By Arnon Puitrakul - 11 สิงหาคม 2023
บทความนี้เกิดจากเพื่อนเรามาปรึกษาเราว่าจะซื้อกล้องแล้วนางจะไป Full Frame เลยบอกว่า ใจเย็นก่อน ๆๆๆ ทำให้เกิดคำถามว่า เออ ถ้าเราจะซื้อกล้องสักตัว เราควรจะใช้กล้องที่มี Sensor ขนาด APS-C หรือ Full Frame เลย
TLDR; Sensor แต่ละขนาด นางก็มีความเก่งที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราคงไม่เอามาเทียบว่าใครดีกว่าหรอก เราเทียบได้ว่า ใครเหมาะกับงานไหน หรือเหมาะกับสถานการณ์ไหนที่สุด เพราะเราเองก็มีทั้งกล้องที่เป็น Full Frame และ APS-C อย่างละตัวเหมือนกัน
ก่อนอื่นเลยนะ เราต้องบอกก่อนว่า กล้องที่เป็น APS-C และ Full Frame มันก็คือกล้องเหมือนกันนี่แหละ ถ่ายรูปทำอะไรได้เกือบ ๆ เหมือนกันหมดเลย แต่สิ่งที่มันต่าง แยกประเภทออกจากกันนั่นก็คือ ขนาดของ Sensor
โดยทั่ว ๆ ไปแล้วในกล้อง Mirrorless สมัยนี้ เราก็หากล้องได้ 3 ขนาด Sensor หลัก ๆ คือ Micro Four-Thrid, APS-C และ Full Frame ขนาดก็จะไล่ตั้งแต่เล็กสุดไปใหญ่สุด (ไม่นับพวก Medium Format เช่น Fujifilm GFX100S พวกนั้น คนซื้อเขารู้อยู่ละว่าเขาต้องการอะไร ไม่มาอ่านบทความนี้หรอก ฮ่า ๆ) อย่างในฝั่ง Mico Four-Third ผู้เล่นใหญ่ก็จะเป็น Panasonic และ Olympus เท่านั้น แต่ถ้าขึ้นมา APS-C และ Full Frame ผู้เล่นในตลาดจะเยอะมาก ๆ เป็นขนาดของ Sensor ยอดฮิตในท้องตลาดเลยก็ว่าได้
โดยธรรมชาติแล้ว เราต้องเข้าใจว่า การถ่ายภาพคือ การบันทึกข้อมูลของแสงเข้าไปในกล้อง ซึ่งอุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการเก็บแสงเข้ามา มันคือ Sensor ดังนั้น ยิ่ง Sensor ขนาดใหญ่ขึ้น มันก็จะทำให้เราสามารถรับแสงได้เยอะมากขึ้น กลับกัน ถ้า Sensor เล็ก ก็จะทำให้เรารับแสงได้น้อยลง
ถ้าใครเคยฟังพวกคนเล่นกล้องพูดกันว่า เออ APS-C มันเป็นกล้อง Crop 1.5X นะนั่นนี่ ภาพที่เราคิดคือ ภาพที่เราได้ มันจะเหมือนโดน Crop ใช่ปะ จริง ๆ แล้วไม่เลย มันไม่ได้มีการ Crop อะไรออกทั้งนั้น แต่มันคือ เมื่อเราเทียบกับ Full Frame เราจะเท่ากับระยะเลนส์อันที่ใส่คูณด้วย 1.5 เท่านั้น หรือถ้าเราใช้ Micro Four-Third ไปมันก็จะมี Crop Factor เป็น 2X มันไม่ได้มีการ Crop อะไรเลย ดังนั้นมันคือแค่การเปรียบเทียบเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องไปตื่นอะไรเท่าไหร่
เรามาทดลองกันดีกว่า กล้องที่เราจะเอามาใช้จะเป็น Sony A7IV ตัวแทนจากกล้อง Sensor Full Frame และ Sony A6400 ตัวแทนจากกล้อง Sensor ขนาด APS-C เราจะวางกล้องที่ Mini Tripod ที่วางตำแหน่งเดียวกันทั้งหมด ใช้เลนส์เป็น Zeiss Batis 25mm f/2.0 ส่วนแต่ละกล้องเราจะตั้งให้อยู่ในโหมด P และการชดเชยแสงเป็น 0.0 โดยวัดแสงแบบ Centre Weighted กับ ISO เป็น Auto ไป
จากการทดลองตอนนี้เราจะเห็นว่า ตัวตุ๊กตา ของฝั่งภาพที่มาจาก A6400 มีขนาดที่ใหญ่กว่า กว่าจากฝั่ง A7IV นิดหน่อย ทั้ง ๆ ที่เราใช้ระยะเลนส์ที่เท่ากันเป๊ะ ๆ จริง ๆ คือเลนส์ตัวเดียวกันเลย
แล้วถ้าเราลองอะไรสนุก ๆ ขึ้นหน่อย ๆ ไหน ๆ เราบอกว่า ถ้าเป็น APS-C ถ้าจะให้มุมมองภาพมันใกล้เคียงกับ Full Frame เราจะต้องเอาระยะคูณ 1.5 ไป งั้นเราเปลี่ยนตัวเลือกเลนส์เข้าไปหน่อย เพื่อความง่าย เราจะเปลี่ยนเป็นเลนส์ซูมละกัน เอาเป็น Sigma 24-70mm f/2.8 DG DN แล้วฝั่ง Full Frame เราจะหมุนอยู่ที่ 24mm และ APS-C เราจะหมุนเพิ่มขึ้นมา 1.5 เท่า ก็จะกลายเป็น 36mm หมุนยากอยู่นะ ฮ่า ๆ
ผลที่ออกมา เราก็จะเห็นว่า ภาพที่เราได้ มุมมองภาพมันจะใกล้เคียงกันพอสมควรเลยแหละ แต่ถ้าเราลองดูความโค้งของภาพดู เราจะเห็นว่า เห๋ ฝั่งของ APS-C มันจะโค้งกว่ากันนิดหน่อยนะ นั่นเป็นเพราะว่า ในตัวเลนส์จริง ๆ เลย ฝั่ง APS-C เราใช้ระยะที่กว้างกว่านั่นเอง
ดังนั้น โอเคนะ ถ้าจะบอกว่า ระยะมุมมองภาพมันต่างกัน 1.5 เท่า แต่ถึงเราจะยืนที่เดียวกันเป๊ะ ๆ แล้วใช้เลนส์ระยะเท่ากัน แต่ความโค้งที่เกิดจากระยะของเลนส์มันก็ยังต่างกันอยู่ดี ซึ่งพวกนี้แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้เลนส์ที่คุณภาพสูงขึ้น มีชิ้นเลนส์ลดอาการเบี้ยวมากขึ้นมันก็ได้เหมือนกัน
ถามว่า จากความแตกต่าง ทำให้เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง คำตอบก็คือ เราสามารถใช้ประโยชน์จากการที่ตัวกล้องมันมี Crop Factor เมื่อเทียบกับ Full Frame ได้ดีมาก ๆ เมื่อเราต้องการจะถ่ายภาพระยะระดับ Telephoto แทนที่เราจะต้องกดเลนส์ที่ระยะไกลมาก ๆ เราก็สามารถใช้เลนส์ที่ระยะมันถอยลงมานิดหน่อยหายไป 1.5x ก็ได้ ส่งผลให้น้ำหนักมันเบาลง และ ขนาดเลนส์ก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน นั่นแหละ คือ ข้อดีของ APS-C ตัวนึงเลยก็ว่าได้
อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หลาย ๆ คนยอมกระโดดไปเล่นพวก Full Frame เป็นเพราะ DoF หรือ Depth of Field ของกล้อง Full Frame มันแคบกว่ากล้อง APS-C ทำให้เวลาพวกกล้อง Full Frame กดมา มันจะมี Bokeh Effect หรือการละลายหลังที่เบลอกว่ามาก ๆ ซึ่งเป็นอะไรที่ APS-C มันก็ลอกไม่ได้ เพราะมันเป็นที่ขนาดของ Sensor โดยตรง นั่นคือเหตุผลว่าทำไม พวกกล้องโทรศัพท์ Sensor ขนาดเล็กจิ๋ว เราใช้ f/1.4 หรือกว้างกว่านั้น มันก็ยังไม่เบลอหลังเท่ากล้องใหญ่ f/2.8 ด้วยซ้ำ
เพื่อเป็นการทดสอบเรื่องนี้ เราเอารูปแรกที่เราถ่ายมาลอง Zoom เอาเฉพาะด้านหลังละกัน อันนี้เป็นหูแมสที่ห้อยอยู่ข้างหลัง เราจะเห็นเลยว่า ภาพจาก A7IV ที่เป็นตัวแทนจาก Full Frame เบลอหูแมสได้มากกว่าอีกภาพที่มาจาก A6400 ที่เป็นตัวแทน APS-C อยู่หน่อย ๆ ได้เลย
ความต่างนี้ เราสามารถเอามาใช้ให้เป็นข้อดีได้ โดยเฉพาะถ้าเราต้องการที่จะถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอมาก ๆ ก็ไม่ปฏิเสธเหมือนกันว่า การไป Full Frame เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย แต่ ๆ ถามว่า แล้ว APS-C สามารถทำให้หลังเบลอได้เท่ากันมั้ย ก็เป็นไปได้นะ แต่เราจะต้องเลือกเลนส์ที่อาจจะมี Aperture ที่กว้างกว่าหน่อย เช่น จากเดิมใน Full Frame เราไป 1.8 แต่ใน APSC เราอาจจะต้องลงไปถึง 1.4 นั่นก็นำไปมาสู่น้ำหนักที่ไม่แน่ใจว่ามันจะงอกออกมาอีกเท่าไหร่ ไหนจะเรื่องของราคาอีก
เรื่องถัดไป หลาย ๆ คนชอบพูดว่า กล้อง Full Frame มันสามารถเก็บพวก Dynamic Range ได้ดีกว่าเยอะมาก ๆ อะเรื่องนี้ เราก็ไม่เถียงเลย เพราะ Full Frame มีขนาด Sensor ที่ใหญ่กว่ามาก ดังนั้น มันสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดมากกว่ามาก ๆ ประกอบกับพวกความ ยืดหยุ่น ที่มันทำให้เราสามารถดึงส่วนมืด หรือสว่างได้เยอะกว่าจริง ๆ
เมื่อ Full Frame มี Sensor ที่ใหญ่กว่า ทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า นั่นหมายถึงพวก สัญญาณรบกวน หรือ Noise ที่ทำได้ดีกว่าด้วยเช่นกัน ถ้าเราดูจากรูปด้านบน เราใช้เลนส์ และ Config เดียวกันทั้งหมดเลย ถ้าเราลองซูมดูตรงด้านหลังของหน้าจอคอม เราจะเห็นเลยว่า Noise จากกล้อง A7IV ที่เป็นตัวแทน Full Frame น้อยกว่ารูปที่ถ่ายจาก A6400 ที่เป็นตัวแทนของ APS-C พอสมควรเลย
ทำให้แน่นอนว่า มันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเราใช้ขนาด Sensor ใหญ่ขึ้นมันจะเก็บข้อมูลได้เยอะขึ้น ส่งผลไปถึงเรื่องสัญญาณรบกวนที่มีน้อยกว่ามาก ๆ แต่ถามว่า มันถ่ายได้มั้ย เราคิดว่า ในสถานการณ์ทั่ว ๆ ไป มันไม่ต่างกันเลยนะ แต่ถ้าเราลองในสถานการณ์ที่มัน Extreme จริง ๆ อันนั้นแหละมันเกิดได้ แต่ถามว่า เราจะอยู่ในสถานการณ์นั้นบ่อยขนาดไหน นั่นแหละ น่าจะเป็นประเด็นที่เราอาจจะต้องพิจารณา ถ้าเออ เราถ่ายกลางคืนบ่อย เราว่า การไปเล่น Full Frame มันดีกว่าจริง ๆ แต่ถ้าเราบอกว่า อ่อ เราก็ถ่ายทั่ว ๆ ไป การจะโดนกลางคืน เราว่ามันไม่เยอะมากหรือครึ่ง ๆ เท่านั้นเอง ทำให้การไปเล่น APS-C อาจจะตอบโจทย์มากกว่าก็ได้
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับหลาย ๆ คนมาก ๆ โดยเฉพาะมือใหม่ คือ เรื่องน้ำหนักที่เราต้องแบก ถ้าเราเอาไปใช้งานท่องเที่ยวถ่ายรูปกัน เราต้องเดินทางนั่นนี่ การใช้กล้องที่น้ำหนักเบา มันทำให้เราคล่องตัวกว่าจริง ๆ
พอกล้องขนาด Sensor เล็กลง เราอาจจะ Compromise เรื่องต่าง ๆ ที่เราพูดถึงไป แต่มันทำให้น้ำหนักมันเบาลงได้เยอะมาก ๆ พอ Sensor เล็ก พื้นที่หน้าเลนส์ที่เราจะต้องใช้ มันก็น้อยลง กับทำให้ต้องใช้พวกชิ้นเลนส์พิเศษน้อยลง นั่นน้ำไปสู่น้ำหนักที่ลดลงแบบฮวบฮาบมาก ๆ
เราเริ่มจากขนาดกล้องกันก่อน ยกตัวอย่างเป็นกล้องที่เราใช้งานจริงเลยก็ได้คือ Sony A7IV นำ้หนักไม่รวมเลนส์จะอยู่ที่ 658 กรัม แต่ถ้าเป็น Sony A6400 น้ำหนักมันจะลงไปเหลือ 403 กรัมเท่านั้น หรือห่างกัน 255 กรัมเลยนะ ถือว่าเยอะมาก ๆ ไหนจะเรื่องขนาดกล้องที่เล็กลงได้เยอะมาก ๆ อีก (โอเคแหละ บางคนมือใหญ่อาจจะบ่นว่าพวก APS-C พอมันเล็กพวก Grip มันเล็กตามจับยาก ก็หาพวก Grip มาใส่แต่งได้)
ไปที่เลนส์กันบ้าง ปกติแล้ว ส่วนใหญ่ To-Go Lens เราจะชอบใส่ช่วง 35mm ช่วงระยะโปรดเราเลย กับ f/1.8 ละกัน เป็นตัวที่ราคาไม่แรง และ อเนกประสงค์มาก ๆ ถ้าเป็นตัวสำหรับ Full Frame จะมี Sony SEL35F18F อันนี้หนักอยู่ 280 กรัม แต่ถ้าเป็น ระยะเดียวกัน และ Aperature เท่ากันจะหนัก 154 กรัมเท่านั้น ห่างกัน 126 กรัม หรือขีดนิด ๆ
เมื่อเรารวมกล้อง และ เลนส์เข้าด้วยกันนี่แหละ ทำให้ Full Frame อาจจะหนักไปได้ถึง 938 กรัม แต่ใน APS-C หนักอยู่ 557 กรัมเท่านั้น ก็ 9 ขีดเกือบ ๆ โล กับ ครึ่งโล เราว่า ก็เห็นชัดแล้วนะว่า มันหนักต่างกันมากขนาดไหน
ดังนั้น ถ้าเราต้องการความคล่องตัว นี่แหละคือจุดที่เป็นข้อดีของ APS-C มาก ๆ น้ำหนักที่น้อยกว่า ทำให้เราเดินทาง หรือถ่ายอะไรได้สนุกกว่า กินแรงน้อยกว่า หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า การแบกกล้องหนักอีกหน่อยมันไม่อะไรหรอกน่า ลองเป็นคนต้องแบกกล้องแล้วไปโดนแดดร้อน ๆ ต้องถ่ายรูปอีก บอกเลยว่า 10 กรัม เราก็เอาโว้ยยย หรือการที่น้ำหนักมันลดลง เราอาจจะไปเพิ่มเลนส์ที่ยัดลงกระเป๋าไปก็ได้เหมือนกัน ทำให้เราได้เลนส์หลากหลายช่วงมากขึ้น และ ได้คุณภาพที่สูงขึ้นที่เราพกเลนส์ Fixed ไปมากขึ้นได้
สุดท้าย มันก็จะไปส่งผลถึงราคาเยอะมาก ๆ อันนี้จะเห็นได้ชัดมาก ๆ เพราะเมื่อ Sensor เราใหญ่ขึ้น มันก็ใช้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแน่นอน แล้วมันก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ข้างในที่สเปกสูงขึ้นอีก ไหนจะพวก Feature ที่ชอบยัดมาให้ Full Frame ก็จะทำให้ราคาของ Full Frame จะสูงกว่า APS-C พอสมควรได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น A7IV ราคาเฉพาะ Body ศูนย์ไทย จะอยู่ที่ 82,990 บาท แต่ A6400 อยู่ที่ 29,990 บาท อันนี้คือชัดเจนเลยเนอะว่า มันต่างกันขนาดไหน ต่างครึ่งแสนได้เลย นี่ขนาดเรายังไม่ได้เทียบกับพวก Full Frame รุ่นสูง ๆ อย่าง Sony A1 นั่นเฉียด ๆ 2 แสนได้เลย
กับเลนส์อย่าง อย่างที่บอกว่าพอพื้นที่ Sensor มันลดลง เราก็สามารถลดขนาดกระจกได้ ไหนจะพวกชิ้นเลนส์พิเศษอีก ก็ทำให้ราคามัน Drop ไปได้อีกเช่นกัน เราเทียบเอาเป็นเลนส์ตัวเดียวเที่ยวรอบโลกมาใส่ละกัน ฝั่ง APS-C เราเลือก Sony E PZ 18-105 mm อันนี้อยู่ที่ 19,990 บาท ส่วนตัวแทน Full Frame เราขอเอา Sony 24-105mm ราคาจะอยู่ที่ 46,990 บาท ก็ต่างกันเยอะอยู่ รวมกับราคากล้องแล้ว มันก็จะยิ่งโดดหนักเข้าไปใหญ่เลยทีเดียว เรียกว่า บานปลาย ได้ง่าย ๆ
ทำให้ในเรื่องของราคาฝั่ง APS-C แอบได้เปรียบกว่ามาก ๆ เพราะได้ราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเยอะมาก ๆ ห่างกันเป็นเท่า ๆ ได้เลย ทำให้ถ้าใครที่มองหากล้องที่คุณภาพดีกว่ากล้องโทรศัพท์เยอะ ๆ ก็อาจจะมองเป็น APS-C สักตัว เราว่าก็อยู่แล้วละ ไม่ต้องเสียเป็นแสน ๆ เพื่อเอา Full Frame ยังได้ แต่ถ้าเราต้องการข้อดีของ Full Frame จริง ๆ นั่นก็อีกเรื่องละกัน
จาก 5 ความแตกต่างที่เราเอามาเล่าในตอนนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วถ้าเราจะซื้อกล้อง เราควรจะเลือกแบบไหนละ ส่วนตัวเรา จะตอบได้ง่ายมาก ๆ สำหรับมืออาชีพ อันนี้ เราว่าเราไม่ต้องพูดเยอะละ ถ้าคุณเป็นมืออาชีพ เราว่าคุณรู้แล้วละว่าคุณต้องการอะไร ไม่น่าจะมาอ่านบทความเราเลย
แต่สำหรับมือสมัครเล่น หรือ ทำเป็นงานอดิเรก เราแนะนำให้เริ่มต้นจากพวก APS-C ก่อน เพราะราคาที่ถูกกว่ามาก ๆ แต่ Performance มันทำให้คุณสามารถที่จะเรียนรู้การถ่ายภาพได้ถึงระดับมืออาชีพเลยแหละ และยังมีเงินส่วนต่างเหลือไปเล่น เลนส์คุณภาพสูง ๆ ทำให้ได้ภาพดี ๆ ได้อีกเยอะมาก ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นในการถ่ายอีกเยอะมาก ๆ เลยละ กลับกัน ถ้าเราต้องการ Performance จริง ๆ อยากได้ Bokeh หนัก ๆ น้ำหนักไม่เกี่ยง ราคาก็ไม่เกี่ยง การไป Full Frame ก็เป็นตัวเลือกที่ทำให้สนุกเลยทีเดียว แต่ ๆ เรา
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...