วิธีการเลือก Power Bank ใหม่เหมาะกับตัวเรา

ช่วงนี้ก็ใกล้ปีใหม่แล้ว เราว่าหลาย ๆ คนก็มีแพลนไปเที่ยวกันแล้วละ สิ่งนึงที่เราว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการเดินทางในปัจจุบันคือ Power Bank หรือแบตเตอรี่สำรองนั่นเอง วันนี้เราเลย จะพามาดูกันว่า ถ้าเราจะซื้อแบตเตอรี่สำรองสักก่อนเราจะต้องดูเรื่องอะไรบ้าง

ขนาด


ทั้งคู่นี้มีขนาด 1000 mAh เท่ากันเลย แต่รูปร่างจะต่างกัน อันซ้ายจะเป็นแท่ง ๆ ในขณะที่อันขวาจะเป็นก้อน ๆ และสังเกตว่า ทั้งหมดที่เราใช้จะทำจาก Aluminium หมดเพื่อระบายความร้อนนั่นเอง

ขนาดถือเป็นเรื่องสำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าเราล่อล่อซื้อที่อันที่มีความจุเยอะ ๆ มา แต่ไม่สามารถพกได้ แล้วจะซื้อมาทำไมกันละนะ

ดังนั้นการเลือก ก็ต้องดูก่อนว่า ตอนที่เราใช้เราจะเอามันใส่กระเป๋าแบบไหน ถ้าเป็นเป้ก็อาจจะอันใหญ่หน่อยได้ แต่ถ้าเป็นกระเป๋าถือแบบคุณผู้หญิงก็อาจจะต้องเลือกอันที่เบาและเล็กหน่อยนั่นเอง

หลัก ๆ แล้ว เวลาเราไปเดินเลือกซื้อถ้าความจุใกล้ ๆ กันมันจะมีทั้งแบบที่เน้นแบน กับเน้นขนาดเล็กแต่หนาด้วยนะ แต่อาจจะต่างยี่ห้ออะไรแบบนั้น ซึ่งเราว่า ถ้าแนะนำเราว่าแบบแบน ๆ ดีกว่า เพราะเวลาเราใช้งานมันย่อมเกิดความร้อนขึ้นมาแน่นอน ถ้าเราใช้แบบแบนมันจะทำให้ตัวแบตเตอรี่ระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบกลม ๆ หรือหนา ๆ เพราะพื้นที่ผิวสำหรับระบายความร้อนมันมากกว่านั่นเอง

ไหน ๆ ก็พูดเรื่อง ความร้อน แล้ว ก็พูดถึงวัสดุไปพลาง ๆ หน่อยละกัน เราแนะนำให้พยายามซื้อตัวที่ Body ทำจากโลหะจะดีกว่าในเรื่องของการระบายความร้อน โดยเฉพาะก้อนที่มันรองรับความดันไฟสูง ๆ จะมีความร้อนมากกว่า ถ้าผิวเป็นโลหะที่นำความร้อนได้ มันก็จะเป็นตัวช่วยระบายความร้อนได้อย่างดีเลยละ

ความจุ

เรื่องของความจุ ก็ขึ้นกับอุปกรณ์ที่เรามีด้วย เช่น เราบอกว่า เราต้องเดินทางไกล เราก็อาจจะเลือกอันที่มีความจุสูงสักนิดนึง เพื่อให้อุปกรณ์ของเราอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราเดินทางโดยเครื่องบิน ความจุอาจจะมีจำกัดนิดนึง เพราะตามกฏการบินมีการบอกเรื่องของแบตเตอรี่สำรองอยู่ว่าแค่ไหนเอาขึ้นได้ หรือต้องมีการจำจัดอย่างไรบ้าง

  • ความจุมากกว่า 32000 mAh ขึ้นเครื่องได้
  • ความจุระหว่าง 20000 ถึง 32000 mAh เอาขึ้นได้ไม่เกิน 2 ลูก
  • ต่ำกว่า 20000 เชิญตามสบาย

ทำให้เราแนะนำว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ไฟเป็นจำนวนมาก ให้เราต่ำกว่า 20000 mAh ขึ้นไปหลาย ๆ ลูก แล้วใช้สลับไปหลาย ๆ ลูกจะดีกว่า การเอาลูกเดียวล่อไป 30000 mAh ขึ้นไป เพราะถ้าเราเอาลูกเล็ก ๆ ไปหลายลูกทำให้เรามีอิสระในการชาร์จแต่ละอุปกรณ์มากขึ้น ถ้าเอาไปลูกเดียวเดี๋ยวก็เจอปัญหาแบบ รูไม่พอบ้างแหละ กำลังไฟที่จ่ายไม่พอบ้างแหละ ง่ายสุดก็คือ เอาไปให้เท่ากับอุปกรณ์ที่เราใช้เลย ส่วนขนาดก็พิจารณาเอาว่า เราต้องใช้เท่าไหร่กันแน่

จริง ๆ ถ้าใช้วิธีเราง่าย ๆ เลยนะ เราจะไปดูว่า แต่ละอุปกรณ์ที่เราจะเอาไป แบตเตอรี่ของมันความจุเท่าไหร่ และเราต้องการใช้มันกี่รอบของการชาร์จ ซึ่งดูจากว่า วันนึงปกติเราต้องชาร์จมันกี่รอบ เช่น เราบอกว่า Samsung Galaxy Note 9 เรามีแบตเตอรี่ขนาด 4000 mAh และเราจะขึ้นเครื่อง และจะไม่ได้ชาร์จอีกเลยทั้งวัน จนมืดของที่ปลายทาง และปกติเราก็ใช้ได้ทั้งวันอยู่แล้ว ทำให้ความจุขั้นต่ำ ของ Power Bank สำหรับโทรศัพท์เราจะอยู่ที่ 5000 mAh แต่ เราอาจจะบอกว่า ตอนขึ้นเครื่องเราใช้มันฟังเพลงและดูหนัง ดังนั้นเราอาจจะเผื่อไปสัก 10000 mAh ก็น่าจะเหลือ ๆ เลยละ แถมยังไม่ถึง 20000 mAh ก็เอาขึ้นเครื่องแบบชิว ๆ ได้เลย

กับอุปกรณ์อื่นเราจะทำแบบนี้เหมือนกัน เช่น iPad Pro เราก็คิดไว้แล้วเหมือนกัน ทำให้เวลาเราไปเที่ยวเราก็จะพก Power Bank 2 ลูกเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้เรามั่นใจว่า เราจะมีอะไรเล่นตลอดทาง

Port

อุปกรณ์ต่างกันก็ใช้ Port การเชื่อมต่อที่ไม่เหมือนกัน บางเครื่องอาจจะใช้ Micro-USB บางเครื่องอาจจะใช้ USB-C หรือของ Apple ก็อาจจะใช้ Lighting Port อะไรก็ว่ากันไป

สาเหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้ด้วยเพราะว่า Power Bank บางแบบมันจะมีสายมาให้ในตัวเลย แบบถอดไม่ได้ ทำให้เวลาเราซื้อก็อาจจะต้องดูนิดนึงว่าเราจะเอาไปเสียบกับอะไร และมีหัวให้มั้ย บางทีมันอาจจะมาในรูปแบบของหัวแปลงด้วยนะ อันนี้ต้องดูให้ดี เพราะถ้าหายนี่น่าจะลำบากไม่ใช่น้อย นอกจากกลัวเรื่องหายแล้วยังมีเรื่องของความเร็วในการชาร์จด้วย เดี๋ยวเราจะพูดในหัวข้อต่อไปนี่แหละ

สำหรับใครที่พกหลาย ๆ อันแบบเรา และต้องการอิสระในการใช้งานมาก ๆ หน่อย เราว่าพยายามซื้ออันที่มีหัวแบบเดียวกันให้หมด เช่นหัวออกให้เป็น USB-C อย่างเดียวอะไรแบบนั้น มันจะสะดวกกว่าเวลาเราพกสายชาร์จไปมา ลดปริมาณสายที่ต้องพกด้วย

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้ Samsung Galaxy Note 9 และ iPad Pro 10.5 inch ส่วนสายที่เรามีเป็น USB-C to USB-C และ USB-C to Lighting แต่ Power Bank หัวออกของ Power Bank ของเราอันนึงเป็น USB-A และอีกอันเป็น USB-C มันก็แย่ถูกมั้ย เพราะเราต้องพกสายที่ทั้งเป็น USB-C และ USB-A พร้อมกัน ก็เท่ากับว่า เราต้องพกตั้ง 2 ชุดโดยไม่จำเป็นเลย


จะเห็นว่า หัวแปลงมันอยู่ติดกับสายเลยทำให้ไม่หาย เราชอบมากอันนี้

หรือถ้าใครคิดว่า จะใช้หัวแปลง เราบอกเลยนะว่า เราไม่แนะนำอย่างแรง เพราะมันไม่สะดวกเอาซะเลย เว้นแต่หัวแปลงที่มันมากับ Power Bank พวกนี้มันจะดีหน่อย ก็เลยใช้งาน ตัวอย่างเช่นสายพร้อมหัวแปลงที่มาพร้อมกับ Power Bank ของเรามันจะเป็นหัว Micro-USB มา แล้วมันก็มีหัว
USB-C เสียบทับมาให้ แน่นหนาอย่างดี อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของหัวแปลง แต่ถ้าเราไปซื้อมาเสียบเองบางทีมันก็จะไม่แน่น ใช้ ๆ เดิน ๆ ไปมันก็หลุดไปมา รำคาญมาก ๆ

ถ้าให้เราแนะนำ ก็ให้ซื้อแบบที่มันไม่มีสายมาให้ แบบให้เราเสียบเองอะ จะดีกว่าเยอะเลย ทำให้เรามั่นใจได้ด้วยว่า สายที่เราเอามามันจะเป็นสายที่ใช้ได้แน่ ๆ เพราะเราใช้อยู่ก่อนแล้ว และยังเพิ่มความอิสระในการใช้งานด้วย ถ้าเกิดเราต้องการเอามันไปชาาร์จกับอุปกรณ์หลาย ๆ แบบ

การชาร์จ

นอกจากเรื่องของ Port การชาร์จมันยังมีเรื่องของความเร็วในการชาร์จอีกด้วย เพราะหัวแต่ละหัวมันมีกำหนดปริมาณไฟต่างกันอยู่ อย่างเช่น USB-A ที่หัวใหญ่ ๆ ถ้้าเป็น USB 3.1 ก็จะส่งไฟสูงสุดได้แค่ 3A, 15 Watts เท่านั้นเอง ซึ่งโทรศัพท์ธรรมดาอาจจะพอแล้วแหละ แต่ถ้าเอาไปชาร์จ Laptop ก็ไม่น่าจะพอกินนะ

ทำให้เกิด Power Bank ที่สามารถชาร์จ Laptop ได้ด้วยนะ ด้วยคามที่อุปกรณ์มีความหลากหลายตั้งแต่โทรศัพท์เครื่องเล็ก ๆ กันไปเลย ทำให้เรื่องกำลังไฟในการชาร์จเป็นเรื่องที่เราต้องดูมาก ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่เราใช้เสียบอุปกรณ์จำนวนมาก ๆ หรือ ใช้กำลังไฟมาก ๆ อย่างเช่นการชาร์จ Laptop อะไรแบบนั้น

วิธีการดูง่าย ๆ คือ ที่ตัว Power Bank มันจะมีการบอกอยู่ว่า Input และ Output เป็นเท่าไหร่ ให้เราลองอ่านดู ส่วนของ Input ไม่เป็นไร ถ้ามันขายที่ไทยได้ ก็คือน่าจะเสียบได้แหละ ให้เรามาเน้นดูที่ Output กัน โดยหลัก ๆ แล้ว มันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เราต้องดูคือ Voltage และ Ampare ตัวอย่างเช่น Power Bank อันนี้มันจะออกที่ 5V,2.1A

ถ้าเราจำกันได้ในฟิสิกส์ สูตรในการคำนวณ Watts คือ

Watts = Ampere x Voltage

จากตรงนี้ทำให้ Power Bank ตัวนี้สามารถจ่ายกระแสไฟสูงสุดได้แค่ 10.5 Watts เท่านั้น สิ่งที่เราต้องเช็คอย่างแรกคือ ดูว่าโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ของเรารองรับที่กี่ Voltage และ Ampare ซึ่งบางที มันอาจจะให้มาแค่ Ampare และ Watts สูงสุดมาให้ เราก็สามารถคำนวณกลับได้นั่นเอง

เวลาเราเลือกดูก็ขอให้เราเลือกซื้อตัวที่ Watts ถึง และ Ampare ได้ก็น่าจะโอเคแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าอุปกรณ์ไหนที่รองรับ USB-C มันก็น่าจะได้สูงสุดที่ 3A แน่ ๆ เพราะมันเป็นมาตรฐานของ USB-C ที่ต้องรองรับได้ 3A ส่วน Voltage จะเท่าไหร่นั้นมันก็ขึ้นกับอุปกรณ์แล้ว

อุปกรณ์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น Laptop ที่ต้องใช้พลังงานเยอะ ๆ เกิน USB ธรรมดาไป ก็ต้องหาตัวที่มันเขียนว่า USB PD ที่ย่อมาจากคำว่า USB Power Delivery พวกนี้มันจะให้กำลังไฟสูงสุดได้ที่ 100 Watts กันไปเลยทีเดียว มันมากพอที่จะเลี้ยง Macbook Pro 15 นิ้วที่มีการ์ดจอแยกได้สบาย ๆ เลยละ ชิว ๆ

สรุป

การซื้อ Power Bank อย่าดูที่ความจุและขนาดเพียงอย่างเดียว ให้เราดูที่เรื่องอื่น ๆ ของมันด้วย เพราะมันส่งผลตอนที่เราใช้มาก ๆ ถ้าเราซื้ออันถูก ๆ ที่ความจุเยอะ ๆ ส่วนใหญ่กำลังไฟมักจะน้อยมาก ๆ จนบางทีเดี๋ยวนี้อาจจะชาร์จ Tablet บางตัวไม่ไหวแล้ว หรือไม่ก็ชาร์จช้าไปทั้งชาติดัง Adapter ของ Apple ที่ให้มากับกล่องเลยก็ได้ (คนที่ใช้ Apple จะรู้ดีเลย !!) หลัก ๆ เราว่าถ้าดูตามที่เราเล่ามากก็น่าจะหา Power Bank ดี ๆ สักตัวที่เหมาะกับเราได้แล้วละ

และตอนนี้เรามีเพจแล้วนะ ถ้าอยากติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และ Lifestyle ก็สามารถเข้าไปติดตามเราผ่านเพจ arnondora ได้เลยนะฮ่ะ 😁