By Arnon Puitrakul - 08 พฤศจิกายน 2020
เชื่อว่าหลาย ๆ คนเดี๋ยวนี้ก็ยังคงใช้ Email ในการติดต่อสื่อสารกันอยู่ และ หลาย ๆ ครั้ง เราอาจจะเจอกับอีเมล์แปลก ๆ ที่ส่งเข้ามาหาเรา บางทีมันก็บอกว่า การเงินของเรามีปัญหา โดนปิดบัญชีบ้างอะไรบ้าง หรือมีอีเมล์แปลก ๆ ชวนให้ขายตัวบ้าง ฮ่า ๆ หรือบางอีเมล์อาจจะมาจากธนาคาร ดูแล้วหน้าตาแล้วคือเหมือนของจริงมาก ๆ ถามว่า โห แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ามันเป็นของจริง วันนี้เราจะมาลวงลับ จับ Phishing Mail ฉบับคนทั่ว ๆ ไปก็ทำได้กัน
หลาย ๆ ครั้ง เวลาเราอ่านอีเมล์ที่มันมีข้อความ หรือ การออกแบบ ที่ทำให้เรารู้สึกว่า มันเร่งด่วน จะทำให้เราเบนความสนใจไปที่การแก้ปัญหาทันที โดยอาจจะข้ามการตรวจสอบไปว่ามันคือ ของจริงหรือเปล่า
ถ้าเราดูจากหน้าตาของอีเมล์ บอกเลยว่า เราเชื่อนะ มันดูเหมือนจริงมาก ๆ ทำให้เราเชื่อไปแว่บนึงเลยว่า เนี่ยแหละ น่าจะมาจาก Amazon จริง ๆ ไม่ทิพย์ แน่ ๆ
ทำให้ในขั้นตอนที่ 1 คือ เราต้องใจเย็น ๆ อย่าพึ่งสนเนื้อหาในอีเมล์ ให้เราตรวจสอบก่อนว่า จากตัวส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ใน Email ฉบับนั้น บอกว่า มันเป็นของจริงหรือไม่
ขั้นตอนที่ทำให้เราสามารถเช็คได้ง่าย ๆ เบื้องต้นว่า มันเป็นของจริงหรือไม่ ให้เราเช็คจากชื่อผู้ส่งก่อนเป็นอันดับแรก ว่าชื่อนั้นถูกต้องมั้ย เช่น ตัวชื่อในตัวอย่างนี้เราอาจจะเห็นว่า อ่อ มันคือ Amazon.com ก็ดูเหมือนจะใช่นะ แต่เมื่อเราคลิกดูชื่อ Email ที่ส่งมาแล้ว ทำไม มันไม่ได้มาจาก Amazon จริง ๆ ละ
ดูง่าย ๆ คือ ถ้ามันมาจากที่อยู่นั้นจริงหลัง @ ต้องเป็นที่อยู่ของเว็บนั้น หรืออาจจะมีการเติมอะไรข้างหน้านิดหน่อยอาจจะเป็น Subdomain ก็แล้วแต่เว็บ แต่หลังสุดต้องเป็นเว็บนั้นจริง ๆ ถ้าไม่ใช่ ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า มันไม่ใช่ของจริงแน่ ๆ
สุดท้าย ถ้าเรายังไม่แน่ใจ เราอาจจะติดต่อกับผู้ที่เราคิดว่า เป็นคนส่งอีเมล์นี้มาจริง ๆ ในตัวอย่างนี้ เราก็อาจจะติดต่อไปที่ Support ของ Amazon ถามว่า มีการส่งอีเมล์นี้มาจริง ๆ หรือไม่
ในการหาเบอร์ หรือช่องทางการติดต่อ ย้ำ ว่า อย่าเอาช่องทางการติดต่อที่อยู่ในอีเมล์ติดต่อเข้าไป เราอาจจะติดต่อแล้วมีคนตอบกลับมาจริง แต่เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่า คนที่ตอบกลับเราเป็นตัวจริงหรือ Imposter กันแน่
เพราะถ้าเราเชื่อ และ กดลิงค์ หรือ เราใช้ช่องทางการติดต่อที่อยู่ในอีเมล์ เราเปิดเข้าไปเราอาจจะเจอกับหน้าเว็บที่เหมือนกับหน้าเว็บของจริงเลย แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นของปลอม เราเรียกพวกนี้ว่า Phishing Site
ดังนั้นให้เราเข้าไปหาช่องทางการติดต่อที่เว็บไซต์ของผู้ให้บริการนั้น ๆ เลยจะดีกว่า เช่นธนาคาร เราก็สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของเขาได้โดยตรง หรือ อาจจะมี Call Centre ที่อยู่ในบัตร หรือเอกสารบัญชีกับธนาคารนั้น ๆ ก็ได้
หรือถ้าเราเข้าเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ ในเบื้องต้น เราอาจจะเช็คว่าเว็บนั้นมีการใช้ HTTPS และมี Certificate ที่ถูกต้องหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นการดูเบื้องต้นที่โอเคแล้วละ
เรายอมรับเลยว่า Phishing Mail เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไป หรือแม้กระทั่งเราเอง ที่เราจบคอมพิวเตอร์มา แว่บนึงเราก็เคยเจอ Phishing Mail ที่มันเหมือนกับเมล์ของจริงเลย จนเชื่อไปเลยว่านี่คือของจริง จนไปเช็คดูจาก 3 ขั้นตอนนี้แหละ รู้เลยตั้งแต่ Step 2 ละว่า ที่อยู่มันประหลาด หรือ พวกที่ส่งมา แล้วเราไม่ได้ใช้บริการอยู่ แต่หัวเรื่องคือเหมือนเราใช้บริการ เช่น เราไม่เคยใช้ Netflix เลย แต่อยู่ ๆ เราได้อีเมล์ว่า การ Subscription เรามีปัญหา อันนี้จบแต่แรกแล้วแหละว่า โดนละ เราก็แค่ยัดมันลงใน Junk Box ไปซะ
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...
ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนนานมาก ๆ แล้ว ตำรวจไทยได้จับกุมเจ้าของเว็บ AlphaBay ขายของผิดกฏหมายรายใหญ่ ซึ่งเว็บนั้นมันอยู่ใน Dark Web ที่จำเป็นต้องเข้าถึงผ่าน Tor Network วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำงานอย่างไร และทำไมการตามตัวในนั้นถึงเป็นเรื่องยากกัน...