By Arnon Puitrakul - 27 กรกฎาคม 2017
เป็นอะไรที่โดนถามมาเยอะมาก ๆ เลยว่า "จะเลือก Laptop สำหรับเขียนโปรแกรมจะเลือกอะไรดี ?" ซึ่งแน่นอนว่า สำหรับสาวกเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อผลไม้แล้ว ก็ไม่ลังเลตอบไปอย่างรวดเร็วว่า Macbook แน่นอน
แต่อันนี้ก็อาจจะดูลำเอียงไปหน่อย วันนี้เลยจะมาเขียนเล่าคร่าว ๆ ละกันว่า ถ้าจะเลือก Laptop คู่ใจสำหรับเขียนโปรแกรมสักเครื่องเราจะดูจากอะไรบ้าง งานที่น่าจะใช้กัน ผมก็จะอ้างอิงงานที่ผมทำหลัก ๆ ช่วงนี้ก็คืองานพวก Web Development และ Data Processing ซะเป็นส่วนใหญ่
CPU ถือเป็นสมองหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้ ซึ่งตลาดในปัจจุบันก็มี CPU หลากหลายรุ่นออกมาพร้อมกับ Laptop ให้เราเลือกสรรกันมากมายหลายรุ่นมาก ๆ บางรุ่นออกมาสเปกเกือบเท่ากันต่างกันนิดเดียวยังมี ซึ่งจะต่างกันด้วย ความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed), จำนวนแกน, การปล่อยความร้อน
ซึ่งถ้าเอามาเขียนโปรแกรมไม่หนักมาก ก็เลือกเป็นสัก Intel Core i5 หรือ i7 ขึ้นไป Clock Speed สัก 2.5 - 3.0 GHz ก็น่าจะเพียงพอสำหรับงานส่วนใหญ่แล้ว (ถ้าไม่เอาไป Process Data สัก 10 GB อะไรเทือกนั้น ถ้าจะขนาดนั้นเช่า Cloud เถอะ !!!)
งานส่วนใหญ่ในปัจจุบัน 4 GB อาจจะไม่เพียงพอซะแล้ว เพราะเราต้องเปิดอะไรมากมาย ไหนจะเป็น Facebook สำหรับตามดราม่า, Youtube ฟังเพลง, Text Editor, Command Line และ Tool อื่น ๆ เช่น VM อีก (Docker รันทีก็ทำเอาอ้วกแล้ว)
ฉะนั้นขั้นต่ำที่ผมแนะนำจะอยู่ที่สัก 8 GB เป็นขั้นต่ำเลย แต่ถ้ามีเงินหน่อยแนะนำให้กระโดดไป 16 GB เลยจะได้ไม่แน่นมาก ตอนนี้ใช้ 8 GB อยู่ก็แทบจะไม่พอคือแน่นมาก ๆ เอาจริง ๆ แค่เปิด Youtube, Facebook และ Tab อื่น ๆ ใน Google Chrome ก็แทบจะเต็มแล้ว
เรื่องของ Graphic Card ก็เป็นอีกเรื่องที่เอามาดูกัน และก็เกิดคำถามว่า จะเอาการ์ดจอ On-Board หรือ การ์ดจอแยกดี ?
ก็ถ้าบอกว่าซื้อมาเขียนโปรแกรม เราก็ไม่ต้องไปวอแวกับการ์ดจอมากก็ได้ เอาเงินไปลงกับอย่างอื่นดีกว่า คุ้มกว่าเยอะ การ์ดจอ On-Board สมัยนี้ก็สามารถทำงานพื้นฐานได้หมดแล้ว แค่เล่นเกมหนัก ๆ ไม่ไหวเท่านั้นเอง
แต่ถ้าต้องเขียนเกมอันนี้จะเป็นอีกเรื่องเลยนะ ถ้าเป็นเคสนี้แนะนำให้ไปการ์ดจอแยกเลย น่าจะสัก GTX 1060 เทียบเท่า หรือมากกว่านั้นก็ได้ เอาให้เป็นเลขด้านหลังเป็น 60 น่าจะกำลังดี ในฝั่งค่าย Nvidia หรือเทียบเท่าในฝั่งของ AMD
เรื่องของการเก็บข้อมูลก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในปัจจุบันมีอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลอยู่ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ Magnetic Disk หรือ HardDisk จานหมุนที่เรารู้จักกันดี และ SSD หรือ Solid State Disk ที่เป็นแบบใหม่ แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
Magnetic Disk เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เราใช้กันมานานแล้ว มีหลากหลายประเภทให้เราเลือกซื้อกันตั้งแต่ขนาด 500 GB จนไปถึงระดับ 2-4 TB และรอบความเร็ว 5400 RPM และ 7200 RPM (10,000 RPM เป็น HDD สำหรับ Workstation
Solid State Disk หรือ SSD ก็เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่ใหม่กว่า เร็วกว่า จัดเก็บได้นานกว่า HDD ธรรมดา ที่มาพร้อมกับขนาดตั้งแต่ 64 GB จนถึง 2-4 TB แต่ด้วยราคาที่แพงโคตร ๆ เลยทำให้ต้องคิดหนักในการซื้ออยู่
ในการทำงานผมแนะนำให้ไปใช้ SSD ที่ 256 GB เป็นขั้นต่ำ แต่ถ้ามีเงินก็ไป 512 GB หรือ 1 TB ไปเลย เพราะต้องเอามาลง Tool เยอะมาก ๆ และ Tool สมัยนี้กินเนื้อที่ยังกะหิวมาจากไหน แถมยังต้องมี Image File อะไรมากมายไปหมด
ส่วน HDD ธรรมดาไม่ค่อยแนะนำเอามาเป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน แนะนำให้ซื้อ Ex.HDD สักลูกมาเพื่อ Backup หรือเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเองจะดีกว่า ส่วนตัวผมก็ใช้ MacBook Pro ที่มากับ SSD ขนาด 256 GB และซื้อ Ex.HDD 2 TB มา Backup และเก็บภาพเพิ่มเติม
แบตเตอรี่ อาจจะไม่ใช้เรื่องใหญ่เท่าไหร่ ถ้าเราไม่อินดี้ขนาดไปนั่ง Coding ริมทะเลอะไรก็แล้วไป เพราะส่วนใหญ่เราคงจะนั่งทำงานอยู่ในร้านกาแฟ หรือออฟฟิศที่สามารถเสียบปลั๊กได้ตลอดอยู่แล้ว สัก 6 ชั่วโมงก็น่าจะกำลังดีเลยละ
แนะนำว่าให้เข้าไปอ่านรีวิวจากที่ต่าง ๆ จะช่วยได้เยอะมาก เพราะบางที Brand เคลมไว้ว่า 6 ชั่วโมงจริง แต่ถ้าเอามาใช้จริงอาจจะเหลือน้อยกว่านั้นก็ได้ ดูรีวิวจะดีที่สุด
เราอาจจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ถ้าเราซื้อ Laptop มาเขียนโปรแกรมเราจะใช้ Keyboard เยอะมาก ๆ ฉะนั้นการเลือกเครื่องที่มี Keybord ที่ดีก็ทำให้เราสบายอารมณ์ในการทำงานมากขึ้นมาก ๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การลองไปเล่นของจริงก่อนจะซื้อ บางเครื่องอาจจะมากับ Keyboard ที่ปุ่มเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตื้นลึกไม่เท่ากัน มันก็อยู่ที่เราชอบว่า พิมพ์แบบไหนแล้วสบายกว่ากัน
และอีกฟีเจอร์ที่บางทีจะติดมาด้วยคือ Back-lit Keyboard หรือ Keyboard ที่มีไฟด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ เพราะบางเครื่องก็มาพร้อมกับ ไฟสีขาวปกติ บางรุ่นก็มาเป็น RGB อลังไปเลย หรือบางรุ่นไม่มี อันนี้ก็แล้วแต่ชอบ แต่ถ้าต้องเอาไปใช้ในที่มืดบ่อย ๆ แล้ว ก็แนะนำให้ซื้อที่มีไฟ อาจจะเป็นไฟขาวธรรมดาเพื่อประหยัดงบ
เวลาเราทำงานพวก Coding ส่วนใหญ่เราก็ชอบพกพามันออกไปทำงานนอกสถานที่บ่อย ๆ (หรือเราเป็นคนเดียวกว่า...) ฉะนั้นเรื่องของการพกพา โดยเฉพาะน้ำหนัก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ลองนึกภาพ ถ้าเราต้องแบกเอกสารสัก 200 กรัม, Laptop สัก 2 กิโลกรัม ยังไม่รวม Adaptor อีกสัก 500 กรัม ไหนจะอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ อีก ตีเป็นทั้งหมดก็ร่วม ๆ 3 กิโลกรัมที่เราต้องแบกเดินทางอีก คงไม่ใช่เรื่องตลกเท่าไหร่
ฉะนั้นน้ำหนักที่ผมแนะนำจะอยู่ที่ 1.5 - 2.0 กิโลกรัม หรืออาจมากกว่านั้นนิดหน่อยก็แล้วแต่ แต่อย่าลืมว่า น้ำหนักเครื่องที่ Brand บอกมานั้นยังไม่รวมน้ำหนักของ Adaptor อีกนะ ฉะนั้นศึกษาให้ดีก่อน
ที่เขียนมาทั้งหมดก็น่าจะครอบคลุมเรื่องส่วนใหญ่หมดแล้ว จะมีก็เรื่อง ตังค์ นี่แหละ ก็อาจจะปรับลดสเปกตามจำนวนเงินที่มี และควบคุมค่าใช้จ่ายดี ๆ เชื่อเถอะว่า มันไม่ได้จบแค่ค่าเครื่องเดี๋ยวอยู่ ๆ มันจะมีอะไรงอกออกมา (พี่ ๆ ขอเพลงที่มีเงินออกมาหน่อย !!)
บางทีการใช้ Macbook ตามสมัยนิยมก็ไม่ได้ดีเสมอไป (แถมแพงด้วย) ก็อยากจะแนะนำว่า ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็น่าจะไปลองดูยี่ห้ออื่น ที่ราคาเดียวกัน ก็ทำให้เราได้สเปกและวัสดุที่ดีกว่าได้เช่นกัน
และทั้งหมดนี่ก็คือ คำแนะนำง่าย ๆ ในการซื้อ Laptop สำหรับการเขียนโปรแกรมละกัน จริง ๆ เอาไปปรับใช้กับคนที่ซื้อเครื่องมาทำงานจริงจังบางอย่างได้เหมือนกัน แต่อาจจะต้องมีการปรับลดสเปกบางส่วนเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับงานที่เราทำ
สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงคือ งานที่เราจะทำ ว่าสเปกแค่ไหนพอ แค่ไหนเกิน ไม่งั้นมันจะเหมือนกับ เราซื้อที่สัก 2000 ตารางเมตรอยู่ แต่สร้างบ้านแล้วอยู่แค่ 20 ตารางเมตรอะไรแบบนี้ ที่เหลือก็เสียเงินเปล่า ๆ ไง ก็หวังว่าจะช่วยตอบคำถามคนที่กำลังจะซื้อ Laptop ได้นะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...