านประสบการณ์โลกออนไลน์ในยุค 90s' มาไม่มากก็น้อย เป็นยุคที่เราเน้นใช้โปรแกรมเถื่อน ขายกันอยู่ในห้างพั____พ กันฉ่ำ ๆ ตำรวจตรวจแล้วเราไม่มีขายตัว แต่เคยสงสัยถึงที่มาของโปรแกรมเหล่านี้มั้ยว่า เขา Crack กันอย่างไร วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...