Technology

Cloud Computing คืออะไร ? (ฉบับมนุษย์อ่านได้ Dev อ่านดี)

By Arnon Puitrakul - 11 กุมภาพันธ์ 2017

Cloud Computing คืออะไร ? (ฉบับมนุษย์อ่านได้ Dev อ่านดี)

ทุกวันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า เราอยู่ในยุคที่เราใช้ข้อมูลในการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น (Information-Driven) จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เราเสพข้อมูลมากแค่ไหน จากทั้ง Social Network และสื่อบนอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่เรียกว่า Cloud Computing เข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตของเราไปโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ตั้งแต่ที่เราตื่นนอน จนไปถึงเรานอนอีกวันนึงเลย

Cloud Computing คืออะไร ?

จริง ๆ คำ ๆ นี้ก็มีหลาย ๆ คนได้ในคำนิยามไว้เยอะมาก แต่ผมขอให้คำนิยามว่า มันเป็นการเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้ ข้อมูลจากที่ไหน และเมื่อไหร่ก็ได้ เหมือนกับก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า

ย้อนกลับไปหน้านั้นหน่อย

จริง ๆ ก่อนคำว่า Cloud Computing จะเข้ามา มันมีอีกคำก่อนหน้านั้นอีกนั่นคือ Client-Server ที่จะมี Server ไว้สักตัวออนไลน์เอาไว้ และให้ผู้ใช้ที่เป็น Client เข้ามาในระบบเพื่อดึง หรือบันทึกข้อมูลลงไปได้ ตามที่ผู้พัฒนาได้โปรแกรมไว้

แต่วิธีนี้เองก็มีข้อเสีย เพราะถ้าเกิด Server ที่เก็บข้อมูลนั้นล่มขึ้นมา ตัว Client ก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ได้เลย หรือในกรณีที่แย่ที่สุดคือ Server เกิดความเสียหายจนทำให้ข้อมูลหายไป

อีกหนึ่งข้อเสียคือ การเข้าถึงข้อมูล ถ้า Server ตั้งอยู่ที่ USA และเราที่อยู่ประเทศไทย ต้องการจะเข้าถึงข้อมูลนั้น ก็จะเป็นไปได้ด้วยความเร็วที่ต่ำ เพราะกว่าข้อมูลจะวิ่งข้ามทะเลมาหาเราย่อมใช้เวลามากกว่า ดึงข้อมูลจากหน้าปากซอยบ้านคุณแน่นอน และ Server เองก็ไม่สามารถที่จะตั้งหลายที่ได้ขนาดนั้น เพราะด้วยเหตุผลเรื่องของเงินทุน และการลงทุนที่ต้องใช้เม็ดเงินที่สูงพอตัวอยู่ในการวาง Server สักที่นึง (Site)

เพราะแบบนี้ Cloud Computing จึงเริ่มเข้ามา

ด้วยเหตุผลเมื่อครู่ ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Cloud Computing เกิดขึ้นมา โดยเราจะสามารถแบ่งประเภทของ Cloud ตามลักษณะการให้บริการ ได้ใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประเภทด้วยกัน

  • IaaS หรือ Infrastructure-as-a-Service ที่จะเป็นลักษณะในการเช่าเครื่อง โดยเราสามารถเลือก ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่าง ๆ ตามที่เราต้องการได้ทั้งหมด โดยผู้ให้บริการจะทำการจัดเตรียม เครื่องหรือทรัพยากรต่าง ๆ ให้เราเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Amazon AWS, Digital Ocean เป็นต้น
  • PaaS หรือ Platform-as-a-Service ที่เป็น Layer ที่สูงขึ้นมาหน่อย เพราะทางผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่องและสิ่งที่จำเป็นมาให้เราทั้งหมด ซึ่งทำให้เราสามารถโฟกัสกับ Application ของเราได้มากขึ้น ไม่ต้องกังวลในเรื่องของ Infrastructure (Resource เช่น CPU, RAM และเวอร์ชั่นของ OS ที่ใช้รัน) ตัวอย่างเช่น Microsoft Azure, Google
  • SaaS หรือ Software-as-a-Service ที่เป็นประเภทที่ทุกคนน่าจะเคยใช้กัน แต่ไม่รู้ว่ามันคือ SaaS เช่น Microsoft Office 365, Google Drive, iCloud, Saleforce ที่เป็น Software ให้เราได้ใช้งานได้เลย โดยที่เราไม่ต้องกังวล หรือหาคนมาดูแล Infrastructure และคนมาสร้าง Application ให้เรา เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมมาโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว

หรือสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อีก 3 ประเภทคือ

  • Public Cloud คือ Cloud ที่เปิดให้บริการกับผู้ใช้ทั่วไป โดยมีการแบ่งทรัพยากรกัน คือเป็นใครก็ได้เข้ามาขอเช่า ซึ่งการให้บริการในลักษณะนี้อาจจะไม่เหมาะกับธุรกิจที่มีการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับสูง ๆ อย่างธนาคารเท่าไหร่ เพราะเราต้องเก็บข้อมูลไว้กันคนอื่น
  • Private Cloud คือ Cloud ที่องค์กรนั้น ๆ เป็นผู้เปิดเอง เพื่อนำมาใช้ภายในองค์กรเท่านั้น
  • Hybrid Cloud คือ Cloud ลูกผสมระหว่าง Public Cloud กับ Private Cloud ที่จะมีข้อมูลส่วนหนึ่งวิ่งและเก็บอยู่ภายใน Private Cloud เพราะข้อมูลมีความอ่อนไหว (ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรเลย) ไม่สามารถเก็บไว้บน Public Cloud ได้ และมีบางส่วนที่เก็บไว้บน Public Cloud

ทุก ๆ วันนี้มี Cloud Computing เปิดให้บริการอยู่หลายเจ้าด้วยกัน ถ้าเป็นเจ้าใหญ่ ๆ ก็จะเป็น Microsoft, Google และ Amazon

เราได้ประโยชน์อะไรจาก Cloud Computing ?

ประโยชน์จาก Cloud Computing นี่คิดได้ทั้งวันก็ไม่หมดเลยครับ หลัก ๆ จะเป็นเรื่องของการลดต้นทุนให้กับองค์กร เพราะไม่ต้องซื้อและดูแล Server เป็นจำนวนมาก เพียงแค่เช่าซื้อ เมื่อต้องการ และปรับลดขนาดตามความต้องการ ณ เวลานั้นได้ทันที

ทำให้เราสามารถ สร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเป็น Server ของตัวเอง เมื่อเราทำการสร้าง Application หรือระบบใหญ่ ๆ ขึ้นมา อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือการ Deploy ขึ้น Production Server ที่กว่าเราจะเตรียมเครื่องเสร็จคงใช้เวลาไม่น้อย แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ Cloud เวลาในการเตรียมจากเป็นหลัก วัน หรือสัปดาห์ (ในระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ) จะเหลือเพียงแค่หลัก วินาที ถึงนาทีเท่านั้น ส่งผลให้สามารถลด Operation Cost ได้แบบถล่มทลาย

เมื่อเราทำการกองข้อมูลรวมกัน ทำให้ Cloud นั้นเหมือนกับ กองข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเอามาทำอะไรได้มากมาย ตัวอย่างเช่น Google Photo ที่ให้เราสามารถอัพโหลดรูปภาพได้ฟรี แต่จริง ๆ แล้ว Google ก็ได้รูปภาพมาให้คอมพิวเตอร์ของ Google เรียนรู้ ทำให้มันสามารถสร้างภาพ หรือบอกได้แม้กระทั่งว่าในรูปภาพนั้นมีอะไร ถ้าในฝั่งของ Computer Science คือเรื่องขอ Artificial Intelligence (AI) ที่จะเข้าเป็นส่วนสำคัญกับชีวิตประจำวันของเราในอีกไม่ช้า

Cloud Computing ปลอดภัยแค่ไหน ?

แน่นอนว่า การที่เราสามารถเข้าถึงก้อนเมฆของเราได้ตลอดเวลา ผู้ไม่ประสงค์ร้าย (Hacker) ก็สามารถโจมตีเราได้ตลอดเวลาเช่นกัน ฉะนั้นเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมาก

ในระบบ Cloud ของผู้ให้บริการ Public Cloud เจ้าใหญ่ ๆ ในปัจจุบัน ก็มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างจะแข็งอยู่แล้ว เผลอ ๆ มากกว่าบางระบบที่ธุรกิจรายเล็ก ๆ ใช้อยู่ซะอีก

แต่ในบริษัทที่ใหญ่มาก ๆ มันคนละเรื่องกัน เพราะพวกเขามี เงิน ในการลงทุนซื้อ Server และระบบรักษาความปลอดภัยมาใช้เอง ฉะนั้นการเก็บข้อมูลเองในบริษัทอาจจะปลอดภัยกว่าการเก็บไว้บน Public Cloud อาจจะทำให้บริษัทใหญ่ ๆ พวกนี้จะต้องตัดสินใจเลือก การใช้งานตามแต่บริษัทนั้นเอง

การเลือกใช้ Cloud ในองค์กร

อ่านมาถึงตอนนี้ บางคนก็น่าจะกำลังคิดว่า ถ้าองค์กรสักที่นึงต้องการเปลี่ยนมาใช้ Cloud จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ?

อย่างแรก และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การประเมินความลับของข้อมูล ถ้าข้อมูลในองค์กรเราเป็นข้อมูลที่ต้องเป็นความลับ และมีความอ่อนไหวสูง การไปเช่า Public Cloud อาจจะไม่ใช่คำตอบเท่าไหร่ อาจจะมีการลงทุนเพื่อสร้าง Private Cloud หรือ อาจจะทำออกมาให้รูปแบบของ Hybrid Cloud เพื่อลดค่าใช้จ่ายก็ได้เช่นกัน

[Cloud Computing Google Cloud Price Calculator][1]

เรื่องถัดมาคือเรื่องของ ค่าใช้จ่าย ใน Cloud Service นั้นจะมีรูปแบบการคิดเงินที่เรียกว่า Pay-as-you-go หรือก็คือ จ่ายเท่าที่ใช้ ซึ่งในเว็บของผู้ให้บริการ Cloud ก็จะมีหน้าสำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ดังภาพด้านบนที่เป็นของ Google Cloud ที่เราแค่ป้อนว่าเราจะใช้อะไรบ้าง เท่าไหร่ ลงอะไรบ้าง ตัวเว็บก็จะคำนวณราคาออกมาให้เรา

จากเรื่องค่าใช้จ่ายจึงทำให้ไปในประเด็นต่อไปคือ ความคุ้มค่า อันนี้ก็อยู่ที่จะประเมินกันในองค์กรแล้วว่า การย้ายระบบขึ้น Cloud มันคุ้มรึเปล่า แต่กับ Startup และ ธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่ค่อยได้มีทรัพยากรทางด้านไอทีมาก การหันมาใช้ Cloud ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะเราไม่ต้องจ้างคนเพิ่มมาดูแลระบบให้เรามากนัก และราคาในการเช่าก็ถูกมากกว่า การซื้อ Server ทั้งเครื่องมารัน ไหนจะค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ และอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น Server มีขนาดไม่พอรองรับคน ณ ขณะนั้น หรือไฟดับอะไรขึ้นมา

Case Study : Cloud Computing กับ CRM ในยุคปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์เล็กและราคาถูกลง และอินเตอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้จำนวนคนที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต นั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เกิดอีกสิ่งที่ทำให้โลกอินเตอร์เน็ตนั้นเดินหน้าต่อไปได้นั่นคือ User Generated Content (UGC) หรือข้อมูลที่ User เป็นผู้สร้างนั่นเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ เรามีข้อมูลจำนวนมากวิ่งผ่านอินเตอร์เน็ตของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งข้อมูล (Data) เหล่านี้ ถ้าแค่วิ่งผ่านมันอาจจะไม่มีค่าอะไร แต่ถ้าเราสามารถค้นหาความหมายจากข้อมูลนั้นและแปลงมันให้กลายเป็น ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ (Information) มันจะช่วยพลักดันในภาคธุรกิจมากแค่ไหนเชียว

ทุกวันนี้ หลาย ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับเทรนดังกล่าว โดยเริ่มนำข้อมูลของลูกค้ามาประมวลผล เรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของตน อาจจะมองภาพไม่ออก ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า

คงไม่มีใครในที่นี้ไม่รู้จักเว็บ E-Commerce ชื่อดังอย่าง Amazon แน่นอน เพราะเขาขายของมันแทบจะทุกอย่าง แต่ต้นจริง ๆ ของเขาเกิดจากการเป็นเว็บเพื่อขายหนังสือ ในตอนนี้ Amazon มีสำนักงาน และ Werehouse อยู่หลายแห่งทั่วโลก พร้อมกับมีหลาย ๆ บริการ เช่น Amazon Fulfillment ที่เป็นบริการ จัดการ และส่งสินค้าให้กับผู้ขายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และตัวบริษัท Amazon เองก็ต้องรับลูกค้าเป็นจำนวนมากทุกวัน หนักกว่านั้นคือช่วงเทศกาลที่คนแห่เข้ามาสั่งซื้อของเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปกติถึงหลายเท่าตัว

ถ้าเราเข้าไปซื้อของในเว็บ Amazon ในหน้าแรกเลย จะเห็นสินค้าที่เราเคยค้นหา หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเคยค้นหามาก่อน วางอยู่บนหน้าแรก สร้างกิเลสให้เราเข้าไปกดซื้อกันเลยทีเดียว

หรือถ้าเราเข้าไปในหน้าของลายละเอียดสินค้านั้น ๆ เลื่อนลงมาหน่อย ก็จะเจอประมาณว่า ซื้อพร้อมกัน 3 ชิ้นนี้สิ ลดราคาด้วยนะ มันก็ตามมาสร้างกิเลสของเราไปเรื่อย ๆ (มือมันสั่นไปหมด อยากกด Purchase) กันเลยทีเดียว

สิ่งที่ต้องการจะบอกคือ ถ้าเป็นเมื่อก่อน จริงอยู่ที่เราอาจจะเก็บ Transaction ในการเข้าถึงเว็บไซต์ของลูกค้าแต่ละคนได้ แต่คงจะไม่มีพลังในการประมวลผลที่เพียงพอในการจะแนะนำสินค้าที่เหมาะกับคนทีละคน เป็นจำนวนหลายแสนคนได้แน่ ๆ (จะไม่ขอพูดถึงเบื้องหลังว่ามันทำงานยังไงนะ บทความนี้เราให้มนุษย์อ่านนะจา)

แต่ด้วย Cloud Computing การประมวลผลข้อมูลในระดับนี้มันจะหลายเป็นเรื่องจิ๋วไปเลย เพราะคอมพิวเตอร์ที่มาใช้ในการประมวลผลมีจำนวนมากขนาดตั้งเป็น Data Centre กันเลยทีเดียว และไม่ได้มี Data Centre ที่เดียว แต่มีอยู่หลายที่กระจายอยู่ทั่วโลกเลย

ซึ่งใน Case นี้ Cloud Computing ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Customer Personalisation ขึ้นมา ทำให้ลูกค้านั้นมีประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น และระบบนี้ได้เพิ่มยอดขายให้กับ Amazon ได้อย่างมหาศาล

Case Study : Amazon EC2

อย่างที่บอกไปใน Case Study ว่า Amazon นั้นต้องรับลูกค้าที่เข้ามาซื้อของเป็นจำนวนมากแต่ละวัน ซ้ำร้ายกว่านั้น ในช่วงเทศกาล จะมีผู้เข้ามาซื้อของมากกว่าปกติหลายเท่าตัว ทำให้อาจจะประสบปัญหา Server ไม่สามารถรองรับจำนวนคนใช้ที่มากขนาดนั้นได้

ทำให้ Amazon ต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยการ ซื้อ Server เพิ่มมันเลย (ก็ใหญ่นิ เงินหนา ซื้อออะไรก็ได้ ~~ ) แต่มันทำให้วิ่งไปหาอีกปัญหาอีก เพราะคนจะเข้ามาใช้เยอะในช่วงเทศกาลเท่านั้น แต่เทศกาลมันไม่ได้มีทุกวันนี่หว่า !!

มันทำให้ Amazon ต้องเสีย Operation Cost ในการดูแล Server ทั้งหมด แต่ใช้อยู่ไม่ถึงครึ่งเท่านั้น มันจะกลายเป็นการสิ้นเปลืองไปเลย

ในเมื่อ Processing Power มันเหลือในช่วงที่ไม่ใช่เทศกาล Amazon ก็เอามาเปิดให้บริการเป็น Cloud ซะเลยในชื่อของ Amazon EC2 จนถึงตอนนี้ Cloud ของ Amazon ก็กลายเป็น Cloud Provider อีกหนึ่งเจ้าที่ได้รับความนิยมอยู่สูงมาก

สรุป

จากที่ได้เล่ามาทั้งหมดเป็นบอกได้เลยว่า Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง และเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรา ในทุกขณะที่เรายังเสพข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ตอยู่ มันซ่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าเรากำลังใช้งานมันอยู่ และเปลี่ยนชีวิตของเราไปได้อย่างไร ทางฝั่งของธุรกิจ ก็ทำให้สามารถเข้าใจฐานลูกค้าของตนเองได้มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากขึ้นเหมือนกับที่ยกตัวอย่าง Amazon ไป เขียนมายาวมาก (ยาวกว่าบทความปกติที่เขียน) และก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีสวีดัสครับ

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...