Technology

เลือกซื้อ OBDII Adapter ยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

By Arnon Puitrakul - 21 กุมภาพันธ์ 2023

เลือกซื้อ OBDII Adapter ยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

หลังจากเริ่มใช้รถ ORA Good Cat มา ในกลุ่มก็เริ่มทำ App ที่อ่านค่าข้อมูลต่าง ๆ ของตัวรถผ่านการเชื่อมต่อ OBDII ตอนที่เราหาซื้อ Adapter เพื่อมาใช้งานกับ App ก็หาข้อมูลมาเยอะอยู่เหมือนกัน จะเห็นได้ตั้งแต่ ตัวละหลักร้อย ยัน หลายพันเลย วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันว่า ทำไมตัวแพงมันถึงแพงได้ขนาดนั้น แล้วต่างจากตัวถูกยังไง

วัสดุ และ Packaging

เรื่องนี้เราไม่ขอพูดเยอะละกัน เพราะมันไม่ได้มีผลกับการใช้งานเท่าไหร่ ตัวที่มาจาก OBDLink พวกนี้จะมาเป็นกล่องดี ๆ เลย ฝาเป็นแม่เหล็กอะไรให้เราอยากดี ก็นะ ราคาหลายพันอยู่ เมื่อเทียบกับตัวถูก ๆ หลักร้อย ที่เป็นกล่องกระดาษทั่ว ๆ ไป

ส่วนพวกวัสดุของตัวอุปกรณ์เอง ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่ ทุกตัวที่เราซื้อมาลอง กับที่เราเห็นใน Lazada มันก็คล้าย ๆ กันหมด ขนาดก็คล้าย ๆ กันหมดเช่นกัน มีแค่ OBDLink LX ที่มีขนาดใหญ่กว่าชาวบ้านนิดหน่อย

ถ้าถามว่าจะมีปัญหาจริง ๆ เราว่า ก็น่าจะเป็นเพราะขนาดของ OBDLink LX นี่แหละ เพราะมันยาว แล้วตำแหน่งที่เราเสียบมันจะอยู่ใต้พวงมาลัย แล้วขาเราก็อยู่แถวนั้น ถ้าขนาดมันใหญ่ บางที เราก็จะชอบแตะตอนเราขึ้นลงรถ แค่นั้นเลย

Compatibility Protocol

เรื่องนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหากัน แต่อยากให้เช็คนิดนึงว่า รถที่เราจะเอาไปใช้มันรองรับมั้ย เพราะ รถบางคัน เขาจะใช้ OBDII นี่แหละ แต่ Protocol ที่ใช้งานจะเป็นแบบไม่เหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขาสักเท่าไหร่

OBDII Adapter บางตัวก็จะไม่รองรับ Protocol บางอย่าง เรายกตัวอย่างเช่น OBDLink LX เขาจะไม่รองรับ Protocol ที่ใช้บนรถของ Ford และ GM ดังนั้น ถ้าเราใช้รถใน 2 ยี่ห้อนี้ ก็อาจจะต้องเลื่อนไปใช้รุ่นอื่น ๆ ไป

Performance

ในแง่ของการใช้งานจริง ๆ อันนี้เราจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมาก ๆ โดยเฉพาะตัวที่ราคาหลักร้อย กับ หลักพัน เห็นความต่างเยอะมาก ๆ คือ เมื่อเรามีการดึงข้อมูลพร้อม ๆ กันหลาย ๆ Parameter เช่น เราเอง เราจะทำ Dashboard ตัวนึงแล้วบังคับให้มันเก็บข้อมูลพวกนี้เสมอ ๆ แล้วมีหลาย ๆ Parameter แล้วเราก็มีอันที่เราต้องการให้แสดงด้วย มันก็หลายตัวอยู่เหมือนกัน

ตัวที่หลักร้อย เราสังเกตเห็นได้เลยว่า Latency ของตัวถูก จะเยอะมาก ๆ ยิ่งถ้าเรากด Parameter สัก 2 หน้า Background Update แล้วเปิดอีกหน้าแสดงผล ก็คือ เริ่มช้าแล้ว แต่ตัวแพง ต้องบอกเลยว่า Latency เร็วกว่ากันเยอะมาก ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เวลาเราชะลอ มันก็เปลี่ยนค่า Update ค่าอะไรเร็วมาก ๆ

ดังนั้น ถ้าเราต้องการที่จะเอามาใช้งานจริงจัง ดึง Parameter จำนวนมาก ๆ พร้อมกัน และ ต้องการข้อมูลที่ถี่มาก ๆ การลงทุนกับ OBDII Adapter ที่ราคาสูงหน่อย ตัวที่เราแนะนำจะเป็นของ OBDLink เลย

Connectivity

มาในส่วนที่สำคัญกันดีกว่า คือ การเชื่อมต่อ โดยหลัก ๆ แล้ว OBD Adapter ที่อยู่ในท้องตลาดเยอะ ๆ จะเชื่อมต่อกัน 3 รูปแบบด้วยกันคือ Bluetooth, BLE และ WiFi

ตัวที่ราคาถูกจริง ๆ มักจะเชื่อมต่อด้วย Bluetooth เพราะพวก Board สำหรับการเชื่อมต่อมันราคาถูกมาก ๆ เลยทำให้ส่วนใหญ่ชอบเอามาใช้กัน การเชื่อมต่อโดยรวมถือว่า เรียบง่ายเลยนะ เพราะเราใช้กันมานานมากแล้ว พวกความเสถียรเอง ก็ถือว่าโอเคใช้ได้เลย ใช้งานได้ไม่มีปัญหาเลย แต่ปัญหาของ OBDII ที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth คือ มันไม่สามารถใช้งานได้กับ Apple Device ทั้งหมดเลย เพราะ Apple ไม่ให้นักพัฒนา App เชื่อมต่อด้วยวิธีการนี้

เพื่อจะให้ใช้งานได้ เลยจะต้องเลือก OBDII Adapter ที่เชื่อมต่อผ่าน BLE หรือ Bluetooth Low Energy ได้ พวกนี้ข้อดีคือ ใช้งานได้กับ Apple Device ทั้งหมดเลย ตัวที่เราใช้ก็จะเป็น OBDLink CX อ่อ กับ Android Device ก็ใช้งานได้ด้วยนะ ทำให้ถ้าเราไม่แน่ใจว่า เราจะใช้กับ Device ตัวไหน เราก็เอาพวก BLE มาก่อนก็ไกด้

และสุดท้ายคือ การเชื่อมต่อผ่าน WiFi พวกนี้คือ โทรศัพท์ของเราจะต้องเชื่อมต่อกับ WiFi ที่ OBDII Adapter ปล่อยออกมา แล้วเราก็จะให้ App มันอ่านผ่าน WiFi ไป ข้อดีคือ เราว่าเรื่องความเสถียรอะไรมันจะดีกว่าเยอะ แต่แลกมากับการใช้พลังงานที่เยอะกว่า กับ เมื่อโทรศัพท์ของเราต่อ WiFi อยู่ มันจะกลายเป็นว่า มันจะต่อ Internet ไม่ได้ ทำให้บางครั้ง ถ้าเราต้องการที่จะเชื่อมต่อ Internet ด้วยก็จบเลย เช่นเราเอง เราเขียน App สำหรับดึงข้อมูลจาก OBDII แล้ว Stream ค่ากลับไปที่บ้านเรา ถ้าเราเชื่อมต่อผ่าน WiFi ก็หมดสิทธิ์

ดังนั้น ถ้าเราเน้นเอาราคาถูก และ เราเน้นใช้ Android Device ในการเชื่อมต่ออยู่แล้ว เราว่า เสียเงินซื้อแค่ตัวที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ปกติดีกว่า แต่ถ้าเราไม่แน่ใจว่า เราจะใช้กับ Apple Device ด้วย อาจจะต้องใช้การเชื่อมต่อผ่าน BLE น่าจะดีกว่า ส่วน WiFi ณ วันนี้เราไม่รู้ว่าจะใช้ทำไมเหมือนกัน

สรุป

การเลือกซื้อ OBDII Adapter จริง ๆ ส่วนใหญ่ ไม่ได้ยากเท่าไหร่ เราเน้นแค่เรื่องของ การเชื่อมต่อมากกว่า ที่ถ้าเราต้องการจะใช้งานกับ Apple Device ให้เราเช็คดี ๆ นะว่า มันเชื่อมต่อผ่าน BLE ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ มันจะใช้ไม่ได้นะ ต้องใช้กับ Android Device ได้เท่านั้น ส่วนพวกเรื่อง Performance เราว่า คนทั่ว ๆ ไปที่อยากดูพวกค่าต่าง ๆ ไม่น่ามีปัญหาเท่าไหร่ ใช้งานได้ลื่น ๆ เลย ก็ลองไปหาดูได้ตาม Online Shopping ได้เลย

Read Next...

รวม Homebrew Package ที่รักส์

รวม Homebrew Package ที่รักส์

Homebrew เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราชอบมาก ๆ มันทำให้เราสามารถติดตั้งโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่วันนี้ เราจะมาแนะนำ 5 Homebrew Package ที่เรารักส์และใช้งานบ่อยมาก ๆ กันว่าจะมีตัวไหนกันบ้าง...

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...