Technology

เลือกซื้อ Mac Apple Silicon เอา Memory เท่าไหร่ดี ?

By Arnon Puitrakul - 03 ตุลาคม 2022

เลือกซื้อ Mac Apple Silicon เอา Memory เท่าไหร่ดี ?

ในการซื้อ Mac หนึ่งในปัญหาหนึ่งที่เราน่าจะเจอกันบ่อย ๆ คือ การที่ Apple ไม่อนุญาติให้เรา Upgrade เครื่องเองได้ ทำให้เราจะต้องทำการเลือกสเปกเครื่องที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราตั้งแต่ตอนที่เราซื้อเครื่องไปเลย คำถามนึงที่โดนถามมาเยอะมากคือ แล้ว Unified Memory เราควรจะเลือกเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอกับความต้องการของเรา

Unified Memory ใช้ทำอะไรบ้าง ?

ต้องบอกก่อนนะว่า Unified Memory ที่เรากำลังจะพูดถึงกันในบทความนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการเก็บไฟล์ของเรา อันนั้นไปอยู่กับเรื่องของ SSD ไป แต่ Memory ที่เราพูดถึงกันคือ Memory สำหรับการเก็บข้อมูลของเครื่อง เช่น เราเปิดโปรแกรม มันจะต้องมี

ทำไม Unified Memory เรื่องที่น่าตื่นเต้น
หนึ่งในเรื่องที่เรา Hype สำหรับ M1 ทั้งหลายมาก ๆ นอกจากเรื่องของการออกแบบ Processor แล้ว ยังเป็นเรื่องของการใช้ UMA หรือ Unified Memory Architecture ตอนฟังครั้งแรกคือ เรา Mind-Blown มาก ๆ เพราะเราไม่เคยเห็นการออกแบบ แบบนี้บนเครื่อง Consumer เลย วันนี้เรามาดูกันว่า ทำไมเราถึง ตื่นเต้นอะไรได้ขนาดนั้น

ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติ ก็จะเหมือนกับ RAM แต่สิ่งที่ Unified Memory เป็นจริง ๆ มันจะยิ่งกว่านั้นหน่อยนึง เราเคยเขียนเรื่องนี้ไว้แล้ว สั้น ๆ คือ มันเป็นการรวม RAM ของทั้งฝั่ง CPU และ GPU ไว้ในที่เดียวกัน ทำให้ล่นเวลา และ การทำงานในการส่งข้อมูลไปมาระหว่าง Memory ทั้ง 2 ฝั่ง

การมี Memory ส่วนนี้จำนวนมาก ทำให้เราสามารถเปิดโปรแกรมได้มากขึ้นส่วนนึง เช่น อาจจะเปิด Google Chrome 100 Tabs อะไรแบบนั้น หรือ คนที่ทำงานหนัก ๆ เช่นไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ การตัดต่อวีดีโอความละเอียดสูง Effect ซ้อนกันเยอะ ๆ ก็จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ไป เรามาดูกันบ้างดีกว่า ว่า เราควรจะเลือก Unified Memory ขนาดเท่าไหร่ ถึงจะพอกับการใช้งานของเรากัน

ถ้าเกิด Memory เต็ม เครื่องจะพัง หรือดับมั้ย ?

คำถามนี้ เราได้ยินครั้งแรกคือ ห่ะ ??? ว่าไงนะ ตกใจ เพราะ Paging Concept มันเกิด และ ถูกนำมา Implement มาหลายสิบปีแล้ว หลักการของมันง่าย ๆ คือ ในเมื่อ Primary Memory ถ้าเป็น Apple Silicon จะเป็น Unified Memory หรือ RAM ในคอมพิวเตอร์ปกติไม่พอ มันก็จะโยกข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ตอนนี้ไปไว้ใน Secondary Memory หรือ SSD และ HDD ในเครื่องของเรา เพื่อให้มีที่ใน Primary Memory เหลือไปใส่ที่เราต้องใช้เดี๋ยวนี้ แล้วพอเราต้องการใช้ของที่อยู่ใน Secondary Memory เราก็แค่ ดึงกลับมา แล้วสลับของอย่างอื่นไปแปะไว้ใน Secondary Memory เหมือนเดิมแค่นั้นเลย

ถามว่า แล้วมันจะไม่ Crash ไม่ดับอะไรใช่มั้ย อื้ม..... ในเคสส่วนใหญ่ก็ใช่แหละ แต่ถ้าเราลากไปจนสุด คือ Primary และ Secondary Memory เต็มหมดเลย ก็แตกได้เหมือนกัน แต่กว่าจะถึงจุดนนั้นได้ คือยากมาก ๆ เว้นแต่จะเอาอะไรแปลก ๆ ที่ไม่ควรรันมาใช้งานอะแหละ เช่นโปรแกรมใหญ่มาก ๆ สำหรับ Cluster แล้วฝืนเอามารันใน Laptop อะไรแบบนั้น

แต่การใช้ Paging มันก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะ ความเร็วของ Secondary Memory มันไม่ได้เร็วเท่า Primary Memory (เรื่องนี้ไปอ่านได้ในเรื่องของ Memory Hierarchy) ดังนั้น ตอนที่เราดึงกลับ มันก็อาจจะต้องใช้เวลาหน่อย ยังไม่นับว่า ตอนเราดึงเข้า/ออก มันก็ต้องใช้เวลาเหมือนกัน ทำให้ Performance อาจจะตกลงไปหน่อยในช่วงที่ Primary Memory มันเต็มนั่นเอง

8GB กับการใช้งานทั่ว ๆ ไป

การใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่นการเข้าเว็บ ดู Video ต่าง ๆ (จะ YouTube หรือ P_rnhub อะไรก็ว่ากันไป) และทำงานเอกสาร จนไปถึง งานตัดต่อวีดีโอเบา ๆ ระดับ Vlog ที่ Effect และการทำ Colour Grading ไม่ได้เยอะมาก การใช้งานที่ 8 GB ถือว่าเพียงพอกับการทำงานแล้ว

เปิดเครื่องมา ก็จะเหลือราว ๆ สัก 4 GB หรือมากกว่านั้นแน่ ๆ ทำให้เรายังมีอย่างน้อยอีกครึ่งนึงให้เราใช้งานได้ อาจจะเปิด Google Chrome อย่างเราเอง เปิดตอนนี้เพื่อทำงานเขียนบทความอะไรตอนนี้ Google Chrome ใช้อยู่ประมาณ 2-3 GB ได้ รวม ๆ กับพวกโปรแกรมอื่น ๆ ที่เราเปิด ก็น่าจะพอดีเลย ส่วนถ้าเราเปิดมากกว่านั้น เราก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Paging ช่วยเราสักนิดสักหน่อย เราว่าไม่น่าเกิน 4-5 GB หรอก ชิว ๆ

16GB กับการใช้งานกึ่ง Professional

ขยับขึ้นมาที่ 16GB พวกนี้ เราจะแนะนำให้กับคนที่ใช้งานที่หนักขึ้นมาหน่อย เช่น เราอาจจะเป็นช่างภาพแล้วเราเอามาทำงานพวก Lightroom หรือ คนที่ตัดต่อวีดีโอ อาจจะเริ่มมีการทำ Colour Grading ใช้ไฟล์วีดีโอที่ Bitrate สูง ๆ หน่อย เราว่าพวกนี้คือเหมาะมาก ๆ เลยละ

นอกจากนั้น ถ้าเราเอามาทำงานพวกนี้ Apple ก็คิดมาให้เราแล้วนะ เพราะใน Macbook Pro 14-inch M1 Pro ตัวเริ่มต้น เขาก็มาพร้อมกับ Memory ขนาด 16 GB ให้เรามาเลย โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเวลา CTO ให้นานเลย

อย่างเราทำงานใน Adobe Lightroom Classic เอง เราทำงานกับไฟล์ของกล้อง A7RIV ที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ แล้วนะ ทำงานนาน ๆ แล้วเราก็ใช้ Memory อยู่สักประมาณ 5-6 GB ได้ รวมกับ 4 GB สำหรับรันอย่างอื่นและระบบแล้วเราก็จะอยู่ที่ประมาณ 10 GB  นั่นแปลว่าจริง ๆ แล้วเราก็ยังมีพื้นที่เหลือในการทำอะไรอย่างอื่นได้อีก เช่น การต่อ Panorama และ HDR ที่เราทำกันใน Lightrooms Classic

หรือ ถ้าเราต้องทำงานพร้อม ๆ กับ Photoshop ไปด้วย เช่น อาจจะเอาไฟล์มาตัดต่ออะไรบางอย่างเพิ่ม เราก็จะต้องเปิด Lightroom คู่ไปด้วย ซึ่ง Photoshop มันก็จะกินอยู่ไม่เกิน 5 GB หรอก สำหรับเคสทั่ว ๆ ไปนะ ดังนั้น เราก็จะใช้อยู่ที่ประมาณ 15 GB เท่านั้นเอง ก็ยังถือว่าพอ อะ เราอาจจะเปิด Apple Music กับ Google Chrome เข้าไปอีก เราก็อาจจะโดนอยู่เลย 16 GB หน่อย ก็ยังถือว่า Paging ยังสามารถจัดการได้อย่างง่ายดายเลยละ

24 GB หรือมากกว่า การทำงานระดับ Professional

สำหรับขนาดของ Memory ที่มากกว่านั้น คือ 24 GB บน Macbook Air M2 จนไป ถึงระดับ 128 GB บน Mac Studio ตัวสุด ๆ เลย พวกนี้เราว่า เราไม่ต้องแนะนำอะไรมากเท่าไหร่แล้วละ มันสำหรับการใช้งานที่เฉพาะกลุ่มมาก ๆ คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะรู้ตัวอยู่แล้วว่า เขาต้องการอะไร ต้องใช้เท่าไหร่อะไรแบบนั้นมากกว่า

ส่วนใหญ่พวกนี้ เราจะแนะนำให้กับคนที่ทำงานใหญ่ ๆ เลย เช่น ถ้าเป็นสายวีดีโอ จะต้องเล่นระดับ Production ใหญ่หน่อย หรืออาจจะมีพวก VFX เยอะ ๆ ส่วนถ้าเป็นงาน Programming น่าจะเป็นพวกกลุ่มที่ Compile โปรแกรมใหญ่ ๆ บ่อย ๆ หรือรันอะไรที่มันกินเครื่องโหดมาก ๆ พวกนั้นแหละ ลงทุนไปแล้วค่อนข้างคุ้มเลย

สรุป

เท่าที่เจอหลาย ๆ คนทักมาถาม เราจะเจอเยอะมาก ๆ ว่า จะ Overestimate สเปกเครื่องที่ตัวเองต้องไปใช้ไปไกลมาก เลยทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมา หลัก ๆ ก็เพื่อให้เลือกเครื่องที่เหมาะกับการใช้งานของเรา โดยที่ไม่ต้องเจ็บตัวเยอะ เพราะต้องยอมรับเลยว่า เครื่อง Mac ทั้งหลายตอนนี้ เรามองว่า ราคาต่อ Performance มันโคตรจะถูกเลยนะ เผลอ ๆ ถูกกว่า Laptop หรือ All-in-one PC บางยี่ห้ออีกนะ กับการกินไฟที่โคตรน้อยที่เป็นเสน่ห์ของ Apple Silicon อยู่แล้ว ก็ลองเลือกตามการใช้งานของเราดูละกัน

Read Next...

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...