เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

ถ้าต้องให้เลือก Skin Care แค่อย่างเดียวเราะจะเลือกอะไร เราคงตอบได้อย่างรวดเร็วว่า กันแดด แน่นอน แต่ถ้าเราลองไปดูกันแดดในท้องตลาดบ้านเรา มันมีเยอะมาก มีหลายประเภทสารพัด วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันในเชิงวิทยาศาสตรดีกว่าว่า มันมีแบบไหน และ แบบไหนเหมาะอะไรกับใครบ้าง

ปล. ขออภัยที่ไม่สามารถใช้ตัวยก ตัวย่อในสูตรเคมีบริเวณข้อความได้ ด้วยเหตุผลทางเทคนิค

รังสี UV ภัยร้ายเงียบหลายคนคาดไม่ถึง

ก่อนเราจะไปเข้าใจว่า กันแดด ทำงานอย่างไร เราต้องเข้าใจถึง รังสี UV ที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวหลากหลายอย่างมาก ๆ

รังสี UV หรือ Ultraviolet เป็นแสงย่านหนึ่งที่อยู่นอกช่วงแสงที่เรามองเห็น โดยจะมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 100-400nm ในเมื่อมันกว้างขนาดนี้ และ มันมีผลที่อาจจะแตกต่างกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์แบ่งรังสี UV ตามความยาวคลื่นทั้งหมด 3 ช่วงด้วยกันคือ UVA, UVB และ UVB

เริ่มจากช่วงที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุด อันตรายที่สุดก่อน คือ UVC อยู่ในช่วง 100-290 nm โดยทั่ว ๆ ไป เราจะไม่พบ UVC บนโลกของเรา เพราะมันถูกกรองในชั้น Ozone ก่อนถึงตัวเราซะเอง แต่ถ้าในอนาคตชั้น Ozone ของเราค่อย ๆ โดนทำลายไปเรื่อย ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกัน

Sunburn severity: First and second degree symptoms
Learn more about the symptoms of and differences between first and second degree sunburn, along with risk factors and prevention tips.

ยาวขึ้นไปหน่อยคือ UVB อยู่ในช่วง 290-320nm ตัวนี้สามารถทะลุชั้น Ozone เข้ามาในโลกของเราได้ เวลาเราเรียนจำง่ายมาก ๆ B คือ Burn ดังนั้นหากเราได้รับ UVB ในปริมาณมาก ๆ ทำให้ผิวของเราไหม้แดดได้ ในทางการแพทย์เราจะแบ่งความรุนแรงของการไหม้แดดทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน ตั้งแต่ระดับ 1 ที่มีอาการผิวแดง ๆ พวกนี้มักจะเกิดผลกระทบแค่ในผิวชั้นนอกสุดอย่าง Epidemis เท่านั้น แต่พอมาในระดับ 2 มักจะเจอตุ่มน้ำเกิดขึ้น และ รุนแรงที่สุดระดับ 3 คือไหม้จนถึงชั้น Subcutaneous หรือเรียกว่าชั้นใด ๆ เลยละกัน ยิ่งรุนแรงยิ่งรักษายากมากขึ้นเท่านั้น เราจะเห็นอาการ Sun Burn ได้เยอะ ๆ ตามทะเลประเทศไทยเราเองที่ชาวต่างชาติชอบมานอนอาบแดด แล้วเดินตัวแดง ๆ ออกมากัน นี่แหละ Sun Burn ของแทร่ นอกจากนั้น UVB ยังสามารถกระตุ้นทำให้เกิดความเสียหายใน DNA ของเราได้ด้วย โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่า UVB นั้นมีความรุนแรงในการสร้างความเสียหายให้กับ DNA ได้มากกว่า UVB เสียอีก เราเรียกว่า มันเป็น Mutagen หรือสิ่งที่กระตุ้นทำให้เกิด Mutation ใน DNA

สุดท้าย UVA อยู่ในช่วง 320-400nm พอความยาวคลื่นมันยาวขึ้น ทำให้ตัวมันสามารถทะลุเข้าสู่ชั้นผิวของเราได้ลึกมากขึ้น ประกอบในอากาศที่เราอยู่มี Oxygen หรือ O2 รังสีสามารถเข้าไปปฏิกิริยา ทำลายพันธะ ออกมาเป็น O เฉย ๆ หรือ รวมกับ Hydrogen ที่อยู่ในอากาศซ้ำเข้าไปอีกกลายร่างเป็น Hydrogen Peroxide (H2O2) ทำให้ DNA มันอาจะมีการขาด หรือ DNA-Protein Crosslink (DPC) ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจส่งกระทบจนกลายเป็นมะเร็งได้ที่สุด และยังมีผลกระทบต่อเรื่องของความชราภาพในเซลล์ ความน่ากลัวมากกว่านั้นคือ UVA สามารถทะลุผ่านกระจกได้ถึง 50% ของข้างนอกเลย ทำให้ถึงแม้ว่า เราจะอยู่ในอาคารก็ตาม ยังไงเราก็ไม่รอดจาก UVA อยู่ดี

จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็น UV ตัวไหน ๆ ก็เป็นอันตรายกับเราหมด จะมีแค่ UVC ที่เราอาจจะไม่ได้เจอ หากเรายืนบนพื้นโลก แต่ยังไงทั้ง UVB และ UVC ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ โดยเฉพาะผิวของเราเอง

A case of unilateral dermatoheliosis. Image courtesy of theNew England Journal of Medicine

ในส่วนของผิว เมื่อเราได้รับในปริมาณที่เยอะมันจะไปเร่งกระบวนการที่เรียกว่า Photoaging เคสที่เราคิดว่าเห็นผลได้ชัดมากที่สุด Classic ที่สุด ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากที่สุด น่าจะเป็นเคสที่มีการตีพิมพ์ลงใน NEJM ในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา ภาพนี้เป็นภาพของชายอายุ 69 ปี เขาทำอาชีพเป็นคนขับรถบรรทุก โดยด้านซ้ายของใบหน้าของเขา โดนแสงแดดที่ส่องจากข้างนอกเข้ามาถึง 25 ปี เราจะเห็นว่าด้านซ้ายนั้นมีลักษณะของผิวที่แตกต่างจากด้านขวาที่โดนแสงน้อยกว่าโดยสิ้นเชิง ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า การที่เราได้รับรังสี UV เป็นระยะเวลานาน ทำให้หน้าเราแก่ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ หรือ สารบางอย่างเพื่อป้องกันรังสี UV จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ

ทำไมโดนแดดเยอะ ๆ แล้วตัวดำ

อาจจะเกิดคำถามว่า แล้วทำไมการที่เราโดนแดดเยอะ ๆ มันทำให้ตัวเราดำ เพราะอย่างที่บอกว่า รังสีพวกนี้เป็นอันตรายกับผิวเรา ทำให้ร่างกายของเรา ต้องมีกลไกที่ช่วยป้องกันรังสี UV ตามธรรมชาติด้วยนะ นั่นคือการสร้าง เม็ดสี (Melanin)

เม็ดสีที่ว่านี่แหละ มันจะอยู่บนผิวชั้นบน เป็นต้นเหตุของการที่ผิวเราคล้ำ ร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเป็นตัวดูดซับรังสี UV และยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติอีกด้วย ทำให้สามารถลดความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากรังสี UV ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้

กระบวนการ การสร้างเม็ดสี (Melanogenesis) ถ้าเราเอาง่าย ๆ คือ มีบางอย่างไปกระตุ้นการทำงาน Melanocyte หรือเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสี แต่การจะสร้างอะไรบางอย่าง มันไม่ได้เสกขึ้นมาได้ แต่เราต้องมีส่วนผสมซะก่อน คือ Tyrosine เป็น Anino Acid ที่มีอยู่มากใน Melanocyte และ Tyrosinase เป็น Enzyme โดยปกติ Tyrosinase มันจะไม่ได้อยู่ในรูปที่พร้อมทำงาน มันแค่นอนอยู่นิ่ง ๆ ไม่ทำอะไรใคร แต่มันจะโดนปลุกผีโดยกระบวนการที่เรียกว่า Glycosylation (เราขอไม่เล่าละเอียดกว่านี้นะ ไปหาอ่านเพิ่มเอาได้ มันแทบจะเป็น Lecture Biochem แล้ว TT) เมื่อ Tyrosine รวมร่างกับ Tyrosinase ที่ถูกปลุกผีแล้ว มันจะเกิดการ Oxidation ทำให้เกิดออกมาเป็น Melanin ในที่สุด

แต่ Melanin เฉย ๆ มันไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนเองได้ มันจะต้องถูกห่อ จนกลายเป็น Melanosomes จากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปตามร่อง ๆ ของ Keratinocytes หรือเซลล์ผิวหนังของ แล้วมันจะไปอยู่รอบ ๆ Keratinocytes เพื่อป้องกัน DNA ที่อยู่ภายใน Nucleus ของเซลล์ และสุดท้าย เซลล์ผิวของเราก็จะค่อย ๆ ผลัดขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นนอกสุด เราเลยเห็นเป็นสีผิวนั่นเองงงง ตรงนี้แหละ คือกลไกของพวก Brightening เข้ามาขัดขวางไว้เดี๋ยวจะมาเล่าในบทความต่อ ๆ ไป

นอกจากกระบวนการ การสร้างเม็ดสีที่เล่าไปแล้ว ร่างกายคนเรายังมีกลไกอีกหลายตัวในการจัดการเช่น การทำให้ผิวหนังชั้นนอกมันหนาขึ้น และหาก DNA เกิดความเสียหาย มันมีกลไกการซ่อมแซมตัวเอง (DNA Repair Mechanisms), การฆ่าเซลล์ตัวเอง (Apoptosis) และการใช้ Enyme บางอย่างเพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น เราจะบอกว่า ผิวและร่างกายของคนเรามันฉลาดกว่าที่เราคิด ถึงจะโดนโจมตีหนักขนาดไหน เราก็ยังพอจะเอาตัวรอดอยู่ได้ แต่.... แก ป้องกันเห๊อะะะะ ร่างกายเราก็ทรงงานหนักไป๊

การปกป้องรังสี UV

เราได้เห็นแล้วว่า รังสี UV มันส่งผลกระทบต่อเซลล์ของเราได้มากขนาดไหน ถามว่า แล้วเราจะป้องกันมันได้อย่างไรบ้าง ง่ายที่สุดคือ การใช้อุปกรณ์ป้องกัน UV เช่น อุปกรณ์สวมใส่อย่างเสื้อที่มีความสามารถป้องกันรังสี UV, การใช้ฟิล์มกรองแสงต่าง ๆ และการใช้ครีมกันแดด

สิ่งที่เราอยากจะบอกคือ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม เราไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ 100% เต็มแบบ มั่นใจทุกเวลาแน่นอน มันมีเล็ดรอดได้เสมอ ไม่ว่าจะเกิดจากค่าการป้องกันของอุปกรณ์ป้องกันเอง หรือ ความสะเพร่าในการสวมใส่ต่าง ๆ แต่ยังไง ๆ การใส่หรือทาอุปกรณ์ป้องกันก็ย่อมดีกว่าการไม่ทำอะไรเลยแน่นอน

สารกันแดด

ส่วนผสมที่สำคัญที่ทำให้ ครีมกันแดด เป็นครีมกันแดด คือสารที่ใช้ป้องกันรังสี UV ให้เรา โดยทั่ว ๆ ไป มันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ Filter กันแดดแบบ Inorganic และ Organic แต่ช่วงหลัง ๆ เริ่มมีการผลิตรูปแบบที่ผสมกันแล้วเรียกว่าแบบ Hybrid

เริ่มจากตัวที่เข้าใจง่ายที่สุดก่อนคือ แบบ Inorganic หรือที่เราชอบเรียกว่า Mineral เพราะเขาจะใช้อนุภาคของพวกแร่ขนาดเล็ก ๆ มาก ๆ เช่น Titanium Dioxide (TiO2) และ Zinc Oxide (ZnO) โดยบางคนเข้าใจว่า Filter พวกนี้มันเป็นแร่จะทำให้รังสี UV มันสะท้อนและกระเจิงออกจากผิวของเรา แต่ความเป็นจริงแล้วธาตุพวกนี้สามารถดูดซับรังสี UV และแปลงเป็นพลังงานได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะแปลงเป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายกับผิวเรา ทำให้มันมีความสามารถในการป้องกันผิวหนังเราจากรังสี UV ได้เช่นเดียวกัน ข้อดีของ Filter กันแดดในกลุ่มนี้คือ ความสามารถในการป้องกันทั้ง UVA และ UVB ในตัวเดียวกัน และมีความเสถียรสูงมาก ๆ เพราะมันเป็นสาร Inorganic แต่กลับกัน ข้อเสียมันแลกมากับ ความขาววอก ที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากมันเป็นอนุภาคของแร่ขนาดเล็ก ๆ มาอยู่ด้วยกัน ซึ่งมันอาจจะมีการสะท้อนแสงทำให้หน้าเราขาวกว่าปกติได้ ทำให้คนที่มีสีผิวคล้ำหน่อยอาจจะไม่เหมาะกับ ครีมกันแดดที่ใช้สารกันแดดแบบ Inorganic

กลับกันคือ แบบ Organic พวกนี้เขาจะใช้สารประกอบที่มี Carbon เป็นส่วนประกอบ (ถึงเรียกว่า Organic) เพื่อดูดซับรังสี UV แล้วแปลงมันให้กลายเป็นพลังงานที่ไม่เป็นอันตราย โดยจะแบ่งประเภทแยกย่อยออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ กลุ่มที่ป้องกันรังสี UVA, กลุ่มที่ป้องกันรังสี UVB และ กลุ่มที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ไปพร้อม ๆ กัน ข้อดีของสารประเภทนี้คือ ไม่ค่อยขาว ไม่ค่อยวอกเท่าไหร่ ทำเนื้อได้บางเบา เกลี่ยง่าย เรียกว่าสวรรค์ของกันแดดเลยก็ว่าได้ แต่กลับกัน ข้อเสียคือ ความเสถียร ทำให้คนสร้างสูตรเขาต้องใช้สารกันแดดหลาย ๆ ตัวร่วมกัน เพื่อการป้องกันสูงสุด รวมไปถึงสารบางตัวช่วงหลังมีงานวิจัยสนับสนุนจำนวนมากว่า พบสารกันแดดนั้นในกระแสเลือด (แต่ตอนนี้ FDA สั่งให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว) ยังไม่นับว่าความเสถียรนั้นยังสู้กลุ่ม Inorganic ไม่ได้ ทำให้อาจจะต้องมีการทาซ้ำบ่อยกว่า ทำให้ไม่สบายผิว และ มีความเสี่ยงในการอุดตันมากขึ้นด้วย

เราลองมาดูของจริงกันบ้างดีกว่า เราขอยก 2 กันแดดที่เราเคยใช้มาก่อนหน้านี้ อันนึงเป็นแบบ Inorganic ล้วน และ แบบ Organic ล้วนไปเลย

ตัวแรกคือแบบ Inorganic ล้วน เพราะตอนนั้นเราไม่ค่อยรู้เรื่องมากเท่าไหร่ ยังเชื่อว่ายังไง ๆ แบบ Inorganic ก็ย่อมเสถียรกว่า และ เราไม่ต้องมานั่งดูด้วยว่า ตัวไหนคือตัวไหน กับตอนนั้นชอบ Serum ของ Drunk Elephent ด้วย เลยมาลองกันแดดของเขาดู คือ Drunk Elephant Umbra Sheer Physical Daily Defence SPF 30

Elephant Umbra Sheer Physical Daily Defence SPF 30

Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Dicaprylyl Carbonate, Glycerin, Pentylene Glycol, Steareth-2, Propanediol, Steareth-21, Polyhydroxystearic Acid, Cetearyl Alcohol, Silica, Sclerocarya Birrea Seed Oil, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Chondrus Crispus Extract, Haematococcus Pluvialis Extract, Helianthus Annuus (Sunflower) Sprout Extract, Vitis Vinifera (Grape) Juice Extract, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, Simmondsia Chinensis (Jojoba) Seed Oil, Raspberry Seed Oil/Tocopheryl Succinate Aminopropanediol Esters, Hydrolyzed Wheat Protein, Tocopheryl Acetate, Tocopherol, Sea Water, Acetyl Glucosamine, Cetearyl Glucoside, Sodium Stearoyl Glutamate, Tetrahexyldecyl Ascorbate, Glycine, Sucrose, Lecithin, Triethoxycaprylylsilane, Xanthan Gum, Trisodium Ethylenediamine Disuccinate, Caprylhydroxamic Acid, Mica, Caprylyl Glycol, Phenoxyethanol, Titanium Dioxide (CI 77891), Iron Oxides (CI 77491)

ถ้าเราลองไล่ดูดี ๆ เราจะเห็นว่า มี Titanium Dioxide เข้ามาเป็นส่วนประกอบ และ เป็น Filter กันแดดตัวเดียวที่ใส่เข้ามาเลยก็ว่าได้ ต่างจากกันแดดตัวอื่นที่เขามักจะใส่ Titanium Dioxide ร่วมกับ Zinc Oxide ที่ให้ช่วงการป้องกันที่กว้างกว่าเข้ามาด้วย เราลองไปหาดูพบว่า เขาใส่ Titanium Dioxide มาถึง 20% เลยทีเดียว แต่นั่นก็ยังไม่ได้ทำให้มันมีความสามารถในการป้องกันระดับ SPF50 แต่อยู่ที่ 30 เท่านั้นเอง และเราบอกเลยว่า เนื้อมาแบบมันดีมั้ย มันก็ได้อยู่ แต่ถามว่าขาวมั้ย สำหรับผิวเราเองก็ขาวเลยแหละ

มาที่ตัวที่เราใช้ในตอนนี้ La Roche-Posay Anthelios UVMune 400 Oil Control Gel Cream เรียกว่าเป็นกันแดดที่ทำให้เราเปิดใจกับ Organic Filter มากขึ้น เพราะเทคโนโลยี Filter กันแดดของเขาเลย ทำให้กันแดดตัวนี้เป็นกันแดดในกลุ่มของ Organic นั่นเอง

La Roche-Posay Anthelios UVMune 400 Oil Control Gel Cream

AQUA, HOMOSALATE, SILICA, OCTOCRYLENE, ETHYLHEXYL SALICYLATE, BUTYL METHOXYDIBENZOYLMETHANE, ETHYLHEXYL TRIAZONE, BIS-ETHYLHEXYLOXYPHENOL METHOXYPHENYL TRIAZINE, DROMETRIZOLE TRISILOXANE, ALUMINUM STARCH OCTENYLSUCCINATE, GLYCERIN, PENTYLENE GLYCOL, STYRENE/ACRYLATES COPOLYMER, POTASSIUM CETYL PHOSPHATE, DIMETHICONE, PERLITE, PROPYLENE GLYCOL, ACRYLATES/C10-30 ALKYL ACRYLATE CROSSPOLYMER, ALUMINUM HYDROXIDE, p-ANISIC ACID, CAPRYLYL GLYCOL, DISODIUM EDTA, INULIN LAURYL CARBAMATE, ISOPROPYL LAUROYL SARCOSINATE, PEG-8 LAURATE, SILICA SILYLATE, STEARIC ACID, STEARYL ALCOHOL, TEREPHTHALYLIDENE DICAMPHOR SULFONIC ACID, TITANIUM DIOXIDE, TOCOPHEROL, TRIETHANOLAMINE, XANTHAN GUM, ZINC GLUCONATE, SODIUM DODECYLBENZENESULFONATE, TITANIUM DIOXIDE [NANO] / TITANIUM DIOXIDE

อันนี้แหละ งานยากละ พวก Organic Filter ทั้งหลายมันมีเยอะมาก พวกนี้เราจำกันไม่หมดหรอก เราต้องอาศัยพวกฐานข้อมูลในการช่วย ตัวนี้ถ้าดึงเฉพาะ Filter กันแดดออกมา เราจะเห็นว่าเขาเลือกใช้ Titanium Dioxide เป็น Inorganic Filter ที่ใส่มาน้อยมาก ๆ อยู่อันสุดท้ายใน Ingredient List เลย และเลือกใช้ Organic Filter หลายตัวมาก ๆ คือ OCTOCRYLENE, BUTYL ­METHOXYDIBENZOYLMETHANE (AVOBENZONE), ETHYLHEXYL ­SALICYLATE (OCTISALATE), TEREPHTHALYLIDENE ­DICAMPHOR ­SULFONIC ­ACID (MEXORYL SX), DROMETRIZOLE ­TRISILOXANE (MEXORYL XL), ETHYLHEXYL ­TRIAZONE (Uvinal T150)

สุดที่เจ๋งของกันแดดตัวนี้คือ การใช้ Filter กันแดดแบบ Organic ตัวนึงคือกลุ่ม Mexoryl 400 ที่มีความสามารถในการป้องกันช่วง Long UV-A ได้ เป็น Filter กันแดดตัวแรกของโลกเลยมั้งที่มีความสามารถแบบนี้ เลยทำให้เราเปิดใจใช้มัน แล้วเนื้อก็ออกมาดีด้วย ไม่วอกอะไรทั้งนั้น เราพึ่งมารู้ด้วยซ้ำว่ามันมี Inorganic Filter อยู่ แต่สูตรนี้เขาเคลมว่ามัน Oil Control ให้ Finish Look ที่ออกแนว Matte หน่อย โดยการใส่ Silica เข้าไป แต่เอาเข้าจริงมันไม่ได้คุมมันได้ขนาดนั้น เราใช้สัก 4-5 ชั่วโมง ก็เริ่มรู้สึกว่า มัน ๆ แล้ว ไม่นับว่าใช้ไปสัก 7-8 ชั่วโมงทั้งวัน ก็คือ มันไปเลยจ้าา ไว้จะมารีวิวเต็ม ๆ อีกทีนึง

INCIDecoder - Decode your skincare ingredients
Decode skincare ingredients fast with our science-based but easy-to-understand explanations. Analyze ingredient lists at a press of a button.

แนะนำว่า การที่เราจะอ่านส่วนผสมแล้วอ่อทันทีมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น การใช้พวกเว็บที่ช่วยอธิบายส่วนผสมให้เราได้ จะทำให้เราอ่านส่วนผสมได้ถูกต้องและง่ายมากขึ้นเยอะ ในปัจจุบันนี้มีหลากหลายเว็บให้เราเลือกใช้ ส่วนตัวเราจะใช้เว็บ INCIDecoder ช่วยได้เยอะมาก ๆ

ค่าการป้องกัน

สำหรับค่าการป้องกัน เราจะแยกค่าการป้องกันสำหรับ UVA และ UVB โดยที่ค่ายิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มันป้องกันผิวเราจากรังสี UV ได้ดีขึ้น

SPF (Sun Protection Factor) เป็นค่าการป้องกันรังสี UV-B โดยตัวเลขจะบอกเท่าในการปกป้องผิวจากรังสี UV-B ได้ เช่นเราบอกว่า SFP30 ก็คือ ถ้าเราทาถูกต้อง ใช้ในปริมาณที่กำหนด มันจะปกป้องได้มากกว่าผิวที่ไม่ทาครีมกันแดดได้ 30 เท่า มันไม่ได้เป็นเปอร์เซ็นต์อย่างที่ทุกคนคิด

PA (Protection Grade) เป็นค่าการป้องกันรังสี UV-A โดยเขาจะใช้จำนวนของเครื่องหมายบวก (+) ในการบอกการป้องกัน เขาจะมีตารางบอกอยู่เช่น PA+++ ก็คือ การป้องกันได้มากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับผิวที่ไม่ได้ทา 8-16 เท่าด้วยกัน

PPD (Persistent Pigment Darkening) เป็นอีกค่าที่ผู้ผลิตอาจใส่มาหรือไม่ใส่มาก็ได้ เป็นค่าสำหรับการวัดค่าการป้องกันรังสี UV-A เช่นเดียวกับ PA แต่มีความละเอียดมากกว่า วิธีการทดสอบคือ ให้ทากันแดดบนผิวหนังมนุษย์แล้วให้โดนรังสี UV เข้าไป แล้วจับเวลา เพื่อหาว่าใช้เวลาเท่าไหร่สีผิวเราจะแทนขึ้น เช่น PPD10 หมายความว่า ต้องใช้เวลามากกว่าผิวที่ไม่ทาอะไรเลย 10 เท่าเพื่อที่จะให้มันมีสีแทนขึ้น เป็นการวัดค่าที่เรียกว่า น่าจะละเอียดค่านึงเลย และเราจะบอกว่า ถึงกันแดดเราจะมีค่า PA++++ หนาขนาดนั้น เทียบกับมาได้แค่ PPD 16 เองนะ ดังนั้น กันแดดที่มี PPD 16 กับ 55 มันจะได้ PA++++ เท่ากัน

ดังนั้น ส่วนใหญ่ ถ้าเรามีการออกไปข้างนอกบ้าง เราว่า SFP30-50 และ PA+++ น่าจะเพียงพอกับการใช้งานแล้ว

ควรเลือกเนื้อให้เหมาะกับสภาพผิว

นอกจากสารกันแดด และค่าการป้องกันแล้ว มันยังมีเรื่องของเนื้อสัมผัส ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าหากเราทาไปแล้ว เรารู้สึกไม่สบายผิว เราจะไม่อยากทามันอีก

หากเราคิดว่า เราเป็นคนผิวผสม ถึง ผิวมัน เราแนะนำกันแดดที่มีเนื้อบางเบา แทบจะเหลว ๆ เลยก็ได้ อาจจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เยอะหน่อย แต่ระยะยาวมันทำให้เราสบายผิวมากกว่า ไม่ต้องกลัวแอลกอฮอล์ขนาดนั้น แต่ถ้ากลัวว่าผิวเราจะแห้ง ยังไง ๆ ก่อนลงกันแดด เราจะต้องลง Moisturiser อยู่แล้ว เลยไม่น่ากังวลมากขนาดนั้น

ส่วนคนที่ผิวมันนอกจากควรลง Moisturizer ก่อนแล้วนั้น ยังแนะนำให้เลือกกันแดดที่มีเนื้อข้นขึ้นมาหน่อย ส่วนใหญ่พวกนี้เขาจะผสม Moisturizer ลงไปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นด้วย

การทากันแดดที่ถูกต้อง

การที่เราจะได้ประสิทธิภาพการป้องกันอย่างที่ผู้ผลิตเคลมไว้บนกล่องนั้น เราจะต้องทาอย่างถูกต้อง ซึ่งวิธีการจริง ๆ คือ การที่เราจะต้องรู้พื้นที่ของหน้าเราว่า ใหญ่หรือเล็กแค่ไหน แต่เราคิดว่า มันแอบยากไปหน่อยที่เราจะเอาเทปแปะหน้า

ดังนั้นเราแนะนำเป็นวิธีการทั่ว ๆ ไปดีกว่า โดยถ้ากันแดดของเรามาเป็นเนื้อครีมไม่เหลว ให้เราบีบกันแดดออกมาให้เต็ม 2 ข้อนิ้ว แต่หากเป็นแบบน้ำให้บีบออกมามีขนาดเท่ากับ 1-2 เท่าของเหรียญสิบ สำคัญมาก ๆ ว่า เราควรเว้นระยะสัก 10-20 นาทีหลังจากทาครั้งแรกเพื่อให้กันแดดที่เราทาลงไปเซ็ตตัวบนผิวของเรา

และเมื่อเราใช้งานไป โดยเฉพาะถ้าเราออกแดดจัด ๆ เช่นทำกิจกรรมกลางแจ้ง ให้เราทากันแดดใหม่ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจว่า Filter กันแดดที่อยู่บนหน้าเราจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่เคลมเอาไว้เสมอ

สรุป

เรื่องของกันแดด นี่เรียกว่าเป็นศาสตร์นึงในโลกของเครื่องสำอางเลยก็ว่าได้ มีการคิดค้นนวัตกรรมออกมาเรื่อย ๆ เช่นอันที่เราตื่นเต้นมาก ๆ ก็น่าจะหนีไม่พ้น Mexoryl 400 ที่สามารถป้องกันในย่าน Long UV-A ได้ มันมีรายละเอียดเยอะมาก ๆ วันนี้ถือว่าเป็น Intro ก่อน ไว้เราจะค่อย ๆ มาแยกกลไกโดยละเอียดอีกที เช่นการสร้าง Melanin โดยละเอียด ยก Pathway เอามาเล่าให้อ่านกัน ทำไมสารกันแดดนี้ถึงอันตราย เข้าสู่กระแสเลือดของเราได้อย่างไร อะไรแบบนั้น ก็รอติดตามกันได้เด้อ