Easy Pass ใช้เทคโนโลยีอะไร เกี่ยวอะไรกับสติ๊กเกอร์พระอาทิตย์ฟร๊ะ
เมื่อวานบ่าย เรานั่งไถ่เฟสบุ๊คเล่น จนมาเจอ Post ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย Post ผ่านช่องทาง Facebook อ่านแล้วถึงกับกลั้นขำออกมาอย่างแรง และพูดว่าอะไรฟร๊ะเนี่ย ไหน ๆ เขาก็พูดถึง Easy Pass แล้ว วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันดีกว่าว่า Easy Pass ที่เราใช้ขึ้นทางด่วนกันแบบง่าย ๆ เขาใช้อะไรเป็นเบื้องหลังที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้
Appling Flow
ก่อนอื่น เรามาเริ่มกับสิ่งที่เราเห็น และ เรา Interact กับมันก่อนดีกว่า ปกติ ถ้าเราจะใช้งาน Easy Pass เราจะต้องไปทำการลงทะเบียนกับ กทพ. ซะก่อน มันก็จะทำให้เราได้อุปกรณ์ชิ้นนึงมา โดยที่ทาง กทพ. จะแนะนำให้เราเอามันไปติดที่กระจกหน้ารถ และทำการเติมเงินให้เพียงพออะไรก็ว่ากันไป
เวลาเราจะใช้งานจริง ๆ สิ่งที่เราต้องทำคือ เราแค่เอารถวิ่งเข้าไปที่ช่องอัตโนมัติ เข้าไปช้า ๆ หน่อย เราจะได้ยินเสียงติ๊ด แล้วไม้กั้นจะเปิด กับหน้าจอจะแสดงเงินที่เรายังเหลืออยู่ แล้วเราก็ขับรถออกไปแค่นั้น นี่คือสิ่งที่เราเห็น มันดูเป็น MAGIC มากเลยใช่มะ แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้ Magic ขนาดนั้น
RFID เทคโนโลยีเบื้องหลัง
ถ้าเรายังจำได้ ถ้ารถของเราไม่มีตัวอุปกรณ์ที่เราได้ทำการลงทะเบียนมา เราก็จะเข้าช่องอัตโนมัติไม่ได้ใช่ป่ะ หรือง่าย ๆ เลย ถ้าเราเอาอุปกรณ์ของรถคันอื่นมา มาใส่บนรถเรา เราก็จะสามารถใช้งาน Easy Pass ของอีกคนได้ ดังนั้น ตัวอุปกรณ์จึงเป็นเหมือนกับ เครื่องยืนยันตัวตนของเราในระบบ Easy Pass
แล้วอุปกรณ์ตัวนี้ เหมือนเราไม่ได้ต้องดูแลเปลี่ยนแบตอะไรมันเลย ดังนั้น ตัวมันไม่น่าจะมีแหล่งจ่ายไฟแน่ ๆ อ้าว.... แล้วมันทำงานได้ยังไงละ กับอีกอย่างที่เรารู้คือ มันจะไม่ทำงานเลย เมื่อมันไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตรงที่เราจะเอารถผ่าน
สิ่งที่เขาใช้ มันเรียกว่า RFID (Radio Frequency Identification) ตามชื่อของมันเลย มันทำหน้าที่ในการยืนยันตัวตนด้วยการใช้คลื่นวิทยุ อ่านมาแล้วมันเหมือนกับที่เราพูดถึง Easy Pass เลยใช่มะ กับอีกที่ ๆ เรามักจะเจอการใช้งาน RFID คือพวกสินค้าในห้างที่ถ้าเราไม่ได้จ่ายเงิน แล้วเอาของเดินออก เครื่องมันจะร้องเตือนเสียงดัง ๆ หรือเวลาเราเข้าผ่านประตู เราติดอุปกรณ์ไว้ที่รถ หรือ ใช้บัตรอะไรก็ตาม
ถามว่า ในเมื่อมันไม่มีแหล่งจ่ายไฟ แล้วมันคุยกันผ่านสัญญาณวิทยุได้ยังไงกันละ อันที่ชัดเจนมาก ๆ คือ พวกที่ติดอยู่ตามขวดแชมพู หรือของที่ขายอยู่ในห้าง มันมักจะมีสติ๊กเกอร์อะไรสักอย่างแผ่นใหญ่ ๆ ติดอยู่ด้านหลังขวด ถ้าเราแกะออกมา เราจะเห็นว่า มันเป็นเหมือนทองแดงขดกันเป็นเส้น ๆ อันนี้แหละ เราเรียกมันว่า เสาอากาศ (Antenna) แต่เสาอากาศนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่แค่การรับส่งข้อมูลเฉย ๆ นะ
เพราะถ้ามันมาทำงานอยู่ใกล้ ๆ เครื่องอ่าน มันจะทำงานได้ใช่ป่ะ สิ่งที่เครื่องอ่านมันทำ มันจะมีการปล่อยคลื่นวิทยุออกมา เมื่อคลื่นตรงนี้มันไปเหนี่ยวนำกับขดลวดมันก็จะเกิดกระแสไฟฟ้า ทำให้ตัวอุปกรณ์ RFID มันทำงานได้ขึ้นมา นี่แหละ คือเหตุที่ทำไม RFID บางตัวถึงไม่ต้องใส่ถ่าน หรือทำอะไรเลย มันก็ทำงานได้เมื่อมันอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องอ่าน กลุ่มที่เราไม่ต้องใส่ถ่านเราจะเรียกว่าเป็นพวก Passive
พวก Passive RFID ด้วยความที่เขาใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าเข้ามา ดีที่มันไม่ต้องใส่ถ่าน นั่นก็ทำให้พลังมันก็น้อยด้วยเช่นกัน ทำให้เราจะต้องอยู่ใกล้กับเครื่องอ่านมาก ๆ เรียกว่า แนบชิดเลยทีเดียวละ ถ้าคิดง่าย ๆ ก็คือพวกบัตรเข้าคอนโดที่เราต้องเอาบัตรแตะกับเครื่องอ่าน
กลับกัน ถ้าเราต้องการ Function ที่เพิ่มขึ้น และระยะการอ่านที่ไกลขึ้น เช่น Easy Pass ที่เราไม่ได้เอาเครื่องไปแตะกับเครื่องอ่าน แต่เราแค่ขับผ่านมันก็อ่านได้ ระยะการอ่านมันไกลมากขึ้นได้ เพราะภายในตัว RFID เราใส่ถ่านลงไปด้วยนั่นเอง พวกกลุ่มนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Active RFID
ใช่แล้วฮะ ภายในของ Easy Pass ถ้าเราแกะออกมา เราจะเจอกับถ่านกระดุมทั้งหมด 2 ก้อน แต่ ๆๆ มันไม่ได้หมดเร็วขนาดนั้นนะ และถ้ามันหมด เราก็ไม่ต้องหาแกะเปลี่ยนเองเนอะ เราไปที่ศูนย์บริการของ กทพ. เพื่อขอเปลี่ยนได้นะ ไม่ต้องหาทำเปลี่ยนเองเนอะ ฮ่า ๆ
โดยที่มันจะมีประเภทของมันอยู่ตั้งแต่ Class 0 -5 แบ่งตามความสามารถในการอ่าน และ เขียนซ้ำลงไปใหม่ได้ โดยอันที่อ่อนสุด ๆ ก็จะเป็นพวกที่ไม่สามารถเขียน Tag ได้เลย พวกนี้เขาจะเขียนมาจากโรงงานแล้ว จนไปถึงพวกที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถรัน Logic ต่าง ๆ หรือประทั่งเขียน ข้อมูลบางอย่างเข้าไปได้เลย ซึ่งราคามันก็จะแตกต่างกันไปตามความสามารถที่มันทำได้ ยิ่งทำได้เยอะ มันก็จะยิ่งแพงขึ้น
เรายกตัวอย่างอันที่เราเห็นกันเยอะ ๆ ละกัน คือกลุ่มของพวก Class 1 หรือเราเรียกกันว่า WORM (Write-Once-Read-Many) หรือก็คือ เขียนครั้งเดียว แต่อ่านได้หลาย ๆ ครั้ง คือ เราจะเขียนข้อมูลลงไปครั้งหนึ่ง แล้วเราก็เก็บเอาไว้ แล้วเราก็รออ่านอย่างเดียว
ยกตัวอย่างการใช้พวก Class 1 ที่เราเจอกันเยอะมาก ๆ คือประตูคอนโดที่เขาจะให้บัตรสำหรับเราแตะเข้าคอนโด บัตรส่วนใหญ่ก็อาจจะเอาไปสกรีนเป็นลายต่าง ๆ แล้วแต่เนอะ แต่ข้อมูลมันจะยังไม่มีอะไร จนกว่า คนที่ดูแลอาคาร เขาจะสร้างผู้ใช้ในระบบ และทำการสร้าง ID แล้วเอา ID นั่นแหละ เขียนเข้าไปในบัตร หลังจากนั้น เมื่อเจ้าของบัตรเอาบัตรไปแตะมันก็จะใช้งานได้ ถามว่าแล้วการที่เราทำให้มันเขียนได้ครั้งเดียวมันดียังไง
การที่เราเขียนได้ครั้งเดียว มันช่วยเรื่องของความปลอดภัยได้เป็นอย่างดีคือจะไม่มีใครมา Reprogram หรือทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรของเราได้ เป็นเรื่องของความปลอดภัย และ ราคาด้วย ถ้าเราไปหาเลยนะ ใบละ 40 บาทเองมั้ง หรือบางที่ถูก ๆ หน่อยใช้ Class 0 เลย เท่าที่เห็นใบละ 9 บาทเองก็มีเหมือนกัน ยิ่งพวกที่เอาไปติดกับด้านหลังของผลิตภัณฑ์เขาตัดเรื่องพวกพลาสติกบัตรอะไรออกทำเป็นสติ๊กเกอร์มันก็จะถูกกว่านี้อีกเยอะเลย
แค่เครื่องอ่าน และ ตัว RFID มันยังทำอะไรไม่ได้
อ่านมาถึงจุดนี้เริ่มคิดแล้วใช่มั้ยว่า เหยยย ตัวอุปกรณ์ Easy Pass มันแพงกว่า 40 บาท ดังนั้นมันน่าจะเป็นพวก Class สูง ๆ แน่ ๆ ทำให้เราสามารถที่จะ Reprogrammed ได้ ดังนั้น หรือว่า เขาจะเก็บจำนวนเงินไว้ในนั้น แปลว่า เราสามารถที่จะเขียนเลขเงินกลับลงไปได้เหรอ
แหม่ ถ้าทำแบบนั้นได้ กทพ. ชิบหายไปแล้วละ เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งที่เขาใช้มันไม่ได้มีแค่นั้น เพราะ ในตัวของอุปกรณ์ที่ติดกับรถเรา มันไม่ได้มีอะไรมากนอกจากการที่มันบอกว่า มันคือใช้ ID อะไรเท่านั้นเอง
ดังนั้นมันจะต้องมีอะไรบางอย่างเพื่อเก็บยอดเงิน และทำการหักเงิน พร้อมกับ เก็บว่า เราผ่านด่านไหนคิดเป็นเงินเท่าไหร่บ้าง ดังนั้นจริง ๆ แล้ว คือ เมื่อเราเอารถเข้าไป เครื่องอ่าน มันจะกลับไปคุยกับ Server ที่มีฐานข้อมูลอยู่ว่า เราเป็นใครบัตรนี้มีจริงมั้ย มีเงินเท่าไหร่ มาจากด่านอะไร มันก็จะทำการหักยอดเงินออก และส่งยอดเงินที่เหลือกลับมาบนหน้าจอที่เราเห็นนั่นเอง
ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วถ้าเราเราเอาอุปกรณ์ของ Easy Pass มากกว่า 1 ตัวไว้บนรถละ มันจะเอาอันไหน คำตอบก็คือ อันไหนมันเหนี่ยวนำจ่ายไฟแล้วคุยกับตัวอ่านได้ก่อนคนนั้นชนะ แต่ความสนุกมันอยู่ที่ว่า เราจะต้องยิงตอนเราเข้า ตอนนั้นมันจะยังไม่ตัดเงินแต่ทำการ Register เอาไว้ และ เมื่อเราลงนั่นแหละ มันจะตัดเงินเรา ถ้าตอนขาขึ้นกับขาลงมันคนละอันนั่นแหละ ปัญหาละ เราเคยเจอกับตัว เพราะลืมว่า ในรถมี Easy Pass 2 อัน อันเก่ากับอันใหม่ในรถนี่แหละ
สรุป
ระบบ Easy Pass ที่เราใช้งานกันเหมือน MAGIC จริง ๆ แล้วโฉมหน้าของมันก็คือ การใช้ RFID เพื่อบอกว่า เราเป็นใครกับเครื่อง และ เครื่องก็จะคุยกับระบบหลังบ้านเพื่อทำการตัดเงิน รวมไปถึงเชื่อมต่อกับพวกระบบธนาคารต่าง ๆ ทำให้เราสามารถเติมเงินผ่าน App ของธนาคารได้นั่นเองงงงง และถ้าเราใช้สติ๊กเกอร์อะไรนั่นแบบที่ กทพ. เข้าใจได้ นั่นก็นะ ฮ่า ๆ ตลกละ