Review

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

By Arnon Puitrakul - 24 พฤศจิกายน 2023

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ไม่ค่อยกล้าซื้อพวก HDD มือสองเท่าไหร่ กลัวเรื่องปัญหาและการรับประกันต่าง ๆ จนล่าสุดเราไปเจอ HDD มือสองที่ราคาโอเคมาก ๆ เลยคิดว่าจะซื้อมาลลองเปลี่ยนดู วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า ซื้อมาแล้วเป็นยังไง เมื่อเราได้มาแล้วเราจะเช็คสุขภาพของมันได้อย่างไร กับการ Expand Volume บน DSM ที่ใช้เวลากว่า 2 วันกว่าจะเสร็จ

HDD มือสอง เราต้องดูอะไรบ้าง

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

สำหรับคนที่ต้องการใช้ HDD มือสองจริง ๆ เราค่อนข้างแนะนำในกลุ่มที่เป็นพวก Server Grade เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่เขาจะใช้งานกันในระดับ Server มีการควบคุมดูแลที่ดีกว่า HDD บ้านทั่ว ๆ ไป และพวกนี้เขาไม่ได้เสียแล้วเปลี่ยนออก แต่เขาจะมีเวลาใช้ไปสักพักแล้วต้องเปลี่ยนก่อนที่จะพัง ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้ของที่ใช้งานต่อได้ ยังโอเคมันมีเยอะกว่า

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

เช่นตัวที่เรากดมา เป็น WD Ultrastar รุ่นนี้ปกติ เราจะไม่ได้เห็นกัน เพราะมันเป็น HDD ในระดับ Data Centre ใช้กัน หรืออยู่ในพวกกลุ่ม Server ใช้กันค่อนข้างเยอะมาก ตรงกับที่เราบอก เลยไว้ใจได้เปราะนึง

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

เนื่องจากว่า เราเจอ HDD มือสองที่เขาปลอมพวก Label มาพอตัว เขาจะชอบปลอมเป็น Label ที่คนไม่ค่อยรู้จัก จะเป็นพวก Server Grade นี่แหละ ทำให้เราเลยจะเอา Serial ไปเช็คกับเว็บของ WD ซึ่งออกมาข้อมูลมันตรงกันหมด ก็สบายใจไปอีกเปราะ

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

HDD บางตัวเขาจะมีการระบุวันที่ผลิตเอาไว้ที่ Label ด้วย เช่นตัวนี้ผลิตตั้งแต่ปี 2021 ตอนนี้ปี 2023 แปลว่า HDD ลูกนี้ก็อายุประมาณ 2 ปีได้แล้ว ถือว่ายังอยู่ในอายุที่เราคิดว่าโอเค เพราะ อายุของ HDD ที่เราคาดว่าส่วนใหญ่มันจะทำงานได้อยู่ที่ประมาณ 4-5 ปี ดังนั้นหากคิดจากเกณฑ์นี้ อย่างน้อยที่สุด มันจะอยู่กับเราได้อีก 2-3 ปี ซึ่งถือว่าเพียงพอสำหรับเราแล้ว แต่อายุจาก Label นี้ไม่ได้บอกว่า จริง ๆ แล้ว HDD ลูกนี้มันถูกใช้งานเยอะมากน้อยขนาดไหน

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

จากนั้น เรามาเช็คจาก Status ของ HDD เพื่อความแน่ใจกันต่อ จากเดิมที่เราบอกว่า HDD ลูกนี้ผลิตมาประมาณ 2 ปีแล้ว ข้อมูลจาก SMART Status ดูที่ค่า Power_On_Hours เป็นค่าที่บอกว่า HDD ลูกนี้มีการเปิดทำงานมาแล้วนานกี่ชั่วโมง คือ 9,914 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 413 วัน หรือก็คือ ปีนิด ๆ แปลว่า HDD ลูกนี้ผลิตออกมาแล้วตั้งอยู่ใน Shelf ไม่นานก็ขายได้เลย

นอกจากนั้น ให้เราดูที่ค่า Power_Cycle_Count คือค่าที่บอกว่า HDD ลูกนี้มีการเปิดปิดมาแล้วกี่ครั้ง โดยปกติ Server เราเปิดแล้วก็อยู่ยาวเลย ไม่ค่อยได้ปิด ทำให้ค่านี้มันไม่ควรจะเยอะมาก ซึ่ง 10 ครั้ง เทียบกับ Power On 9,914 ชั่วโมง ถือว่าน้อยมาก ๆ

และสุดท้ายคือ Reallocated_Sector_Ct เป็นค่าที่บอกว่า HDD ลูกนี้มีการย้ายข้อมูลออกจากบางส่วนของตัว HDD เองมากน้อยแค่ไหน โดยปกติ HDD ที่สมบูรณ์ทำงานได้ปกติ ค่านี้ควรจะขึ้นเป็น 0 แต่ถ้าไม่ใช่ แปลว่า HDD เริ่มมีอาการ Bad Sector ให้เห็น ถ้าใช้ไปเรื่อย ๆ เราก็จะเจอกับอาการที่ข้อมูลบางส่วนมันเข้าถึงไม่ได้

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

เช่น HDD ลูกนี้ของเราเอง ใช้มา 4 ปีละ เป็น Desktop External HDD เราเริ่มเจออาการแปลก ๆ คือไฟล์บางไฟล์มันไม่สามารถเปิดได้ และเวลาเราใช้งาน ความเร็วในการอ่านเขียนมันเหวี่ยง ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ เลยลอง Format แล้วเอาข้อมูลใส่กลับเข้าไป มันใช้ได้ปกติอยู่ไม่กี่อาทิตย์หลังจากนั้นมันเป็นอีก เลยลองมาเช็ค SMART Status ดู ก็คือ รู้เรื่องเลย จะเห็นได้จากค่า Reallocated Sectors Count โดนไป 198 แล้ว จากที่ควรจะเป็น 0 แปลว่ามันเริ่มไม่ไหวละ ยืนยันอาการที่เราเจอก่อนหน้านี้ได้เลย

ดังนั้นสุดท้ายแล้ว เมื่อเราเลือกซื้อ HDD มือสองมา มันจะมีความผิดปกติจากภายนอก ตั้งแต่สภาพของตัว HDD ต้องไม่มีรอยตก บุบ หรืออะไรทั้งสิ้น พวก Label ต่าง ๆ จะต้องตรวจสอบได้ และมีข้อมูลที่ตรงกับที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ สุดท้ายเช็คจาก SMART จะต้องมีสุขภาพดี ไม่มี Bad Sector ผ่านการตรวจสอบที่เราเล่าไปก่อนหน้านี้

มหกรรมเปลี่ยน HDD 2 วัน

หลังจากที่เราเช็คสุขภาพของ HDD ที่เราซื้อมาเรียบร้อยแล้ว เราจะเอา HDD มาสลับในระบบกัน ตัวเก่าของเรามีขนาด 4 TB ทั้งหมด 11 ลูกด้วยกัน ทำงานอยู่บน SHR-1 แต่ลูกที่เราจะเอามาสลับเป็นลูกขนาด 16 TB

ถ้าเราคิดเร็ว ๆ จาก SHR-1 เนื้อที่ที่เราจะได้เพิ่มมามันไม่ใช่ 32 TB แต่เป็น 16 TB แรก เราจะเสียไปเลย เพื่อเป็น Parity และอีกลูกจะได้เพิ่มขึ้นมาเต็ม ๆ เทียบกับ 4 TB ทำให้เราจะได้เพิ่มมาประมาณ 12 TB เท่านั้นตามทฤษฏี แต่หลังจากนี้ ถ้าเราสลับเอา 16 TB มาใส่เรื่อย ๆ เราก็จะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นมา 12 TB ต่อลูกละ ไม่เสียเต็ม ๆ เหมือนลูกแรก

อย่างที่บอกว่า ระบบของเราทำงานบน SHR-1 แปลว่า จำนวน HDD ที่เราจะเสียได้มีแค่ 1 ลูกเท่านั้น ทำให้หากเราจะสลับเราสามารถสลับได้ทีละลูกเท่านั้น หากถอดมากกว่านี้อาจจะทำให้ Array เราเสียหาย ข้อมูลเราอาจจะหายได้อีก

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

ก่อนที่เราจะเปลี่ยน ต้องมั่นใจก่อนนะว่า Array ของเราไม่ได้มี Operation อะไรที่กำลังทำงานอยู่ เราก็ถอดมันตรง ๆ ได้เลย แต่.... อย่าลืมนะว่า HDD เรากำลังทำงานอยู่ เวลาจะดึงออกมา เทคนิคคือ ให้เราดึงออกมานิดนึงก่อน เพื่อให้หลุดจากขั้วต่อ SATA จากนั้นรอสัก 2-3 วินาทีให้ HDD มันหยุดหมุนก่อน แล้วค่อย ๆ ดึงออกมาช้า ๆ เผื่อมันยังไม่หยุดหมุนสนิท

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

ระหว่างที่เราดึง HDD ออกมา เครื่องมันรู้ตัวแล้วละว่า HDD หายไป ไฟสถานะมันเลยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็มีเสียง Beep ออกมาจากเครื่อง กดดันสัส

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

หลังจากนั้น Array ของเราจะอยู่ในสถานะ Degraded คือเรายังสามารถ อ่านเขียนข้อมูลได้อยู่ แต่มันล้วนเกิดจากการคำนวณ Partity ทั้งนั้น หากเสียอีกลูก ก็คือชิบหายการช่าง ข้อมูลหายหมด ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องทำให้มันกลับมาให้เร็วที่สุด

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

เมื่อใส่เข้าไปแล้ว เรากลับไปที่ DSM เลือก Repair Array จากนั้น เราก็เลือก Disk ที่เราใส่เข้าไปใหม่ โดยมันจะใช้เวลาในการ Repair หรือก็คือ การคำนวณข้อมูล Parity แล้วแปะลงไปใน HDD ลูกใหม่นั่นเอง โดยกระบวนการนี้เราจะใช้เวลา 1 วันเต็ม ๆ ขึ้นกับขนาดของ HDD ด้วย ยิ่งใหญ่ ยิ่งใช้เวลานาน

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

หลังจากลูกแรกเสร็จ เรามาทำลูกที่ 2 ต่อ แต่ลูกนี้มันจะทำให้เราสามารถ Expand ขนาดของ Array เข้าไปได้อีก ตามที่เราเล่าให้อ่านก่อนหน้านี้ ดังนั้น ในการสลับลูกละ 1 วันเต็ม ๆ ดังนั้น 2 ลูกก็จัดไปเลยฮะ 2 วันเต็ม ๆ ความสนุกคือ หากลูกใดลูกหนึ่งที่ยังเหลืออยู่ เกิดพังขึ้นมาละก็......... ชิบหายการช่างได้เลยนะบอกเลย เป็น 2 วันที่นอนไม่เต็มอิ่ม หายใจไม่ทั่วท้องเท่าไหร่

สรุป

ประสบการณ์ซื้อ HDD มือสอง และ 2 วันกับการสลับ HDD

หลังจากวันมหาวิปโยค 2 วันผ่านไป Array ของเราก็กลับมาทำงานตามปกติ ไม่มีการสูญหายของข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นอันจบเรื่องเล่าประสบการณ์การซื้อ HDD มือสองครั้งแรก และ การ Expand Array ของเราแล้ว ครั้งแรกมันก็งี้แหละ เสียว ครั้งต่อไปน่าจะชินแล้วแหละมั้ง

Read Next...

1 เดือนกับ Macbook Pro 14-inch M4 Max ไม่ผิดหวังเลยจริง

1 เดือนกับ Macbook Pro 14-inch M4 Max ไม่ผิดหวังเลยจริง

เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...

Macbook Pro 14-inch M1 Max ผ่านไป 3 ปีอาการเป็นยังไงบ้าง

Macbook Pro 14-inch M1 Max ผ่านไป 3 ปีอาการเป็นยังไงบ้าง

เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...

รีวิว Apple Watch Series 10 ในที่สุด ก็ได้กลับมาใส่ Titanium อีกครั้ง

รีวิว Apple Watch Series 10 ในที่สุด ก็ได้กลับมาใส่ Titanium อีกครั้ง

ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Macbook Pro 14-inch M4 Max ไปให้สุดหยุดที่หมดตัว v2 (Part Performance Analysis)

รีวิว Macbook Pro 14-inch M4 Max ไปให้สุดหยุดที่หมดตัว v2 (Part Performance Analysis)

จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...