Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

ช่วงนี้เราอินกับ น้ำหอมมาก ๆ เรียกว่า จากเคยพูดไว้ว่า คนเรามันมีน้ำหอมขวดเดียวก็พอแล้วอะไรเยอะแยะ ผ่านไปไม่กี่เดือน ฟาคคคค 30 ขวดแล้ว ชิบหายการเงินมาก ๆ แต่ ๆ เรื่องที่เราคิดว่าน่าใจมาก ๆ สำหรับ เราที่สนใจน้ำหอม และวิทยาศาสตร์คือ วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของน้ำหอม มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดมาก ๆ ทำไมกลิ่นนี้ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ หรือเรื่องที่เรามา Cover กันในวันนี้คือ ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

กลิ่นเกิดจากอะไร ?

เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมสารบางอย่างถึงมีกลิ่น สารบางอย่างถึงไม่มีกลิ่น เช่น เราไปดมถุงพลาสติกที่ไม่เคยใส่อะไรเลย กลิ่นแทบจะไม่มีเลย กลับกันถ้าเราไปดมแอลกอฮอล์ หืมม กลิ่นมันแรงมาก ๆ

ถ้าเราไปมองในทางเคมี จริง ๆ แล้วสารเคมี หรือกระทั่งสารสกัดจากธรรมชาติก็คือสารเคมี มันมีลักษณะเป็นโมเลกุลต่อ ๆ กัน ตัวอย่างเช่นน้ำ เรารู้ว่า น้ำ 1 โมเลกุล ประกอบด้วย H20 แน่นอนว่า มันมีขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้น้ำที่เราเห็นกันจริง ๆ มันคือ H20 หลาย ๆ ตัวมาต่อกัน แล้วจับมือกันเหมือนกำลังร้องเพลงสามัคคีชุมนุม ฮ่า ๆ

ถ้าเราตั้งน้ำไว้เฉย ๆ ในพื้นที่ ๆ มืดสนิท ไม่มีพลังงานอะไรเลย ทางทฤษฏี เมื่อเวลาผ่านไปน้ำควรจะมีปริมาตรเท่าเดิม เพราะมันไม่ได้มีแรงอะไรมากระทำกับมัน มันอยู่ของมันไปเรื่อย ๆ แต่ในความเป็นจริง

แต่ถ้าเกิด เราใส่พลังงานให้มันเข้าไปละ ถ้าเกิดแรงหรือพลังงานที่เราใส่เข้าไป มันมากกว่า แรงที่จับมือสามัคคีชุมนุมกันอยู่ ส่วนที่พลังงานเกิน มันจะหลุดออกไปในอากาศในที่สุด (ถ้าเราอยู่ในที่ ๆ มีอากาศอะนะ) เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การระเหย (Evaporation)

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เราเอาน้ำใส่แก้ว ไปตั้งไว้กลางแดดสักพักใหญ่ ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่น้ำยังไม่ร้อนถึงจุดเดือด แต่ ทำไมเราเห็นไอน้ำเกาะที่ปากแก้วเยอะมาก ๆ นั่นเป็นเพราะ แสงแดด จริง ๆ มันมีพลังงานของมันที่ส่งผลให้น้ำเกิดการระเหยนั่นเอง แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเกิดในผิวน้ำด้วย เพราะ เมื่อแดดส่องลงมากระทบกับน้ำ ยังไงผิวน้ำจะโดนก่อนเต็ม ๆ พลังงานที่เหลือถึงจะผ่านลงไปในน้ำที่ลึกกว่านั้นได้ นั่นคือเหตุว่าทำไม ใต้ทะเลลึกถึงมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าบนผิวน้ำมาก ๆ

สารประเภทอื่น ๆ ก็เช่นกัน มันมีจุดเดือดเช่นกัน ทำให้ไม่ว่าสารอะไรที่เป็นของเหลวมันเกิดการระเหยได้หมด แค่ขึ้นกับว่า จุดเดือนของสารแต่ละตัวมีค่าเท่าไหร่มากกว่า เช่น Ethyl Alcohol ที่เราเอามาใส่ในน้ำหอมกัน เพื่อให้มันกระจายกลิ่นได้ดีขึ้นมีจุดเดือดที่ต่ำมาก 78.37 องศาเซียลเซียส เมื่อเทียบกับน้ำที่ 100 องศาเซียลเซียส ถือว่าน้อยกว่ามาก ๆ ไม่ไปนับพวก Helium พวกนั้นนะ ฉีดไป พูดออกมาเสียงเป็นชิปมังก์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารใดที่เป็นเหลว มันสามารถระเหยได้หมด

น้ำหอมทำจากอะไร ?

ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า แล้ว น้ำหอม มันทำจากอะไรกัน โดยทั่วไป เขาจะมีส่วนประกอบอยู่ทั้งหมด 3 อย่างด้วยกันคือ หัวน้ำหอม, Fixative และ Solvents

อย่างแรกคือ หัวน้ำหอม ตัวนี้คือ ส่วนที่ทำให้น้ำหอม มีกลิ่นหอมขึ้นมา เช่น กลิ่นที่สกัดจากเปลือกส้ม หรือ พวกดอกไม้ หรือ ไม้ต่าง ๆ เช่น กฤษณา เป็นต้น ซึ่งการสกัดก็มีหลายรูปวิธีการด้วยการ วิธีการที่ง่ายที่สุด เห็นได้เยอะที่สุดคือ การใช้พวกกลุ่มสารละลาย หรือ Solvents ในการทำละลายสารที่ให้กลิ่นออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกลุ่ม Oil ซะเยอะ สารพวกนี้ส่วนใหญ่เขาจะมีแรงยึดระหว่างโมเลกุลที่ต่ำประมาณนึง ทำให้เมื่อเราดมสารพวกนี้ เราจึงรู้สึกถึงกลิ่น แต่กลิ่นมันไม่โชยเหมือนกับน้ำหอมที่เราฉีดหรือปักก้านในบ้านเราเลย

นั่นเป็นเพราะ แรงยึดระหว่างโมเลกุล กับ พลังงานที่เราให้มันยังไม่เพียงพอที่จะทำให้โมเลกุลมันหลุดออกมา แน่นอนว่า ผู้ผลิตน้ำหอม ไม่สามารถเดินไปเอาเครื่องอบไปให้ หรือ ให้ลูกค้าไว้กลางแดดแน่นอน ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเพิ่มพลังงานที่เข้าไปยุ่งกับน้ำหอมได้ แปลว่าทางเดียวคือ เขาจะต้องลดแรงยึดระหว่างโมเลกุล เลยไปผสมสารที่อาจจะมีแรงยึดที่น้อยลงไปหน่อย เพื่อให้มันพาหัวน้ำหอมออกมาได้ง่ายขึ้น เราจะเรียกสารพวกนี้ว่า Solvents

ส่วนใหญ่ Solvent ที่เราใช้กันในวงการน้ำหอม จะเป็นสารจำพวก Alcohol เช่น Ethyl Alcohol หรือ Ethyl Acetate จำพวกนั้น เพราะ มันเป็นสารที่มีจุดเดือดต่ำ แทบไม่มีกลิ่น (จริง ๆ Ethyl Alcohol มันก็มีกลิ่นบ้าง แต่มันระเหยไปเร็วมาก) ไม่มีสี ไม่มีรสชาติ พูดง่าย ๆ คือ มัน Low Profile ไม่สร้างกลิ่น สี รูปแปลก ๆ ให้เมื่อผสมเข้าไป แต่ยังคงความสามารถในการพาน้ำหอมหลุดสู่อากาศได้สูงนั่นเอง บางเจ้า อาจจะเลือกใช้กลุ่มของ Oil เป็น Solvent เช่น Brand ไทยอย่าง Panpuri เป็นต้น ทำให้ Solvent เป็นเหมือนรถที่พาหัวน้ำหอมพุ่งทยานออกไป

แต่ ๆๆๆๆๆๆ ถ้าเราอัด Solvent เยอะมาก ๆ น้ำหอมเท่าเดิม สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ กลิ่นมันหายไปเร็วมาก หรือในกลุ่มคนเล่นน้ำหอมเราจะพูดว่า มันไม่ติดผิวเรานานเท่าไหร่เลย เป็นเพราะน้ำหอมที่เราฉีดเข้าไปมีจำกัด ตัวหัวน้ำหอมมันออกจากผิวเราไว ระยะเวลาที่กลิ่นจะติดเลยน้อยลง ทำให้เขาต้องใส่สารบางอย่างที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรกเข้าไปด้วยคือ Fixative เพื่อเป็นตัวชะลอการระเหยของน้ำหอมออกไป ทำให้น้ำหอมมันติดตัวเราได้นานขึ้น

โดย Fixative ที่เราใช้งานกันมีเยอะมาก ๆ เช่น Ambergris (อ้วกปลาวาฬ), Musk และ Civet (ชะมดเช็ด) ที่เราสามารถหาได้ตามธรรมชาติ แต่พอธรรมชาติมันหาไม่ง่าย เช่น Musk มันยากเนอะ ทำให้คนเราสังเคราะห์ตัวแทน ที่คล้าย ๆ กันเช่น Cashmeran ออกมา หรือ จะเป็นในกลุ่มใหม่ ๆ คือ ISO E Super เทือก ๆ นั้น ซึ่งบางชนิดไม่มีกลิ่น

บางชนิดมีกลิ่นจึงถูกนำมาใส่เพื่อสร้าง Note ในน้ำหอมก็ได้เช่นกัน เช่น Louis Vuitton Afternoon Swim ที่ Base Note เป็น Ambergris อยู่ด้านล่าง ทำให้มีราคาแพงมากเป็นต้น

กลิ่นสังเคราะห์ vs กลิ่นจากธรรมชาติ

เวลาเราเข้าไปอ่านพวกน้ำหอมทั้งหลาย เราจะเจอคนตบตีกัน หรือ การตลาดของน้ำหอมชอบสร้างวาทะกรรมที่ว่า กลิ่นจากธรรมชาติดีกว่า ปลอดภัยกว่ากลิ่นสังเคราะห์นะ เอาจริง ๆ เลยนะว่า ตอแหลทั้งเพ

เริ่มต้นของน้ำหอมจริง ๆ คิดว่าน่าจะเกิดจากการใช้สารสกัดธรรมชาติมาทำกัน เพราะอาจจะยังไม่มีกระบวนการทางเคมีที่ดีเหมือนสมัยนี้ เช่น ถ้าน้ำหอมกลิ่นกุหลาบ อย่างน้ำหอมกลิ่น À la rose ของ Maison Francis Kurkdjian เขาบอกว่า เขาใช้ดอกกุหลาบถึง 250 ดอกในการทำน้ำหอม 1 ขวด คิดว่า มันเยอะขนาดไหน และ เราต้องปลูกกุหลาบอีกเท่าไหร่เพื่อจะได้น้ำหอมสักขวด ทำให้มันมีราคาที่สูงมาก ๆ

หรือ กระทั่งการใช้พวก Oud หรือไม้กฤษณา ที่เป็นส่วนผสมสุดเลอค่า ราคาโคตรสูงตัวนึงของโลกเลยก็ว่าได้ มันเป็นเรื่องที่ยากต่อการเข้าถึงมาก ๆ

ทำให้เกิดไอเดียที่จะสังเคราะห์กลิ่นที่เหมือนกับกลิ่นบางอย่างในธรรมชาติออกมา เช่น กลิ่น Rose, Jasmine หรือกระทั่งตัวยากมาก ๆ อย่าง Oud เอง ขึ้นมา แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะองค์ประกอบทางเคมีที่สร้างกลิ่น ๆ หนึ่งขึ้นมามันมีความซับซ้อนสูงมาก ๆ เช่น ถ้าเราไปดมพวก Oud ดู มันจะออกล้ำลึก มีความซับซ้อนของกลิ่นสูงมาก ๆ เลย

ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ฝั่งทางเคมีเอง ก็ยังมีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่นในพืชหลายชนิดทั่วโลกอยู่เหมือนกัน และอีกด้านก็พยายามผสมสารเคมีที่ให้กลิ่นคล้ายกับกลิ่นที่ต้องการออกมา เช่น Rose และ Jasmine เป็นต้น

ซึ่งข้อดีของการใช้กลิ่นจากการสังเคราะห์คือ ราคาถูกกว่า เข้าถึงคนได้ง่ายกว่า ถ้าเราลองไปกด น้ำหอม Rose ขวดละไม่กี่ร้อยเทียบกับ หมื่น ดูสิ เราจะรู้สึกเลยว่า เห้ย ทำไมขวดหมื่นกลิ่นมันคล้ายกับกุหลาบจริงมากกว่า นั่นเป็นเพราะเราพยายามแต่งให้คล้าย แต่เพราะเรายังไม่รู้ทั้งหมด มันเลยทำให้เหมือน 100% ยังเป็นเรื่องยากอยู่

แต่ถามว่า น้ำหอมที่บอกว่า มาจากธรรมชาติ มันเหมือนกับกลิ่นจริง 100% เลยมั้ย ก็ต้องตอบว่า ไม่อีก อยู่ดี เพราะเหตุเดียวกันคือ องค์ประกอบทางเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่น มันซับซ้อน เรายังเข้าใจมันไม่หมด 100% เพราะฉะนั้น เวลาเราทำละลายออกมา เราก็จะละลายสารที่สร้างกลิ่นได้แค่ส่วนหนึ่งออกมาอยู่ดี อาจจะยังมีสารบางตัวที่ติดหลงเหลืออยู่ในสิ่งที่เราเอามาสกัดและเป็นส่วนสำคัญก็ได้ แต่.... การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาละลายผ่านตัวทำละลาย เราได้บางตัวที่เรารู้แน่ ๆ แต่บางตัวที่มันใช้ตัวทำละลายเดียวกันได้ มันหลุดออกมาด้วยเช่นกัน นั่นคือ เหตุที่ทำให้พวกที่ใช้สารจากธรรมชาติมันมีกลิ่นคล้ายกับของจริงมากกว่านั่นเอง

ดังนั้น กลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมา ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของการทำให้น้ำหอมเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และ อาจสร้างเป็นกลิ่นใหม่ได้ เช่น ISO E Super ที่ฉีดออกมาแล้ว โหววว เป็นเรื่องใหม่เลยก็ได้เหมือนกัน ไม่ได้มีความอันตรายต่อสุขภาพ (ถ้าผ่าน FDA แล้ว และใช้มันอย่างถูกต้อง ไม่ดื่มเข้าไป) เมื่อเทียบกับการใช้สารสังเคราะห์เลย และคำเคลมที่บอกว่า ตัวที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติจะได้กลิ่น 100% ก็เป็นเรื่องที่ไม่จริงด้วยเช่นกัน

สรุป

การที่สารแต่ละอย่างมันส่งกลิ่นออกมาได้ เป็นเพราะพลังงานที่กระทำ มีมากกว่าแรงยึดระหว่างโมเลกุล ทำให้สารมันหลุดออกมา ทำให้ในน้ำหอมนอกจากจะใส่หัวน้ำหอมเข้าไปแล้ว ยังเติมสารจำพวก Solvent หรือสารละลายเข้าไปด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นเหมือนรถที่พาน้ำหอมพึ่งทะยานออกไป และบางครั้งเราไม่ต้องการให้มันพุ่งออกไปมากเกินไป เราจึงเติมสารจำพวก Fixative เข้าไปเพื่อให้น้ำหอมติดทนนานมากขึ้น การเลือกส่วนผสมของน้ำหอม และ สมดุลของแต่ละส่วนผสมนี่แหละ ทำให้น้ำหอมแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มี Performance ที่ไม่เท่ากัน มีความละเอียดอ่อนมาก ๆ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของ Perfumer ในการที่จะจัดการสมดุลเหล่านี้ เพื่อให้ได้น้ำหอมที่มีกลิ่นดีตรงโจทย์ และ มี Performance สูงนั่นเอง