By Arnon Puitrakul - 10 เมษายน 2015
สวัสดีฮ่ะ! นี่ก็ตอนที่ 2 แล้วหลังจากที่เขียนตอนที่แล้ว แล้วหายไปหลายวันอยู่ วันนี้กลับมาแล้ว กับตอนที่ 2 เย้ๆๆ อ่อ ลืม สวัสดีปีใหม่ไทยล่วงหน้านะครับ
มาเข้าเนื้อหากันเลย วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ตัวแปร หรือ Variable
จากตอนแรกที่เราเขียนกันเมื่อ EP. ที่แล้ว เราก็ได้แค่ส่งข้อมูลออกทางหน้าจอ แต่ข้อมูลนั้นก็ตายตัว ตายคาที่อยู่ตรงนั้น แต่ตัวแปรจะเป็นตัวเก็บค่าอะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ **งงล่ะสิ!! **เอางี้มาลองดู กันก่อน เราจะมาลองเขียนโปรแกรมบวกเลขง่ายๆกัน (ใครบวกเลขไม่เป็นไปหัดมาก่อนนะ)
#include <stdio.h>
int main ()
{
int a;
a=5;
printf("%d",a+1);
return 0;
}
ก่อนอื่นเราก็เขียน include กับ main function ตามปกติ เหมือนตอนที่แล้วเลย แต่สังเกตมั้ยครับมันอะไรงอกออกมา นั่นคือ int a;
บรรทัด int a; จะเป็นการประกาศตัวแปรที่เป็น Integer หรือ จำนวนเต็ม ที่ชื่อว่า a นั่นเอง!
เพราะฉะนั้นการประกาศตัวแปรจะทำได้ง่ายๆดังนี้
dataType VarName;
dataType คือประเภทของตัวแปร เช่น int, double, long เป็นต้น และ VarName นั่นคือชื่อตัวแปรที่เราตั้งเองตามใจชอบ (อย่าตั้งชื่อแปลกๆนะเฮ้ย!! ตั้งให้มันเข้ากับสิ่งที่มันเก็บด้วยนะ)
อีกเรื่องนั่นคือ ด้านใน printf มันเปลี่ยนไปนิดหน่อย จาก EP. ที่แล้วเรารู้ว่า คำสั่ง printf คือคำสั่งที่เอาข้อความออกทางหน้าจอ แล้วก็ให้ใส่ข้อความลงใน "" ได้เลย แต่อันนี้เราต้องการที่จะแสดงค่าตัวแปรออกมา เลยต้องใส่ %d (ขึ้นกับประเภทของตัวแปร เดียวจะบอกด้านล่างล่ะกัน) แล้วตามด้วย , (comma) และชื่อตัวแปรที่เราต้องการแสดง ถ้ามีหลายตัวก็ใส่ไปเรื่อยๆเลยเช่น
printf("%d %d %d",a,b,c);
ก็ไม่ยากครับ แค่ชื่อตัวแปร = ค่าที่ต้องการ
a = 5;
หรือจะกำหนดให้มันตอนประกาศไปเลยก็ได้ เช่น
int a = 5;
เหมือนที่ใช้ให้ดู เมื่อโค๊ตด้านบนเลย พวก +,-,*,/ อะไรแบบนี้ พวกนี้ก็ใช้ปกติได้เลย ง่ายๆ
แต่ๆๆ มันจะมี Operator นึงพิเศษหน่อย เรียกว่า Modulus หรือเรียกสั้นๆว่า mod มันคือการหารครับ แต่เอาแต่เศษมาอย่างเดียว เช่น
5 mod 2 มันจะได้ 1 ง่ายมากๆ
มาดู Operator อีกแบบนึง เรียกว่า Overloaded Operator อารมณ์มันคือ Operator Version ขี้เกียจนั่นเอง เป็นยังไง มาลองดูกัน
a++;
b--;
a += b;
a -= b;
a /= b;
สำหรับ 2 อันแรก จะเป็นการ บวก 1 หรือลบ 1 ขึ้นกับ เครื่องหมายที่เราใส่เช่น a-- มันก็คือให้ a มีค่าเป็น a-1 นั่นเอง (จริงๆแล้ว a++ เขียนเป็น ++a ก็ได้เหมือนกัน มันจะต่างตอนที่เราเขียนสูงไปหน่อย เดียวค่อยสอนใน EP ต่อๆไป a-- ก็ได้ด้วยน้าา เดี๋ยวน้อยใจ)
ส่วนอีก 3 อันด้านล่าง จะเป็นการทำกับ ตัวแปรอื่น เช่น a+= b; คือ a = a+b; ตัวอื่นๆก็เช่นกันต่างไปตามเครื่องหมายที่เราใส่เข้าไป!
สำหรับวันนี้ก็หมดเพียงเท่านี้ เรื่องแรกๆมันง่ายๆจริงนะ เขียนสั้นๆก็จบและ ดีๆๆ สวัสดีปีใหม่ไทยล่วงหน้า และ เที่ยวสงการต์อย่างปลอดภัยนะครับ สวัสดีครับ //ทำไมเหมือนรายการทีวีจังว่ะ!!!
Obsidian เป็นโปรแกรมสำหรับการจด Note ที่เรียกว่า สารพัดประโยชน์มาก ๆ เราสามารถเอามาทำอะไรได้เยอะมาก ๆ หนึ่งในสิ่งที่เราเอามาทำคือ นำมาใช้เป็นระบบสำหรับการจัดการ Todo List ในแต่ละวันของเรา ทำอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า เราจัดการะบบอย่างไร...
อะ อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง เป็นยังไงบ้างละ เมื่อหลายเดือนก่อน เราไปเล่าเรื่องกันขำ ๆ ว่า ๆ จริง ๆ แล้วพวก Loop ที่เราใช้เขียนโปรแกรมกันอยู่ มันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่เราใช้งานกันมันพยายาม Abstract บางอย่างออกไป วันนี้เราจะมาถอดการทำงานของ Loop จริง ๆ กันว่า มันทำงานอย่างไรกันแน่ ผ่านภาษา Assembly...
นอกจากการทำให้ Application รันได้แล้ว อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือการวางระบบ Monitoring ที่ดี วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการ Monitor การทำงานของ MySQL ผ่านการสร้าง Dashboard บน Grafana กัน...
จากตอนที่แล้ว เราเล่าในเรื่องของการ Harden Security ของ SSH Service ของเราด้วยการปรับการตั้งค่าบางอย่างเพื่อลด Attack Surface ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากใครยังไม่ได้อ่านก็ย้อนกลับไปอ่านกันก่อนเด้อ วันนี้เรามาเล่าวิธีการที่มัน Advance มากขึ้น อย่างการใช้ fail2ban...