Tutorial

3 เครื่องมือที่ช่วยให้งานเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

By Arnon Puitrakul - 05 เมษายน 2019

3 เครื่องมือที่ช่วยให้งานเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

การเขียนพวกบทความ หรือ อะไรต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ มันอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่ใช่เจ้าของภาษา หรือแม้แต่ภาษาไทยเอง คำยาก ๆ เราก็ยังไม่รู้เลย ดังนั้น การใช้เครื่องมือที่มาช่วยทำให้ความมั่นใจในการการเขียนของเราดีขึ้น มันก็ย่อมดีใช่ม่ะ วันนี้เราเลยจะมานำเสนอ 3 เครื่องมือที่จะทำให้การเขียนของเราดีขึ้นไปอี๊ก

Grammarly

Grammarly

ถึงแม้ว่า ประเทศเราจะเน้นสอน Grammar กันรัว ๆ จนไม่ลืมหูลืมตา เรียนกันอย่างบ้าคลั่ง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้คนไทยเก่งไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษมากขึ้นเลย หรือแม้แต่เจ้าของภาษาเองเราว่ามันก็มีใช้ผิดบ้างแหละ ดังนั้น การใช้เครื่องมือในการตรวจเช็คอะไรแบบนี้เลยกลายเป็นอะไรที่ฮิตอยู่เหมือนกัน เราก็เป็นคนนึงที่ใช้เหมือนกัน เพราะเราก็ไม่ได้มั่นหน้าในความเก่งเลย

Grammarly เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยเราตรวจสอบไวยากรณ์ และ การสะกดคำ ว่ามันน่าจะมีอะไรที่เขียนผิดหรือไม่อะไรแบบนั้น หรือถ้าเรา จ่าย มันก็จะเก่งขึ้นไปอีก เช่น พวกแนะนำคำ หรือการเขียนที่ทำให้รูปประโยคของเราดูดีขึ้น, การใช้ Transition, การใช้ Composite Sentence หรือแม้กระทั่งการใช้ Passive และ Active Voice ที่มีผลต่อความหมายอยู่พอสมควร

Grammarly

ที่เราชอบอย่างนึงคือ การที่เวลาเราเข้าไปใช้ใน App ของมันแล้วเปิดไฟล์ใหม่ มันจะถามว่า เราเขียนในลักษณะไหน เขียนให้ใคร อารมณ์แบบไหน อะไรได้หมดเลย ซึ่งมันจะมีผลต่อคำ หรือวิธีการเขียนที่มันจะแนะนำเราในเอกสารอันนั้น ๆ เลย คนที่เรียนมาน่าจะรู้เลยว่า ค่าพวกนี้มันมีผลต่อวิธีเขียน การเรียงเรื่องราว และการเลือกใช้คำอยู่พอสมควรเลยละ มันก็จะเข้ามาช่วยเราได้เยอะเลย

นอกจากนั้นแล้ว มันก็ยังสามารถเข้าไปอยู่ในแทบทุกที่ที่เราเขียนได้เลย เช่นบน Google Chrome ที่มาในรูปแบบของ Chrome Extension ที่จะตรวจให้ได้ทุกที่ที่เราพิมพ์ในหน้าเว็บต่าง ๆ ตั้งแต่ Web Mail จนถึง Social Media ที่ใช้งานผ่าน Web Browser กันไปเลย

ขอควรระวังตัวนึงจากการใช้พวก Grammar Checker เนี่ย คือ โปรแกรมมันไม่ได้อ่านบริบทของประโยคแล้วรู้ว่าเราต้องการจะสื่ออะไรได้นะ มันใช้แค่ Keyword ง่าย ๆ ในการหาว่า ตรงนี้มันควรจะเดิม Article อะไร เติม -s หรือ -es อะไรแบบนั้นมั้ย จากคำที่เขียนอยู่เท่านั้น มันไม่ได้มานั่งดูว่า รูปประโยคนี้เราต้องการอะไรกันแน่ ดังนั้น เวลาที่มันแนะนำมา ให้เราดูรูปประโยคก่อนนะว่า ถ้าเราเปลี่ยนไปในแบบที่มันแนะนำมา มันจะเป็นอันที่เราต้องการอยู่มั้ย ถ้าใช่ก็โอเค หรือถ้าไม่อาจจะต้องไปดูคำข้าง ๆ ละว่า มันใช่อย่างที่เราต้องการรึเปล่า หรือไม่ก็แย่สุดคือ เราอาจจะเรียงคำในประโยคผิด (เออ !! มันมีจริง ๆ นะ แบบเอา Adverb ไปไว้หลัง Verb อะ)

เราอยากบอกว่า การใช้เครื่องมือพวกนี้ มันไม่ได้แค่ทำให้งานเขียนที่เราใช้ส่งมันดีขึ้นแค่นั้น แต่มันทำให้การเขียนของเรา ที่เป็นเราเองมันดีขึ้นได้ด้วยนะ เพราะพวก การผิดแบบโง่ ๆ หรือไม่ก็ง่าย ๆ มันมักจะเจอโดยโปรแกรมเหล่านี้ มันก็จะทำให้เราระวังมากขึ้นในอนาคตด้วย เราว่า มันก็เป็นอะไรที่ไม่เลวเลยที่จะใช้

Grammarly

อย่างที่บอกว่า ถ้าเราจ่าย ใช่ฮ่ะ มันมีทั้งตัวฟรี และเสียตังค์ ความสามารถก็จะมาขึ้นเพราะเราจ่ายเงิน ถามว่า ความสามารถที่เราต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้มันมา เราจะมีอะไรทดแทนได้มั้ย เราบอกเลยว่าได้ แค่ความสะดวกมันอาจจะไม่เท่า เท่านั้นเอง

Thesaurus

Thesaurus

อีกเรื่องที่เราว่าเด็กไทยน่าจะเก่งกัน นั่นคือ คำศัพท์ ซึ่งเอาจริง ๆ เท่าที่เห็นก็.... อื้ม ก็ตามนั้นแหละ ไม่พูด เวลาเราเขียนอะ บางทีคำที่เราอยากได้ เราคิดไม่ออกจริง ๆ แต่เรามีความหมายอยู่ในหัวแล้วแหละว่า มันน่าจะใกล้ ๆ เคียงไม่ก็ตรงข้ามกับคำนึงที่เรานึกขึ้นได้นั่นแหละ การหาคำเหล่านั้นได้มันก็จะช่วยทำให้ประโยคของเรามันอ่านได้ง่ายขึ้น คมขึ้น

Thesaurus เป็นเครื่องมือที่ดีในการค้นหา Synonyms และ Antonyms ที่ดีตัวนึงเลย ที่สำคัญนางใช้ฟรีเจ้าค่ะ !!

เมื่อเราค้นหา ไปแล้วมันก็จะให้คำที่น่าจะมีความหมายใกล้เคียงกับที่เราค้นหามาเลย โดยคำบางคำอาจจะมีหลายความหายอยู่ มันก็จะแบ่งออกมาเลยว่า คำนี้มันมีความหายอะไรบ้าง แล้วให้คำที่มีความหมายคล้ายกันของแต่ละความหมายออกมาเลย โดยมันยังบอกอีกว่า คำไหนที่น่าจะเป็นคำที่ความหมายเหมือนหรือคล้ายคำที่เราค้นหาที่สุดผ่านสีของคำนั้น ๆ ด้วย ทำให้การเลือกใช้คำของเรามันดูดี และสื่อความหมายได้ในแบบที่เราต้องการได้ชัดเจนมากขึ้นนั่นเอง

PaperRater

PaperRater Result

สุดท้าย ท้ายสุด เครื่องมือที่เราใช้คือ PaperRater มันคือ เครื่องมือในการเช็คคุณภาพของงานเขียน เลยว่า การเลือกใช้คำของเราอยู่ในระดับไหน การวางประโยคมันดีหรือไม่ดี การใช้คำเชื่อมต่าง ๆ และบอกออกมาเป็น Grade ได้เลยว่า งานเขียนของเรามันอยู่ระดับไหน

PaperRater

โดยก่อนที่เราใช้โปรแกรมนี้ มันจะให้เราเลือกก่อนว่า เราอยู่ในระดับไหน เขียนไปทำอะไรแบบนั้น เพื่อให้โปรแกรมมันบอกได้ว่า งานเขียนของเราอยู่ระดับไหน และต้องปรับปรุงอะไรบ้าง มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ในครั้งหน้า เราควรจะเขียนยังไง และ หลีกเลี่ยงอะไร นั่นก็คือการที่ทำให้ทักษะการเขียนของเราดีขึ้นไปอีกนั่นเองงงง

Bonus : การทำ Outline

อันนี้ไม่เกี่ยวกับเครื่องมืออะไรเท่าไหร่ แต่เราก็อยากจะเอามาเล่าอยู่ดี เพราะเราเห็นหลาย ๆ คนที่เขียนแล้วออกมาแปลก ๆ ไม่ตรงประเด็นอะไรเลย มักจะเริ่มลงมือเขียนโดยการนั่งเขียนเลย เลยทำให้ประเด็นที่เขาต้องการสื่อมันอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ หรือในกรณีที่แย่ที่สุดคือ ไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็ได้

วิธีที่จะช่วยได้ดีเลยคือการทำ Outline ออกมาก่อนว่าเราจะเขียนในประเด็นอะไรบ้าง แล้วค่อยเอามาเขียนจริง ๆ มันจะช่วยทำให้งานเขียนของเราอ่านรู้เรื่อง และดูดีขึ้นมากเลยละ

ถ้าเอาแบบ Standard สุด ๆ ก็คือ เริ่มจากเรามี Main Idea บอกว่า ประเด็นหลักเราคืออะไร แล้วค่อย ๆ ย่อยออกมาเป็นประเด็นย่อย ๆ พร้อมกับมีเหตุผล Support ของมันเอง และสุดท้ายก็สรุปหน่อย พร้อมกับให้อะไรบางอย่าง เช่น ความเห็น หรือแง่คิดอะไรก็ว่าไป มันก็น่าจะทำให้งานเขียนของเราอ่านง่าย และเป็นระบบมากขึ้นเยอะเลย

สรุป

ทุกอย่างที่เราเอามาเล่า เขาไม่ได้จ่ายเรานะ มันเป็นอะไรที่เราใช้มันในการทำงานทุกวันอยู่แล้ว (บางทีเผามาก ๆ ก็เขียนแล้วจบเลย อันนี้ไม่ดี อย่าลอกเลียนแบบ) ก็เลยอยากจะเอามาเล่าให้อ่านกันเผื่อใครที่ไม่รู้จะทำยังไงน่าจะได้ไอเดียมากขึ้น แต่ทั้งหมดแล้วนั้น การพึ่งแต่เครื่องมืออย่างเดียว มันก็ไม่ได้ทำให้เราเก่งขึ้นนะ ดังนั้นเครื่องมือเหล่านี้มันก็ช่วยให้งานเขียนของเราดีขึ้น และ ทักษะการเขียนของเราดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทักษะการเขียนมันไม่ได้มีแค่ การเขียนให้ถูกตามไวยากรณ์ เท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องของการ เล่าเรื่อง เล่ายังไงให้อ่านแล้วเข้าใจง่าน เข้าใจแล้วอินได้ พวกนี้เป็นทักษะที่ยากที่เครื่องมืออะไรจะมาช่วยเราได้ นอกจากเราต้องหัดเขียนบ่อย ๆ เดี๋ยวเราจะเก่งขึ้นเองไม่มีทางลัดนะไปละ (อย่าลืมนะว่า ถ้าเราจะไปสอบเอาคะแนน นี่ในห้องสอบมันไม่มีของพวกนี้ให้นะ ถถถถถ)

Read Next...

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

เวลาเราทำงานกับข้อมูลอย่าง Pandas DataFrame หนึ่งในงานที่เราเขียนลงไปให้มันทำคือ การ Apply Function เข้าไป ถ้าข้อมูลมีขนาดเล็ก มันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าข้อมูลของเราใหญ่ มันอีกเรื่องเลย ถ้าเราจะเขียนให้เร็วที่สุด เราจะทำได้โดยวิธีใดบ้าง วันนี้เรามาดูกัน...

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

Python เป็นภาษาที่เราใช้งานกันเยอะมาก ๆ เพราะความยืดหยุ่นของมัน แต่ปัญหาของมันก็เกิดจากข้อดีของมันนี่แหละ ทำให้เมื่อเราต้องการ Performance แต่ถ้าเราจะบอกว่า เราสามารถทำได้ดีทั้งคู่เลยละ จะเป็นยังไง เราขอแนะนำ Numba ที่ใช้งาน JIT บอกเลยว่า เร็วขึ้นแบบ 700 เท่าตอนที่ทดลองกันเลย...

Humanise the Number in Python with "Humanize"

Humanise the Number in Python with "Humanize"

หลายวันก่อน เราทำงานแล้วเราต้องการทำงานกับตัวเลขเพื่อให้มันอ่านได้ง่ายขึ้น จะมานั่งเขียนเองก็เสียเวลา เลยไปนั่งหา Library มาใช้ จนไปเจอ Humanize วันนี้เลยจะเอามาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำอะไรได้ แล้วมันล่นเวลาการทำงานของเราได้ยังไง...

ทำไม 0.3 + 0.6 ถึงได้ 0.8999999 กับปัญหา Floating Point Approximation

ทำไม 0.3 + 0.6 ถึงได้ 0.8999999 กับปัญหา Floating Point Approximation

การทำงานกับตัวเลขทศนิยมบนคอมพิวเตอร์มันมีความลับซ่อนอยู่ เราอาจจะเคยเจอเคสที่ เอา 0.3 + 0.6 แล้วมันได้ 0.899 ซ้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ 0.9 เพราะคอมพิวเตอร์ไม่ได้มองระบบทศนิยมเหมือนกับคนนั่นเอง บางตัวมันไม่สามารถเก็บได้ เลยจำเป็นจะต้องประมาณเอา เราเลยเรียกว่า Floating Point Approximation...