Technology

เลือกกล้อง Sensor APS-C หรือ Full Frame อันไหนดีกว่ากัน

By Arnon Puitrakul - 11 สิงหาคม 2023

เลือกกล้อง Sensor APS-C หรือ Full Frame อันไหนดีกว่ากัน

บทความนี้เกิดจากเพื่อนเรามาปรึกษาเราว่าจะซื้อกล้องแล้วนางจะไป Full Frame เลยบอกว่า ใจเย็นก่อน ๆๆๆ  ทำให้เกิดคำถามว่า เออ ถ้าเราจะซื้อกล้องสักตัว เราควรจะใช้กล้องที่มี Sensor ขนาด APS-C หรือ Full Frame เลย

TLDR; Sensor แต่ละขนาด นางก็มีความเก่งที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราคงไม่เอามาเทียบว่าใครดีกว่าหรอก เราเทียบได้ว่า ใครเหมาะกับงานไหน หรือเหมาะกับสถานการณ์ไหนที่สุด เพราะเราเองก็มีทั้งกล้องที่เป็น Full Frame และ APS-C อย่างละตัวเหมือนกัน

APS-C และ Full Frame

ก่อนอื่นเลยนะ เราต้องบอกก่อนว่า กล้องที่เป็น APS-C และ Full Frame มันก็คือกล้องเหมือนกันนี่แหละ ถ่ายรูปทำอะไรได้เกือบ ๆ เหมือนกันหมดเลย แต่สิ่งที่มันต่าง แยกประเภทออกจากกันนั่นก็คือ ขนาดของ Sensor

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วในกล้อง Mirrorless สมัยนี้ เราก็หากล้องได้ 3 ขนาด Sensor หลัก ๆ คือ Micro Four-Thrid, APS-C และ Full Frame ขนาดก็จะไล่ตั้งแต่เล็กสุดไปใหญ่สุด (ไม่นับพวก Medium Format เช่น Fujifilm GFX100S พวกนั้น คนซื้อเขารู้อยู่ละว่าเขาต้องการอะไร ไม่มาอ่านบทความนี้หรอก ฮ่า ๆ) อย่างในฝั่ง Mico Four-Third ผู้เล่นใหญ่ก็จะเป็น Panasonic และ Olympus เท่านั้น แต่ถ้าขึ้นมา APS-C และ Full Frame ผู้เล่นในตลาดจะเยอะมาก ๆ เป็นขนาดของ Sensor ยอดฮิตในท้องตลาดเลยก็ว่าได้

โดยธรรมชาติแล้ว เราต้องเข้าใจว่า การถ่ายภาพคือ การบันทึกข้อมูลของแสงเข้าไปในกล้อง ซึ่งอุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการเก็บแสงเข้ามา มันคือ Sensor ดังนั้น ยิ่ง Sensor ขนาดใหญ่ขึ้น มันก็จะทำให้เราสามารถรับแสงได้เยอะมากขึ้น กลับกัน ถ้า Sensor เล็ก ก็จะทำให้เรารับแสงได้น้อยลง

Crop Factor

ถ้าใครเคยฟังพวกคนเล่นกล้องพูดกันว่า เออ APS-C มันเป็นกล้อง Crop 1.5X นะนั่นนี่ ภาพที่เราคิดคือ ภาพที่เราได้ มันจะเหมือนโดน Crop ใช่ปะ จริง ๆ แล้วไม่เลย มันไม่ได้มีการ Crop อะไรออกทั้งนั้น แต่มันคือ เมื่อเราเทียบกับ Full Frame เราจะเท่ากับระยะเลนส์อันที่ใส่คูณด้วย 1.5 เท่านั้น หรือถ้าเราใช้ Micro Four-Third ไปมันก็จะมี Crop Factor เป็น 2X มันไม่ได้มีการ Crop อะไรเลย ดังนั้นมันคือแค่การเปรียบเทียบเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องไปตื่นอะไรเท่าไหร่

เรามาทดลองกันดีกว่า กล้องที่เราจะเอามาใช้จะเป็น Sony A7IV ตัวแทนจากกล้อง Sensor Full Frame และ Sony A6400 ตัวแทนจากกล้อง Sensor ขนาด APS-C เราจะวางกล้องที่ Mini Tripod ที่วางตำแหน่งเดียวกันทั้งหมด ใช้เลนส์เป็น Zeiss Batis 25mm f/2.0 ส่วนแต่ละกล้องเราจะตั้งให้อยู่ในโหมด P และการชดเชยแสงเป็น 0.0 โดยวัดแสงแบบ Centre Weighted กับ ISO เป็น Auto ไป

จากการทดลองตอนนี้เราจะเห็นว่า ตัวตุ๊กตา ของฝั่งภาพที่มาจาก A6400 มีขนาดที่ใหญ่กว่า กว่าจากฝั่ง A7IV นิดหน่อย ทั้ง ๆ ที่เราใช้ระยะเลนส์ที่เท่ากันเป๊ะ ๆ จริง ๆ คือเลนส์ตัวเดียวกันเลย

แล้วถ้าเราลองอะไรสนุก ๆ ขึ้นหน่อย ๆ ไหน ๆ เราบอกว่า ถ้าเป็น APS-C ถ้าจะให้มุมมองภาพมันใกล้เคียงกับ Full Frame เราจะต้องเอาระยะคูณ 1.5 ไป งั้นเราเปลี่ยนตัวเลือกเลนส์เข้าไปหน่อย เพื่อความง่าย เราจะเปลี่ยนเป็นเลนส์ซูมละกัน เอาเป็น Sigma 24-70mm f/2.8 DG DN แล้วฝั่ง Full Frame เราจะหมุนอยู่ที่ 24mm และ APS-C เราจะหมุนเพิ่มขึ้นมา 1.5 เท่า ก็จะกลายเป็น 36mm หมุนยากอยู่นะ ฮ่า ๆ

ผลที่ออกมา เราก็จะเห็นว่า ภาพที่เราได้ มุมมองภาพมันจะใกล้เคียงกันพอสมควรเลยแหละ แต่ถ้าเราลองดูความโค้งของภาพดู เราจะเห็นว่า เห๋ ฝั่งของ APS-C มันจะโค้งกว่ากันนิดหน่อยนะ นั่นเป็นเพราะว่า ในตัวเลนส์จริง ๆ เลย ฝั่ง APS-C เราใช้ระยะที่กว้างกว่านั่นเอง

ดังนั้น โอเคนะ ถ้าจะบอกว่า ระยะมุมมองภาพมันต่างกัน 1.5 เท่า แต่ถึงเราจะยืนที่เดียวกันเป๊ะ ๆ แล้วใช้เลนส์ระยะเท่ากัน แต่ความโค้งที่เกิดจากระยะของเลนส์มันก็ยังต่างกันอยู่ดี ซึ่งพวกนี้แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้เลนส์ที่คุณภาพสูงขึ้น มีชิ้นเลนส์ลดอาการเบี้ยวมากขึ้นมันก็ได้เหมือนกัน

ถามว่า จากความแตกต่าง ทำให้เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง คำตอบก็คือ เราสามารถใช้ประโยชน์จากการที่ตัวกล้องมันมี Crop Factor เมื่อเทียบกับ Full Frame ได้ดีมาก ๆ เมื่อเราต้องการจะถ่ายภาพระยะระดับ Telephoto แทนที่เราจะต้องกดเลนส์ที่ระยะไกลมาก ๆ เราก็สามารถใช้เลนส์ที่ระยะมันถอยลงมานิดหน่อยหายไป 1.5x ก็ได้ ส่งผลให้น้ำหนักมันเบาลง และ ขนาดเลนส์ก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน นั่นแหละ คือ ข้อดีของ APS-C ตัวนึงเลยก็ว่าได้

Bokeh Effect

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หลาย ๆ คนยอมกระโดดไปเล่นพวก Full Frame เป็นเพราะ DoF หรือ Depth of Field ของกล้อง Full Frame มันแคบกว่ากล้อง APS-C ทำให้เวลาพวกกล้อง Full Frame กดมา มันจะมี Bokeh Effect หรือการละลายหลังที่เบลอกว่ามาก ๆ ซึ่งเป็นอะไรที่ APS-C มันก็ลอกไม่ได้ เพราะมันเป็นที่ขนาดของ Sensor โดยตรง นั่นคือเหตุผลว่าทำไม พวกกล้องโทรศัพท์ Sensor ขนาดเล็กจิ๋ว เราใช้ f/1.4 หรือกว้างกว่านั้น มันก็ยังไม่เบลอหลังเท่ากล้องใหญ่ f/2.8 ด้วยซ้ำ

เพื่อเป็นการทดสอบเรื่องนี้ เราเอารูปแรกที่เราถ่ายมาลอง Zoom เอาเฉพาะด้านหลังละกัน อันนี้เป็นหูแมสที่ห้อยอยู่ข้างหลัง เราจะเห็นเลยว่า ภาพจาก A7IV ที่เป็นตัวแทนจาก Full Frame เบลอหูแมสได้มากกว่าอีกภาพที่มาจาก A6400 ที่เป็นตัวแทน APS-C อยู่หน่อย ๆ ได้เลย

ความต่างนี้ เราสามารถเอามาใช้ให้เป็นข้อดีได้ โดยเฉพาะถ้าเราต้องการที่จะถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอมาก ๆ ก็ไม่ปฏิเสธเหมือนกันว่า การไป Full Frame เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย แต่ ๆ ถามว่า แล้ว APS-C สามารถทำให้หลังเบลอได้เท่ากันมั้ย ก็เป็นไปได้นะ แต่เราจะต้องเลือกเลนส์ที่อาจจะมี Aperture ที่กว้างกว่าหน่อย เช่น จากเดิมใน Full Frame เราไป 1.8 แต่ใน APSC เราอาจจะต้องลงไปถึง 1.4 นั่นก็นำไปมาสู่น้ำหนักที่ไม่แน่ใจว่ามันจะงอกออกมาอีกเท่าไหร่ ไหนจะเรื่องของราคาอีก

Low Light Performance

เรื่องถัดไป หลาย ๆ คนชอบพูดว่า กล้อง Full Frame มันสามารถเก็บพวก Dynamic Range ได้ดีกว่าเยอะมาก ๆ อะเรื่องนี้ เราก็ไม่เถียงเลย เพราะ Full Frame มีขนาด Sensor ที่ใหญ่กว่ามาก ดังนั้น มันสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดมากกว่ามาก ๆ ประกอบกับพวกความ ยืดหยุ่น ที่มันทำให้เราสามารถดึงส่วนมืด หรือสว่างได้เยอะกว่าจริง ๆ

เมื่อ Full Frame มี Sensor ที่ใหญ่กว่า ทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า นั่นหมายถึงพวก สัญญาณรบกวน หรือ Noise ที่ทำได้ดีกว่าด้วยเช่นกัน ถ้าเราดูจากรูปด้านบน เราใช้เลนส์ และ Config เดียวกันทั้งหมดเลย ถ้าเราลองซูมดูตรงด้านหลังของหน้าจอคอม เราจะเห็นเลยว่า Noise จากกล้อง A7IV ที่เป็นตัวแทน Full Frame น้อยกว่ารูปที่ถ่ายจาก A6400 ที่เป็นตัวแทนของ APS-C พอสมควรเลย

ทำให้แน่นอนว่า มันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเราใช้ขนาด Sensor ใหญ่ขึ้นมันจะเก็บข้อมูลได้เยอะขึ้น ส่งผลไปถึงเรื่องสัญญาณรบกวนที่มีน้อยกว่ามาก ๆ แต่ถามว่า มันถ่ายได้มั้ย เราคิดว่า ในสถานการณ์ทั่ว ๆ ไป มันไม่ต่างกันเลยนะ แต่ถ้าเราลองในสถานการณ์ที่มัน Extreme จริง ๆ อันนั้นแหละมันเกิดได้ แต่ถามว่า เราจะอยู่ในสถานการณ์นั้นบ่อยขนาดไหน นั่นแหละ น่าจะเป็นประเด็นที่เราอาจจะต้องพิจารณา ถ้าเออ เราถ่ายกลางคืนบ่อย เราว่า การไปเล่น Full Frame มันดีกว่าจริง ๆ แต่ถ้าเราบอกว่า อ่อ เราก็ถ่ายทั่ว ๆ ไป การจะโดนกลางคืน เราว่ามันไม่เยอะมากหรือครึ่ง ๆ เท่านั้นเอง ทำให้การไปเล่น APS-C อาจจะตอบโจทย์มากกว่าก็ได้

Setup Weight

เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับหลาย ๆ คนมาก ๆ โดยเฉพาะมือใหม่ คือ เรื่องน้ำหนักที่เราต้องแบก ถ้าเราเอาไปใช้งานท่องเที่ยวถ่ายรูปกัน เราต้องเดินทางนั่นนี่ การใช้กล้องที่น้ำหนักเบา มันทำให้เราคล่องตัวกว่าจริง ๆ

พอกล้องขนาด Sensor เล็กลง เราอาจจะ Compromise เรื่องต่าง ๆ ที่เราพูดถึงไป แต่มันทำให้น้ำหนักมันเบาลงได้เยอะมาก ๆ พอ Sensor เล็ก พื้นที่หน้าเลนส์ที่เราจะต้องใช้ มันก็น้อยลง กับทำให้ต้องใช้พวกชิ้นเลนส์พิเศษน้อยลง นั่นน้ำไปสู่น้ำหนักที่ลดลงแบบฮวบฮาบมาก ๆ

เราเริ่มจากขนาดกล้องกันก่อน ยกตัวอย่างเป็นกล้องที่เราใช้งานจริงเลยก็ได้คือ Sony A7IV นำ้หนักไม่รวมเลนส์จะอยู่ที่ 658 กรัม แต่ถ้าเป็น Sony A6400 น้ำหนักมันจะลงไปเหลือ 403 กรัมเท่านั้น หรือห่างกัน 255 กรัมเลยนะ ถือว่าเยอะมาก ๆ ไหนจะเรื่องขนาดกล้องที่เล็กลงได้เยอะมาก ๆ อีก (โอเคแหละ บางคนมือใหญ่อาจจะบ่นว่าพวก APS-C พอมันเล็กพวก Grip มันเล็กตามจับยาก ก็หาพวก Grip มาใส่แต่งได้)

ไปที่เลนส์กันบ้าง ปกติแล้ว ส่วนใหญ่ To-Go Lens เราจะชอบใส่ช่วง 35mm ช่วงระยะโปรดเราเลย กับ f/1.8 ละกัน เป็นตัวที่ราคาไม่แรง และ อเนกประสงค์มาก ๆ ถ้าเป็นตัวสำหรับ Full Frame จะมี Sony SEL35F18F อันนี้หนักอยู่ 280 กรัม แต่ถ้าเป็น ระยะเดียวกัน และ Aperature เท่ากันจะหนัก 154 กรัมเท่านั้น ห่างกัน 126 กรัม หรือขีดนิด ๆ

เมื่อเรารวมกล้อง และ เลนส์เข้าด้วยกันนี่แหละ ทำให้ Full Frame อาจจะหนักไปได้ถึง 938 กรัม แต่ใน APS-C หนักอยู่ 557 กรัมเท่านั้น ก็ 9 ขีดเกือบ ๆ โล กับ ครึ่งโล เราว่า ก็เห็นชัดแล้วนะว่า มันหนักต่างกันมากขนาดไหน

ดังนั้น ถ้าเราต้องการความคล่องตัว นี่แหละคือจุดที่เป็นข้อดีของ APS-C มาก ๆ น้ำหนักที่น้อยกว่า ทำให้เราเดินทาง หรือถ่ายอะไรได้สนุกกว่า กินแรงน้อยกว่า หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า การแบกกล้องหนักอีกหน่อยมันไม่อะไรหรอกน่า ลองเป็นคนต้องแบกกล้องแล้วไปโดนแดดร้อน ๆ ต้องถ่ายรูปอีก บอกเลยว่า 10 กรัม เราก็เอาโว้ยยย หรือการที่น้ำหนักมันลดลง เราอาจจะไปเพิ่มเลนส์ที่ยัดลงกระเป๋าไปก็ได้เหมือนกัน ทำให้เราได้เลนส์หลากหลายช่วงมากขึ้น และ ได้คุณภาพที่สูงขึ้นที่เราพกเลนส์ Fixed ไปมากขึ้นได้

Price

สุดท้าย มันก็จะไปส่งผลถึงราคาเยอะมาก ๆ อันนี้จะเห็นได้ชัดมาก ๆ เพราะเมื่อ Sensor เราใหญ่ขึ้น มันก็ใช้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแน่นอน แล้วมันก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ข้างในที่สเปกสูงขึ้นอีก ไหนจะพวก Feature ที่ชอบยัดมาให้ Full Frame ก็จะทำให้ราคาของ Full Frame จะสูงกว่า APS-C พอสมควรได้เลย

ยกตัวอย่างเช่น A7IV ราคาเฉพาะ Body ศูนย์ไทย จะอยู่ที่ 82,990 บาท แต่ A6400 อยู่ที่ 29,990 บาท อันนี้คือชัดเจนเลยเนอะว่า มันต่างกันขนาดไหน ต่างครึ่งแสนได้เลย นี่ขนาดเรายังไม่ได้เทียบกับพวก Full Frame รุ่นสูง ๆ อย่าง Sony A1 นั่นเฉียด ๆ 2 แสนได้เลย

กับเลนส์อย่าง อย่างที่บอกว่าพอพื้นที่ Sensor มันลดลง เราก็สามารถลดขนาดกระจกได้ ไหนจะพวกชิ้นเลนส์พิเศษอีก ก็ทำให้ราคามัน Drop ไปได้อีกเช่นกัน เราเทียบเอาเป็นเลนส์ตัวเดียวเที่ยวรอบโลกมาใส่ละกัน ฝั่ง APS-C เราเลือก Sony E PZ 18-105 mm อันนี้อยู่ที่ 19,990 บาท ส่วนตัวแทน Full Frame เราขอเอา Sony 24-105mm ราคาจะอยู่ที่ 46,990 บาท ก็ต่างกันเยอะอยู่ รวมกับราคากล้องแล้ว มันก็จะยิ่งโดดหนักเข้าไปใหญ่เลยทีเดียว เรียกว่า บานปลาย ได้ง่าย ๆ

ทำให้ในเรื่องของราคาฝั่ง APS-C แอบได้เปรียบกว่ามาก ๆ เพราะได้ราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเยอะมาก ๆ ห่างกันเป็นเท่า ๆ ได้เลย ทำให้ถ้าใครที่มองหากล้องที่คุณภาพดีกว่ากล้องโทรศัพท์เยอะ ๆ ก็อาจจะมองเป็น APS-C สักตัว เราว่าก็อยู่แล้วละ ไม่ต้องเสียเป็นแสน ๆ เพื่อเอา Full Frame ยังได้ แต่ถ้าเราต้องการข้อดีของ Full Frame จริง ๆ นั่นก็อีกเรื่องละกัน

สรุป : เราควรเลือกตัวไหนดี

จาก 5 ความแตกต่างที่เราเอามาเล่าในตอนนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วถ้าเราจะซื้อกล้อง เราควรจะเลือกแบบไหนละ ส่วนตัวเรา จะตอบได้ง่ายมาก ๆ สำหรับมืออาชีพ อันนี้ เราว่าเราไม่ต้องพูดเยอะละ ถ้าคุณเป็นมืออาชีพ เราว่าคุณรู้แล้วละว่าคุณต้องการอะไร ไม่น่าจะมาอ่านบทความเราเลย

แต่สำหรับมือสมัครเล่น หรือ ทำเป็นงานอดิเรก เราแนะนำให้เริ่มต้นจากพวก APS-C ก่อน เพราะราคาที่ถูกกว่ามาก ๆ แต่ Performance มันทำให้คุณสามารถที่จะเรียนรู้การถ่ายภาพได้ถึงระดับมืออาชีพเลยแหละ และยังมีเงินส่วนต่างเหลือไปเล่น เลนส์คุณภาพสูง ๆ ทำให้ได้ภาพดี ๆ ได้อีกเยอะมาก ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นในการถ่ายอีกเยอะมาก ๆ เลยละ กลับกัน ถ้าเราต้องการ Performance จริง ๆ อยากได้ Bokeh หนัก ๆ น้ำหนักไม่เกี่ยง ราคาก็ไม่เกี่ยง การไป Full Frame ก็เป็นตัวเลือกที่ทำให้สนุกเลยทีเดียว แต่ ๆ เรา

Read Next...

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

เวลาเราเอา Macbook ออกไปใช้งานนอกบ้าน บางครั้ง เราสามารถเสียบปลั๊กไฟได้ แต่งานก็ต้องทำ ก็คือทำงานแข่งกับเวลาเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาบอกทริกการยืดเวลาการใช้งานบน Battery กันจาก 3 ทริกง่าย ๆ กัน...

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

การดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน Internet เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับการใช้งานในปัจจุบันกันแล้ว ตั้งแต่การโหลดไฟล์เอกสารต่าง ๆ จนไปถึงการ Stream เพลง และหนังต่าง ๆ แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโลกอีกใบ อีกวิธีการของการแชร์ไฟล์บนโลก Internet กันนั่นคือ Bittorrent...

ปัญหาการโอนเงินไม่ผ่านแต่ผ่านกับ Two Generals' Problem

ปัญหาการโอนเงินไม่ผ่านแต่ผ่านกับ Two Generals' Problem

หลายวันก่อนไปซื้อชานมมา จ่ายเงินด้วย QR Code ปรากฏว่า จ่ายไม่ได้ แต่เครื่อง EDC บอกว่า จ่ายผ่านเฉยทำให้คิดถึงปัญหานึงที่น่าสนใจคือ Two Generals' Problem วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และเกี่ยวอะไรกับการโอนเงิน...

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

เรื่องของเรื่องคือ เราทดลองเล่นเพลงผ่าน AirPlay 2 เข้ากับลำโพงแล้วเสียงมันแปลก ๆเลยไปหาข้อมูลมา เลยทำให้โป๊ะว่า อ้าว.... ชิบหาย Hi-Res ทิพย์นี่หว่า ทำไม เราไปดูเหตุผลในบทความนี้กัน...