Technology

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

By Arnon Puitrakul - 22 กรกฎาคม 2024

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ปัจจุบันหูฟังที่มีระบบ Noise Cancelling มีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนอาจจะมองแค่ว่า มันทำให้เราสามารถฟังเสียงโดยมีเสียงรบกวนที่น้อยลง เพิ่มอรรถรสในการฟังได้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่านั้นมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีข้อดีอะไรอีกบ้าง

Noise Cancellation ทำอย่างไร ?

หลักการของ Noise Cancelling โดยพื้นฐานแล้ว เราจะมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ Passive และ Active

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

Passive Noise Cancelling เป็นการใช้วัสดุ และการออกแบบตัวหูฟัง เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกเข้าไป เช่นในหูฟัง In-Ear บางตัว เขาใช้จุกที่ทำจาก Memory Foam ที่ทำให้มันสามารถเข้ารูปกับหูของผู้ใส่ได้แน่นมากขึ้น ทำให้สามารถกันเสียงจากภายนอกเข้า และ เสียงจากหูฟังออกไป

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

แต่สำหรับ Active noise Cancelling นั้นเป็นเทคโนโลยีเกิดขึ้นมาทีหลัง หลักการของมันคือการสร้างคลื่นเสียงตรงข้าม เพื่อให้หักล้างกับเสียงรบกวนจากภายนอก ทำให้เสียงจากภายนอกหายไป เวลาเราใส่ไปครั้งแรก ๆ มันอาจจะรู้สึกว่า อึดอัดนิด ๆ เพราะเสียงมันหายไปเลย

Active Noise Cancelling อาจไม่ได้เก่ง 100%

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะเริ่มคิดแล้วว่า Active Noise Cancelling มันคือ Killer Feature แบบที่ว่า มันจะสามารถตัดเสียงได้ 100% แต่เอาเข้าจริง มันไม่ได้เก่งมากขนาดนั้น

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ถ้าหลักการพื้นฐานคือ เรามี Microphone 1 ตัวติดอยู่ด้านนอก แล้วต่อไปที่หน่วยประมวลผลเพื่อให้มันสร้างคลื่นเสียงย่านตรงข้ามขึ้นมา ใส่ผสมเข้ากับเสียงเพลง ข้อดีของมันคือ การ Implement ค่อนข้างง่าย และไม่ได้ใช้ Hardware เพิ่มมากมาย เพราะตัว Microphone ที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นมานั้น เราสามารถใช้ตัวเดียวกับ Microphone สำหรับคุยโทรศัพท์ที่ส่วนใหญ่จะใส่มาให้อยู่แล้ว

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง
Source: Sony

ปัญหาที่เจอคือ พบว่าประสิทธิภาพของระบบมันไม่ได้มากขนาดนั้น มันมีพวกเสียงย่านต่ำ ๆ เข้ามาเยอะพอสมควร ทำให้มีการพัฒนาโดยการใช้ Microphone เพิ่มเติมภายในหูฟังเพื่อทำให้มันรับเสียงที่ลอดผ่านเข้ามาในหูของเราได้ด้วย เช่นใน Sony WF1000-XM5 เขาใช้ Microphone ทั้งหมด 3 ตัวในการจับเสียงจากภายนอก

พอเราได้เสียงจาก Microphone ถึงขั้นตอนของการสร้างเสียงตรงข้ามขึ้นมา เราสามารถทำได้ด้วย 2 วิธีคือ การใช้รูปแบบ Analog และ Digital แต่ละวิธีมันก็จะมีความแตกต่างกันอีก

รูปแบบ Analog เป็นการใช้พวกเครื่องมือแปลงสัญญาณเสียง อย่างพวก Amplifiers,  Resistors และ Capacitors ให้สร้างย่านกลับด้านขึ้นมา ข้อดีที่สำคัญคือ มันใช้เวลาน้อยมากในการที่สัญญาณเสียงจาก Microphone ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไปโผล่ที่ Driver และเราสามารถออกแบบให้มันใช้พลังงานในการทำงานได้น้อยก็ได้ ส่งผลดีถึงเรื่องระยะเวลาที่สามารถใช้งานผ่าน Battery ได้ แต่กลับกัน ข้อเสียคือ Filter ที่เราสร้างขึ้นมา มันอาจจะไม่ได้มีความแม่นยำในการทำงานทุกเคส เพราะฉะนั้นทำให้นักออกแบบจะต้องออกแบบมากลาง ๆ หรือคิดล่วงหน้าเลย เพื่อให้มันตัดเสียงได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

รูปแบบ Digital มันทำมาเป็นลักษณะของหน่วยประมวลผล นั่นทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการตัดเสียงต่าง ๆ ได้ ตามสถานการณ์ที่ผู้ใช้จะไปเจอ ขึ้นกับผู้ผลิตแล้วว่า เขาจะออกแบบ Algorithm อย่างไรให้สามารถ ปรับเปลี่ยน ตามเสียงต่าง ๆ ได้ เช่นของ Sony มันสามารถตัดเฉพาะเสียงรบกวนออกไป และให้เฉพาะเสียงประกาศเข้ามาเพื่อให้เวลาเราไม่ถูกตัดออกจากโลกภายนอกมากเกินไป แต่กลับกันข้อเสียคือ ระยะเวลาในการประมวลผลขึ้นกับพลังของหน่วยประมวลผล ยิ่งเก่ง มันก็ยิ่งทำได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะ สัญญาณเสียงจะต้องแปลงไปเป็นชุดข้อมูล Digital เมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว มันก็จะต้องแปลงกลับไปเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิมอีก นอกจากนั้นยังขึ้นกับ Sampling Rate และความแม่นยำของ ADC, DAC

มันจะมีเรื่องของ เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะขึ้น นั่นแปลว่า หากเราเจอเสียงที่มันเป็นเสียงดังมาก ๆ หรือเสียงที่อยู่ ๆ เกิดขึ้นแว่บเดียวแล้วหายไป ระบบ Active Noise Cancelling มันจะทำงานไม่ทัน เสียงที่ตัดได้ดีจริง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงรูปแบบ Static Noise หรือเสียงรบกวนที่มันวิ่งอยู่ใน Pattern เดิม ๆ วนซ้ำไปซ้ำมา เช่นเสียงเครื่องยนต์เครื่องบินเป็นต้น

Active Noise Cancelling มีดีกว่านั้นมาก

ด้วยความที่ระบบ Active Noise Cancelling ทำงานโดยการสร้างเสียงในทางตรงกันข้ามเข้ามาตัด หลาย ๆ คนอาจจะกังวลว่า มันจะทำให้เราได้รับเสียงดังมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อหูของเราหรือไม่

แท้จริงแล้ว มันให้ผลตรงกันข้ามกับที่หลาย ๆ คนคิด เนื่องจาก เสียงที่ทะลุเข้ามา จะโดนเสียงที่โดนกลับด้านแล้วหักล้างออกจากกัน ทำให้เสียงที่เข้าไปในหูของเราเท่ากับ 0 (ในทางทฤษฏี) เสียงที่เข้าไปในหูของเราจริง ๆ มันก็จะเป็นเสียงที่เราเปิด ทำให้มันสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันเสียงดังจากภายนอกเข้าหูเราได้จำนวนหนึ่ง

พอเสียงจากภายนอกเข้ามาน้อยลง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปิดเสียงดังขึ้นเพื่อสู้กับเสียงภายนอก ลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับหูของเราได้ด้วย ดังนั้น ส่วนตัวเราแนะนำว่า ถ้าสามารถสู้ราคาของหูฟัง Active Noise Cancelling ได้ เราก็ยังแนะนำให้ใช้นะมันดีจริง ๆ นะ และที่สำคัญคือ อย่าเปิดเสียงดังเกินไปด้วย

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...