By Arnon Puitrakul - 25 มีนาคม 2024
เรื่องของเรื่องที่ทำให้เกิดบทความนี้ เป็นเพราะ เราทดลอง Stream เพลงไปที่ลำโพงของเรา แล้วพบว่า เห้ย ทำไม Track เดียวกัน เล่นจากอุปกรณ์เดียวกัน App เดียวกัน แค่เปลี่ยน Streaming Protocol มันทำให้ต่างได้ขนาดนี้เลยเหรอ จนไปอ่านพวก AirPlay 2 ก็คือ บูด มาก วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันว่า ทำไม มันต่างขนาดนั้นเลยเหรอ และ เราจะทำยังไงถึงจะดึงความโหดของลำโพงของเราออกมาให้ได้มากที่สุด
AirPlay เป็น Protocol สำหรับการทำ Content Streaming เช่น เราเปิด Youtube อยู่บน iPhone มันจะมีตัวเลือกให้เราสามารถ AirPlay วีดีโอที่เราดูอยู่ขึ้นไปบนจออื่น ๆ ได้ อาจจะเป็นพวกทีวีอะไรแบบนั้น
ตัว AirPlay เอง มันเกิดมานานมาก ๆ แล้ว Version แรกเลย เปิดมาในปี 2004 และได้รับการอัพเกรดเป็น AirPlay 2 ประมาณช่วงปี 2018 มันทำให้โลกของการ Stream Content เปลี่ยนไปหลายอย่างเลยละ ที่เห็นภาพหนักมาก ๆ คือ Feature อย่าง Multi-Room Speaker
เมื่อก่อน ถ้าเราจะทำอะไรแบบนั้น เราจะต้องใช้ Protocol ของเจ้านั้น ๆ ไม่มีคนตรงกลางเลย มีความยุ่งยาก มันไม่ใช่แค่ว่า คนทำลำโพงทำ Protocol มาแล้วจะใช้งานได้เลย แต่พวกแหล่งที่เราเอาเสียงเข้ามามันต้องรองรับด้วย โดยเฉพาะพวก Streaming Service ทั้งหลาย ซึ่งเอาจริง ๆ อย่างทุกวันนี้เอง Music Streaming หลาย ๆ เจ้าก็ไม่ได้รองรับนะ เช่น Spotify ที่ทำ Spotify Connect ก็ยังไม่รองรับ
ณ วันนี้ เราสามารถส่ง Content หลาย ๆ อย่างผ่าน AirPlay 2 ได้หมดเลย แม้กระทั่งการ Mirror Screen จาก Apple Device ต่าง ๆ ก็ทำได้หมดเลย ทำให้พวกห้องประชุมบางที่ก็เลือกที่จะเอา Apple TV หรือซื้อพวก TV ที่รองรับ AirPlay 2 มาตั้งไว้แล้วก็ให้โยนผ่าน AirPlay เอาแทนที่จะเป็นการเสียบสายแล้ว
แต่มันก็มี ข้อจำกัด ที่ การส่งเสียงในความละเอียดสูง ๆ มันยังทำไม่ได้ ณ วันที่เขียนตอนนี้ AirPlay 2 มันจำกัดอยู่ที่ 16-bit/44.1khz หรือ CD Quality เท่านั้น ทำให้ถ้าเราต้องการเสียงที่จะละเอียดกว่านี้ ไม่ได้แล้ว
ที่เราบอกว่า แค่ CD Quality มันไม่ได้เป็นคุณภาพที่แย่นะ มันเป็นมาตรฐานที่ คนฟังเพลง ก็ใช้เป็นปกติอยู่แล้ว และสำหรับคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ฟังเพลงแบบละเอียดอะไรเท่าไหร่ คุณภาพไม่ได้ทำให้รู้สึกแปลกเท่าไหร่ด้วย
แต่สำหรับคนที่ฟังเพลงจริงจัง และ ต้องการความสุดจริง ๆ เหมือนกับเราบอกว่า เราจะดูหนัง บางคนเขาไม่ได้แคร์นะว่า จะเป็น 1080p หรือจะอะไรก็ได้ ขอแค่ดูได้ ไม่ได้สนใจอะไร กับบางคนก็จะมีความว่า เห้ย ทำไมมันไม่ชัดเลย หรือ รายละเอียดตรงนี้มันหายไปไหนนั่นนี่ ถ้าเทียบง่าย ๆ เลย เราว่า CD Quality มันเหมือนกับ 1080p ที่วันนี้ คนทั่ว ๆ ไปดูแล้วก็ยังโอเคไม่บ่นอะไร แต่พวก Hi-Res Audio จะเหมือนกับพวก 4k, 8k อะไรพวกนั้นมากกว่า
ถามว่า สำหรับเราที่ฟังเพลง มันต่างกันขนาดไหนเหรอ ต่างมาก !!!!! แบบ คนละเรื่องกันเลย พวกรายละเอียดของเครื่องดนตรี หรือเสียง Effect ที่ใส่เข้ามาแล้ว เมื่อก่อน เราไม่ได้ยิน ตอนนี้คือ ต้องหันซ้าย หันขวา ห่ะ มาจากเพลงเหรอ เช่น Love Yourself ของพ่_แห่งแผ่นดิ_ อย่าง หลวงพ่อจัสติน วัดดูยูมีน กลาง ๆ เพลงมันจะมีเหมือนเสียงลม ฟิ้ว.... อยู่ข้างหลัง ตอนแรกก็ งง ๆ เสียงข้างนอกเหรอ จนลอง Pause เอ๊ะ ไม่มี เปิดเพลงต่อ อ้าวมี ชัดเลออออ
การที่เราจะเล่นเพลงในคุณภาพ Hi-Res จริง ๆ จาก Apple Music ณ วันนี้ เราไม่สามารถใช้งานผ่านระบบไร้สายได้เลย เพราะ ถ้าเป็น Bluetooth และ AirPlay 2 ก็จะได้เท่ากันที่ CD Quality หนักกว่านั้นอีกว่า Bluetooth บน Apple Device ไม่รองรับ Lossless Format ด้วย มันจะทำการแปลงเป็น AAC แล้วส่งออกไป ต่างจากพวก Android Device บางเจ้าที่อาจจะมี Codec พิเศษเช่น AptX ที่ส่ง Lossless ผ่าน Bluetooth ได้
ดังนั้น พวกหูฟังของ Apple ทั้งหลาย ณ วันนี้ ก็คือ จบนะ ไม่สามารถเล่นเสียงแบบ Hi-Res Audio ใด ๆ ได้เลย เพราะมันเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ทั้งหมดเลย ก็เกมไป
ดังนั้นวิธีการเดียวเท่านั้นที่จะส่งเสียงแบบเต็มคุณภาพและ Lossless ออกไปที่ลำโพงหรือหูฟังได้ จะต้องเสียบสายเท่านั้น ซึ่งจะเป็นสายทองแดง หัว 3.5mm หรือ Balance 4.4 อะไรก็แล้วแต่ มันก็จะขึ้นกับ DAC ที่เราใช้งานด้วยว่า มันรองรับมั้ย เช่นเราใช้ Zorloo Zella ที่รองรับได้ไกลกว่านั้นมาก ๆ
นอกจากนั้น ลำโพง หรือหูฟังที่เราใช้งาน ก็ต้องรองรับด้วยเช่นกัน เพราะดอกลำโพงมันเกิดมาไม่เท่ากัน บางตัวรองรับย่านความถี่ที่อาจจะไม่ได้กว้างมาก หรือ ถ้าเป็นแบบนั้น เขาอาจจะใช้ดอกลำโพงแยกช่วงเสียงกัน อะไรพวกนั้น เราก็ต้องเข้าไปเช็คกับผู้ผลิตละว่า มันรองรับได้ขนาดไหน เพื่อให้เราดึงประสิทธิภาพสุด ๆ ออกมาจากอุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นเอง
การจะเล่น Hi-Res Audio ที่อยู่บน Apple Music เราไม่สามารถเล่นผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สายได้เลย ณ วันที่เขียนทั้ง Bluetooth และ AirPlay 2 ยังคงรองรับมาตรฐานสูงสุดแค่ CD Quality เท่านั้น การจะเล่นคุณภาพที่สูงกว่านั้น จะต้องพึ่งพาการเสียบสาย อาจจะเป็นการเสียบผ่าน DAC ที่รองรับ และ เพื่ออรรถรสที่สุด ๆ ก็จะต้องเล่นบนลำโพงที่รองรับด้วยนะ
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...