By Arnon Puitrakul - 30 พฤษภาคม 2021
หลังจากรีวิว Macbook Air M1 มา เราก็ Hype กับอายุการใช้งาน Battery ของมันมาก ณ ตอนนี้ที่เรากำลังเขียน Blog อยู่ Macbook Air เครื่องนี้ ไม่ได้เสียบชาร์จ และใช้งานมา 3 วันแล้ว นั่ง ๆ ทำงานไป ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วเราจะเก็บรักษา Battery ที่อายุการใช้งานนานขนาดนี้ ให้อยู่กับเรานาน ๆ ได้ยังไง วันนี้เราลองมาหาคำตอบกัน
โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ณ วันนี้ อุปกรณ์จาก Apple ที่มี Battery ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Macbook และ Apple Watch จะใช้ Battery ที่เรียกว่า Lithium-Ion ซึ่งมีข้อดีคือ น้ำหนักที่เบา และ ไม่จำเป็นต้องหมดแล้วชาร์จ ต่างจาก Battery พวก Nickel สมัยก่อนที่มันมี Memory Effect ทำให้เราต้องใช้ให้หมดก่อน แล้วค่อยชาร์จ
แต่ในการนับอายุของ Battery แบบ Lithumn-Ion นั้น เขาจะนับด้วยตัวเลข Cycle โดยที่ มันคือ จำนวนครั้งในการชาร์จครบ 100% นั่นเอง ตัวอย่างเช่น เราชาร์จครั้งแรก 50% แล้วถอด แล้วเอาไปใช้ เหลือสัก 45% แล้วชาร์จเข้าไปอีก 50% ก็จะเป็น 95% แต่ Cycle จะบวก 1 เรียบร้อย เพราะ มันชาร์จครบ 100% 1 รอบนั่นเอง
ซึ่งโดยปกติจำนวน Cycle ของ Battery ที่ทางผู้ผลิตเคลมมา มันก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ทาง Apple เขาก็มีข้อมูลส่วนนี้ Support เราอยู่ด้วย จาก Link ด้านบนเป็นข้อมูล Cycle Battery จากเว็บ Apple เอง โดยที่แต่ละรุ่นก็จะไม่เท่ากันอีก ในรุ่นใหม่ ๆ หน่อย ส่วนใหญ่ก็จะจบที่ 1000 Cycle ก็ถือว่า เยอะเหมือนกันนะ ตีขำ ๆ ถ้าเราใช้ทำงานทุกวัน ตีเลยว่า ใช้ Battery หมดแล้วชาร์จ เราว่าก็หลักหลายปีแล้วนะ ยังไม่นับพวก M1 อีก ที่ใช้กันทีนานมาก ๆ 3-4 วัน บางคน ใช้ต่อวันไม่เยอะ ยืดไปได้ 5-7 วันเลยก็เจอมาแล้ว ไหนบางคนที่ส่วนใหญ่จะนั่งอยู่กับโต๊ะ ก็จะเสียบไว้ตลอด Cycle ก็จะไม่ขึ้น (แต่อันนี้ไม่ดี เดี๋ยวมาบอกว่า ทำไม)
สำหรับ Macbook ทั้งหลาย เราสามารถเข้าไปเช็คจำนวน Cycle ได้ที่ About this mac > System Report > Power ตรง Health Information เราจะเห็น Cycle Count อยู่นั่นคือ จำนวน Cycle ที่เราใช้งานไปแล้ว
หรืออย่าง iPhone เอง Apple ก็เคลมไว้ที่ 500 Cycle โดยที่มีความจุอยู่ที่ 80% ของความจุที่มาจากโรงงาน อันนี้เราว่า มันก็แอบน้อยไปหน่อยแหละ โดยเฉพาะปัจจุบัน ที่บางคนก็คือ อาจจะใช้หมดชาร์จ วันนึงเกินรอบก็มี และ อันนี้ต้องอย่าลืมว่า Apple นับในการใช้งานที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ปกตินะ บางที เราเอาไปใช้งานจริง ๆ เราอาจจะใช้งานในที่ ๆ ร้อน โดยเฉพาะ อากาศบ้านเรา อยู่ข้างนอกก็ร้อนจะตายแล้ว ไหนจะไฟที่วิ่งออก กับ ยิ่งเราเล่นเกม ทำงานหนัก ๆ อีก มันก็ยิ่งเข้าไปใหญ่เลย
สำหรับ iPad และ Apple Watch ก็จะอยู่ได้ที่ 1000 Cycle กันไปเลย สำหรับ iPad เราไม่ได้ทึ่งอะไรขนาดนั้นนะ แต่ Apple Watch นี่สิสุดจริง ๆ แบตก้อนเล็ก ๆ แบบนั้น มันสามารถอยู่ได้ 1000 Cycle เลยเหรอสุดยอด ตอนนี้กลายเป็นว่า Battery ของ iPhone นั่นแหละ ที่มีอายุการใช้งานที่สั้นที่สุด เศร้านะ เพราะจริง ๆ มันเป็นอุปกรณ์ที่เราว่า มันควรจะมีอายุการใช้งานที่ยาวรองจาก Macbook เลยนะ ไหงกลายเป็นแบบนี้ได้ หรือว่า มันอยากให้เราซื้อรุ่นใหม่เรื่อย ๆ เหรอฮ่า ๆ
โดยทั่ว ๆ ไปการชาร์จ Battery แบบ Li-Ion เราจะไม่ได้อัดไฟเข้าไปเต็ม ๆ ตั้งแต่ 0-100% แต่มันจะอัดไฟเข้าแรง ๆ ช่วง 0-80% และ ค่อย ๆ เบาไฟลงเรื่อย ๆ เมื่อผ่าน 80% ยาวไปถึง 100% เพื่อยืดอายุการใช้งานของ Battery
เราลองมาดูข้อมูลของจริงกันดีกว่า ในการทดลองนี้ เราใช้ปลั๊กวัดไฟของ Sonoff ที่ต่อเข้ากับ UPS ของ APC จากนั้น มันก็ต่อเข้ากับ PC ชุดนึง กับมี Adapter ที่เสียบกับ Macbook Air M1 อยู่ โดยที่ PC ที่เสียบอยู่แล้วเราให้ทำการตั้ง Baseline เป็นจำนวนไฟในกรอบสีแดง นั่นคือ ประมาณ 529W เมื่อเราเริ่มเสียบ Adapter และชาร์จ Macbook Air ไฟก็จะดีดขึ้นไปเป็นช่วงเวลาในกรอบสีส้ม ก็จะอยู่ที่ 609W ดังนั้น Adapter รวมกับ Loss ต่าง ๆ ในระบบก็จะอยู่ที่ 609 - 529 = 80W ซึ่ง Adapter ที่ใช้ เป็น Adapter ที่จ่ายไฟได้ 60W เราว่ารวม ๆ กับ Loss แล้ว ตัวเลขนี้ก็โอเคพอเอามาใช้ได้อยู่ เราจะเห็นว่า มันก็จะชาร์จไปเรื่อย ๆ สัก 30-40 นาทีได้ จนไปถึงกรอบสีเขียวที่เราจะเห็นว่า กำลังไฟมันลดลงเรื่อย ๆ นั่นคือจุดที่ Battery มันถึง 80% แล้ว มันก็จะลดกำลังไฟลง จนไปถึงกรอบสีขาว ที่ไฟมันค่อนข้างลงที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 566W ถ้าเทียบกับ Baseline ก็คือ 566 - 529 = 37W ซึ่งก็ใกล้เคียงกับขนาดของ Adapter ที่ Apple ให้มากับ Macbook Air เลย
จากการทดลองนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า วิธีการชาร์จ Battery ของ Macbook Air M1 ก็คือ มันจะอัดไฟเร็วในช่วงแรกของการชาร์จก่อน เหมือนที่เราเห็นในกรอบสีเหลือง และค่อย ๆ ลดกำลังไฟลง หรือก็คือในกรอบสีเขียว จริง ๆ การทดลองมันน่าจะ Vaild กว่านี้ ถ้าเรา Record Battery Percentage มาด้วย แต่ก็เอาเป็นการทดลองขำ ๆ ให้ดูละกันว่ามันชาร์จด้วยวิธีนี้
นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ เวลาเราชาร์จแบตแรก ๆ ทำไมตัวเครื่องมันอุ่น ๆ แต่พอชาร์จไปเรื่อย ๆ จนใกล้จะเต็ม มาจับอีกที ไหงไม่เป็นอุ่นเหมือนก่อนหน้าเลย เพราะเหตุการณ์นี้เอง ก็คือ ช่วงแรก ๆ ที่ชาร์จเร็วเครื่องก็อาจจะมีอาการอุ่น และ พอมันชาร์จช้าลง มันก็จะไม่อุ่นเท่าตอนแรกแล้วนั่นเอง
หลาย ๆ คนชอบบอกว่า อย่าชาร์จ Battery ข้ามคืนนะ ไม่งั้นแบตจะเสื่อมเร็ว เอาจริง ๆ เมื่อก่อน เราว่าน่าจะใช่นะ แต่ตอนนี้ด้วย Battery แบบ Li-Ion เรื่องแบบนี้ เราว่าเฉย ๆ แล้วนะ เผลอ ๆ ด้วย วิธีการทำงานของ Software ณ วันนี้ ก็เอื้อให้เราเสียบชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืนด้วยซำ้
เพราะตอนกลางคืน เวลาเราเสียบชาร์จทิ้งไว้ และไม่ได้ปิดเครื่อง ตัวเครื่องมันจะทำการรันพวก Maintenance Script กำจัดไฟล์ขยะออกไปใน Mac และในทุกอุปกรณ์มันก็จะทำ Software Update ให้เราเองด้วย โดยที่เราไม่ต้องไปอะไรกับมันทั้งนั้น ทั้งหมด มันทำตอนที่เรานอนนี่แหละ ทำให้เราไม่ต้องมาเสียเวลานั่งรอมัน Update Software บ่อย ๆ เสียเวลา
ดังนั้น เราแนะนำว่า ก็เสียบไปแหละ เสียบ ๆ ไปเถอะ หมดก็เสียบ มีที่เสียบก็เสียบไป ไม่ต้องคิดมา เราซื้ออุปกรณ์มาใช้ ไม่ได้เอามาเข้า Museum สักหน่อย ที่ต้องมารักษาอะไรขนาดนั้น รักษาขนาดนั้น ก็ไม่ต้องใช้แล้วมั่ง และยิ่งเสียบทิ้งไว้ ก็ยิ่งดี เครื่องมันจะได้ดูแลตัวเองให้ใหม่อยู่เสมอได้อีก
แต่ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ หลาย ๆ คนก็อาจจะบอกว่า มันมีข่าวที่เล่นไปชาร์จไป หรือชาร์จ ๆ ทิ้งไว้ แล้วอยู่ ๆ อุปกรณ์ก็เกิดระเบิด หรือ เกิดไฟลุกไหม้นั่น จริง ๆ แล้ว ในอุปกรณ์เอง มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ เลยนะ โดยเฉพาะ อุปกรณ์ที่มาจากบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Apple เอง (เราไม่ได้บอกนะว่า เป็นไปไม่ได้ อย่าง Samsung ตอน Note 7 ก็แตกมาแล้วรอบนึง) แต่เคสส่วนใหญ่ที่เจอ ก็จะเกิดจากการใช้ Adapter, สาย และปลั๊กไฟที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะไม่มีระบบตัดไฟ หรือกันไฟเกิน ทำให้เสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น สำคัญมาก ๆ นะครับ อุปกรณ์พวกนี้ เราต้องใช้ของที่ปลอดภัย มีการรับรองมาตรฐาน อย่างน้อยก็ มอก.
หนักกว่าการเสียบข้ามคืน คือเสียบมันทิ้งไว้แบบนั้นแหละ อันนี้มักจะเกิดกับพวก Macbook ซะเยอะ ที่บางที เราอาจจะนั่งทำงานบนโต๊ะเป็นหลักเสียบแบต เสียบจออะไรทิ้งไว้เลย แล้วไม่ได้ถอด Adapter ออกเลย อันนี้แหละที่น่ากลัว เป็นการกระทำที่เราไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะมันทำให้อายุของ Battery สั้นมาก ๆ เลยละ คำแนะนำก็คือ อาจจะให้เราถอดปลั๊กไฟออก แล้วใช้งานบ้าง เพื่อให้ประจุใน Battery มันได้วิ่งบ้าง หรือจริง ๆ นะ เราว่าก็คือ เราไม่ต้องปิดเครื่อง แต่ Sleep ไว้ แต่ปิดปลั๊กไป เพราะตอน Sleep ตัวเครื่องมันก็ยังคงกินไฟอยู่ แต่พอเราถอดปลั๊กไฟ มันก็ต้องใช้ไฟจาก Battery ทำให้ประจุมันได้วิ่งบ้างงงง นั่นเอง แต่เราก็แนะนำว่า ให้ถอดปลั๊ก แล้วใช้งานให้หมด เดือนละครั้งก็ยังดี
สำหรับการเก็บรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้อยู่กับเราได้นานขึ้นนั้น ก็มีอยู่หลลาย ๆ ปัจจัยเลย ซึ่งอันที่เราว่าเป็นเรื่องหลัก ๆ เลยคือ อุณหภูมิ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ กับ Battery เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Battery แบบไหน
สำหรับพวก Li-Ion ที่มากับพวก Apple Device ข้อมูลจากเว็บของ Apple เองก็บอกว่า Battery ของ พวกอุปกรณ์อย่าง iPhone, iPad, iPod และ Apple Watch เองก็จะอยู่ที่ 0-35 องศา ราว ๆ นั้น เอาความเป็นจริง เราว่า เมื่อเจอประเทศไทยเข้าไป ไม่น่ารอดแน่นอน แค่อากาศข้างนอก อยู่นอกบ้านเท่านั้นแหละ มี 36++ แล้ว แล้วเมื่อเราใช้อีก อุณหภูมิ มันก็จะยิ่งขึ้นไปอีก นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุของ Battery ที่ Apple เคลมกับ เราใช้งานจริงมันได้ไม่เท่ากันนั่นเอง
ส่วน Macbook ต่าง ๆ ก็จะอยู่ที่ราว ๆ 10-35 องศา ซึ่งเอาจริง ๆ ใน Macbook Pro ที่ใช้ Intel ขนาดเราใช้ 13 นิ้ว เอาโหลดหนัก ๆ ก็เกินแล้ว ไหนจะโหลดหนัก แล้วเสียบ Adapter ไปพร้อม ๆ กันอีก หนักเข้าไปใหญ่เลย ถึงแม้ว่า เราจะใช้ในห้องแอร์ก็เถอะ แต่อย่าง Macbook Air M1 ที่เราใช้อยู่ตอนนี้ เราใช้งานทั่ว ๆ ไป นั่งพิมพ์บทความอยู่ตอนนี้อยู่ในห้องอุณหภูมิ 25 องศา อุณหภูมิ ก็อยู่ที่ 31 องศาเท่านั้น ซึ่งก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ Apple แนะนำมา
จริง ๆ สาเหตุที่หลาย ๆ คนบอกว่า อย่าใช้เครื่องพร้อมกับชาร์จแบตไปด้วย เราว่า ก็น่าจะมาจากเรื่องของอุณหภูมิด้วยละมั่ง เพราะเวลาเราใช้งานพวก CPU และอุปกรณ์ต่าง ๆ มันก็ต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา และอุปกรณ์พวกนี้ มันอยู่กันแบบชุมชนแออัดอยู่แล้ว แน่น ๆ ติด ๆ กันไปหมด พอ CPU และอุปกรณ์ร้อน มันก็จะลามมาที่แบต ที่กำลังอุ่น ๆ ชาร์จอยู่ ทำให้อุณหภูมิโดยรวมของตัวเครื่องมันก็จะสูงขึ้น ทำให้แบตอาจจะเสื่อมได้เร็วขึ้น
ดังนั้น ในการใช้งานจริง ๆ อุณหภูมิ มันอาจจะเกินจากที่ Apple แนะนำไปอีกแหละ ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เราได้ Cycle ที่ไม่ตรงกับที่ Apple เคลม แต่หลาย ๆ ครั้ง เราว่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แหละ ก็เข้าใจได้อยู่ ทำให้ ก็ใช้เท่าที่ได้ละกัน หลีกเลี่ยงการใช้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสูง ๆ ก็จะดีมาก ๆ ก็ทำให้อายุของ Battery อยู่กับเราได้นานขึ้นนั่นเอง
ไม่ว่าเราจะใช้งานมันอย่างทะนุถนอมมากเท่าไหร่ ยังไง ๆ ของมันก็ย่อมมีการเสื่อมไปตามกาลเวลาแน่นอน Battery ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราใช้งานไปเรื่อย ๆ มันก็ต้องเสื่อมไปตามกาลเวลา ทีนี้เมื่อมันเกิดขึ้น เราจะทำยังไงได้บ้าง แน่นอนว่า If you rich, just buy a new one ฮ่า ๆ แต่ถ้าเราอยากใช้งานเครื่องเดิมต่อก็ย่อมทำได้เช่นกัน
โดยปกติ Apple ในประเทศไทย เราสามารถส่งเครื่องซ่อมได้ที่ Apple Store ทุกสาขา (ณ วันที่เขียนก็มีแค่ Icon Siam และ Central World) โดยที่ อุปกรณ์ของ Apple โดยปกติ เขาจะรับประกันอยู่ที่ 1 ปีก็คือ ใน 1 ปีนี้ ถ้ามันมีปัญหาอะไรที่เกิดจากฝั่ง Apple เอง ที่ทำให้อุปกรณ์หมดอายุก่อนวัยอันควร เราก็สามารถมาเข้าใช้บริการที่ Apple ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย ส่วนหลังจากนั้น ถ้าเรามีการซื้อ Apple Care+ ไว้ เราก็สามารถยืดอายุการรับประกันไปได้ถึง 3 ปีเลย ส่วนหลังจากนั้น ที่ประกันหมดก็ยังสามารถเข้ารับบริการได้นะ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นที่เราจะต้องจ่ายเอง ซึ่งถ้าถึงตอนนั้น เราสามารถเอาไปให้ Apple ตีราคาค่าซ่อมก่อนก็ได้ แล้วถ้าไม่โอเค เราก็สามารถมารับเครื่องกลับไปได้
ส่วนเวลาในการเปลี่ยนแบต เรามีประสบการณ์เอาเครื่องเข้าศูนย์ที่เป็น Apple จริง ๆ แค่ครั้งเดียวเลยคือ เอา Macbook Pro 13-inches 2018 ไปเปลี่ยน Keyboard ที่ Apple มันมี Replacement Program อยู่แล้ว ทำให้เราเข้าใจว่า เพราะเหตุนี้ ทำให้ Apple มีการ Stock อะไหล่ตัวนี้ไว้แล้ว ทำให้เราใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงในการเอาเครื่องเข้ารับบริการ และได้อีเมล์แจ้งให้มารับเครื่อง ถือว่า โคตร เร็ว เลย
Battery ในอุปกรณ์ Apple ทั้งหลายหลัก ๆ แล้วอายุการใช้งานของมันจะขึ้นกับตัวอุปกรณ์ โดยที่พวก Apple Watch, Macbook และ iPad ก็จะใช้งานได้ราว ๆ 1000 Cycle ในขณะที่ iPhone จะอยู่ราว ๆ 500 Cycle เท่านั้น ถ้าเราใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ Apple แนะนำมา เราว่า มันน่าจะอยู่ได้นานหลายปีเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริง มันมีอีกหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน เช่น อุณหภูมิ ที่บางทีมันอาจจะสูงไป ก็ทำให้อายุการใช้งานย่อมน้อยลงแน่นอน ส่วนการดูแลรักษา ง่าย ๆ คือ ชาร์จ เมื่ออยากชาร์จ ไม่ต้องมาวอแวว่า แบตหมดแล้วค่อยชาร์จ เจอที่ชาร์จ อยากชาร์จก็ชาร์จไปไม่ต้องคิดอะไรมาก ชาร์จ ๆ ไปใช้ไป ก็ใช้ ๆ ไปเถอะ ฮ่า ๆ ส่วนเรื่องที่ไม่น่ารัก ก็มี 2 เรื่องคือ การเสียบทิ้งไว้เป็นเดือน ๆ และ การใช้อุปกรณ์ชาร์จไฟ และ ปลั๊กไฟที่ไม่มีมาตรฐาน และ ถ้ามันเสื่อม ใช้ได้ไม่นานแล้ว อยู่ ๆ แบต หมด เราก็สามารถไปที่ศูนย์บริการของ Apple เพื่อทำการเปลี่ยน Battery ได้จบ สวัสดี
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...