By Arnon Puitrakul - 07 กันยายน 2022
เราได้คำถามนี้มาเยอะมาก ๆ ว่า ถ้าเราเริ่มจะถ่ายรูปคล่องแล้ว เราอยากจะ Up Step ไปอีกขั้น ใช้กล้องจริง ๆ ตัวแรก เราควรจะเลือกกล้องอย่างไร ในตลาดมีกล้องให้เราเลือกเยอะมาก ๆ ตั้งแต่หมื่นต้น ๆ จนไปหลายแสนเลย เราค่อย ๆ มาตัดตัวเลือกออกกัน
ปล. เราจะขาย Sony เลยละ เพราะเราใช้ ยี่ห้ออื่น เราไม่เคยใช้ ถ้าอยากได้ยี่ห้ออื่น เราแนะนำให้ไปลองเทียบราคาดู น่าจะพอได้ Candidate มาเทียบ
เรื่องใหญ่ ๆ ที่เราอยากจะให้โฟกัสมาก ๆ สุด ๆ ในความต่างของกล้องโทรศัพท์ และ กล้องใหญ่จริง ๆ คือขนาด Sensor ยิ่งใหญ่ มันยิ่งเก็บแสงได้ดีขึ้น หมายถึง การถ่ายในที่แสงน้อยจะทำได้ดีขึ้น เก็บรายละเอียดสีและภาพได้ดีขึ้นมากเท่านั้นโดยที่กล้องโทรศัพท์ มันอยู่บนเครื่องโทรศัพท์ ทำให้ขนาดของ Sensor หรืออุปกรณ์ที่ใช้รับแสงมันเล็กมาก ๆ
ในขณะที่กล้องดิจิทัลจริง ๆ มันมี Sensor หลายขนาดให้เราเลือกเลย แบบใหญ่ ๆ ก็จะเป็นขนาด APS-C และ Full Frame (คนที่มาอ่านตอนนี้ไม่น่าไปเล่น Medium Format เนอะ คนพวกนี้รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรแล้วละ)
ถ้าเราอยากจะเทียบขนาด เอาแบบตัวเลขเลย อย่าง iPhone 13 เองขนาดตามสเปกจะอยู่ที่ 35 ตารางมิลลิเมตร แต่ถ้าเราไปดูในระดับ APS-C ขนาดมันจะโดดไป 370 ตารางมิลลิเมตร เรียกว่า 10 เท่ากว่า ๆ เลยละ และ Full Frame ที่ประมาณ 864 ตารางมิลลิเมตร ก็จะยิ่งโหดเข้าไปใหญ่
ดังนั้น ถ้าเราต้องการคุณภาพ ของภาพที่เราถ่ายให้สูงขึ้น นี่แหละ เป็นเหตุผลที่เราควรจะขยับมาใช้กล้องที่เป็นกล้องจริง ๆ ละ นอกจากนั้นมันยังมาพร้อมกับความยืดหยุ่นในบางรุ่นที่เราสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ด้วย
เรื่องแรกที่เราอยากให้คิดในการเลือกคือ ความคล่องตัว ว่าเราพร้อมที่จะแบกอุปกรณ์กล้องไปถ่ายมากแค่ไหนก่อน ถ้าเราบอกว่า เราไม่อยากจะพกอะไรไปเยอะ ๆ อยากได้กล้องตัวเล็ก ๆ เวลาเรายกมาถ่ายจะได้ไม่เป็นเป้าสายตาของคน ทำให้เราตัดกล้องไปได้เยอะมาก ๆ จะเหลือกล้องในกลุ่มพวก Compact ทั้งหลาย
โดยที่พวกนี้ เราจะต้องยอมรับเลยว่า มันจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้นะ ทำให้เขาจะมาพร้อมกับเลนส์ซูม ที่ช่วงในการซูมอาจจะกว้างมาก ๆ และค่ารูรับแสงอาจจะแคบสักหน่อยเมื่อเทียบกับกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ แต่แลกมากับน้ำหนักที่โคตรเบา เล็ก และ พกพาสะดวกมาก ๆ ส่วนพวกเรื่อง Feature ต่าง ๆ เราว่าเดี๋ยวนี้เขาก็ทำออกมาให้ Feature เรียกว่าใกล้เคียงมาก ๆ แล้วนะ
อย่างตัวที่เราดูแล้วรู้สึกเลยว่า แมร่งคือ โคตร ของ Compact เลย มาจากของ Sony ในตระกูล RX100 ซึ่ง ณ วันที่เขียน เขาก็พัฒนามาถึง Mark 7 กันแล้ว โดยที่ Sensor ที่กล้องพวกนี้ใช้ขนาดจะอยู่ที่ 1 นิ้ว เล็กกว่า APS-C อยู่แหละ แต่คุณภาพก็ดีกว่ากล้องโทรศัพท์ไปอย่างแน่นอน แต่ ราคา เรามองว่า มันน่าจะเหมาะกับคนที่ต้องการคุณภาพเดือดมาก ๆ และ จ่ายไหว ถ้าเราอยากเอาลงมาหน่อยของ Sony เองก็จะเป็น ZV-1 ราคาอยู่แถว ๆ 20,000 บาทได้ (แต่ต้องยอมรับว่า ZV-1 เขาดูออกแบบมาเพื่อเป็นกล้องวีดีโอหน่อย ดังนั้นบาง Feature เช่นพวก EVF อะไรพวกนั้นก็จะหายไป)
ถ้าเราบอกว่า เราสามารถแบกได้แล้ว ทำให้ตัวเลือกเรากว้างขึ้นมาหน่อย โดยทั้งหมดจะเป็นกล้องแบบที่เปลี่ยนเลนส์ได้หมดละ นั่นหมายถึงความยืดหยุ่นในการถ่ายภาพที่สูงขึ้นมาก ๆ หลายเท่าตัวขึ้นกับ เงิน ในการเปย์เลนส์ของเราได้เลย
ถ้างบของเราไม่เกิน 5 หมื่นบาท เราแนะนำไปเล่นในกลุ่มที่เป็นพวก APS-C จะดีกว่า พวกนี้ Sensor ขนาดใหญ่กว่าพวก Compact ขึ้นมา นั่นหมายถึงคุณภาพที่สูงขึ้นแน่นอน แต่น้ำหนักก็ยังเบากว่าพวก Full Frame มาก ๆ ที่สำคัญ พอ Sensor ขนาดเล็กลง ราคา และ น้ำหนักของเลนส์ที่เราใช้งานก็จะเล็กลงตามไปด้วย เป็น Jack of all trades ได้อยู่นะ
เรามองว่ากล้องใน Segment แบบนี้เป็นกล้องที่เราสามารถแนะนำให้ใครซื้อก็ได้ หรือถ้ารู้อยู่แล้วว่าต้องการอะไรพวกนี้ เราสามารถจัดเซ็ตเลนส์ให้เหมาะกับการใช้งานได้ด้วย พร้อมกับราคาของตัวกล้องที่ไม่โหดมาก ทำให้เราอาจจะมีเงินเหลือ หรือ ส่วนต่างเอาไปกดเลนส์ไป เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในถ่าย
ส่วนตัวเรา ก็จะมีกล้องพวกนี้เก็บไว้ตัวนึงเหมือนกัน เป็น Sony A6400 เรียกว่าเป็นกล้องตัวโปรดเราเลย ใช้งานแล้วไม่บ่นอะไรเท่าไหร่ โฟกัสไวชิบหาย แม่น คม แล้วเบา ใส่เลนส์ Sony 18-105mm ไปอีก ระยะอเนกประสงค์มาก ๆ เป็น Ultimate Travel Companian ได้เลย โหดสัส ๆ แต่สำหรับเรา กล้องพวกนี้เราเน้นเบามาก ๆ เราจะชอบติดเลนส์ 35mm ไปเดินเล่น ก็จะเป็นระยะที่ใช้งานง่าย ถ่ายอะไรก็สวย ที่สำคัญเบามาก
อันนี้เป็นรูปตัวอย่าง ก็คือ เราเองแหละ รูปนี้ถ่ายด้วยกล้อง A6400 คู่กับเลนส์ Sony FE 16-35mm F4 ZA ก็จริง ๆ เลนส์ราคาน่าจะใกล้ ๆ กับกล้องแล้ว จะเห็นว่า นี่เราใช้ A6400 ที่เป็น APS-C นะ ยังไม่ได้ไป Full Frame เลย เรายังได้ภาพที่คุณภาพโหดมากอยู่
หรือถ้าบอกว่า เหยยย ใช้เลนส์ Full Frame ขี้โกงป่าว มันแพงนะ งั้นเอาเลนส์สำหรับ APS-C ละกัน เป็นตัว 18-105mm ที่เราแนะนำละกัน จะเห็นว่าคุณภาพที่ได้ออกมา โดยเฉพาะในเรื่องของ Dynamic Range เทียบ Background กับ Foreground จะเห็นได้เลยว่า มันแยกออกมาได้ดีเลย รายละเอียดในส่วนมืดก็ไม่ได้แตกเป็นวุ้นแต่อย่างใด
ถ้ามาถึงตรงนี้แล้ว เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา เรื่องการแบกไม่ใช่ปัญหา พร้อมเข้าสู่วงการแห่งความชิบหายทางการเงินอย่างเต็มตัว เราจะพาเข้าสู่วงการกล้อง Full Frame เลย
พวกนี้ น้ำหนักจะมากที่สุดในบรรดากล้องที่เราเล่ามาแล้ว นอกจากกล้องจะหนักสุดแล้ว เลนส์ส่วนใหญ่ก็ยังมีน้ำหนักที่มากกว่าอีกด้วย เมื่อเอาเลนส์มารวมกับกล้องแล้ว ทำให้บอกเลยว่า โคตรจะหนัก แต่ถ้าเราบอกว่า เราแบกได้ และ เรามีการจัดวางแผนชุดเลนส์สำหรับงานที่เราออกไปถ่ายได้ มันก็โอเค เพราะมันให้คุณภาพที่คุ้มจริง ๆ
สำหรับในพวกนี้ มันจะมีให้เราเลือกเล่นหลายรุ่นมาก ๆ ถ้าเป็น Sony ก็จะเป็นพวกตระกูล A7, A9 และ A1 ตัวที่เราแนะนำสำหรับคนที่เริ่มต้น จะเป็นตระกูล A7 น่าจะเพียงพอมาก ๆ แล้วละ ซึ่งใน A7 มันจะมีรุ่นย่อยอีก ตามการใช้งานของเราเลย เช่น A7 เฉย ๆ จะเป็นกล้อง Hybrid ถ่ายรูปก็ได้ ถ่ายวีดีโอก็ได้ กลาง ๆ ไป หรือ A7S ก็จะเป็นกล้องที่ออกมาเพื่อให้เราถ่ายวีดีโอ เน้นพวกการจัดการกับสภาพแสงน้อย ๆ ได้ และสุดท้าย A7R ที่เน้นเรื่องของการถ่ายรูปโดยเฉพาะเลย
อย่างเราเอง เรามีต้องถ่ายทั้งวีดีโอ และ ภาพนิ่งเลย เราก็จะเลือกเป็นกล้องที่เหมาะกับงานเราเองอย่าง A7 ปกติเลย ซึ่งอย่างตัวที่เราใช้งานอยู่ก็จะเป็น A7IV หรือ A7 Mark 4 นั่นเอง ตัวนี้เราจะเอาไปใช้เวลาเราถ่ายงานที่ต้องการคุณภาพสูงหน่อย ไม่ได้แคร์เรื่องน้ำหนักมาก โดยเรามักจะติดไปกับเลนส์ช่วง 24-70mm จาก Sigma ที่ราคาไม่แพง ถูกกว่า GM ไปเท่าตัว แต่คมชิบหาย คุณภาพไม่แย่ รับได้กับเงินที่ลงไปมาก
ส่วนพวกสูงกว่านั้นอย่างพวก A9 และ A1 หรือยี่ห้ออื่น ๆ ในราคา 2-3 แสน เรามองว่า พวกนี้ไม่ใช่กล้องสำหรับคนที่เริ่มแล้ว บ้าเหรอออ พวกนี้จะเหมาะกับกลุ่มงาน Professional ไปเลย
เราต้องบอกก่อนนะว่า จริง ๆ กล้อง ไม่ว่าจะถูกหรือแพง หรือจะกล้องโทรศัพท์เองก็เถอะ เราสามารถสร้างรูปที่ดีออกมาได้หมดแหละ มันอยู่ที่ Content หรือเรื่องที่เราต้องการจะเล่ามากกว่า กล้องเป็นเพียงตัวช่วยเพื่อให้เราสร้างสรรค์ผลงานได้ง่ายขึ้น และ ปลดล๊อคเทคนิคในการถ่ายรูปได้ด้วย ถามว่า แล้วเอาตัวไหนดี เราก็มองว่า ขึ้นกับการใช้งานของเราเลย บางครั้งเราอาจจะต้องการกล้องตัวเล็ก ๆ เบา ๆ ก็ไป Compact หนักขึ้นมาหน่อย อยากเปลี่ยนเลนส์ได้ ก็ไปเล่นพวก APS-C ได้ หรือถ้าไปสุดเลยก็ไป Full Frame เลย
เคยสงสัยกันมั้ยว่า Filter ที่เราใช้เบลอภาพ ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม หรืออะไรก็ตาม แท้จริงแล้ว มันทำงานอย่างไร วันนี้เราจะพาไปดูคณิตศาสตร์และเทคนิคเบื้องหลังกันว่า กว่าที่รูปภาพจะถูกเบลอได้ มันเกิดจากอะไร...
หลังจากดูงาน Google I/O 2024 ที่ผ่านมา เรามาสะดุดเรื่องของการใส่ Watermark ลงไปใน Content ที่ Generate จาก AI วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า วิธีการทำ Watermark ใน Content ทำอย่างไร...
ก่อนหน้านี้เราทำ Content เล่าความแตกต่างระหว่าง CPU, GPU และ NPU ทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอาเข้าจริง เราจำเป็นต้องมี NPU อยู่ในตลาดจริง ๆ รึเปล่า หรือมันอาจจะเป็นแค่ Hardware ตัวนึงที่เข้ามาแล้วก็จากไปเท่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
บทความนี้ เราเขียนสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้เรียนด้านนี้แต่อยากรู้ละกัน สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงคำที่ถ้าเราทำงานกับพวก Developer เขาคุยกันบ่อย ๆ ใช้งานกันเยอะ ๆ อย่าง Database กันว่า มันคืออะไร ทำไมเราต้องใช้ และ เราจะมีตัวเลือกอะไรในการใช้งานบ้าง...